นานๆถามที่​ ขอ๒คำถามเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าครับ

เดิมทีผมตั้งใจจะถามอาจารย์สัญชัย​ ในรายการเปิดใจใส่ธัมมะ​ แต่เกรงว่าจะรบกวนเวลาคำถามผู้อื่นมากเกินไปและการตอบในรายการวิทยุอาจต้องกระชับ​ ผมอาจจับประเด็นไม่ได้เลยขอโอกาสท่านผู้รู้ช่วยคลายความสงสัยด้วยครับ

คำถามแรก​ ทำไมพระพุทธเจ้า​ถึงผินหน้ามองเมืองเวสาลีเหมือนมีอาลัย​ ซึ่งผิดวิสัยของพระพุทธองค์​ การแสดงอาการแบบนี้มีนัย​ยะ​อะไรแอบแฝงให้สาวกเข้าใจหรือเปล่าครับ

คำถามที่สอง​ สาเหตุใดที่พระพุทธเจ้าต้องปล่อยให้เกิดเวทนาในรูปขันธ์​ มีการถ่ายเป็นเลือด​ ทุกข์เวทนากระหายน้ำจนถึงกับต้องเอ่ยขอน้ำกับพระอานนท์​ พระพุทธองค์ควรหมดจดจากวิบากกรรม​ต่างๆ​ เหตุใดจึงมีอาการแบบนี้​ เช่นเดียวกับคำถามแรกครับ​ มีนัยยะอะไรหรือเปล่า​

ขอความรู้ด้วยครับ​ ตีแตกออกเป็นหลายๆแง่หลายมุมก็ได้ครับ​ ขอบคุณครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
             บางคนอาจเห็นไปว่า เหมือนมีความอาลัย
             แต่พระผู้มีพระภาคหมดตัณหาเครื่องอาลัยในโลกแล้ว

             นาคาปโลกิตวณฺณนา
             บทว่า นาคาวโลกิตํ ความว่า เหมือนอย่างว่า กระดูกของมหาชนเอาปลายจดปลายตั้งอยู่
เหมือนอัฏฐิของพระปัจเจกพุทธเจ้าที่เกี่ยวกัน เหมือนขอช้างฉันใด อัฏฐิของพระพุทธเจ้าหาเหมือนฉันนั้นไม่.
ด้วยว่า อัฏฐิของพระพุทธเจ้าติดเป็นอันเดียวกัน เหมือนแท่งทองคำ เพราะฉะนั้น ในเวลาเหลียวหลัง
จึงไม่สามารถเอี้ยวพระศอได้.
             ก็พระยาช้างประสงค์จะเหลียวดูข้างหลังต้องเอี้ยวไปทั้งตัวฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้า
ก็ต้องทรงเอี้ยวพระวรกายไปฉันนั้น.
             แต่พอพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืนที่ประตูพระนคร ก็ทรงเกิดความคิดว่าจะทอดทัศนากรุงเวสาลี
แผ่นมหาปฐพีนี้เหมือนจะกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ทรงบำเพ็ญบารมีมาหลายแสนโกฏิกัป
มิได้ทรงกระทำ คือเอี้ยวพระศอแลดู จึงเปรียบเหมือนล้อดิน กระทำพระผู้มีพระภาคเจ้าให้บ่ายพระพักตร์
มุ่งไปทางกรุงเวสาลี.
             ท่านหมายเอาข้อนั้น จึงกล่าวว่า นาคาวโลกิตํ นี้.
             ถามว่า การทอดทัศนากรุงเวสาลี มิใช่เป็นปัจฉิมทัศนะอย่างเดียว การทอดทัศนาแม้ในกรุงสาวัตถี
กรุงราชคฤห์ เมืองนาลันทา บ้านปาฏลิคาม โกฏิคามและนาทิกคาม เวลาเสด็จออกจากที่นั้นๆ ทั้งหมดนั้น
ก็เป็นปัจฉิมทัศนะทั้งนั้นมิใช่หรือ เหตุไรในที่นั้นๆ จึงไม่เป็นการทอดทัศนาเป็นนาคาวโลก (คือเป็นปัจฉิมทัศนะ).
             ตอบว่า เพราะไม่เป็นอัศจรรย์.
             จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้ากลับมาเหลียวดูในที่นั้น ข้อนั้นไม่น่าอัศจรรย์ เพราะฉะนั้น จึงไม่ชื่อว่า
ทรงเอี้ยวพระวรกายแลดู.
             อนึ่ง เหล่าเจ้าลิจฉวี กรุงเวสาลีใกล้พินาศ จักพินาศไปใน ๓ ปีข้างหน้า เพราะฉะนั้น เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น
จึงสร้างเจดีย์ชื่อว่านาคาปโลกิตเจดีย์ ใกล้ประตูพระนคร จักบูชาเจดีย์นั้นด้วยสักการะมีของหอมและดอกไม้เป็นต้น
ข้อนั้นก็จะมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุขตลอดกาลนาน เพราะฉะนั้น จึงเอี้ยวพระวรกายแลดูเพื่ออนุเคราะห์
เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น.

