กรมโรงงานฯ เล็งขยายศูนย์วิเคราะห์มลพิษภาคตะวันออก หนุนติดระบบเซ็นเซอร์ที่ปล่อง-ท่อระบายน้ำเสียโรงงานในอีอีซี ตรวจสอบมลพิษแบบเรียลไทม์ พร้อมวางแผนรับมือผลกระทบอุตฯชีวภาพต่อสิ่งแวดล้อม
นายศุภกิจ บุญศิริ รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กรมโรงงานอุตสาหกรรม เตรียมมาตรการป้องกันด้านสิ่งแวดล้อมในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ซึ่งเป็นแหล่งอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศ ซึ่งหลังจากที่อีอีซีเดินหน้าได้เต็มรูปแบบจะมีโรงงานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง 10 กลุ่ม มาตั้งและขยายโรงงานอีกมาก ซึ่งกรมโรงงานอุตสาหกรรม ต้องเตรียมมาตรการรับมือกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้น
สำหรับ แผนงานหลักจะขยายศูนย์ภูมิภาคของกรมโรงงานอุตสาหกรรมที่ จ.ชลบุรี ซึ่งปัจจุบันเป็นศูนย์ฝึกอบรมการลดมลพิษโรงงาน เพื่อให้เป็นศูนย์วิเคราะห์มลพิษและความปลอดภัยภูมิภาคตะวันออก โดยขยายบทบาทออกไปกำกับดูแลด้านมลพิษในอีอีซี โดยประสานงานกับโรงงานในพื้นที่ติดตั้งเซ็นเซอร์ตรวจจับมลพิษที่ปล่องโรงงาน ซึ่งเน้นกลุ่มโรงงานที่มีมลพิษสูง เช่น ปิโตรเคมี โรงกลั่นน้ำมัน
ตั้งเป้า 600 โรงงานติดเซ็นเซอร์
รวมถึงท่อระบายน้ำเสียของโรงงานที่ปล่อยน้ำทิ้งมากกว่า 500 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน เช่น โรงงานแปรรูปอาหาร ให้เป็นระบบตรวจจับมลพิษอัจฉริยะแบบเรียลไทม์ข้อมูลมาที่ศูนย์ จ.ชลบุรี ซึ่งเชื่อมตรงมาที่กรุงเทพฯ ทันที เพื่อให้การแก้ไขปัญหามลพิษทำได้รวดเร็ว โดยปี 2562 จะหารือวางแผนในรายละเอียดและงบประมาณ และคาดว่าปี 2563 จะดำเนินการตั้งศูนย์ฯนี้ได้
“ปัจจุบันโรงงานขนาดใหญ่ทั่วประเทศที่มีปล่องระบายอากาศเสีย 600 โรง มีโรงงานที่ติดเซ็นเซอร์ที่ปลายปล่องแล้ว 60 โรง ส่วนใหญ่อยู่ในอีอีซี โดยผู้ประกอบการต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายติดตั้งเซ็นเซอร์ในโรงงาน ส่วนรัฐจะเป็นผู้ลงทุนวางระบบเชื่อมโยงประมวลผลข้อมูล และกระทรวงอุตสาหกรรมจะรณรงค์ให้โรงงานทั้ง 600 แห่ง ติดตั้งเซ็นเซอร์ให้ครบ โดยจะหารือกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อออกมาตรการสิทธิประโยชน์ให้โรงงานที่เข้าร่วม”
เล็งคุมอุตสาหกรรมชีวภาพ
นอกจากนี้ กรมโรงงานอุตสาหกรรมร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดทำการประเมินความเสี่ยงในอุตสาหกรรมเป้าหมาย เนื่องจากอุตสาหกรรมเหล่านี้ บางอุตสาหกรรมเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย ยังไม่มีมาตรฐานความปลอดภัยที่ชัดเจน
