พรุ่งนี้ (15 พ.ค 2562) จะเป็น
วันเลือกหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
พรรคที่ได้ชื่อว่าเป็นพรรคเก่าแก่ที่สุดในปัจจุบัน
แคนดิเดตหัวหน้าพรรคคราวนี้มีถึง 4 คน คือ
1 คุณจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รักษาการหัวหน้าพรรค 2 คุณพีระพันธ์ สาลีรัฐวิภาค
3 คุณกรณ์ จาติกวณิช 4 คุณอภิรักษ์ โกษะโยธิน
ก่อนที่จะไปดูความได้เปรียบเสียเปรียบในการเลือกตั้งพรุ่งนี้
ขอย้อนอดีตไปถึงการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคครั้งสำคัญ ของพรรคประชาธิปัตย์ ที่ทำให้พรรคเกือบล่มสลาย
ถ้าจะให้เลือกว่าการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ครั้งใดสร้างความแตกแยกให้พรรคมากที่สุด
คอการเมืองรุ่นเก่าตอบได้ทันทีว่า
การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2530
เพราะหลังการเลือกตั้งครั้งนั้น พรรคแตกเป็นสองพวกทันที แต่ฝ่ายที่แพ้ก็ยังไม่ไปไหน
ยังทำตัวเป็น
งูเห่าในพรรค จนได้โอกาสเหมาะก็แว้งกัดทีเดียว รัฐบาลพลเอกเปรมที่มี ปชป ร่วมคณะ
ก็ต้องยุบสภาทันที
ปฐมเหตุพรรคประชาธิปัตย์ แตกเป็น 2 ก๊ก คือ
ในการเลือกตั้ง 27 กรกฎาคม 2529 พรรค ปชป ให้สัญญาประชาคมกับประชาชนว่า
ถ้าการเลือกตั้งครั้งนี้ ประชาชนเลือก ปชป เป็นอันดับ 1 แล้ว
นายพิชัย รัตตกุล ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคจะเป็นนายกฯเอง
แต่ถ้าไม่ได้เป็นก็จะขอเป็นฝ่ายค้าน
ซึ่งผลการเลือกตั้งครั้งนั้น ปชป ชนะที่ 1 ได้ 100 คะแนน พรรค ปชป เดินเกมส์จะตั้งรัฐบาลทันที
แต่พรรคชาติไทยและกิจสังคม ซึ่งมีคะแนนรวมกัน 114 เสียง ตั้งรัฐบาลแข่งทันที
แถมขู่ ปชป ว่า ถ้าจะมาร่วมก็ต้องให้พลเอกเปรม เป็นนายก ฯ
ปชป เมื่อเจอคำขู่แบบนี้ รีบกลืนน้ำลายลืมสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชน กระโจนเข้าร่วมรัฐบาลทันที
เมื่อได้เข้าร่วมรัฐบาล เนื่องจากเป็นพรรคใหญ่ที่สุด โควต้ารัฐมนตรีจึงได้มากที่สุด
การแย่งตำแหน่งจึงเกิดขึ้น และในที่สุดเมื่อประกาศรายชื่อรัฐมนตรีออกมา ปรากฏว่ามีมือดีเข้าไปแก้รายชื่อ
จากคุณ เด่น โต๊ะมีนา หัวหน้ากลุ่มวาดะห์ ซึ่งคุณวีระ มุสิกพงษ์ เลขาธิการพรรคในขณะนั้น
ได้รับปากกลุ่มวาดะห์ไว้แล้ว รายชื่อถูกแก้เป็น
ลูกชายนายห้างฯ คุณพิจิตต รัตตกุล
ซึ่งขณะนั้นในทางการเมืองถือว่าอ่อนอาวุโสมาก
เมื่อถูกหักหลังกันซึ่งๆหน้าแบบนี้ ภายในพรรคก็แตกเป็นสองเสี่ยงทันที ต่างฝ่ายต่างไม่ยอมคุยกัน
และเมื่อถึงการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคในวันที่ 10 มกราคม 2530
ฝ่ายคุณวีระซึ่งส่งคุณเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ ชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรค เป็นฝ่ายพ่ายแพ้คุณพิชัย รัตตกุล
