การภาวนา ก็ควรมีการตั้งจิตให้ถูก ก่อนอื่นก็อาราธนาพระสูตรมาก่อน
ถ้าท่านมาอ่านมีความคิดเห็นอย่างไร ช่วยร่วมให้ความเห็นด้วย
"[๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเดือยข้าวสาลี หรือเดือยข้าวยวะที่บุคคลตั้ง
ไว้ถูก มือหรือเท้าย่ำเหยียบแล้ว จักทำลายมือหรือเท้า หรือว่าจักให้ห้อเลือด ข้อนี้เป็นฐานะที่มี
ได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะเดือยบุคคลตั้งไว้ถูก ฉันใดก็ดี ภิกษุนั้นแล ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
จักทำลายอวิชชา จักยังวิชชาให้เกิด จักทำนิพพานให้แจ้ง ด้วยความเห็นที่ตั้งไว้ถูก ด้วยการ
เจริญมรรคที่ตั้งไว้ถูก ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะความเห็นตั้งไว้ถูก.
[๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุจักทำลายอวิชชา จักยังวิชชาให้เกิด จักทำนิพพาน
ให้แจ้ง ด้วยความเห็นที่ตั้งไว้ถูก ด้วยการเจริญมรรคที่ตั้งไว้ถูกอย่างไรเล่า? ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อม
เจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุจักทำลายอวิชชา จักยังวิชชาให้เกิด จักทำนิพพานให้แจ้ง ด้วยความเห็นที่ตั้งไว้
ถูก ด้วยการเจริญมรรคที่ตั้งไว้ถูก อย่างนี้แล."
ในพระสูตร กล่าวว่า การตั้งเดีอยบุคคลตั้งเอาไว้ถูก.....
ผมคิดว่า ก็คือการตั้งจิตนั้นเอง
ในพระสูตร กล่าวว่า เจริญ มรรค แล้วน้อมไปเพื่อสละ ฯ
แล้วเราจะตั้งอย่างไรเล่าให้ดูง่ายๆเข้าใจง่ายๆ
ในความคิดผม เราการที่บุคคลจะบรรลุธรรม อันดับแรก ต้องละสักกายะทิฏฐิ ให้ได้ก่อน
ดังนั้น เราก็ตั้งจิตให้มีความเห็นว่า จิต ไม่ใช่ตน ไม่มีตนในจิต เพื่อละสักกายะทิฏฐิ ละความเห็นว่ามีตนในขันธ์ห้า ละความเห็นว่าขันธ์ห้ามิใช่ตน
ตั้งจิตอย่างนี้
และเมื่อเราภาวนาด้วยสติปัฏฐานสี่ เช่นการทำอานาปานสติ
มีสติ ที่ตั้งมั้น มีสัมปชัญญะเกิดอย่างต่อเนื่อง รู้ตัวทั่วพร้อม ก็น้อมคิดไปว่า ไม่มีจิตในตน ไม่มีตนในจิต
มันเป็นการป้อนความรู้จากจิต สู่ตน ในขณะที่ จิตเป็นสมาธิ และตัวสัมปชัญญะ มีอย่างต่อเนื่อง
จะเห็นว่า ตัวจิตเป็นตัวป้อน ตัวสัมปชัญญะเป็นตัวรับ ความรู้นั้น
สัมปชัญญะที่ต่อเนื่อง จะเป็นญาณ จิตที่น้อมคิดไปว่า ไม่มีจิตในตน เมื่อเกิดญาณรับรู้ว่า จิตไม่ใช่ตน ก็จะละสักกายะทิฏฐิได้ที่เรียกว่า วิปัสสนาญาณ
ภาวนามยะปัญญา ก็คือการรู้ด้วยญาณ ซึ่งยากกว่าการรับรู้ด้วยจิต
การรับรู้ด้วยจิต ก็คืออ่าน ฟัง คิดตาม หรือเรียกว่า สุตมยะปัญญา จินตามยะปัญญา
การรู้ด้วยญาณ ต้องภาวนา ด้วย สติปัฏฐานสี่เท่านั้น และการเกิดความรู้ด้วยญาณนั้น ก็ยากเหมือนที่พระพุทธองค์ตรัสอุปมา เหมือนเราเหยียบไปบนเม็ดข้าว ซึ่งถ้าตั้งเดีอยถูก โอกาสก็จะเกิดการห้อเลือดได้
การตั้งจิต ของนักปฏิบัติ ตั้งจิตอย่างไร
ถ้าท่านมาอ่านมีความคิดเห็นอย่างไร ช่วยร่วมให้ความเห็นด้วย
"[๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเดือยข้าวสาลี หรือเดือยข้าวยวะที่บุคคลตั้ง
ไว้ถูก มือหรือเท้าย่ำเหยียบแล้ว จักทำลายมือหรือเท้า หรือว่าจักให้ห้อเลือด ข้อนี้เป็นฐานะที่มี
ได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะเดือยบุคคลตั้งไว้ถูก ฉันใดก็ดี ภิกษุนั้นแล ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
จักทำลายอวิชชา จักยังวิชชาให้เกิด จักทำนิพพานให้แจ้ง ด้วยความเห็นที่ตั้งไว้ถูก ด้วยการ
เจริญมรรคที่ตั้งไว้ถูก ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะความเห็นตั้งไว้ถูก.
[๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุจักทำลายอวิชชา จักยังวิชชาให้เกิด จักทำนิพพาน
ให้แจ้ง ด้วยความเห็นที่ตั้งไว้ถูก ด้วยการเจริญมรรคที่ตั้งไว้ถูกอย่างไรเล่า? ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อม
เจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุจักทำลายอวิชชา จักยังวิชชาให้เกิด จักทำนิพพานให้แจ้ง ด้วยความเห็นที่ตั้งไว้
ถูก ด้วยการเจริญมรรคที่ตั้งไว้ถูก อย่างนี้แล."
ในพระสูตร กล่าวว่า การตั้งเดีอยบุคคลตั้งเอาไว้ถูก.....
ผมคิดว่า ก็คือการตั้งจิตนั้นเอง
ในพระสูตร กล่าวว่า เจริญ มรรค แล้วน้อมไปเพื่อสละ ฯ
แล้วเราจะตั้งอย่างไรเล่าให้ดูง่ายๆเข้าใจง่ายๆ
ในความคิดผม เราการที่บุคคลจะบรรลุธรรม อันดับแรก ต้องละสักกายะทิฏฐิ ให้ได้ก่อน
ดังนั้น เราก็ตั้งจิตให้มีความเห็นว่า จิต ไม่ใช่ตน ไม่มีตนในจิต เพื่อละสักกายะทิฏฐิ ละความเห็นว่ามีตนในขันธ์ห้า ละความเห็นว่าขันธ์ห้ามิใช่ตน
ตั้งจิตอย่างนี้
และเมื่อเราภาวนาด้วยสติปัฏฐานสี่ เช่นการทำอานาปานสติ
มีสติ ที่ตั้งมั้น มีสัมปชัญญะเกิดอย่างต่อเนื่อง รู้ตัวทั่วพร้อม ก็น้อมคิดไปว่า ไม่มีจิตในตน ไม่มีตนในจิต
มันเป็นการป้อนความรู้จากจิต สู่ตน ในขณะที่ จิตเป็นสมาธิ และตัวสัมปชัญญะ มีอย่างต่อเนื่อง
จะเห็นว่า ตัวจิตเป็นตัวป้อน ตัวสัมปชัญญะเป็นตัวรับ ความรู้นั้น
สัมปชัญญะที่ต่อเนื่อง จะเป็นญาณ จิตที่น้อมคิดไปว่า ไม่มีจิตในตน เมื่อเกิดญาณรับรู้ว่า จิตไม่ใช่ตน ก็จะละสักกายะทิฏฐิได้ที่เรียกว่า วิปัสสนาญาณ
ภาวนามยะปัญญา ก็คือการรู้ด้วยญาณ ซึ่งยากกว่าการรับรู้ด้วยจิต
การรับรู้ด้วยจิต ก็คืออ่าน ฟัง คิดตาม หรือเรียกว่า สุตมยะปัญญา จินตามยะปัญญา
การรู้ด้วยญาณ ต้องภาวนา ด้วย สติปัฏฐานสี่เท่านั้น และการเกิดความรู้ด้วยญาณนั้น ก็ยากเหมือนที่พระพุทธองค์ตรัสอุปมา เหมือนเราเหยียบไปบนเม็ดข้าว ซึ่งถ้าตั้งเดีอยถูก โอกาสก็จะเกิดการห้อเลือดได้