●●น่าเบื่อแต่ก็ยังมีประเด็นมาให้ติดตามได้เรื่อยๆ..."จริงหรือ ‘ธนาธร’ โอนหุ้น 12 บริษัท 700 ล. วันเดียว 8 ม.ค.62 ?"●●

●●จริงหรือ ‘ธนาธร’ โอนหุ้น 12 บริษัท 700 ล. วันเดียว 8 ม.ค.62 ?●●

“..ทำไมสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นบริษัท จึงยังมีรายชื่อนายธนาธรเป็นผู้ถือหุ้น ยังไม่จดทะเบียนต่อ
นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ให้เป็นปัจจุบัน หรือส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นใหม่
( บอจ.5 ) …ขณะที่กรณีโอนหุ้น บริษัท วี-ลัค มีเดีย เมื่อวันที่ 21 มี.ค.2562 กลับส่งสำเนาบัญชีรายชื่อ
ผู้ถือหุ้นชุดใหม่ (บอจ.5) ต่อ นายทะเบียนฯ..”

             

ประเด็นตรวจสอบ ว่าด้วยคุณสมบัติการเป็นผู้สมัคร ส.ส. ของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรค
อนาคตใหม่ กรณีการถือครองหุ้นกิจการสื่อมวลชนซึ่งอยู่ระหว่างการตรวจสอบของคณะกรรมการ
การเลือกตั้ง (กกต.) ขณะนี้มี 2 กรณี 

1.กรณี การโอนหุ้น บริษัท วี-ลัค มีเดีย จำกัด ให้นางสมพร จึงรุ่งเรืองกิจ มารดา เกิดขึ้นในวันไหนกันแน่? ระหว่างวันที่ 21 มี.ค.2562 ตามสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (แบบ บอจ.5) ที่บริษัท วี-ลัค มีเดีย จำกัด
นำส่ง
ต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร ระบุคัดจากสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 21 มี.ค.2562
และ ระบุวันลงทะเบียนผู้ถือหุ้น วันที่ 21/03/2562) กับ วันที่ 8 ม.ค.2562 ตามคำชี้แจงของนายธนาธร ประกอบเอกสารตราสารการโอนหุ้น และเช็คค่าซื้อขายหุ้น จำนวน 675,000 บาท ลงวันที่ 8 ม.ค.2562 

2.กรณีที่ปรากฏข้อมูลเบื้องต้นว่านายธนาธรถือครองหุ้นบริษัท ไทยซัมมิท ระยอง โอโตพาร์ท อินดัสตรี

จำกัด และ บริษัท ไทยซัมมิท บ้านโพธิ์ จำกัด ซึ่งทั้งสองบริษัทแจ้งรายละเอียดวัตถุประสงค์ข้อหนึ่งว่า
ประกอบกิจการโรงพิมพ์ และออกหนังสือพิมพ์ พิมพ์วารสารต่างๆ 

ต่อมา วันที่ 10 พ.ค. 2562 นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย

ยื่นให้ กกต.ตรวจสอบ อ้างว่านายธนาธรถือหุ้นบริษัทในเครือซัมมิทที่มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการสื่อ
จำนวน 13 บริษัท ได้แก่

1.บริษัท ไทยซัมมิท โอโตโมทีฟ จำกัด
2.บริษัท ไทยซัมมิท โอโตพาร์ทอินดัสทตรี จำกัด
3.บริษัท ไทยซัมมิท พลาสเทค จำกัด
4.บริษัท จึงพัฒนา โฮลดิ้ง จำกัด
5.บริษัทไทยซัมมิท เชป คอร์ป จำกัด
6.บริษัท ไทยซัมมิท ฮาร์เนส จำกัด (ต่อมาแปลงสภาพเป็น บมจ. ไทยซัมมิท ฮาร์เนส )
7.บริษัท ไทยซัมมิท บ้านโพธิ์ จำกัด
8.บริษัท ไทยซัมมิท โกลด์ เพรส จำกัด
9.บริษัท ไทยซัมมิท โอโด เพรส จำกัด
10.บริษัท ไทยซัมมิท ระยอง โอโดพาร์ท อินดัสตรี จำกัด
11.บริษัท ไทยซัมมิท พีเค คอร์ปอเรชั่น จำกัด
12.บริษัท ไทยซัมมิท พีเคเค จำกัด และ
13.บริษัท ไทยซัมมิท เอนจิเนียริง จำกัด

ขณะที่นายธนาธรชี้แจงว่าได้โอนหุ้นทั้ง 13 บริษัทตั้งแต่วันที่ 8 ม.ค.2562 (วันเดียวกับที่โอนหุ้นบริษัท
วี-ลัค มีเดีย จำกัด) แล้ว ก่อนที่จะสมัคร ส.ส.โดยมีหลักฐานครบถ้วนสมบูรณ์หมดแล้ว

(อ่านประกอบ:'ศรีสุวรรณ' ยื่น กกต.สอบ'ธนาธร' ถือหุ้น13 บ.แจ้งวัตถุประสงค์ทำสื่อ-เจ้าตัวแจงโอน
ตั้งแต่ 8 ม.ค.แล้ว)

อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อสงสัยว่านายธนาธรโอนหุ้นไปแล้วจริงหรือไม่? 

กรณีนี้ต้องพิจารณาก่อนว่า ทั้ง 13 บริษัท บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นล่าสุดที่ยื่นต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า มีชื่อนายธนาธรถือหุ้นอยู่จริงหรือไม่? 