ที่มีคุณชวน หลีกภัย และ ส.ส ใต้สนับสนุน
ถึงแม้เลือกตั้งจะแพ้ แต่กลุ่มคุณวีระ ก็ยังอยู่ในพรรค ทำตัวเป็นหอกข้างแคร่รัฐบาล
จนมาได้โอกาสที่รัฐบาลเสนอ พ.ร.บ ลิขสิทธิ์ ฯ ส.สกลุ่มคุณวีระ ยกมือคัดค้าน
และประกาศจะร่วมมือฝ่ายค้านเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลทั้งคณะ
พลเอกเปรม นายกรัฐมนตรี ไม่มีทางเลือกจึงประกาศยุบสภา โดยในพระราชกฤษฎีกายุบสภา
ระบุหนึ่งในเหตุผลว่า
ยังมีสาเหตุเนื่องจากสภาผู้แทนราษฎรได้มีมติเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์จํานวนหนึ่ง ซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาล ยกมือคัดค้านร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 5/2531 วันที่ 28 เมษายน 2531 ทำให้รัฐมนตรีสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 16 คน ยื่นใบลาออกจากตำแหน่งในวันที่ 29 เมษายน 2531 ทำให้พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรียุบสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่อีกครั้งหนึ่ง
หลังจากยุบสภากำหนดวันเลือกตั้งแล้ว กลุ่มคุณวีระ ก็ออกมาตั้งพรรคประชาชน
นี่เป็นครั้งเดียวในประวัติศาสตร์การเลือกตั้งของพรรคประชาธิปัตย์ที่สร้างความแตกแยกมากที่สุด
กลับมาที่การเลือกตั้งหัวหน้าพรรคในวันพรุ่งนี้
ซึ่งมีนัยยะเกี่ยวกับการจะเข้าร่วมรัฐบาลหรือจะเป็นฝ่ายค้าน ของพรรคประชาธิปัตย์
เมื่อดูจากรายชื่อผู้ลงสมัครและมองไปถึงผู้สนับสนุนประกอบกับวิธีการเลือกตั้งและนับคะแนน
ที่ให้ความสำคัญกับ ส.ส ที่ได้รับการเลือกตั้งในครั้งนี้ พบว่า
รักษาการหัวหน้าพรรคคนปัจจุบัน คุณจุรินทร์ มีภาษีกว่าคนอื่น เหตุผลเพราะ
1 เป็นคนใต้ ซึ่งจะได้เสียงสนับสนุนจาก ส.ส ใต้ รวมไปถึงหัวหน้าพรรคในอดีตคือ คุณชวน และ คุณบัญญัติ บรรทัดฐาน
2 เป็นคนมีลักษณะปรองดอง ซึ่งเหมาะกับสถานการณ์นี้
3 เป็นนักการเมืองในสไตล์พรรคประชาธิปัตย์ เหมือนคุณชวน ซึ่งเป็นพิมพ์นิยมของสมาชิก ปชป
4 การเลือกคุณเฉลิมชัย ศรีอ่อน ที่คุมฐานเสียง ส.ส จำนวนหนึ่ง มาเป็นเลขาธิการพรรค ทำให้ได้เปรียบ
จากเหตุผลเบื้องต้น ส่วนตัวคิดว่า ในสถานการณ์แบบนี้ คนที่เหมาะกับการเป็นหัวหน้าพรรคคนที่ 8
ของพรรคประชาธิปัตย์ น่าจะเป็น
คุณจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์
ป.ล เม้นท์ย่อย จะมีประวัติการเลือกหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในแต่ละครั้ง
ป.ล 2 เม้นท์ย่อย จะมีการคาดการณ์ก้าวเดินของพรรค ปชป เมื่อได้หัวหน้าพรรคคนใหม่
ป.ล 3 เม้นท์ย่อย ยังมีเรื่องคำสาบอาถรรพ์ของ ปชป
