สภาวธรรม หรืออาการที่เกิดจากการปฏิบัติธรรม ที่เราท่านทั้งหลายเล่ากัน ในพระไตรปิฏกมีอย่างไร?

กระทู้สนทนา
สภาวธรรม หรืออาการที่เกิดจากการปฏิบัติธรรม ที่เราท่านทั้งหลายเล่ากัน ในพระไตรปิฏกมีอย่างไร?

   เห็นมีการสนทนากันในเรื่อง มรรคจิตบ้าง ในเรื่อง มรรคสมังคีบ้าง จึงตั้งกระทู้นี้ให้พิจารณา ถึงสภาวะธรรม หรืออาการที่เิกิดจากการปฏิบัติธรรม ที่มีในพระไตรปิฏกให้ทราบ เพื่อเปรียบเทียบเพื่อ ศึกษาพิจารณา อย่างมีธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว

   ซึ่งความจริงแล้วควร ต้องปฏิบัติธรรมจนสภาวะต่างๆ ปรากฏ ให้ถึงที่สุด เป็นลำดับๆ ไป  แล้วศึกษาพระไตรปิฏกเพื่อเทียบเคียง ถึงผลการปฏิบัตินั้น ว่ามีหรือไม่ในพระไตรปิฏก?  จะเป็นการศึกษาที่ไม่ลำบากนัก

   แต่ถ้าปฏิบัติธรรมยังไม่ถูกต้อง แล้วศึกษาพระไตรปิฏกเพื่อเทียบเคียง ย่อมสับสนจบต้นชนปลายไม่ถูก

   แต่ถ้าปฏิบัติธรรมไม่ถูกต้อง หรือผิดทางไป แล้วมีทิฏฐิปักแน่นลงไปเสียแล้ว เมื่อศึกษาเปรียบเทียบกับพระไตรปิฏก ย่อมเกิดปัญหา เพราะทิฏฐิ หรือเพราะมานะทิฏฐิ  หรือเพราะหลง หรือเพราะโง่ หรือเพราะเป็นคนทราม จะให้เป็นไปตามใจของตนตามที่เกิดอาการหลงผิด ที่เกิดทิฏฐิปักแน่นลงไปแล้ว จึงจะเกิดปรากฏการณ์ ดังนี้.

    1.ไม่เอาพระไตรปิฏกบางส่วนตัดออกไป เอาบางส่วนตามทิฏฐิแห่งตนหรือกล่มตน
     
    2.พระไตรปิฏกมีความหมายผิดต้องแก้เปลี่ยน  ตามที่ตนเห็นตามทิฏฐิแห่งตนหรือกลุ่มตน

    3. ธรรมบัญยัติ ในส่วนที่ตนหลงผิดปฏิบัติผิดนั้น ได้หล่นหายไป ต้องเพิ่มเข้าไปตามทิฏฐิแห่ง่ตน หรือกลุ่มตน  

    โดยลืมหรือไม่สนใจ ฏกหรือหลักการ รักษาของเดิม ที่สามารถดำรงณ์ของเดิมอยู่ได้ยาวนาน คือ
     1.ไม่เพิ่มเติมเข้าไป
     2.ไม่ตัดออก
     3.ไม่แก้เปลี่ยนความหมายใดๆ.

    เมื่ออยู่ในมือหรืออำนาจแห่งตน.  นี้และคือหลัก ของ เถรวาท  ที่รักษาพระธรรมวินัย ที่สมบูรณ์อยู่ได้สืบทอดกันยาวนาน โดยไม่ผิดเพี้ยนเกินไป.

     แต่ก็ยังมีผู้ที่จะกระทำหรือกระทำ เพราะทิฏฐิ หรือเพราะมานะทิฏฐิ  หรือเพราะหลง หรือเพราะโง่ หรือเพราะเป็นคนทราม จะให้เป็นไปตามใจของตนตามที่เกิดอาการหลงผิด ที่เกิดทิฏฐิปักแน่นลงไปแล้ว

  โทษที่ร่ายยาวไป มาเข้าบท สภาวะธรรม หรืออาการ ปฏิบัติที่มีในพระไตรปิฏก  จากพระไตรปิฏกเล่มที่ 14.

