What's not down, bruh?!
วันนี้พูดถึงสกิล Listening!
"
ทักษะการฟังเป็นทักษะที่ถูกมองข้ามมาก ๆ ในประเทศไทย" ประโยคนี้ผมอิงจากประสบการณ์ตรงล้วน ๆ
มองย้อนกลับไป ผมนึกไม่ออกเลยว่าตั้งแต่ ป.1 จนถึง ม.6 ผมได้ ‘
ฟัง’ ภาษาอังกฤษในชั้นเรียนวิชาภาษาอังกฤษกี่ครั้ง
"ฟัง" ในที่นี้หมายถึงการฟังภาษาอังกฤษจากปากฝรั่งจริง ๆ เช่น
Podcast วิดีโอคนพูดภาษาอังกฤษ หรือ
ซีดีรวมบทสนทนาต่าง ๆ
ไม่ใช่การฟังคุณครูพูดหรืออ่านภาษาอังกฤษ
ด้วยสำเนียงไทย!
นี่ถ้าให้นับเป็นชั่วโมงการฟังผมกล้าพูดเลยว่า "10 กว่าปีที่เรียนภาษาอังกฤษมา อาจจะฟังภาษาอังกฤษไม่ถึง 24 ชั่วโมงเลยด้วยซ้ำ!"
แค่คิดก็รู้สึกหดหู่อย่างบอกไม่ถูก (หวังว่าการเรียนการสอนตอนนี้จะโฟกัสที่การฟังมากกว่าสมัยที่ผมเรียนนะ)
ส่วนใครที่โรงเรียนจ้างอาจารย์ฝรั่งมาสอนก็ถือว่าโชคดีไป (แม้เด็ก ๆ หลายคนจะมองว่ามันคือความโชคร้าย แต่เชื่อเถอะว่ามันคือความโชคดี!)
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าห้องเรียนของเด็กรุ่นใหม่จะมีภาษาอังกฤษให้ฟังทุกคลาส และถ้าให้ดีกว่านั้นก็ทำแบบทดสอบวัดผลการฟังด้วย
ไม่ใช่โฟกัสอยู่แค่หลักไวยากรณ์และการจำคำศัพท์ (ฝากถึงอาจารย์ที่สอนภาษาอังกฤษทุกคนด้วย)
หยุดการบ่นไว้เท่านี้ดีกว่า โพสต์นี้ผมจะมาพูดถึง
‘
วิธีฝึก Listening skill’ สำหรับคนที่ไม่รู้ว่าจะพัฒนาทักษะนี้อย่างไร เพราะดูเหมือนว่าวิธีเดียวที่เรารู้คือการ ฟัง ฟัง และก็ฟังแค่นั้น!
มันมีอะไรมากกว่านั้นด้วยหรือ??
Let's find out!
_______________
แน่นอนว่ามี! ในกระทู้นี้ผมจะพูดถึง
แนวคิดสองข้อ ที่ทุกคนต้องคำนึงถึงเสมอเวลาฝึกสกิลการฟัง
1. "
การฟังเป็นสกิลที่ต้องอดทน"
มันไม่มีเทคนิคอะไรหรอก ไปถามคนที่เขาฟังภาษาอังกฤษได้คล่อง เขาจะบอกว่า ‘
ฟังไปเรื่อย ๆ อยู่ดี ๆ มันก็ฟังออกเอง’ หรือ ‘
ดูหนังฟังเพลงไปเรื่อย ๆ สิเดี๋ยวก็ฟังออก’ ซึ่งเราก็ลองเอาไปทำตาม
แต่ทำไมดูเหมือนไร้วี่แววความเก่ง?!
คนส่วนมากไม่สามารถอดทนจนผ่านด่านนี้ไปได้ และสรุป ‘
การฟังไม่ออก’ ของตัวเองว่ามันเป็นเพราะ ‘
ฝรั่งเขาพูดเร็วเกินไป’ ปกติเวลาเรียนกับคุณครูที่โรงเรียนก็ฟังออกทุกคำ ที่ฟังฝรั่งพวกนี้ไม่รู้เรื่องเพราะมันรีบพูดยังกะจะไปแข่ง Rap is Now!
