ล่าสุด ตามข่าว ผู้จัด โปรไฟล์ดี ของช่อง 3 ย้ายไปอยู่ โมโน 29
มองว่า เป็นการเปิดทาง ให้ทุกค่ายมีทางเลือก หาจุดที่สบายใจ
และลงตัวกับการบริหารจัดการในยุคใหม่ ที่ผู้ชมมีทางเลือก
หลากหลาย มากกว่าสื่อโทรทัศน์อย่างเดียวอย่างยุคก่อน
ผู้จัด ก็ได้รับอิสระ ที่จะดีลได้กับหลายช่องแบบไม่ผูกมัดกับช่องใดช่องหนึ่ง
จุดที่น่าจะพัฒนา สำหรับช่อง 3 คือ
1.
ดาราใหม่ ควรเน้นคุณภาพมากกว่าจำนวน อาจมาจากการดัน
อิทธิพลของผู้จัดการ หรือ ความสัมพันธ์ภายในที่ไม่ทราบแน่ชัด
แต่หลายคนออร่าอ่อน ฝีมือไม่แข็ง แต่ได้บทเด่นระดับดารานำ
เป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่ทำให้คนดูละสายตาจากละคร
(ไม่นับไม่กี้ หลิง หลิง กองทัพ พีค ซึ่งชัดเจนว่า ทำเงินได้)
ยิ่งดาราบางคน เน้นฉีดจนแก้ม-ปากพองเสียรูป
ขาดความเป็นธรรมชาติ มีผล เวลาสวมบทบาทที่ต้องเรียล
นักแสดงหน้าจริง ทำหน้าหวาดกลัว ใช้แค่แววตา ถ่ายทอดได้มากมาย
ไม่ได้แอนตี้ การทำศัลยกรรม - ฉีดโบท็อก แต่
ควรแน่ใจว่า ทำแล้ว ดีขึ้น
รู้สึกชื่นชมนักแสดงหลายคนที่หยุดตัวเองไว้ที่นักแสดงสมทบ
แต่สามารถทำให้ดูเด่นในบทบาทเหล่านั้นได้ เช่น
พิชชาภา พันธุมจินดา / พิไล ในกรงกรรม
พริมา พันธุ์เจริญ / โบตั๋น ในสร้อยสะบันงา
2.
เพิ่มค่าจ้างและพัฒนานักเขียนบทละคร
บทที่ดี ไม่ใช่บทที่แรง หรือ เน้นความแปลกใหม่เสมอไป
เรื่องเรียบง่าย หรือ ละครโรแมนติกที่ทำถึง อย่างสมัยผู้กำกับชูศักดิ์ ก็โอเค
เทคนิกการถ่ายทำ หรือ โปรดั๊กชั่น ก็ส่วนหนึ่ง
แต่บท คือ การลงทุนที่ต้องจ่าย ไม่ต่างจากค่าตัวดีไซเนอร์เก่งๆ ที่แบรนด์ดังๆ ต้องจ้าง
ก่อนที่จะสั่งผลิต รวมถึงการจัดการเพื่อพัฒนานักเขียนบทอย่างเป็นรูปธรรม
เช่น ทีมวิจัยและพัฒนา ระบบงาน creative academy
อีกอย่างที่เป็นภาพลวงตา คือ ความเชื่อที่ว่า ละครแนวรักเพศเดียวกันต้องดัง
ทุกอย่างอยู่คุณภาพละคร ละครมีคุณภาพ ไม่ว่าเล่าเรื่องเพศใด ก็ดัง
3.
