ทอย สตอรี่ คือ หนังไม่กี่เรื่อง ที่ผมได้มีโอกาสเติบโตมา พร้อมๆกัน ตั้งแต่ในวัยเด็ก ที่ได้ดู ทอย สตอรี่ครั้งแรก จนมาถึงภาคนี้เป็น ภาคที่ 4 ดู ผ่านไปเกือบครึ่งเรื่อง มีความรู้สึกสนุกแบบเฉยๆ ปน ง่วงๆ (ดูรอบสุดท้าย) แต่มานั่งคิดย้อน ตอนดูว่า สมัยเด็กๆผมดู ทอย สตอรี่ ผมชอบมาก มีความรู้สึกร่วมกับตัวละครต่างๆ จนมาภาคนี้ ระดับ PIXAR คงไม่น่าจะให้สนุกเฉยๆ น่าจะมีแฝงอะไรในหนังเรื่องนี้ให้กับคนวัยทำงาน ที่โตมาพร้อมกับ ทอย สตอรี่ อย่างผมบ้าง คิดแบบนี้ก็เลยลองนั่งตีความหนังไป ปรากฎว่าเพิ่งเข้าใจในหลายๆ สิ่งที่หนังต้องการจะสื่อ ผมเลยขอสรุปประเด็นที่หนัง สื่อออกมาแล้วผมสัมผัสได้ มาแชร์ครับ
เป้าหมายที่สำคัญที่สุด ของเหล่า "ของเล่น"
เหล่าของเล่นทุกชิ้นมีเป้าหมาย ที่สิ่งสำคัญที่สุด คือ ต้องการมีเจ้าของ(เด็ก)ที่รัก และทำให้เด็กมีความสุข หนัง สื่อ ให้เราเห็น ตั้งแต่ตอนเริ่มเรื่อง ที่วู๊ดดี้ต้อง พรากจาก กับ โบ ปี๊บ วู๊ดดี้ถึงขนาดตามมาที่กล่องของเล่น เพื่อชวน โบ ปี๊บ กลับ แม้ว่า วู๊ดดี้อยากจะตาม โบ ปี๊บ ไปแค่ไหน (เพราะรัก) แต่ก็ยังไม่ลืมว่าสิ่งสำคัญที่สุดของตนคือ การทำให้เจ้านาย คือ แอนดี้ มีความสุข หรือ ฉากที่ แก๊บบี้ แก๊บบี้ เอ่ยกับวู๊ดดี้ว่า เค้าอยากสัมผัสความรักที่เจ้าของมอบให้แก่ตุ๊กตาดู เพราะเค้าไม่เคยมีเด็กมาก่อน หรือ ฟรอกกี้ ของเล่นตัวใหม่ที่ บอนนี่ ทำขึ้นหลังจากไปโรงเรียนวันแรก ซึ่งในตอนเริ่มต้นนั้นไม่มีเป้าหมายใดๆ นอกจากกลับไปที่ถังขยะ จนผ่านการผจญภัยต่างๆ และมีเป้าหมายเหมือนของเล่นตัวอื่น อะไรคือ เป้าหมายสูงสุดของการมีชีวิต ? เป็นคำถามง่ายๆที่ ของเล่นทุกตัว ตอบได้แบบไม่ต้องคิด แต่คำถามเดียวกันนี้ กลับ เป็นคำถามที่ ตอบยากมากสำหรับพวกเราที่มีชีวิตจริงๆ
ไม่มีอะไรในชีวิตที่สมบูรณ์แบบ
หนังภาคนี้แสดงความหมายของคำนี้ได้อย่าง ลึกซึ้ง กินใจ แก๊บบี้ แก๊บบี้ ซึ่งเกิดมาพร้อมความไม่สมบูรณ์ของกล่องเสียงทำให้ไม่มีใครเหลียวแล และถูกทอดทิ้งในร้าน ทำให้เค้าต้องพยายามจะเอากล่องเสียงของ วู๊ดดี้ไปให้ได้ เพราะเชื่อว่า ถ้าหากตัวเองสมบูรณ์ จะมีเด็กรัก และ จะได้รักเด็ก ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุด ของ ของเล่น แต่สุดท้ายแม้ตัวเองจะสมบูรณ์แล้ว เด็กที่ตัวเองคาดหวังว่าเค้าจะต้องรัก กลับไม่ได้รักตอบ หนังแสดงให้เห็นว่าของเล่นทั้งหลาย ไม่ได้สมบูรณ์แบบ ทั้ง แก๊บบี้ แก๊บบี้, ฟรอกกี้ ที่ถูกสร้างจากขยะ, โบ ปี๊บ ที่แขนหัก, วู๊ดดี้ ที่ยอมยกกล่องเสียงให้กับ แก๊บบี้ แลกกับ ตัว ฟรอกกี้ หรือแม้แต่คนที่สมบูรณ์ทางร่างกาย อย่าง ดู๊ค คาบูม ก็ยังคาใจในความไม่สมบูรณ์ของตัวเอง เพราะเป็นของเล่นที่มีแต่ใน โฆษณา เร่งเครื่อง เหาะ ไม่ได้จริง เพราะฉะนั้น ชีวิตที่พยายามจะให้สมบูรณ์แบบไปหมดทุกอย่างแล้วเชื่อว่าจะทำให้มีความสุขในชีวิต อาจจะไม่ได้มีอยู่จริง เพราะชีวิตเราทุกคนล้วนมีส่วนประกอบด้วยความไม่สมบูรณ์ ในชีวิตไม่ว่าจะทางร่างกาย หรือ จิตใจ ความผิดหวัง ความเสียใจ ล้มเหลว แต่การยอมรับในความไม่สมบูรณ์แบบที่เกิดขึ้นในชีวิตต่างหาก ที่จะทำให้เรามีความสุขในชีวิต แบบเดียวกับที่ของเล่นเหล่านี้แสดงให้เห็น
ปัญหาที่ยากที่สุด
ฉากที่ บัทไลท์เนียร์ และผองเพื่อน ต้องเอากุญแจไขตู้จากคุณยายเจ้าของร้าน เป็นฉากที่เหล่าของเล่น ต้องแก้ปัญหาที่ ยากที่สุด เพราะกุญแจอยู่ติดตัวคุณยาย เหล่าของเล่นพยายามคิดวิธีต่างๆ นานา นำโดย ดักกี้ 2 คู่หูของเล่น จนสุดท้ายก็สามารถ แก้ปัญหาได้อย่างง่ายสุดๆ โดยไม่ต้องทำอะไรเลย บางครั้งเราอาจจะเจอปัญหายากๆในชีวิต ไม่ว่าจะแก้ยังไง ก็ดูไม่เห็นทางออก แต่บางครั้งปัญหายากๆเหล่านั้น ถ้ามองให้ดีอาจจะแก้ได้ง่ายสุดๆ ก็ได้
เสียงในใจ
ของเล่นในเรื่อง มีเสียงในใจ ที่พยายามบอกให้ทำนู่นทำนี่ อยู่ตลอด วู๊ดดี้ คือตัวละครที่แสดงออกในเรื่องนี้ได้ชัดเจนที่สุด ทุกเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ ที่ยากแค่ไหน วุ๊ดดี้เป็นตัวละครที่ พยายามแก้ปัญหาต่างๆตามเสียงในใจที่บอกให้ทำ แต่ก็พยายามไม่ลืมเป้าหมายสูงสุดของตัวเอง โดยเหตุการณ์แรก คือ ตอนที่ พรากจาก กับ โป ปี๊ป แน่นอนว่า เสียงในใจ วู๊ดดี้ต้องอยากตาม โบ ปี๊ป ไปแน่นอน แต่สุดท้ายก็เลือกที่จะอยู่ดูแล แอนดี้ หรือ ตอนที่ฟรอกกี้ โดด ออกนอกหน้าต่างรถ วู๊ดดี้ตัดสินใจในเวลาเพียงเสี้ยววินาที ว่าต้องออกไปช่วยฟรอกกี้ ทั้งๆที่รู้ว่าอันตราย บางครั้งในชีวิตคนเรา อาจจะต้องตัดสินใจอะไรบางสิ่งที่ยากๆ อาจจะขัดแย้ง ระหว่างความจริงที่เกิดขึ้น กับ เสียงในหัวใจ ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะบอกว่า อะไรคือทางเดินที่ถูกต้อง เราจะเชื่อความจริงที่มีเหตุผล หรือ จะเชื่อเสียงในใจ ที่เรียกร้องออกมา ของเล่นต่างๆ แสดงให้เห็นว่า การตัดสินใจเลือกทางใดทางหนึ่ง อาจจะไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุด แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้น คือ เมื่อเราเลือกแล้ว เราต้องยอมรับในสิ่งที่เราเลือก และทำสิ่งที่เราเลือกให้ดีที่สุด ไม่ว่าจะผลลัพธ์ของการเลือกนั้น จะเป็นอย่างไรก็ตาม