แต่ความจริงคือไม่ใช่ฝรั่งที่พูดเร็วเกินไป แต่เป็นเราที่ ‘
ฟังไม่ทัน’ เองต่างหาก และการฟังไม่ทันนี้ไม่ได้เป็นเพราะ
ภาษาอังกฤษพูดเร็วกว่าภาษาไทยนะเพื่อน แต่เป็นเพราะเราข
าดการฝึกฝนต่างหากโว้ย พอขาดการฝึกฝนมันก็ทำให้เราชินกับ
การพูดภาษาอังกฤษแบบไทย ๆ เท่านั้น พอเจอสำเนียงต้นตำหรับเข้าไปก็งงตึบ!
ให้ดูคร่าว ๆ ว่า การพูดภาษาอังกฤษแบบไทย ๆ มันเป็นอย่างไร
1.
การพูดโดยไม่มีการ stress (การเน้นพยางค์) ในคำศัพท์
2.
ไม่มีการใช้ intonation (กขึ้นเสียงสูงลงเสียงต่ำ)ในประโยค
3.
ไม่มี sentence stress (การเน้นคำในประโยค) ที่จะช่วยให้ผู้ฟังสามารถโฟกัสกับคำสำคัญในประโยคได้ง่ายขึ้น
4.
ไม่ออกเสียงพยัญชนะท้ายใด ๆ ทั้งสิ้น โดยเฉพาะเสียงที่สำคัญ ๆ อย่าง -s, -es หรือ -ed
5.
ไม่มีการเชื่อมเสียง (link sounds) ระหว่างคำศัพท์เลย พูดทุกคำแบบโดด ๆ
และคงไม่ต้องให้ผมบอกหรอกนะว่าการขาดการฝึกฝนมันมีสาเหตุมาจากอะไร?
ความไม่รู้จักอดทนยังไงล่ะ!
ดังนั้นผมอยากให้เราลองอดทนฝึกดูสักตั้งครับ
อดทนต่อความซ้ำซาก อดทนต่อการดูหนัง soundtrack เรื่องเดิมซ้ำ ๆ (ส่วนตัวผมชอบดูหนังซ้ำ ๆ อยู่แล้วเลยไม่ค่อยมีปัญหา ใครชอบเหมือนกันก็โชคดีไป จะฝึกได้นานกว่าคนอื่น)
อดทนกับการนั่งฟังและนั่งจด นั่งเปิดคำศัพท์แทบทุกประโยค อดทนกับการต้องกลับมาฟังจุดที่ฟังผิดซ้ำ ๆ จนเราฟังมันออก
สิ่งที่เขาพูดกับสิ่งที่เราได้ยินบางทีมันอาจแตกต่างกันสุดขั้ว เราอย่ายึดจากตัวเอง บางทีหูเราได้ยินฝรั่งพูดว่า “
เก็บเท้า ๆ!” เราก็งงว่าเขาจะเก็บเท้าทำไมวะ แต่จริง ๆ สิ่งที่เขาพูดคือ “
Get out! Get out!” ต่างหาก (เกิดจากการ link sound หรือเชื่อมเสียงระห่างตัว ‘-t' ใน (ge)t กับ ‘ou-’ ใน ou(t) เลยออกเสียงว่า เก็ะ-เท่าทฺ (สำเนียง UK) มันเลยไปคล้ายคำว่า เก็บเท้า บ้านเรา)
ไอ่คุณฝรั่งก็ตะโกน "
Get out! Get out!" ไอ่เราก็นั่งเก็บเท้าจนจะสุดเก้าอี้ไปดิ ยังไม่รู้ตัวอีกว่าเขาไล่! โคตรดาร์คเลยนะแบบนี้ ฮ่า ๆ
ดังนั้นการฟังให้เรายึดที่ฝรั่งเจ้าของภาษา หากเขาบอกว่าคำนี้หรือประโยคนี้มันต้องออกเสียงแบบนี้ เราก็ต้องออกเสียงตามเขา ไม่ต้องเขินหรืออาย หรือกลัวว่าตัวเองจะกลายเป็นตัวตลกในสายคนไทยคนอื่น
________________
2.