โดยเฉพาะอุตสาหกรรมชีวภาพ ซึ่งหากไม่มีมาตรการกำกับดูแลที่ถูกต้องอาจส่งผลกระทบในวงกว้างได้ และคาดว่าภายในปี 2562 จะออกมาตรการป้องกันความเสี่ยงในอุตสาหกรรมชีวภาพ รวมถึงแนวทางการดำเนินการ วิธีการแก้ไข และการออกกฎหมายบังคับที่ชัดเจน เพื่อป้องกันความเสี่ยงอันอาจจะเกิดจากอุตสาหกรรมชีวภาพ
“ปีนี้จะเตรียมความพร้อม องค์ความรู้ เจ้าหน้าที่ตรวจโรงงาน รวมทั้งนำกฎหมายที่ข้องกับอุตสาหกรรมชีวภาพของต่างประเทศมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับประเทศไทย และเตรียมรับมือผลกระทบจากอุตสาหกรรมชีวภาพ โดยล่าสุดมีผู้ประกอบการจากญี่ปุ่นจะเข้ามาลงทุนตั้งโรงงานใยสังเคราะห์ระดับนาโนที่มาจากผลผลิตการตัดต่อพันธุกรรม แต่กรมโรงงานอุตสาหกรรมยังไม่มีระเบียบรองการกำกับดูแลธุรกิจนี้ แต่ญี่ปุ่นมีกฎหมายความปลอดภัยทางชีวภาพโดยเฉพาะ ทำให้ไทยต้องพิจารณาออกกฎหมายนี้ขึ้นมารองรับ”
คุมเข้มขยะโรงงาน3กลุ่ม
นายบรรจง สุกรีฑา รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กล่าวว่า กรมโรงงานอุตสาหกรรมเตรียมมาตรการรองรับขยะอุตสาหกรรมในอีอีซี ซึ่งจะเพิ่มความเข้มงวดมากขึ้น โดยเฉพาะโรงงาน 3 ประเภท คือ
1.โรงงานประเภท 101 โรงงานปรับคุณภาพของเสียรวม
2.โรงงานประเภท 105 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการคัดแยกหรือฝังกลบสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว
3.โรงงานประเภท 106 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียจากโรงงานมาผลิตเป็นวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ใหม่โดยผ่านกรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรม เนื่องจากในพื้นที่นี้จะมีความหนาแน่นของโรงงานเพิ่มมากขึ้น
“จ.ฉะเชิงเทรา มีการขยายตัวของโรงงานประเภท 101, 105 และ 106 มากที่สุด ซึ่งก่อนหน้านี้มีอุตสาหกรรมไม่มาก แต่หลังจากประกาศเป็นพื้นที่อีอีซี ก็มีโรงงานเข้าไปตั้งฐานการผลิตเป็นจำนวนมาก ส่วนจังหวัดที่มีโรงงานประเภทเหล่านี้มากที่สุด คือ จ.ชลบุรี ดังนั้นจึงต้องเพิ่มความเข้มงวดใน 3 จังหวัดอีอีซี เพราะจะมีโรงงานเข้ามาตั้งฐานการผลิตอีกมาก”
ตรวจสอบรถบรรทุกขยะอุตฯ
สำหรับการเข้มงวดจะแบ่งเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่
1. รถบรรทุกกากอุตสาหกรรมที่อยู่ในระบบกว่า 1,000 คัน จะตรวจสอบอย่างเข้มงวด โดยติดตั้งระบบจีพีเอสกับรถบรรทุกทุกคัน เพื่อติดตามการขนกากตั้งแต่โรงงานที่มีกากไปจนถึงโรงงานกำจัดกากอุตสาหกรรม ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ติดตามตลอดเส้นทาง หากจอดนิ่งเกิน 1 ชั่วโมง หรือออกนอกเส้นทางระบบจะแจ้งเตือนทันที เจ้าหน้าที่จะโทรศัพท์ตรวจสอบและประสานอุตสาหกรรมจังหวัดติดตามทันที เพื่อป้องกันกากอุตสาหกรรมรั่วไหลไปพื้นที่สาธารณะ