พลังที่ส่งต่อได้
แม้ว่าเหล่า ของเล่น จะมีเป้าหมายสูงสุด อย่างที่บอกไปข้างต้น แต่ในตอนท้ายที่ วู๊ดดี้ ออกจากการเป็นของเล่นที่มีเด็ก มาเป็นของเล่นที่มีอิสระเสรี หนังก็ยังไม่ลืมที่จะให้วู๊ดดี้และเพื่อนๆ เป็นหนึ่งในเหล่าของเล่น ที่ช่วยทำให้เป้าหมายสูงสุดของเหล่า ของเล่นต่างๆเป็นจริง ด้วยการทำให้ของเล่นต่างๆ ได้มีโอกาสถูกส่งต่อไปยังเด็กๆ
เราทุกคนต่างมีเป้าหมายที่จะต้องไปให้ถึง หรือ ทำให้สำเร็จ ชนิดที่ว่า ถ้าทำไม่ได้ก็อาจจะตายตาไม่หลับ เหมือนวู๊ดดี้ที่ต้องการให้แอนดี้ และ บอนนี่ รัก และมีความสุข แต่ หากเราทำเป้าหมายในชีวิตของเราได้สมบูรณ์ในระดับหนึ่งแล้ว เราต้องอย่าลืมที่จะส่งต่อ และ แบ่งปันโอกาส ให้คนที่กำลังพยายามอยู่ข้างหลัง เหมือนเหล่าของเล่นเหล่านี้
สู่ความเวิ้งว้าวอันไกลโพ้น
ประโยคนี้ เป็นประโยค คลาสสิก จาก ตัวละครสำคัญ บัท ไลท์เยียร์ เป็นคำที่แฝงความหมายลึกซึ้งมาก เป็นคำที่ชักชวนเหล่าของเล่นออกไปผจญภัย การไปสู่ความเวิ้งว้างอันไกลโพ้นนี่เอง ที่นำพาเหล่าของเล่นออกจาก Comfort zone พื้นที่ที่เรารู้สึกว่า สบาย ปลอดภัย อาจจะเป็น การมีทำงานที่มั่นคง หรือ มีร้านอาหารอร่อย ที่ ทานเป็นประจำ หรือ เส้นทางกลับบ้าน สายเดิมๆที่คุ้นเคย เหล่าของเล่นในเรื่องหลายๆตัว ก็เป็นเหมือน คำๆนี้ มี Comfort zone มีบ้าน มีความเคยชินจนรู้สึกสบาย แต่สุดท้าย เหล่าของเล่น ก็ต้องออก ผจญภัย ก้าวพ้นไปจาก Comfort zone, โบ บี๊ป ที่ต้องออกจากของเล่นที่มีเด็กไปเป็น ของเล่นที่มีอิสระ, วู๊ดดี้ที่ท้ายที่สุด ออกไปช่วยเหล่าของเล่นให้ได้มีเจ้าของ
การออกไปผจญภัยของเหล่า ของเล่น ต่างๆ นี่เอง ที่ให้ข้อคิด หลายๆอย่างให้กับ ผู้ชมอย่างเราๆ บางครั้งในบางช่วงเวลาของชีวิต เราก็จำเป็นต้องใช้คำนี้เพื่อออกไปใช้ชีวิตจริงๆ เช่นกัน ยินดีต้อนรับ "สู่ความเวิ้งว้างอันไกลโพ้น "
โดยรวมสำหรับผมถือว่าเป็นหนังที่ให้ข้อคิดและตั้งคำถาม กับชีวิตของเรา เยอะมากเรื่องหนึ่ง เพื่อนๆมีประเด็นไหนเพิ่มเติมมาแชร์กันได้ครับ
[CR] Toy Story 4 การผจญภัยของ ของเล่นที่มีชีวิต ที่ตั้งคำถามให้กับ ทุกคนที่มีชีวิตจริงๆ (Spoil)
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้