เมื่อวันที่ 29 พ.ค. (วานนี้) จากกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แนะนำให้อ่านหนังสือ Animal Farm ฉบับภาษาไทย ซึ่งเป็นหนังสือน่าอ่านที่ให้ข้อคิดเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตได้เป็นอย่างดี” ซึ่งหลังจากมีข่าวนี้เกิดขึ้น ส่งผลให้หนังสือ Animal Farm เขียนโดยจอร์จ ออร์เวลล์ ทำให้แฮชแท็ก #Animal Farm ติดอันดับ 2 ของทวิตเตอร์ทันที
Animal Farm หรือชื่อภาษาไทยคือ ฟาร์มเดรัจฉาน ถือเป็นผลงานชิ้นสำคัญอีกชิ้นหนึ่งของ จอร์จ ออร์เวลล์ ที่ต้องการที่จะสะท้อนให้เห็นภาพของการปฏิวัติรัสเซียในปี 1917 จนเข้าสู่ยุคการปกครองของสตาลิน และสหภาพโซเวียต โดยหนังสือเรื่อง Animal Farm เป็นเรื่องราวของฟาร์มปศุสัตว์ที่ชื่อว่า แมเนอร์ ฟาร์ม ที่มีเจ้าของฟาร์มเป็นมนุษย์คือ นายโจนส์ แต่เนื่องจากคนายโจนส์ทั้งขาดความรับผิดชอบ และเป็นคนขี้เหล้า จึงส่งผลให้ชีวิตของสัตว์ในฟาร์มย่ำแย่ จึงทำให้ในคืนหนึ่ง ตาเฒ่าเมเจอร์ หมูพ่อพันธุ์ ได้ลุกขึ้นมาปฏิวัติในฟาร์มและชนะ จนเมื่อตาเฒ่าเมเจอร์เสียชีวิต หมูหนุ่ม 2 ตัวคือ หมูสโนว์บอล และ หมูนโปเลียน ก็ได้ยึดอำนาจ และเปลี่ยนชื่อฟาร์มจาก แมเนอร์ฟาร์ม เป็น แอนิมอล ฟาร์ม พร้อมกับประกาศใช้ บัญญัติ 7 ประการ โดยมีข้อสำคัญที่กล่าวว่า
"สัตว์ทุกตัวเท่าเทียมกัน"
ในตอนแรก ทั้งฟาร์มนี้มีแต่ความสุข หมูสโนว์บอลสอนให้สัตว์อ่านเขียน ส่วนหมูนโปเลียนได้สอนลูกสุนัขให้รู้จักทฤษฎีแอนิมอลลิซึ่ม ในตอนนั้นแม้ว่าจะมีอาหารอุดมสมบูรณ์ แต่อาหารดี ๆ ก็เก็บไว้ให้หมูที่ตั้งตัวเป็นผู้นำของฟาร์ม
นายโจนส์ พยายามที่จะทวงคืนฟาร์ม แต่ล้มเหลว หมูสโนว์บอลจึงประกาศที่จะเปลี่ยนแปลงฟาร์มให้ทันสมัยขึ้นด้วยการสร้างกังหันลม แต่หมูนโปเลียนได้ใช้สุนัขไล่หมูสโนว์บอลออกไป พร้อมประกาศตัวเป็นผู้นำของฟาร์ม
ในฐานะผู้นำของฟาร์ม หมูนโปเลียน ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างการปกครองฟาร์ม จากการประชุมของทุกฝ่ายกลายเป็นคณะกรรมการหมู และบอกว่าความคิดเรื่องการสร้างกังหันลมมาจากหมูสควีลเลอร์ สัตว์ทุกตัวในฟาร์มทำงานอย่างหนัก เพราะหวังว่าหลังจากที่มีกังหันลมแล้ว ชีวิตจะดีขึ้นกว่าเดิม แต่วันหนึ่ง