ย้อนรอยอดีต....เลือกหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์....รุ่งเรืองหรือแตกดับ cnck
พรรคที่ได้ชื่อว่าเป็นพรรคเก่าแก่ที่สุดในปัจจุบัน
แคนดิเดตหัวหน้าพรรคคราวนี้มีถึง 4 คน คือ
1 คุณจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รักษาการหัวหน้าพรรค 2 คุณพีระพันธ์ สาลีรัฐวิภาค
3 คุณกรณ์ จาติกวณิช 4 คุณอภิรักษ์ โกษะโยธิน
ก่อนที่จะไปดูความได้เปรียบเสียเปรียบในการเลือกตั้งพรุ่งนี้
ขอย้อนอดีตไปถึงการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคครั้งสำคัญ ของพรรคประชาธิปัตย์ ที่ทำให้พรรคเกือบล่มสลาย
ถ้าจะให้เลือกว่าการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ครั้งใดสร้างความแตกแยกให้พรรคมากที่สุด
คอการเมืองรุ่นเก่าตอบได้ทันทีว่า การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2530
เพราะหลังการเลือกตั้งครั้งนั้น พรรคแตกเป็นสองพวกทันที แต่ฝ่ายที่แพ้ก็ยังไม่ไปไหน
ยังทำตัวเป็นงูเห่าในพรรค จนได้โอกาสเหมาะก็แว้งกัดทีเดียว รัฐบาลพลเอกเปรมที่มี ปชป ร่วมคณะ
ก็ต้องยุบสภาทันที
ปฐมเหตุพรรคประชาธิปัตย์ แตกเป็น 2 ก๊ก คือ
ในการเลือกตั้ง 27 กรกฎาคม 2529 พรรค ปชป ให้สัญญาประชาคมกับประชาชนว่า
ถ้าการเลือกตั้งครั้งนี้ ประชาชนเลือก ปชป เป็นอันดับ 1 แล้ว
นายพิชัย รัตตกุล ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคจะเป็นนายกฯเอง
แต่ถ้าไม่ได้เป็นก็จะขอเป็นฝ่ายค้าน
ซึ่งผลการเลือกตั้งครั้งนั้น ปชป ชนะที่ 1 ได้ 100 คะแนน พรรค ปชป เดินเกมส์จะตั้งรัฐบาลทันที
แต่พรรคชาติไทยและกิจสังคม ซึ่งมีคะแนนรวมกัน 114 เสียง ตั้งรัฐบาลแข่งทันที
แถมขู่ ปชป ว่า ถ้าจะมาร่วมก็ต้องให้พลเอกเปรม เป็นนายก ฯ
ปชป เมื่อเจอคำขู่แบบนี้ รีบกลืนน้ำลายลืมสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชน กระโจนเข้าร่วมรัฐบาลทันที
เมื่อได้เข้าร่วมรัฐบาล เนื่องจากเป็นพรรคใหญ่ที่สุด โควต้ารัฐมนตรีจึงได้มากที่สุด
การแย่งตำแหน่งจึงเกิดขึ้น และในที่สุดเมื่อประกาศรายชื่อรัฐมนตรีออกมา ปรากฏว่ามีมือดีเข้าไปแก้รายชื่อ
จากคุณ เด่น โต๊ะมีนา หัวหน้ากลุ่มวาดะห์ ซึ่งคุณวีระ มุสิกพงษ์ เลขาธิการพรรคในขณะนั้น
ได้รับปากกลุ่มวาดะห์ไว้แล้ว รายชื่อถูกแก้เป็น ลูกชายนายห้างฯ คุณพิจิตต รัตตกุล
ซึ่งขณะนั้นในทางการเมืองถือว่าอ่อนอาวุโสมาก
เมื่อถูกหักหลังกันซึ่งๆหน้าแบบนี้ ภายในพรรคก็แตกเป็นสองเสี่ยงทันที ต่างฝ่ายต่างไม่ยอมคุยกัน
และเมื่อถึงการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคในวันที่ 10 มกราคม 2530
ฝ่ายคุณวีระซึ่งส่งคุณเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ ชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรค เป็นฝ่ายพ่ายแพ้คุณพิชัย รัตตกุล