จากการตรวจสอบพบว่า ในจำนวน 13 บริษัท มี 11 บริษัทยังปรากฏชื่อนายธนาธรถือหุ้น ยกเว้น บริษัท

ไทยซัมมิท เชป คอร์ป จำกัด ณ วันที่ 28 สิงหาคม 2561 บริษัท เชป เนทเชป มอริเชียส โฮลดิ้ง จำกัด
สัญญาติอเมรัน ถือ 49% บริษัท ไทยซัมมิท โอโตพาร์ท อินดัสตรี จำกัด 36% บริษัท ไทยซัมมิท
โอโตโมทีฟ จำกัด 10% นางสมพร 5% ไม่มีชื่อนายธนาธร ถือหุ้น 

ขณะที่ บริษัท ไทยซัมมิท เอนจิเนียริง จำกัด ณ วันที่ 27 เมษายน 2561 บริษัท ไทยซัมมิท โอโตพาร์ท

อินดัสตรี จำกัด ถือหุ้นใหญ่ 23,745 หุ้น (47.49%) ไม่มีชื่อนายธนาธรถือหุ้นอีกเช่นกัน 

แต่บริษัทที่ไม่อยู่ใน 13 รายชื่อ คือ บริษัท ไทยซัมมิท พีเคเค เอนจิเนียริง จำกัด ณ วันที่ 27 เม.ย. 2561

นายธนาธร ถือ 1,500 หุ้น ( 3%) มูลค่าหุ้นละ 100 บาท รวมมูลค่า 1,500,000 บาท 

เท่ากับมีบริษัทที่ปรากฎชื่อนายธนาธรถือหุ้น 12 บริษัท (ข้อมูลตามที่บริษัทฯนำส่งบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น

ล่าสุด ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ) รวม 47,741,670 หุ้น รวมมูลค่า 702,995,000 บาท  (ดูตาราง) 

         

หากย้อนกลับไปพิจารณาคำชี้แจงของนายธนาธรที่อ้างว่า ได้โอนหุ้นทั้ง 13 บริษัทตั้งแต่วันที่
8 ม.ค.2562 (วันเดียวกับที่โอนหุ้นบริษัท วี-ลัค มีเดีย จำกัด) มีข้อสงสัยดังนี้ 

1.อ้างว่าได้จัดการโอนหุ้นต่างๆไปหมดแล้วเมื่อวันที่ 8 ม.ค.2562


ทำไมสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นบริษัทดังกล่าวจึงยังมีรายชื่อนายธนาธรเป็นผู้ถือหุ้น ยังไม่จดทะเบียน
ต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปลี่ยนแปลงรายชื่อผู้ถือหุ้นให้เป็นปัจจุบัน
หรือส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นใหม่ ( บอจ.5 )วันที่ 8 ม.ค.2562 ให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

 ขณะที่ กรณีโอนหุ้น บริษัท วี-ลัค มีเดีย จำกัด เมื่อวันที่ 21 มี.ค.2562 กลับส่ง สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นชุดใหม่ (บอจ.5) ต่อ นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท กรมพัฒนาธุรกิจการค้า 

2.ถ้ามีการโอนหุ้นจริง (นายธนาธรไม่ได้ชี้แจงรายละเอียดว่าโอนหุ้นให้บุคคลใด)


กรณีถ้าโอนหุ้นให้นางสมพร เท่ากับ นางสมพร ออกเช็ควันเดียว 12 บริษัท รวม กรณีโอนหุ้น บริษัท
วี-ลัค มีเดีย จำกัด

ที่อ้างว่าโอนหุ้นให้นางสมพรด้วย เท่ากับ 13 บริษัท เป็นเช็ค 13 ฉบับ รวมมูลค่าประมาณ 700 ล้านบาท
(ไม่รวมการโอนหุ้นของภรรยาให้นางสมพร)

 นายธนาธรนำเงินค่าหุ้นไปเข้าบัญชีหรือยัง หรือเอาเช็คไปให้ภรรยาเก็บไว้อีกเหมือนกรณี บริษัท วี-ลัคฯ 

3.วันที่ 18 มี.ค.2562 ก่อนเลือกตั้ง 24 มี.ค.2562 นายธนาธรแถลงข่าวว่า จะใช้แนวทางในการบริหาร

จัดการทรัพย์สินเรื่องหุ้นต่างๆด้วย BLIND TRUST หรือ กองทุน เพื่อให้กองุทนเป็นผู้ดูแลทรัพย์สิน
ประมาณ 5 พันล้านบาท โดยมอบให้บริษัท phatara asset management เป็นผู้จัดการ

ในการแถลงข่าววันดังกล่าวไม่มีรายละเอียดว่าเป็นทรัพย์สินหุ้นบริษัทใดบ้าง อย่างไรก็ตามเมื่ออ้างว่า
เมื่อได้โอนหุ้นตั้งแต่ 8 ม.ค.2562 ไฉนจึงต้องมาแถลงว่าใช้ BLIND TRUST วันที่ 18 มี.ค.2562 

(อ่านประกอบ: 'ธนาธร'เซ็นโยกทรัพย์สิน 5 พันล.เข้ากองทุน blind trust โค้งท้ายรับเลือกตั้ง) โดยหุ้นที่อยู่
ในลิสต์ 13 บริษัทที่ขอให้ กกต.ตรวจสอบมีชื่อ บริษัท ไทยซัมมิท ฮาร์เนส จำกัด ต่อมาแปลงสภาพเป็น
บมจ. ไทยซัมมิท ฮาร์เนส รวมอยู่ด้วย 


ทั้งหมดเป็นข้อสงสัยเบื้องต้น รอความกระจ่าง พิสูจน์ข้อเท็จจริงกันต่อไป

ป.ล.  มีการแก้ไขการจัดเรียงบรรทัดใหม่

Cr.  https://www.isranews.org/main-issue/76473-report01-76473.html
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่