พายุได้พัดทำลายกังหันลม ทำให้ หมูสควีลเลอร์และหมูนโปเลียน บอกว่า การที่กังหันลมพัง เป็นเพราะหมูสโนว์บอล มีการกล่าวหาว่า หมูสโนว์บอล สมคบคิดกับนายโจนส์ เจ้าของฟาร์มคนเก่าที่เป็นมนุษย์ และหมูนโปเลียน ยังยกความดีความชอบว่า ตัวเองเป็นฮีโร่ในการต่อสู้กับนายโจนส์ ตอนที่นายโจนส์ต้องการทวงฟาร์มคืน ทั้งที่หมูนโปเลียน ไม่ได้อยู่ร่วมสู้รบกับสัตว์ตัวอื่น รวมทั้งหมูนโปเลียน ยังป่าวประกาศว่าชีวิตของสัตว์ทุกตัวตอนนี้ ดีกว่าชีวิตตอนอยู่ใต้การปกครองโดยมนุษย์
จากนั้น นายเฟเดอร์ริก ฟาร์มเพื่อนบ้าน ได้ระเบิดกังหันลม และกลายเป็นการสู้รบกัน แม้เหล่าสัตว์จะชนะ แต่ก็สูญเสียไปมาก รวมทั้งม้าที่ชื่อว่า บ็อกเซอร์ ที่ล้มขณะทำงานในกังหันลม และถูกคนกำจัดซากสัตว์เอาร่างไป แต่กระนั้น หมูสควีลเลอร์ ยังบอกว่า รถที่มารับร่างของม้าบ็อกเซอร์นั้น เป็นรถของทางการแต่เพียงแค่ไม่ได้เปลี่ยนป้ายที่อยู่ด้านข้าง ม้าบ็อกเซอร์ได้ถูกยกย่องในฐานะวีรบุรุษ แต่หมูนโปเลียนเอง ก็ตั้งใจที่จะขายม้าบ็อกเซอร์ให้คนกำจัดซากสัตว์อยู่แล้ว เพื่อที่จะเอาเงินมาซื้อเหล้าดื่มเอง
สุดท้ายแล้ว หลายปีผ่านไป กังหันลมก็ถูกสร้างใหม่ แต่ไม่มีการติดไฟฟ้า เครื่องทำความร้อน และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกใด ๆ เพราะหมูนโปเลียนยืนยันว่า สัตว์ที่มีความสุขคือสัตว์ที่อยู่อย่างเรียบง่ายไม่ฟุ้งเฟ้อ สัตว์หลายตัวที่เป็นผู้นำการปฏิวัติก็ล้มตาย นายโจนส์ก็ตาย เหล่าหมูผู้นำก็เริ่มทำตัวเหมือนมนุษย์ ทั้งเดินด้วยขา 2 ข้าง ถือแส้ ดื่มแอลกอฮอล์ และบัญญัติ 7 ประการก็ถูกเปลี่ยนเป็น "สัตว์ทุกตัวเท่าเทียมกัน แต่สัตว์บางชนิดมีความเท่าเทียมมากกว่าสัตว์ชนิดอื่น" และ "สี่เท้าก็ดี แต่ 2 เท้าดีกว่า" หมูนโปเลียนหันไปคบค้ามนุษย์จากฟาร์มอื่น และประกาศให้ฟาร์มอื่นเป็นพันธมิตร พร้อมกับเปลี่ยนคืนชื่อเดิมสู่ แมเนอร์ ฟาร์ม และจบตรงที่ว่า เหล่ามนุษย์ได้นั่งมองหมูและมนุษย์เล่นไพ่กัน และแยกไม่ออกว่า ทั้งมนุษย์และหมูต่างกันอย่างไร
หนังสือเรื่องนี้สะท้อนถึงเหตุการณ์การปฏิวัติรัสเซียและการครองอำนาจของสตาลิน โดย สามารถตีความโดยนัยได้ว่า
- เจ้าของฟาร์มที่ปล่อยปละละเลยสัตว์ คือ พระเจ้าซาร์นิโคลัส กษัตริย์องค์สุดท้ายของรัสเซีย