--------------------------------------------------------
                       ๙.  กายคตาสติสูตร  (๑๑๙)
       [๒๙๒]  ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
       สมัยหนึ่ง  พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน  อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี  ครั้งนั้นแล  ภิกษุมากด้วยกันกลับจากบิณฑบาต  ภายหลังเวลาอาหารแล้ว
นั่งประชุมกันในอุปัฏฐานศาลา  เกิดข้อสนทนากันขึ้นในระหว่างดังนี้ว่า  ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
น่าอัศจรรย์จริง  ไม่น่าเป็นไปได้เลย  เท่าที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น  ผู้ทรงรู้  ทรงเห็น
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ  ตรัสกายคตาสติที่ภิกษุเจริญแล้ว  ทำให้มากแล้ว  ว่ามี  ผลมาก
มีอานิสงส์มากนี้  ข้อสนทนากันในระหว่างของภิกษุเหล่านั้น  ค้างอยู่  เพียงเท่านี้แล  ฯ
       [๒๙๓]  ขณะนั้น  พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากสถานที่ทรงหลีกเร้นอยู่ในเวลาเย็น
เสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐานศาลานั้น  ครั้นแล้วจึงประทับนั่ง  ณ  อาสนะที่เขาแต่งตั้งไว้  แล้วตรัสถาม
ภิกษุทั้งหลายว่า  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  บัดนี้  พวกเธอ  นั่งประชุมสนทนาเรื่องอะไรกัน  และพวกเธอ
สนทนาเรื่องอะไรค้างอยู่ในระหว่าง  ฯ
      ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ณ  โอกาสนี้  พวกข้าพระองค์กลับจากบิณฑบาต
ภายหลังเวลาอาหารแล้ว  นั่งประชุมกันในอุปัฏฐานศาลาเกิดข้อสนทนากันขึ้นในระหว่างดังนี้ว่า
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย  น่าอัศจรรย์จริงไม่น่าเป็นไปได้เลย  เท่าที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ผู้ทรงรู้  ทรงเห็น  เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ  ตรัสกายคตาสติที่ภิกษุเจริญแล้ว  ทำให้มากแล้ว
ว่ามีผลมาก  มีอานิสงส์มากนี้  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ข้อสนทนากันในระหว่างของพวกข้าพระองค์
ได้ค้างอยู่เพียงเท่านี้  พอดีพระผู้มีพระภาคก็เสด็จมาถึง  ฯ
    [๒๙๔]  พระผู้มีพระภาคตรัสว่า  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ก็กายคตาสติอันภิกษุเจริญแล้ว
อย่างไร  ทำให้มากแล้วอย่างไร  จึงมีผลมาก  มีอานิสงส์มาก  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้  อยู่ในป่าก็ดี  อยู่ที่โคนไม้ก็ดี  อยู่ในเรือนว่างก็ดี  นั่งคู้บัลลังก์  ตั้งกายตรง
ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า  เธอย่อมมีสติหายใจออกมีสติหายใจเข้า  เมื่อหายใจออกยาว  ก็รู้ชัดว่า
หายใจออกยาว  หรือเมื่อหายใจ  เข้ายาว  ก็รู้ชัดว่า  หายใจเข้ายาว  เมื่อหายใจออกสั้น  ก็รู้ชัดว่า
หายใจออกสั้นหรือเมื่อหายใจเข้าสั้น  ก็รู้ชัดว่า  หายใจเข้าสั้น  สำเหนียกอยู่  ว่าเราจักเป็นผู้
กำหนดรู้กองลมทั้งปวง  หายใจออก  ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง  หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่  ว่าเราจักระงับกายสังขาร  หายใจออก  ว่าเราจักระงับกายสังขาร  หายใจเข้า
เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท  มีความเพียร  ส่งตนไปในธรรมอยู่  อย่างนี้  ย่อมละความดำริพล่านที่
อาศัยเรือนเสียได้  เพราะละความดำริพล่านนั้นได้  จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น  ย่อมคงที่  แน่นิ่ง
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
 ตั้งมั่นดูกรภิกษุทั้งหลาย  แม้อย่างนี้  ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ  ฯ
        [๒๙๕]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ประการอื่นยังมีอีก  ภิกษุเดินอยู่  ก็รู้ชัดว่ากำลังเดิน
หรือยืนอยู่  ก็รู้ชัดว่ากำลังยืน  หรือนั่งอยู่  ก็รู้ชัดว่ากำลังนั่ง  หรือนอนอยู่  ก็รู้ชัดว่ากำลังนอน
หรือเธอทรงกายโดยอาการใดๆ  อยู่  ก็รู้ชัดว่า  กำลังทรงกายโดยอาการนั้นๆ  เมื่อภิกษุนั้น
ไม่ประมาท  มีความเพียร  ส่งตนไปใน  ธรรมอยู่อย่างนี้  ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้
เพราะละความดำริพล่านนั้นได้  จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น  ย่อมคงที่  แน่นิ่ง  เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
ตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย  แม้อย่างนี้  ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ  ฯ
      [๒๙๖]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ประการอื่นยังมีอีก  ภิกษุย่อมเป็นผู้ทำความ  รู้สึกตัวในเวลา
ก้าวไปและถอยกลับ  ในเวลาแลดู  และเหลียวดู  ในเวลางอแขนและเหยียดแขน  ในเวลา
ทรงผ้าสังฆาฏิ  บาตร  และจีวร  ในเวลา  ฉัน  ดื่ม  เคี้ยว  และลิ้ม  ในเวลาถ่ายอุจจาระและ
ปัสสาวะ  ในเวลา  เดิน  ยืน  นั่งนอนหลับ  ตื่น  พูด  และนิ่ง  เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท
มีความเพียร  ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้  ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้  เพราะ
ละความดำริพล่านนั้นได้  จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น  ย่อมคงที่  แน่นิ่ง  เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
ตั้งมั่น
 ดูกรภิกษุทั้งหลาย  แม้อย่างนี้  ภิกษุก็ชื่อว่าเจริญกายคตาสติ  ฯ
-------------------------------------------

  อธิบาท ตามที่ทำตัวหนาไว้...

  จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น  ย่อมคงที่  แน่นิ่ง  เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น

    นั้นแหละคือ สภาวธรรม หรืออาการปรากฏ ที่สุดอย่างหนึ่ง ในการปฏิบัติธรรม  ที่เป็นส่วนของวิปัสสนา ของกายคตาสติ  ตามพระไตรปิฏก.
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่