ชัดเจนในเป้าหมาย
ต้องการเป็นเลิศในรายการประเภทใดบ้าง
แต่ไม่ควรจะเยอะเกินไป
นอกจากโหนกระแส มวย ก็น่าจะเป็นละคร ที่ช่อง 3 ทำงานระดับชาติ
แอพพลิเคชั่น ที่สร้างขึ้น ไม่แน่ใจว่า ณ ปัจจุบัน มีทิศทางตีตลาดอินเตอร์อย่างไร
หรือ อาจไม่ต้องลงทุนเพิ่มเรื่อง international platform
แต่ลงทุนเฉพาะ content for international market แทน
เพราะช่องทางเผยแพร่ ในระยะแรก ช่วงสร้างฐานแฟนนานาชาติ
อาจใช้ platform ของชาตินั้นๆ เช่น จีน และ Netflix
สำหรับการลงทุนเส้นทางใหม่จะเน้นไปในแนวคอนเสิร์ตดารา
ความสำเร็จน่าจะมาจาก 2 ประการ
1. ศักยภาพบุคลากรทางดนตรี ที่ความสามารถชัด เช่น นักแต่งเพลง ครีเอทีฟ
เพราะนักแสดงบางคน ร้องเพลง เต้นเก่ง และถ่ายทอดอารมณ์เพลงได้ดี
บางคนก็เก่งด้านการแสดงอย่างเดียว (ซึ่งไม่ควรให้เขาต้องพยายาม
ในด้านที่เขาไม่ถนัด)
2. พลังจากละครที่ดี สามารถทำรายได้ให้กับงานแฟนมีต และคอนเสริต
ในทางกลับกัน หากละครไม่อาจส่งพลังได้ ก็จะมีผู้ชมส่วนหนึ่งเท่านั้น
ที่จ่ายเงินไปพบดาราเหล่านี้ด้วยความคลั่งไคล้
ค่ายที่ทุนน้อย
น่าจะต้องใช้ความเป็นเลิศของบท งานไม่ต้องเน้นโปรดั๊กชั่นหรู
แต่เรียบง่าย บทที่กินใจ+ฝีมือการแสดงที่โดดเด่น เป็นแนวทาง
อย่างภาพยนตร์ญี่ปุ่นเรื่องหนึ่ง ที่ชายหนุ่มคนหนึ่งต้องหาบ้านให้แมว
หรือเรื่องราวของคน 4 คนอย่างเก้าอี้ขาวในห้องแดง
การลุยตลาดต่างประเทศ ไม่ใช่เพียงรับอิทธิพลหนังฮอลลิวูด และเกาหลี
แต่ควรนำเสนอคุณค่าละครสไตล์ไทยจากนวนิยายไทยด้วย
แม้แต่เรื่องปริศนา รักเดียวของเจนจิรา เรือนมยุรา
หากสามารถทำซ้ำในเวอร์ชั่น wise & cool ละครแบบนี้ ก็เสน่ห์กระจาย
ช่อง 3 ... เพราะมุ่งเป้าเป็นผู้นำ หรือ ต้องการอยู่รอด ในด้านละครทีวี
มองว่า เป็นการเปิดทาง ให้ทุกค่ายมีทางเลือก หาจุดที่สบายใจ
และลงตัวกับการบริหารจัดการในยุคใหม่ ที่ผู้ชมมีทางเลือก
หลากหลาย มากกว่าสื่อโทรทัศน์อย่างเดียวอย่างยุคก่อน
ผู้จัด ก็ได้รับอิสระ ที่จะดีลได้กับหลายช่องแบบไม่ผูกมัดกับช่องใดช่องหนึ่ง
จุดที่น่าจะพัฒนา สำหรับช่อง 3 คือ
1. ดาราใหม่ ควรเน้นคุณภาพมากกว่าจำนวน อาจมาจากการดัน
อิทธิพลของผู้จัดการ หรือ ความสัมพันธ์ภายในที่ไม่ทราบแน่ชัด
แต่หลายคนออร่าอ่อน ฝีมือไม่แข็ง แต่ได้บทเด่นระดับดารานำ
เป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่ทำให้คนดูละสายตาจากละคร
(ไม่นับไม่กี้ หลิง หลิง กองทัพ พีค ซึ่งชัดเจนว่า ทำเงินได้)
ยิ่งดาราบางคน เน้นฉีดจนแก้ม-ปากพองเสียรูป
ขาดความเป็นธรรมชาติ มีผล เวลาสวมบทบาทที่ต้องเรียล
นักแสดงหน้าจริง ทำหน้าหวาดกลัว ใช้แค่แววตา ถ่ายทอดได้มากมาย