- หมูแก่ที่ฝากข้อความให้สัตว์ปฏิวัติก่อนตาย คือ คาร์ล มากซ์ ผู้วางรากฐานแนวคิดแบบคอมมิวนิสม์
- หมูขาว คือ วลาดีมีร์ เลนิน ผู้นำการปฏิวัติ จนขับไล่เจ้าของฟาร์มไปได้ (แต่ในประวัติศาสตร์จริงๆ พรรคบอลเชวิคของเขา สั่งยิงพระเจ้าซาร์และครอบครัวตายทั้งหมด)
- หมูดำ คือ โจเซฟ สตาลิน ผู้ใช้นโยบายแบบทหาร รวมอำนาจ รุนแรง รวบอำนาจและยึดทรัพยากรทั้งหมดของประชาชน เข้าเป็นของรัฐทั้งหมด (หมูดำ ขับไล่หมูขาวไปได้ ในประวัติศาสตร์คือ หลังยุคของเลนิน สตาลินไล่กวาดล้างผู้มีตำแหน่งในพรรคที่อยู่ข้างเลนินจนหมด)
- สัตว์ทั้งหลาย จะเป็นตัวแทนของประชาชนต่างๆ ที่อยู่ในรัสเซีย
ซึ่งตอนจบของหนังสือก็เหมือนการบอกว่า การปกครองแบบนี้ยังไงก็ไม่ยั่งยืน ทำให้เหล่าสัตว์ทั้งหลายลุกขึ้นมาปฏิวัตินั่นเอง
โดย แอนิมอล ฟาร์ม ถูกแปลเป็นภาษาไทยมาแล้ว 10 ครั้ง
1 ฟาร์มเดรัจฉาน แปลโดย ม.ล. นิภา ภานุมาศ (พ.ศ. 2502)
2 สัตวรัฐ แปลโดย อุทุมพร ปาณินทร์ สำนักพิมพ์แพร่พิทยา (พ.ศ. 2515)
3 การเมืองของสัตว์ แปลโดย วิเชียร อติชาตการ สำนักพิมพ์เคล็ดไทย (พ.ศ. 2518)
4 แอนนิมอล ฟาร์ม แปลโดย ศุภรางค์ เผ่าพันเลิด สำนักพิมพ์แพร่พิทยา (พ.ศ. 2518)
5 ฟาร์มสัตว์ แปลโดย สายธาร สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น (พ.ศ. 2520)
6 รัฐสัตว์ แปลโดย เกียรติขจร ไชยแสงสุขกุล สำนักพิมพ์มติชน (พ.ศ. 2544)
7 แอนิมอล ฟาร์ม แปลโดย พันเอก ดร. ชัยพฤกษ์ ปิลกศิริ สำนักพิมพ์กู๊ดมอร์นิ่ง (พ.ศ. 2549)
8 แอนิมอล ฟาร์ม สงครามกบฏของสรรพสัตว์ แปลโดย บัญชา สุวรรณานนท์ สำนักหนังสือไต้ฝุ่น (พ.ศ. 2555)
9 แอนิมอล ฟาร์ม แปลโดย เพชร ภาษพิรัช สำนักพิมพ์ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (มีนาคม พ.ศ. 2560)
10 แอนิมอล ฟาร์ม การเมืองเรื่องสรรพสัตว์ (ฉบับ 2 ภาษา Thai-English) แปลโดย สรวงอัปสร กสิกรานันท์ แอร์โรว์ คลาสสิกบุ๊คส์ (พ.ศ. 2561)
ขอบคุณที่มา: คุยสามก๊ก ถกไซ่ฮั่น
https://www.facebook.com/3KingdomsXihan/photos/a.617349158712288/702176140229589/?type=3&theater
https://www.youtube.com/watch?v=p4qVUXtU6aQ
POSTJUNG
KAPOOK.COM
SANOOK.COM