2. เจ้าหน้าที่จะนำข้อมูลวิเคราะห์โรงงานที่มีความเสี่ยง เช่น โรงงานที่มีข้อร้องเรียนซ้ำซากเกิน 2 ครั้งต่อปี จะเข้าไปดูแลอย่างเข้มงวด เพื่อควบคุมให้อยู่ในมาตรฐานที่กำหนด รวมทั้งจะให้โรงงานส่งรายงานการครอบครองกากและเศษวัสดุอุตสาหกรรม อย่างละเอียดทุกปี โดยจะตรวจสอบว่าตรงกับที่ขออนุญาตทุกเดือนหรือไม่ หากส่งรายงานไม่ตรงกัน หรือไม่ส่งรายงานก็จะมีบทลงโทษชัดเจน
“หากโรงงานทั้ง 3 ประเภท ทำได้ตามมาตรฐานและพัฒนาได้ตามเกณฑ์ ก็จะถูกป้อนรายชื่อเข้าสู่ระบบเอไอ เพื่อให้ความสะดวกในการประกอบกิจการ ออกใบอนุญาตผ่านทางระบบอัตโนมัติได้ทันที"
ส่วนโรงงานที่ไม่อยู่ในมาตรฐานหรือไม่พัฒนาตัวเอง จะต้องขอใบอนุญาตขนส่งกากอุตสาหกรรมในแต่ละครั้งผ่านระบบออนไลน์ตามกรอบระยะเวลาปกติ เพื่อกระตุ้นให้โรงงานเหล่านี้มีมาตรฐานการดำเนินงานที่สูงขึ้น โดยปัจจุบันมีผู้ผ่านมาตรฐานเข้าสู่ระบบนี้ 30-40 ราย ซึ่งกรมโรงงานอุตสาหกรรมจะพยายามให้โรงงานทั้ง 3 ประเภท ในอีอีซี 719 ราย ให้เข้าสู่มาตรฐานระดับสูง
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ
EEC - เข้มแผนคุมมลพิษ
กรมโรงงานฯ เล็งขยายศูนย์วิเคราะห์มลพิษภาคตะวันออก หนุนติดระบบเซ็นเซอร์ที่ปล่อง-ท่อระบายน้ำเสียโรงงานในอีอีซี ตรวจสอบมลพิษแบบเรียลไทม์ พร้อมวางแผนรับมือผลกระทบอุตฯชีวภาพต่อสิ่งแวดล้อม
นายศุภกิจ บุญศิริ รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กรมโรงงานอุตสาหกรรม เตรียมมาตรการป้องกันด้านสิ่งแวดล้อมในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ซึ่งเป็นแหล่งอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศ ซึ่งหลังจากที่อีอีซีเดินหน้าได้เต็มรูปแบบจะมีโรงงานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง 10 กลุ่ม มาตั้งและขยายโรงงานอีกมาก ซึ่งกรมโรงงานอุตสาหกรรม ต้องเตรียมมาตรการรับมือกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้น
สำหรับ แผนงานหลักจะขยายศูนย์ภูมิภาคของกรมโรงงานอุตสาหกรรมที่ จ.ชลบุรี ซึ่งปัจจุบันเป็นศูนย์ฝึกอบรมการลดมลพิษโรงงาน เพื่อให้เป็นศูนย์วิเคราะห์มลพิษและความปลอดภัยภูมิภาคตะวันออก โดยขยายบทบาทออกไปกำกับดูแลด้านมลพิษในอีอีซี โดยประสานงานกับโรงงานในพื้นที่ติดตั้งเซ็นเซอร์ตรวจจับมลพิษที่ปล่องโรงงาน ซึ่งเน้นกลุ่มโรงงานที่มีมลพิษสูง เช่น ปิโตรเคมี โรงกลั่นน้ำมัน
ตั้งเป้า 600 โรงงานติดเซ็นเซอร์