ที่มีคุณชวน หลีกภัย และ ส.ส ใต้สนับสนุน
ถึงแม้เลือกตั้งจะแพ้ แต่กลุ่มคุณวีระ ก็ยังอยู่ในพรรค ทำตัวเป็นหอกข้างแคร่รัฐบาล
จนมาได้โอกาสที่รัฐบาลเสนอ พ.ร.บ ลิขสิทธิ์ ฯ ส.สกลุ่มคุณวีระ ยกมือคัดค้าน
และประกาศจะร่วมมือฝ่ายค้านเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลทั้งคณะ
พลเอกเปรม นายกรัฐมนตรี ไม่มีทางเลือกจึงประกาศยุบสภา โดยในพระราชกฤษฎีกายุบสภา
ระบุหนึ่งในเหตุผลว่า
ยังมีสาเหตุเนื่องจากสภาผู้แทนราษฎรได้มีมติเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์จํานวนหนึ่ง ซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาล ยกมือคัดค้านร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 5/2531 วันที่ 28 เมษายน 2531 ทำให้รัฐมนตรีสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 16 คน ยื่นใบลาออกจากตำแหน่งในวันที่ 29 เมษายน 2531 ทำให้พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรียุบสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่อีกครั้งหนึ่ง
หลังจากยุบสภากำหนดวันเลือกตั้งแล้ว กลุ่มคุณวีระ ก็ออกมาตั้งพรรคประชาชน
นี่เป็นครั้งเดียวในประวัติศาสตร์การเลือกตั้งของพรรคประชาธิปัตย์ที่สร้างความแตกแยกมากที่สุด
กลับมาที่การเลือกตั้งหัวหน้าพรรคในวันพรุ่งนี้
ซึ่งมีนัยยะเกี่ยวกับการจะเข้าร่วมรัฐบาลหรือจะเป็นฝ่ายค้าน ของพรรคประชาธิปัตย์
เมื่อดูจากรายชื่อผู้ลงสมัครและมองไปถึงผู้สนับสนุนประกอบกับวิธีการเลือกตั้งและนับคะแนน
ที่ให้ความสำคัญกับ ส.ส ที่ได้รับการเลือกตั้งในครั้งนี้ พบว่า
รักษาการหัวหน้าพรรคคนปัจจุบัน คุณจุรินทร์ มีภาษีกว่าคนอื่น เหตุผลเพราะ
1 เป็นคนใต้ ซึ่งจะได้เสียงสนับสนุนจาก ส.ส ใต้ รวมไปถึงหัวหน้าพรรคในอดีตคือ คุณชวน และ คุณบัญญัติ บรรทัดฐาน
2 เป็นคนมีลักษณะปรองดอง ซึ่งเหมาะกับสถานการณ์นี้
3 เป็นนักการเมืองในสไตล์พรรคประชาธิปัตย์ เหมือนคุณชวน ซึ่งเป็นพิมพ์นิยมของสมาชิก ปชป
4 การเลือกคุณเฉลิมชัย ศรีอ่อน ที่คุมฐานเสียง ส.ส จำนวนหนึ่ง มาเป็นเลขาธิการพรรค ทำให้ได้เปรียบ
จากเหตุผลเบื้องต้น ส่วนตัวคิดว่า ในสถานการณ์แบบนี้ คนที่เหมาะกับการเป็นหัวหน้าพรรคคนที่ 8
ของพรรคประชาธิปัตย์ น่าจะเป็น คุณจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์
ป.ล เม้นท์ย่อย จะมีประวัติการเลือกหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในแต่ละครั้ง
ป.ล 2 เม้นท์ย่อย จะมีการคาดการณ์ก้าวเดินของพรรค ปชป เมื่อได้หัวหน้าพรรคคนใหม่
ป.ล 3 เม้นท์ย่อย ยังมีเรื่องคำสาบอาถรรพ์ของ ปชป