การฟังเป็นสกิลที่วัดผลยาก
พูดกันตรง ๆ
ความเก่งทางด้านภาษาเป็นเรื่องที่ประเมินได้ยาก (ยกเว้นความรู้ไวยากรณ์ที่มีแบบทดสอบให้ทำชัดเจน แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีเรื่องของคำศัพท์เข้ามาเกี่ยวด้วย บางทีตอบข้อนี้ไม่ถูกไม่ใช่เพราะไม่เก่งแกรมมาร์ แต่ไม่รู้คำศัพท์)
สกิลการพูดเราวัดผลตัวเองด้วยการถามคนฟังว่าฟังรู้เรื่องไหม หรืออัดเสียงแล้วฟังว่าตัวเองออกเสียงได้ดีแค่ไหน แต่บางทีเราออกเสียงผิดเพราะมันเป็นคำที่เราไม่เคยเจอมาก่อน ไม่ใช่เพราะสกิล speaking เรามันอ่อนด้อย ดังนั้นผมจึงไม่อยากให้เราไปโฟกัสกับเรื่องเก่งหรือไม่เก่งมากนัก โฟกัสกับการฝึกแบบสม่ำเสมอไปก่อน เดี๋ยวความเก่งจะตามมาเอง!
อย่างไรก็ตาม พอมาถึงสกิล listening คำถามคือ "
เราจะวัดผลหรือติดตามพัฒนาการของตัวเองยังไงดีล่ะ?" ยอมรับว่ามันค่อนข้างยากจริง ๆ ครับ
แต่ยากในที่นี้แปลว่า "
ไม่เหมาะกับคนขี้เกียจ" (ถ้าไม่ขี้เกียจจะบอกว่าไม่ยาก!)
หนึ่งในวิธีวัดความเก่ง Listening skill สามารถทำได้ดังนี้
(1) นั่งฟังและจดสิ่งที่ได้ยินออกมาให้เป็นคำศัพท์ ไม่ว่าเราจะรู้หรือไม่รู้ว่ามันคือคำศัพท์คำไหน แต่เราต้องเขียนออกมาให้ได้ (โดยยึดตามเสียงที่ได้ยิน)
(2) หากฟังไม่ออก ให้พยายามเขียนสิ่งที่ได้ยินออกมาให้ได้ (เขียนเป็นภาษาไทยก็ได้) จากนั้นก็เอาไปเทียบกับสิ่งที่เขาพูดจริง ๆ (เปิด subtitle ดู) ว่าถูกต้องตรงกันหรือมีความใกล้เคียงมากแค่ไหน
(3) สุดท้ายก็กลับมาแก้ไขคำที่เราเขียนผิด และลองฟังใหม่อีกสักรอบโดยโฟกัสตรงจุดที่เราฟังผิด เพื่อปรับหูให้คุ้นเคยกับเสียงที่ถูกต้อง (ส่วนมากคนไทยจะ 'หูบอด' ต่อ word stress และ final sounds ดังนั้นให้ตั้งใจฟังสองอย่างนี้ดี ๆ)
การฝึกแบบนี้จะช่วยให้เรา ‘เปิดหู’ ได้มากขึ้น (enhace listening skill) และเริ่มได้ยินเสียงที่เราไม่เคยได้ยินมาก่อน โดยเฉพาะเสียงพยัญชนะท้าย (final) และพยัญชนะควบกล้ำ (cluster) ที่ไม่ค่อยมีในภาษาไทย
และทั้งหมดนี่ไม่ใช่ว่าจะทำรอบเดียวแล้วจบ อย่างที่บอกไปในข้อ 1 คือเราต้องทำมันซ้ำ ๆ
เห็นไหมล่ะว่ามัน “ยาก” หรือ "ไม่เหมาะกับคนขี้เกียจ" จริง ๆ
ดังนั้นจงขยัน! (ไม่ต้องเก่ง หรือเป็นอัจฉริยะ ขอแค่ขยันและตั้งใจฝึกเป็นประจำ!)
_________________
ฝากไว้แค่นี้ อย่าลืมกลับไปฝึกนะ
‘
ไม่ต้องรู้ทุกอย่างในวันนี้ รู้มากกว่าเมื่อวานนี้ก็พอ’
รู้ภาษาอังกฤษมากขึ้นทุกวันที่
Facebook Page:
พ่อผมเป็นคนอังกฤษ
Stay electric
JGC.
