การที่เราจะแก้กรรมของเราได้นั้น เราจะต้องรู้ว่าสิ่งที่เราทำนั้นมันไม่ดี เป็นอกุศลกรรม กรรมชั่ว เมื่อเรารู้แล้วว่าเราทำกรรมไม่ดี เราต้องยอมรับความจริงให้ได้ ยอมรับความจริงในการผิดตรงนี้ ยอมรับว่าสิ่งที่เราทำนั้นไม่ดีและจะไม่ทำสิ่งเหล่านั้นต่อไป หลายคนที่รู้ว่าการทำสิ่งนั้นมันไม่ดีแต่ยังขืนทำต่อไปอีก จึงไม่สามารถแก้กรรมได้ ดังคำที่ว่า "รู้แล้วแต่ทำไม่ได้" เพราะตามใจตน ไม่ยอมขัดใจตนเอง แต่ถ้าเรายอมรับความจริงและยอมแก้ไขกรรม เราจะต้องตั้งปณิธานเปลี่ยนแปลงนิสัย พฤติกรรม สันดานของเราใหม่ อย่างจริงจัง จริงใจ เด็ดขาด แล้วเราจะสามารถแก้กรรมนั้นๆ ของเราได้ บางคนที่ไม่สามารถแก้กรรมได้นั้น เพราะว่าเขาไม่มีความจริงจัง จริงใจ เด็ดขาดในการแก้กรรมของตนเอง บางคนทำได้เพียงหนึ่งสัปดาห์หรือหนึ่งเดือนก็หวนกลับมาทำนิสัย พฤติกรรม เดิมๆ อีก จึงไม่สามารถแก้กรรมของตนเองได้
ถ้าเราสามารถเปลี่ยนแปลงนิสัยหรือพฤติกรรมของเราได้ นี่แหละที่ได้ชื่อว่าการแก้กรรมที่ถูกต้องตามหลักอริยสัจ ๔ ของพระพุทธเจ้า เราต้องมีวินัย เพราะเราได้แก้ที่ต้นเหตุ สร้างเหตุใหม่ดี ผลก็ย่อมเปลี่ยนแปลงใหม่ดีตามไปด้วย ถ้าเราไม่เปลี่ยนแปลงเหตุให้ดี ผลก็จะดีได้อย่างไร
เมื่อเราเปลี่ยนแปลงเหตุ สร้างกรรมใหม่ นิสัยใหม่ พฤติกรรมใหม่แล้วเราจะต้องมีการตรวจสอบเสมอ ตรวจสอบจากผลไปหาเหตุ
นี่แหละคือการแก้กรรม เป็นวิถีแห่งสัจจะธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสสั่งสอนไว้ สรุปมี ๕ ขั้นตอน ดังนี้
๑. รู้กรรม
๒. ยอมรับความจริง
๓. แก้ไขกรรมใหม่
๔. สร้างกรรมดีใหม่
๕. ตรวจสอบ ประเมินผล และทำต่อไป
หลักการแก้กรรม เคลียร์กรรม
ถ้าเราสามารถเปลี่ยนแปลงนิสัยหรือพฤติกรรมของเราได้ นี่แหละที่ได้ชื่อว่าการแก้กรรมที่ถูกต้องตามหลักอริยสัจ ๔ ของพระพุทธเจ้า เราต้องมีวินัย เพราะเราได้แก้ที่ต้นเหตุ สร้างเหตุใหม่ดี ผลก็ย่อมเปลี่ยนแปลงใหม่ดีตามไปด้วย ถ้าเราไม่เปลี่ยนแปลงเหตุให้ดี ผลก็จะดีได้อย่างไร
เมื่อเราเปลี่ยนแปลงเหตุ สร้างกรรมใหม่ นิสัยใหม่ พฤติกรรมใหม่แล้วเราจะต้องมีการตรวจสอบเสมอ ตรวจสอบจากผลไปหาเหตุ
นี่แหละคือการแก้กรรม เป็นวิถีแห่งสัจจะธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสสั่งสอนไว้ สรุปมี ๕ ขั้นตอน ดังนี้
๑. รู้กรรม
๒. ยอมรับความจริง
๓. แก้ไขกรรมใหม่
๔. สร้างกรรมดีใหม่
๕. ตรวจสอบ ประเมินผล และทำต่อไป