รวมถึงท่อระบายน้ำเสียของโรงงานที่ปล่อยน้ำทิ้งมากกว่า 500 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน เช่น โรงงานแปรรูปอาหาร ให้เป็นระบบตรวจจับมลพิษอัจฉริยะแบบเรียลไทม์ข้อมูลมาที่ศูนย์ จ.ชลบุรี ซึ่งเชื่อมตรงมาที่กรุงเทพฯ ทันที เพื่อให้การแก้ไขปัญหามลพิษทำได้รวดเร็ว โดยปี 2562 จะหารือวางแผนในรายละเอียดและงบประมาณ และคาดว่าปี 2563 จะดำเนินการตั้งศูนย์ฯนี้ได้
“ปัจจุบันโรงงานขนาดใหญ่ทั่วประเทศที่มีปล่องระบายอากาศเสีย 600 โรง มีโรงงานที่ติดเซ็นเซอร์ที่ปลายปล่องแล้ว 60 โรง ส่วนใหญ่อยู่ในอีอีซี โดยผู้ประกอบการต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายติดตั้งเซ็นเซอร์ในโรงงาน ส่วนรัฐจะเป็นผู้ลงทุนวางระบบเชื่อมโยงประมวลผลข้อมูล และกระทรวงอุตสาหกรรมจะรณรงค์ให้โรงงานทั้ง 600 แห่ง ติดตั้งเซ็นเซอร์ให้ครบ โดยจะหารือกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อออกมาตรการสิทธิประโยชน์ให้โรงงานที่เข้าร่วม”
เล็งคุมอุตสาหกรรมชีวภาพ
นอกจากนี้ กรมโรงงานอุตสาหกรรมร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดทำการประเมินความเสี่ยงในอุตสาหกรรมเป้าหมาย เนื่องจากอุตสาหกรรมเหล่านี้ บางอุตสาหกรรมเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย ยังไม่มีมาตรฐานความปลอดภัยที่ชัดเจน
โดยเฉพาะอุตสาหกรรมชีวภาพ ซึ่งหากไม่มีมาตรการกำกับดูแลที่ถูกต้องอาจส่งผลกระทบในวงกว้างได้ และคาดว่าภายในปี 2562 จะออกมาตรการป้องกันความเสี่ยงในอุตสาหกรรมชีวภาพ รวมถึงแนวทางการดำเนินการ วิธีการแก้ไข และการออกกฎหมายบังคับที่ชัดเจน เพื่อป้องกันความเสี่ยงอันอาจจะเกิดจากอุตสาหกรรมชีวภาพ
“ปีนี้จะเตรียมความพร้อม องค์ความรู้ เจ้าหน้าที่ตรวจโรงงาน รวมทั้งนำกฎหมายที่ข้องกับอุตสาหกรรมชีวภาพของต่างประเทศมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับประเทศไทย และเตรียมรับมือผลกระทบจากอุตสาหกรรมชีวภาพ โดยล่าสุดมีผู้ประกอบการจากญี่ปุ่นจะเข้ามาลงทุนตั้งโรงงานใยสังเคราะห์ระดับนาโนที่มาจากผลผลิตการตัดต่อพันธุกรรม แต่กรมโรงงานอุตสาหกรรมยังไม่มีระเบียบรองการกำกับดูแลธุรกิจนี้ แต่ญี่ปุ่นมีกฎหมายความปลอดภัยทางชีวภาพโดยเฉพาะ ทำให้ไทยต้องพิจารณาออกกฎหมายนี้ขึ้นมารองรับ”
คุมเข้มขยะโรงงาน3กลุ่ม
นายบรรจง สุกรีฑา รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กล่าวว่า กรมโรงงานอุตสาหกรรมเตรียมมาตรการรองรับขยะอุตสาหกรรมในอีอีซี ซึ่งจะเพิ่มความเข้มงวดมากขึ้น โดยเฉพาะโรงงาน 3 ประเภท คือ
1.โรงงานประเภท 101 โรงงานปรับคุณภาพของเสียรวม