รู้จักหนังสือ Animal Farm เรื่องของหมูที่ตั้งตนเป็นเผด็จการ
เมื่อวันที่ 29 พ.ค. (วานนี้) จากกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แนะนำให้อ่านหนังสือ Animal Farm ฉบับภาษาไทย ซึ่งเป็นหนังสือน่าอ่านที่ให้ข้อคิดเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตได้เป็นอย่างดี” ซึ่งหลังจากมีข่าวนี้เกิดขึ้น ส่งผลให้หนังสือ Animal Farm เขียนโดยจอร์จ ออร์เวลล์ ทำให้แฮชแท็ก #Animal Farm ติดอันดับ 2 ของทวิตเตอร์ทันที
Animal Farm หรือชื่อภาษาไทยคือ ฟาร์มเดรัจฉาน ถือเป็นผลงานชิ้นสำคัญอีกชิ้นหนึ่งของ จอร์จ ออร์เวลล์ ที่ต้องการที่จะสะท้อนให้เห็นภาพของการปฏิวัติรัสเซียในปี 1917 จนเข้าสู่ยุคการปกครองของสตาลิน และสหภาพโซเวียต โดยหนังสือเรื่อง Animal Farm เป็นเรื่องราวของฟาร์มปศุสัตว์ที่ชื่อว่า แมเนอร์ ฟาร์ม ที่มีเจ้าของฟาร์มเป็นมนุษย์คือ นายโจนส์ แต่เนื่องจากคนายโจนส์ทั้งขาดความรับผิดชอบ และเป็นคนขี้เหล้า จึงส่งผลให้ชีวิตของสัตว์ในฟาร์มย่ำแย่ จึงทำให้ในคืนหนึ่ง ตาเฒ่าเมเจอร์ หมูพ่อพันธุ์ ได้ลุกขึ้นมาปฏิวัติในฟาร์มและชนะ จนเมื่อตาเฒ่าเมเจอร์เสียชีวิต หมูหนุ่ม 2 ตัวคือ หมูสโนว์บอล และ หมูนโปเลียน ก็ได้ยึดอำนาจ และเปลี่ยนชื่อฟาร์มจาก แมเนอร์ฟาร์ม เป็น แอนิมอล ฟาร์ม พร้อมกับประกาศใช้ บัญญัติ 7 ประการ โดยมีข้อสำคัญที่กล่าวว่า"สัตว์ทุกตัวเท่าเทียมกัน"
ในตอนแรก ทั้งฟาร์มนี้มีแต่ความสุข หมูสโนว์บอลสอนให้สัตว์อ่านเขียน ส่วนหมูนโปเลียนได้สอนลูกสุนัขให้รู้จักทฤษฎีแอนิมอลลิซึ่ม ในตอนนั้นแม้ว่าจะมีอาหารอุดมสมบูรณ์ แต่อาหารดี ๆ ก็เก็บไว้ให้หมูที่ตั้งตัวเป็นผู้นำของฟาร์ม
นายโจนส์ พยายามที่จะทวงคืนฟาร์ม แต่ล้มเหลว หมูสโนว์บอลจึงประกาศที่จะเปลี่ยนแปลงฟาร์มให้ทันสมัยขึ้นด้วยการสร้างกังหันลม แต่หมูนโปเลียนได้ใช้สุนัขไล่หมูสโนว์บอลออกไป พร้อมประกาศตัวเป็นผู้นำของฟาร์ม
ในฐานะผู้นำของฟาร์ม หมูนโปเลียน ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างการปกครองฟาร์ม จากการประชุมของทุกฝ่ายกลายเป็นคณะกรรมการหมู และบอกว่าความคิดเรื่องการสร้างกังหันลมมาจากหมูสควีลเลอร์ สัตว์ทุกตัวในฟาร์มทำงานอย่างหนัก เพราะหวังว่าหลังจากที่มีกังหันลมแล้ว ชีวิตจะดีขึ้นกว่าเดิม