             บทว่า ทุกฺขสฺสนฺตกโร ได้แก่ กระทำที่สุดแห่งวัฏฏทุกข์.
             บทว่า จกฺขุมา ได้แก่ ผู้มีจักษุด้วยจักษุ ๕.
             บทว่า ปรินิพฺพุโต ได้แก่ ปรินิพพานด้วยกิเลสปรินิพพาน.
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=67&p=3#นาคาปโลกิตวณฺณนา
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

             สำหรับทุกขเวทนาทางกายนั้น บางส่วนก็เป็นวาระให้ผลของกรรมในอดีต
ไม่ว่าจะเป็นความระหายน้ำฯ ก้อนหินกระทบพระบาท หรือโรคปักขันทิกาพาธ
ก็ตาม ฯลฯ
             โดยนัยก็คือ เมื่อยังมีเบญจขันธ์อยู่ กรรมในอดีตก็สามารถอำนวยผลได้
ควรศึกษาท่านพระองคุลีมาลเถระเป็นตัวอย่างด้วย.

             พุทธาปทานชื่อปุพพกรรมปิโลติที่ ๑๐ (๓๙๐)
             ว่าด้วยบุพจริยาของพระองค์เอง
[บางส่วน]
                          ในกาลก่อน เราเป็นนายโคบาล ต้อนโคไปเลี้ยง เห็น
             แม่โคกำลังดื่มน้ำขุ่นมัว จึงห้ามมัน ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น ในภพ
             หลังสุดนี้ (แม้) เราจะกระหายน้ำ ก็ไม่ได้ดื่มน้ำตามความปรารถนา
...
                          ในกาลก่อน เราได้ฆ่า พี่น้องชายต่างมารดา เพราะเหตุ
             แห่งทรัพย์ จับใส่ลงในซอกเขา และบด (ทับ) ด้วยหิน ด้วยวิบากแห่ง
             กรรมนั้น พระเทวทัตจึงผลักก้อนหิน ก้อนหินกลิ้งลงมากระทบนิ้วแม่เท้า
             ของเราจนห้อเลือด
...
                          เมื่อก่อนเราเป็นหมอรักษาโรค ได้ถ่ายยาให้เศรษฐีบุตร (ตาย)
             ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น โรคปักขันทิกาพาธจึงมีแก่เรา
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ควรศึกษาทั้งพระสูตร :-
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=32&A=7849&Z=7924
             ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=32&i=392
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=32&i=1

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕
             มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
             อังคุลิมาลสูตร
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=8237&Z=8451
             อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :-
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=13&siri=36
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=521

ไม่ว่าจะเป็นความระหายน้ำฯ ก้อนหินกระทบฝ่าพระบาท หรือโรคปักขันทิกาพาธ
             แก้ไขเป็น
ไม่ว่าจะเป็นความระหายน้ำฯ ก้อนหินกระทบพระบาท หรือโรคปักขันทิกาพาธ


             หมวดหนังสือธรรมะ
             เรื่อง ทานที่มีผลมาก มีอานิสงส์มาก
http://84000.org/tipitaka/book/bookpn01.html
             เรื่อง ศีลเป็นอาภรณ์อันประเสริฐ
http://84000.org/tipitaka/book/bookpn02.html
             เรื่อง สิ่งที่เป็นมงคล (มงคล ๓๘)
http://84000.org/tipitaka/book/bookpn06.html
http://84000.org/tipitaka/book/

แนะนำ :-
             อ่านและค้นพระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม
             อรรถกถาชาดกทั้งหมด ๕๔๗ เรื่อง
             พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
             พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/

             พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
             สารบัญประเภทธรรม
http://84000.org/tipitaka/dic/d_type_index.php

             หมวดหนังสือธรรมะ
http://84000.org/tipitaka/book/
             เรื่อง ศีลเป็นอาภรณ์อันประเสริฐ
http://84000.org/tipitaka/book/bookpn02.html
             เรื่อง สิ่งที่เป็นมงคล (มงคล ๓๘)
http://84000.org/tipitaka/book/bookpn06.html
             เรื่อง ทานที่มีผลมาก มีอานิสงส์มาก
http://84000.org/tipitaka/book/bookpn01.html
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่