ไม่ได้แอนตี้ การทำศัลยกรรม - ฉีดโบท็อก แต่
ควรแน่ใจว่า ทำแล้ว ดีขึ้น
รู้สึกชื่นชมนักแสดงหลายคนที่หยุดตัวเองไว้ที่นักแสดงสมทบ
แต่สามารถทำให้ดูเด่นในบทบาทเหล่านั้นได้ เช่น
พิชชาภา พันธุมจินดา / พิไล ในกรงกรรม
พริมา พันธุ์เจริญ / โบตั๋น ในสร้อยสะบันงา
2. เพิ่มค่าจ้างและพัฒนานักเขียนบทละคร
บทที่ดี ไม่ใช่บทที่แรง หรือ เน้นความแปลกใหม่เสมอไป
เรื่องเรียบง่าย หรือ ละครโรแมนติกที่ทำถึง อย่างสมัยผู้กำกับชูศักดิ์ ก็โอเค
เทคนิกการถ่ายทำ หรือ โปรดั๊กชั่น ก็ส่วนหนึ่ง
แต่บท คือ การลงทุนที่ต้องจ่าย ไม่ต่างจากค่าตัวดีไซเนอร์เก่งๆ ที่แบรนด์ดังๆ ต้องจ้าง
ก่อนที่จะสั่งผลิต รวมถึงการจัดการเพื่อพัฒนานักเขียนบทอย่างเป็นรูปธรรม
เช่น ทีมวิจัยและพัฒนา ระบบงาน creative academy
อีกอย่างที่เป็นภาพลวงตา คือ ความเชื่อที่ว่า ละครแนวรักเพศเดียวกันต้องดัง
ทุกอย่างอยู่คุณภาพละคร ละครมีคุณภาพ ไม่ว่าเล่าเรื่องเพศใด ก็ดัง
3. ชัดเจนในเป้าหมาย
ต้องการเป็นเลิศในรายการประเภทใดบ้าง
แต่ไม่ควรจะเยอะเกินไป
นอกจากโหนกระแส มวย ก็น่าจะเป็นละคร ที่ช่อง 3 ทำงานระดับชาติ
แอพพลิเคชั่น ที่สร้างขึ้น ไม่แน่ใจว่า ณ ปัจจุบัน มีทิศทางตีตลาดอินเตอร์อย่างไร
หรือ อาจไม่ต้องลงทุนเพิ่มเรื่อง international platform
แต่ลงทุนเฉพาะ content for international market แทน
เพราะช่องทางเผยแพร่ ในระยะแรก ช่วงสร้างฐานแฟนนานาชาติ
อาจใช้ platform ของชาตินั้นๆ เช่น จีน และ Netflix
สำหรับการลงทุนเส้นทางใหม่จะเน้นไปในแนวคอนเสิร์ตดารา
ความสำเร็จน่าจะมาจาก 2 ประการ
1. ศักยภาพบุคลากรทางดนตรี ที่ความสามารถชัด เช่น นักแต่งเพลง ครีเอทีฟ
เพราะนักแสดงบางคน ร้องเพลง เต้นเก่ง และถ่ายทอดอารมณ์เพลงได้ดี
บางคนก็เก่งด้านการแสดงอย่างเดียว (ซึ่งไม่ควรให้เขาต้องพยายาม
ในด้านที่เขาไม่ถนัด)
2. พลังจากละครที่ดี สามารถทำรายได้ให้กับงานแฟนมีต และคอนเสริต
ในทางกลับกัน หากละครไม่อาจส่งพลังได้ ก็จะมีผู้ชมส่วนหนึ่งเท่านั้น
ที่จ่ายเงินไปพบดาราเหล่านี้ด้วยความคลั่งไคล้
ค่ายที่ทุนน้อย
น่าจะต้องใช้ความเป็นเลิศของบท งานไม่ต้องเน้นโปรดั๊กชั่นหรู
แต่เรียบง่าย บทที่กินใจ+ฝีมือการแสดงที่โดดเด่น เป็นแนวทาง
อย่างภาพยนตร์ญี่ปุ่นเรื่องหนึ่ง ที่ชายหนุ่มคนหนึ่งต้องหาบ้านให้แมว
หรือเรื่องราวของคน 4 คนอย่างเก้าอี้ขาวในห้องแดง
การลุยตลาดต่างประเทศ ไม่ใช่เพียงรับอิทธิพลหนังฮอลลิวูด และเกาหลี
แต่ควรนำเสนอคุณค่าละครสไตล์ไทยจากนวนิยายไทยด้วย
แม้แต่เรื่องปริศนา รักเดียวของเจนจิรา เรือนมยุรา
หากสามารถทำซ้ำในเวอร์ชั่น wise & cool ละครแบบนี้ ก็เสน่ห์กระจาย