แต่วันหนึ่ง พายุได้พัดทำลายกังหันลม ทำให้ หมูสควีลเลอร์และหมูนโปเลียน บอกว่า การที่กังหันลมพัง เป็นเพราะหมูสโนว์บอล มีการกล่าวหาว่า หมูสโนว์บอล สมคบคิดกับนายโจนส์ เจ้าของฟาร์มคนเก่าที่เป็นมนุษย์ และหมูนโปเลียน ยังยกความดีความชอบว่า ตัวเองเป็นฮีโร่ในการต่อสู้กับนายโจนส์ ตอนที่นายโจนส์ต้องการทวงฟาร์มคืน ทั้งที่หมูนโปเลียน ไม่ได้อยู่ร่วมสู้รบกับสัตว์ตัวอื่น รวมทั้งหมูนโปเลียน ยังป่าวประกาศว่าชีวิตของสัตว์ทุกตัวตอนนี้ ดีกว่าชีวิตตอนอยู่ใต้การปกครองโดยมนุษย์
จากนั้น นายเฟเดอร์ริก ฟาร์มเพื่อนบ้าน ได้ระเบิดกังหันลม และกลายเป็นการสู้รบกัน แม้เหล่าสัตว์จะชนะ แต่ก็สูญเสียไปมาก รวมทั้งม้าที่ชื่อว่า บ็อกเซอร์ ที่ล้มขณะทำงานในกังหันลม และถูกคนกำจัดซากสัตว์เอาร่างไป แต่กระนั้น หมูสควีลเลอร์ ยังบอกว่า รถที่มารับร่างของม้าบ็อกเซอร์นั้น เป็นรถของทางการแต่เพียงแค่ไม่ได้เปลี่ยนป้ายที่อยู่ด้านข้าง ม้าบ็อกเซอร์ได้ถูกยกย่องในฐานะวีรบุรุษ แต่หมูนโปเลียนเอง ก็ตั้งใจที่จะขายม้าบ็อกเซอร์ให้คนกำจัดซากสัตว์อยู่แล้ว เพื่อที่จะเอาเงินมาซื้อเหล้าดื่มเอง
สุดท้ายแล้ว หลายปีผ่านไป กังหันลมก็ถูกสร้างใหม่ แต่ไม่มีการติดไฟฟ้า เครื่องทำความร้อน และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกใด ๆ เพราะหมูนโปเลียนยืนยันว่า สัตว์ที่มีความสุขคือสัตว์ที่อยู่อย่างเรียบง่ายไม่ฟุ้งเฟ้อ สัตว์หลายตัวที่เป็นผู้นำการปฏิวัติก็ล้มตาย นายโจนส์ก็ตาย เหล่าหมูผู้นำก็เริ่มทำตัวเหมือนมนุษย์ ทั้งเดินด้วยขา 2 ข้าง ถือแส้ ดื่มแอลกอฮอล์ และบัญญัติ 7 ประการก็ถูกเปลี่ยนเป็น "สัตว์ทุกตัวเท่าเทียมกัน แต่สัตว์บางชนิดมีความเท่าเทียมมากกว่าสัตว์ชนิดอื่น" และ "สี่เท้าก็ดี แต่ 2 เท้าดีกว่า" หมูนโปเลียนหันไปคบค้ามนุษย์จากฟาร์มอื่น และประกาศให้ฟาร์มอื่นเป็นพันธมิตร พร้อมกับเปลี่ยนคืนชื่อเดิมสู่ แมเนอร์ ฟาร์ม และจบตรงที่ว่า เหล่ามนุษย์ได้นั่งมองหมูและมนุษย์เล่นไพ่กัน และแยกไม่ออกว่า ทั้งมนุษย์และหมูต่างกันอย่างไร
หนังสือเรื่องนี้สะท้อนถึงเหตุการณ์การปฏิวัติรัสเซียและการครองอำนาจของสตาลิน โดย สามารถตีความโดยนัยได้ว่า