ยากแค่ไหนกว่าจะเก่งสกิล listening? (สกิลภาษาอังกฤษที่ถูกมองข้าม)
วันนี้พูดถึงสกิล Listening!
"ทักษะการฟังเป็นทักษะที่ถูกมองข้ามมาก ๆ ในประเทศไทย" ประโยคนี้ผมอิงจากประสบการณ์ตรงล้วน ๆ
มองย้อนกลับไป ผมนึกไม่ออกเลยว่าตั้งแต่ ป.1 จนถึง ม.6 ผมได้ ‘ฟัง’ ภาษาอังกฤษในชั้นเรียนวิชาภาษาอังกฤษกี่ครั้ง
"ฟัง" ในที่นี้หมายถึงการฟังภาษาอังกฤษจากปากฝรั่งจริง ๆ เช่น Podcast วิดีโอคนพูดภาษาอังกฤษ หรือซีดีรวมบทสนทนาต่าง ๆ
ไม่ใช่การฟังคุณครูพูดหรืออ่านภาษาอังกฤษด้วยสำเนียงไทย!
นี่ถ้าให้นับเป็นชั่วโมงการฟังผมกล้าพูดเลยว่า "10 กว่าปีที่เรียนภาษาอังกฤษมา อาจจะฟังภาษาอังกฤษไม่ถึง 24 ชั่วโมงเลยด้วยซ้ำ!"
แค่คิดก็รู้สึกหดหู่อย่างบอกไม่ถูก (หวังว่าการเรียนการสอนตอนนี้จะโฟกัสที่การฟังมากกว่าสมัยที่ผมเรียนนะ)
ส่วนใครที่โรงเรียนจ้างอาจารย์ฝรั่งมาสอนก็ถือว่าโชคดีไป (แม้เด็ก ๆ หลายคนจะมองว่ามันคือความโชคร้าย แต่เชื่อเถอะว่ามันคือความโชคดี!)
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าห้องเรียนของเด็กรุ่นใหม่จะมีภาษาอังกฤษให้ฟังทุกคลาส และถ้าให้ดีกว่านั้นก็ทำแบบทดสอบวัดผลการฟังด้วย
ไม่ใช่โฟกัสอยู่แค่หลักไวยากรณ์และการจำคำศัพท์ (ฝากถึงอาจารย์ที่สอนภาษาอังกฤษทุกคนด้วย)
หยุดการบ่นไว้เท่านี้ดีกว่า โพสต์นี้ผมจะมาพูดถึง
‘วิธีฝึก Listening skill’ สำหรับคนที่ไม่รู้ว่าจะพัฒนาทักษะนี้อย่างไร เพราะดูเหมือนว่าวิธีเดียวที่เรารู้คือการ ฟัง ฟัง และก็ฟังแค่นั้น!
มันมีอะไรมากกว่านั้นด้วยหรือ??
Let's find out!
_______________
แน่นอนว่ามี! ในกระทู้นี้ผมจะพูดถึง แนวคิดสองข้อ ที่ทุกคนต้องคำนึงถึงเสมอเวลาฝึกสกิลการฟัง
1. "การฟังเป็นสกิลที่ต้องอดทน"
มันไม่มีเทคนิคอะไรหรอก ไปถามคนที่เขาฟังภาษาอังกฤษได้คล่อง เขาจะบอกว่า ‘ฟังไปเรื่อย ๆ อยู่ดี ๆ มันก็ฟังออกเอง’ หรือ ‘ดูหนังฟังเพลงไปเรื่อย ๆ สิเดี๋ยวก็ฟังออก’ ซึ่งเราก็ลองเอาไปทำตาม แต่ทำไมดูเหมือนไร้วี่แววความเก่ง?!
คนส่วนมากไม่สามารถอดทนจนผ่านด่านนี้ไปได้ และสรุป ‘การฟังไม่ออก’ ของตัวเองว่ามันเป็นเพราะ ‘ฝรั่งเขาพูดเร็วเกินไป’ ปกติเวลาเรียนกับคุณครูที่โรงเรียนก็ฟังออกทุกคำ ที่ฟังฝรั่งพวกนี้ไม่รู้เรื่องเพราะมันรีบพูดยังกะจะไปแข่ง Rap is Now!