2.โรงงานประเภท 105 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการคัดแยกหรือฝังกลบสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว
3.โรงงานประเภท 106 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียจากโรงงานมาผลิตเป็นวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ใหม่โดยผ่านกรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรม เนื่องจากในพื้นที่นี้จะมีความหนาแน่นของโรงงานเพิ่มมากขึ้น
“จ.ฉะเชิงเทรา มีการขยายตัวของโรงงานประเภท 101, 105 และ 106 มากที่สุด ซึ่งก่อนหน้านี้มีอุตสาหกรรมไม่มาก แต่หลังจากประกาศเป็นพื้นที่อีอีซี ก็มีโรงงานเข้าไปตั้งฐานการผลิตเป็นจำนวนมาก ส่วนจังหวัดที่มีโรงงานประเภทเหล่านี้มากที่สุด คือ จ.ชลบุรี ดังนั้นจึงต้องเพิ่มความเข้มงวดใน 3 จังหวัดอีอีซี เพราะจะมีโรงงานเข้ามาตั้งฐานการผลิตอีกมาก”
ตรวจสอบรถบรรทุกขยะอุตฯ
สำหรับการเข้มงวดจะแบ่งเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่
1. รถบรรทุกกากอุตสาหกรรมที่อยู่ในระบบกว่า 1,000 คัน จะตรวจสอบอย่างเข้มงวด โดยติดตั้งระบบจีพีเอสกับรถบรรทุกทุกคัน เพื่อติดตามการขนกากตั้งแต่โรงงานที่มีกากไปจนถึงโรงงานกำจัดกากอุตสาหกรรม ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ติดตามตลอดเส้นทาง หากจอดนิ่งเกิน 1 ชั่วโมง หรือออกนอกเส้นทางระบบจะแจ้งเตือนทันที เจ้าหน้าที่จะโทรศัพท์ตรวจสอบและประสานอุตสาหกรรมจังหวัดติดตามทันที เพื่อป้องกันกากอุตสาหกรรมรั่วไหลไปพื้นที่สาธารณะ
2. เจ้าหน้าที่จะนำข้อมูลวิเคราะห์โรงงานที่มีความเสี่ยง เช่น โรงงานที่มีข้อร้องเรียนซ้ำซากเกิน 2 ครั้งต่อปี จะเข้าไปดูแลอย่างเข้มงวด เพื่อควบคุมให้อยู่ในมาตรฐานที่กำหนด รวมทั้งจะให้โรงงานส่งรายงานการครอบครองกากและเศษวัสดุอุตสาหกรรม อย่างละเอียดทุกปี โดยจะตรวจสอบว่าตรงกับที่ขออนุญาตทุกเดือนหรือไม่ หากส่งรายงานไม่ตรงกัน หรือไม่ส่งรายงานก็จะมีบทลงโทษชัดเจน
“หากโรงงานทั้ง 3 ประเภท ทำได้ตามมาตรฐานและพัฒนาได้ตามเกณฑ์ ก็จะถูกป้อนรายชื่อเข้าสู่ระบบเอไอ เพื่อให้ความสะดวกในการประกอบกิจการ ออกใบอนุญาตผ่านทางระบบอัตโนมัติได้ทันที"
ส่วนโรงงานที่ไม่อยู่ในมาตรฐานหรือไม่พัฒนาตัวเอง จะต้องขอใบอนุญาตขนส่งกากอุตสาหกรรมในแต่ละครั้งผ่านระบบออนไลน์ตามกรอบระยะเวลาปกติ เพื่อกระตุ้นให้โรงงานเหล่านี้มีมาตรฐานการดำเนินงานที่สูงขึ้น โดยปัจจุบันมีผู้ผ่านมาตรฐานเข้าสู่ระบบนี้ 30-40 ราย ซึ่งกรมโรงงานอุตสาหกรรมจะพยายามให้โรงงานทั้ง 3 ประเภท ในอีอีซี 719 ราย ให้เข้าสู่มาตรฐานระดับสูง
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