- เจ้าของฟาร์มที่ปล่อยปละละเลยสัตว์ คือ พระเจ้าซาร์นิโคลัส กษัตริย์องค์สุดท้ายของรัสเซีย
- หมูแก่ที่ฝากข้อความให้สัตว์ปฏิวัติก่อนตาย คือ คาร์ล มากซ์ ผู้วางรากฐานแนวคิดแบบคอมมิวนิสม์
- หมูขาว คือ วลาดีมีร์ เลนิน ผู้นำการปฏิวัติ จนขับไล่เจ้าของฟาร์มไปได้ (แต่ในประวัติศาสตร์จริงๆ พรรคบอลเชวิคของเขา สั่งยิงพระเจ้าซาร์และครอบครัวตายทั้งหมด)
- หมูดำ คือ โจเซฟ สตาลิน ผู้ใช้นโยบายแบบทหาร รวมอำนาจ รุนแรง รวบอำนาจและยึดทรัพยากรทั้งหมดของประชาชน เข้าเป็นของรัฐทั้งหมด (หมูดำ ขับไล่หมูขาวไปได้ ในประวัติศาสตร์คือ หลังยุคของเลนิน สตาลินไล่กวาดล้างผู้มีตำแหน่งในพรรคที่อยู่ข้างเลนินจนหมด)
- สัตว์ทั้งหลาย จะเป็นตัวแทนของประชาชนต่างๆ ที่อยู่ในรัสเซีย
ซึ่งตอนจบของหนังสือก็เหมือนการบอกว่า การปกครองแบบนี้ยังไงก็ไม่ยั่งยืน ทำให้เหล่าสัตว์ทั้งหลายลุกขึ้นมาปฏิวัตินั่นเอง
โดย แอนิมอล ฟาร์ม ถูกแปลเป็นภาษาไทยมาแล้ว 10 ครั้ง
1 ฟาร์มเดรัจฉาน แปลโดย ม.ล. นิภา ภานุมาศ (พ.ศ. 2502)
2 สัตวรัฐ แปลโดย อุทุมพร ปาณินทร์ สำนักพิมพ์แพร่พิทยา (พ.ศ. 2515)
3 การเมืองของสัตว์ แปลโดย วิเชียร อติชาตการ สำนักพิมพ์เคล็ดไทย (พ.ศ. 2518)
4 แอนนิมอล ฟาร์ม แปลโดย ศุภรางค์ เผ่าพันเลิด สำนักพิมพ์แพร่พิทยา (พ.ศ. 2518)
5 ฟาร์มสัตว์ แปลโดย สายธาร สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น (พ.ศ. 2520)
6 รัฐสัตว์ แปลโดย เกียรติขจร ไชยแสงสุขกุล สำนักพิมพ์มติชน (พ.ศ. 2544)
7 แอนิมอล ฟาร์ม แปลโดย พันเอก ดร. ชัยพฤกษ์ ปิลกศิริ สำนักพิมพ์กู๊ดมอร์นิ่ง (พ.ศ. 2549)
8 แอนิมอล ฟาร์ม สงครามกบฏของสรรพสัตว์ แปลโดย บัญชา สุวรรณานนท์ สำนักหนังสือไต้ฝุ่น (พ.ศ. 2555)
9 แอนิมอล ฟาร์ม แปลโดย เพชร ภาษพิรัช สำนักพิมพ์ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (มีนาคม พ.ศ. 2560)
10 แอนิมอล ฟาร์ม การเมืองเรื่องสรรพสัตว์ (ฉบับ 2 ภาษา Thai-English) แปลโดย สรวงอัปสร กสิกรานันท์ แอร์โรว์ คลาสสิกบุ๊คส์ (พ.ศ. 2561)
ขอบคุณที่มา: คุยสามก๊ก ถกไซ่ฮั่น
https://www.facebook.com/3KingdomsXihan/photos/a.617349158712288/702176140229589/?type=3&theater
https://www.youtube.com/watch?v=p4qVUXtU6aQ
POSTJUNG
KAPOOK.COM
SANOOK.COM