แต่ความจริงคือไม่ใช่ฝรั่งที่พูดเร็วเกินไป แต่เป็นเราที่ ‘ฟังไม่ทัน’ เองต่างหาก และการฟังไม่ทันนี้ไม่ได้เป็นเพราะภาษาอังกฤษพูดเร็วกว่าภาษาไทยนะเพื่อน แต่เป็นเพราะเราขาดการฝึกฝนต่างหากโว้ย พอขาดการฝึกฝนมันก็ทำให้เราชินกับการพูดภาษาอังกฤษแบบไทย ๆ เท่านั้น พอเจอสำเนียงต้นตำหรับเข้าไปก็งงตึบ!
ให้ดูคร่าว ๆ ว่า การพูดภาษาอังกฤษแบบไทย ๆ มันเป็นอย่างไร
1. การพูดโดยไม่มีการ stress (การเน้นพยางค์) ในคำศัพท์
2. ไม่มีการใช้ intonation (กขึ้นเสียงสูงลงเสียงต่ำ)ในประโยค
3. ไม่มี sentence stress (การเน้นคำในประโยค) ที่จะช่วยให้ผู้ฟังสามารถโฟกัสกับคำสำคัญในประโยคได้ง่ายขึ้น
4. ไม่ออกเสียงพยัญชนะท้ายใด ๆ ทั้งสิ้น โดยเฉพาะเสียงที่สำคัญ ๆ อย่าง -s, -es หรือ -ed
5. ไม่มีการเชื่อมเสียง (link sounds) ระหว่างคำศัพท์เลย พูดทุกคำแบบโดด ๆ
และคงไม่ต้องให้ผมบอกหรอกนะว่าการขาดการฝึกฝนมันมีสาเหตุมาจากอะไร? ความไม่รู้จักอดทนยังไงล่ะ!
ดังนั้นผมอยากให้เราลองอดทนฝึกดูสักตั้งครับ อดทนต่อความซ้ำซาก อดทนต่อการดูหนัง soundtrack เรื่องเดิมซ้ำ ๆ (ส่วนตัวผมชอบดูหนังซ้ำ ๆ อยู่แล้วเลยไม่ค่อยมีปัญหา ใครชอบเหมือนกันก็โชคดีไป จะฝึกได้นานกว่าคนอื่น) อดทนกับการนั่งฟังและนั่งจด นั่งเปิดคำศัพท์แทบทุกประโยค อดทนกับการต้องกลับมาฟังจุดที่ฟังผิดซ้ำ ๆ จนเราฟังมันออก
สิ่งที่เขาพูดกับสิ่งที่เราได้ยินบางทีมันอาจแตกต่างกันสุดขั้ว เราอย่ายึดจากตัวเอง บางทีหูเราได้ยินฝรั่งพูดว่า “เก็บเท้า ๆ!” เราก็งงว่าเขาจะเก็บเท้าทำไมวะ แต่จริง ๆ สิ่งที่เขาพูดคือ “Get out! Get out!” ต่างหาก (เกิดจากการ link sound หรือเชื่อมเสียงระห่างตัว ‘-t' ใน (ge)t กับ ‘ou-’ ใน ou(t) เลยออกเสียงว่า เก็ะ-เท่าทฺ (สำเนียง UK) มันเลยไปคล้ายคำว่า เก็บเท้า บ้านเรา)
ไอ่คุณฝรั่งก็ตะโกน "Get out! Get out!" ไอ่เราก็นั่งเก็บเท้าจนจะสุดเก้าอี้ไปดิ ยังไม่รู้ตัวอีกว่าเขาไล่! โคตรดาร์คเลยนะแบบนี้ ฮ่า ๆ
ดังนั้นการฟังให้เรายึดที่ฝรั่งเจ้าของภาษา หากเขาบอกว่าคำนี้หรือประโยคนี้มันต้องออกเสียงแบบนี้ เราก็ต้องออกเสียงตามเขา ไม่ต้องเขินหรืออาย หรือกลัวว่าตัวเองจะกลายเป็นตัวตลกในสายคนไทยคนอื่น
________________
2. การฟังเป็นสกิลที่วัดผลยาก
พูดกันตรง ๆ ความเก่งทางด้านภาษาเป็นเรื่องที่ประเมินได้ยาก (ยกเว้นความรู้ไวยากรณ์ที่มีแบบทดสอบให้ทำชัดเจน แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีเรื่องของคำศัพท์เข้ามาเกี่ยวด้วย บางทีตอบข้อนี้ไม่ถูกไม่ใช่เพราะไม่เก่งแกรมมาร์ แต่ไม่รู้คำศัพท์)
สกิลการพูดเราวัดผลตัวเองด้วยการถามคนฟังว่าฟังรู้เรื่องไหม หรืออัดเสียงแล้วฟังว่าตัวเองออกเสียงได้ดีแค่ไหน แต่บางทีเราออกเสียงผิดเพราะมันเป็นคำที่เราไม่เคยเจอมาก่อน ไม่ใช่เพราะสกิล speaking เรามันอ่อนด้อย ดังนั้นผมจึงไม่อยากให้เราไปโฟกัสกับเรื่องเก่งหรือไม่เก่งมากนัก โฟกัสกับการฝึกแบบสม่ำเสมอไปก่อน เดี๋ยวความเก่งจะตามมาเอง!
อย่างไรก็ตาม พอมาถึงสกิล listening คำถามคือ "เราจะวัดผลหรือติดตามพัฒนาการของตัวเองยังไงดีล่ะ?" ยอมรับว่ามันค่อนข้างยากจริง ๆ ครับ
แต่ยากในที่นี้แปลว่า "ไม่เหมาะกับคนขี้เกียจ" (ถ้าไม่ขี้เกียจจะบอกว่าไม่ยาก!)
หนึ่งในวิธีวัดความเก่ง Listening skill สามารถทำได้ดังนี้
(1) นั่งฟังและจดสิ่งที่ได้ยินออกมาให้เป็นคำศัพท์ ไม่ว่าเราจะรู้หรือไม่รู้ว่ามันคือคำศัพท์คำไหน แต่เราต้องเขียนออกมาให้ได้ (โดยยึดตามเสียงที่ได้ยิน)
(2) หากฟังไม่ออก ให้พยายามเขียนสิ่งที่ได้ยินออกมาให้ได้ (เขียนเป็นภาษาไทยก็ได้) จากนั้นก็เอาไปเทียบกับสิ่งที่เขาพูดจริง ๆ (เปิด subtitle ดู) ว่าถูกต้องตรงกันหรือมีความใกล้เคียงมากแค่ไหน
(3) สุดท้ายก็กลับมาแก้ไขคำที่เราเขียนผิด และลองฟังใหม่อีกสักรอบโดยโฟกัสตรงจุดที่เราฟังผิด เพื่อปรับหูให้คุ้นเคยกับเสียงที่ถูกต้อง (ส่วนมากคนไทยจะ 'หูบอด' ต่อ word stress และ final sounds ดังนั้นให้ตั้งใจฟังสองอย่างนี้ดี ๆ)
การฝึกแบบนี้จะช่วยให้เรา ‘เปิดหู’ ได้มากขึ้น (enhace listening skill) และเริ่มได้ยินเสียงที่เราไม่เคยได้ยินมาก่อน โดยเฉพาะเสียงพยัญชนะท้าย (final) และพยัญชนะควบกล้ำ (cluster) ที่ไม่ค่อยมีในภาษาไทย
และทั้งหมดนี่ไม่ใช่ว่าจะทำรอบเดียวแล้วจบ อย่างที่บอกไปในข้อ 1 คือเราต้องทำมันซ้ำ ๆ
เห็นไหมล่ะว่ามัน “ยาก” หรือ "ไม่เหมาะกับคนขี้เกียจ" จริง ๆ
ดังนั้นจงขยัน! (ไม่ต้องเก่ง หรือเป็นอัจฉริยะ ขอแค่ขยันและตั้งใจฝึกเป็นประจำ!)
_________________
ฝากไว้แค่นี้ อย่าลืมกลับไปฝึกนะ
‘ไม่ต้องรู้ทุกอย่างในวันนี้ รู้มากกว่าเมื่อวานนี้ก็พอ’
รู้ภาษาอังกฤษมากขึ้นทุกวันที่ Facebook Page: พ่อผมเป็นคนอังกฤษ
Stay electric
JGC.