คณิตศาสตร์การเมือง : การคำนวณที่ใกล้เคียงความเป็นจริงแล้ว episode 2

episode 1
https://ppantip.com/topic/38779202

ระหว่างที่รอคำวินิจฉัย เรามาหาทางเลือกในการคำนวณการจัดสรร สส.บัญชีฯ กัน
เริ่มตอนนี้ดีกว่า เริ่มนับหนึ่งใหม่หลังคณะตลก.รธน.ปฏิเสธคำร้อง (ถ้ามี)
เพราะเวลาที่เหลือก็กระชับเข้ามาเรื่อยๆ ปลายทางไม่เกินวันที่ 9 พฤษภาคมนี้

คนละไม้คนละมือ เพื่อไม่ให้ 5,100 ล้านบาทสูญเปล่า
งบฯ ที่จะเอาไปใช้กับการเลือกตั้งครั้งใหม่ เอาไปใช้อย่างอื่นดีกว่า

ทำได้ใกล้เคียงที่สุดก็เป็นแค่ทางเลือก ไฟนอลไม่ใช่เรา
ไม่มีเรื่องแพ้-ชนะ แค่เสนอทางเลือก

ถ้ามันเป็นเรื่องการคำนวณง่ายๆ จริงอย่างที่คิด คงไม่มีปัญหาจนถึงทุกวันนี้หรอกครับ
การคำนวณที่มีผลได้ผลเสียในจำนวนตำแหน่ง สส.ของแต่ละพรรคเป็นเรื่องใหญ่ ไม่มีใครยอมใคร
แต่กติกาที่ชัดเจนจะเป็นตัวยุติปัญหานี้ ต้องมีคำตอบที่ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย

กระทู้นี้ขอเสนออีกแนววิธีคิดที่น่าสนใจ และอาจจะตอบโจทย์ได้ดีกว่า

คือ คำนวณการจัดสรรตาม (๕) ไม่ใช่คำนวณการจัดสรรตาม (๔)

แนวคิดนี้ลอกวิธีคิดมาจากคุณสมาชิกหมายเลข 5193454
ดู flow และตารางคำนวณในกระทู้นั้นเลยครับ
https://ppantip.com/topic/38787237

มาจากการตีความประเด็นตรงนี้ครับ

ที่มา ก็ต้องลอกมาจากเซียนทางกฎหมายอย่างอ.มีชัยที่เคยตอบไว้นานแล้ว

ถาม-ตอบกับมีชัย
http://www.meechaithailand.com/ver1/?module=4&action=view&id=045832

ตีความแบบบ้านๆ ก็หมายถึง...ถ้าเข้าเงื่อนไข (๕) ให้ใช้ (๕) ถ้าไม่เข้าเงื่อนไข (๕) ใช้ (๔)

ตัวที่กำหนดคือ overhang
ถ้ามีก็ใช้ (๕) จัดสรร, ถ้าไม่มีก็ใช้ (๔) จัดสรร
ตัวที่ใช้ดู overhang อยู่ที่ (๓) ถ้ามีค่าติดลบก็เข้าเงื่อนไข overhang

พวกเราส่วนใหญ่รวมถึงตัวจขกท.เอง
ไปหลงประเด็นว่าต้องจัดสรรจำนวนเต็มผ่าน (๔) เพราะกฎหมายบอกไว้อย่างนั้น

ถ้าทำตาม flow ที่กำหนดตามกฎหมาย ของเรากลับไม่ตรงกับของคุณ 5193454
ก็เลยต้องมีกระทู้นี้

Flow

(๑)   >>>   (๒)   >>>   (๓) มี overhang   >>>   (๕)ควบ(๗)   >>>   (๗)ควบ(๔)โดยอนุโลมควบ(๖)   >>>   (๘) จบ
                                  (๓)ไม่มี overhang >>>   (๔)ควบ(๖)   >>>   (๘) จบ


จขกท.ขอเสนอวิธีแสดงความเห็นนะครับ

คุยกันเป็นเรื่องๆ ไปตามความคิดเห็นหลัก
ท่านที่ต้องการเสนอสูตรคำนวณของท่านก็ตั้งความคิดเห็นหลักไว้
หรือจะเป็นเรื่องอื่นก็ได้ เช่น ประเด็นการตีความกฎหมาย, หลักการคำนวณอื่นๆ, แขวะจขกท.ก็ได้ เป็นต้น
ท่านที่สนใจก็ไปตอบในความคิดเห็นย่อยนั้น
ถ้าไม่ตรงกับของท่านและท่านอยากเสนอก็ไปตั้งความคิดเห็นใหม่
แล้วไปแสดงความเห็นย่อยในเรื่องนั้นๆ อยากอ้างอิงก็บอกทางไปความคิดเห็นนั้น

ถ้าเป็นไปได้ ท่านที่เสนอสูตรคำนวณ เป็น flow ก็ได้นะครับ แต่เป็นตารางจะเห็นชัดกว่า
รบกวนแจงวิธีคำนวณตามขั้นตอนต่างๆ จากตรงไหนไปไหน เอาข้อมูลตรงไหนมาคำนวณจัดสรรถ้ามีเวลา

อธิบายเพิ่ม

การคำนวณใน (๓) ได้ค่าเท่าไรก็ไม่เปลี่ยนนะ ใช้ดูขั้นต้นแค่มีหรือไม่มี overhang
การคำนวณตามอัตราส่วน เป็นการคำนวณของ (๕) ที่ใช้วิธีของ (๗)
เพราะ (๕) บอกให้ทำ แต่ไม่บอกวิธีคำนวณอัตราส่วน ไปบอกที่ (๗) แทน

(๓)ไม่มี overhang ไปต่อที่ (๔) เศษเท่ากันไป (๖) จัดสรรจนจบ 150 คน
(๓) มี overhang ไปต่อที่ (๕)จำกัดสิทธิ์คำนวณอัตราส่วนผ่านวิธีใน (๗) แล้วใช้ (๔) โดยอนุโลมจัดสรรต่อ เศษเท่ากันไป (๖) จัดสรรจนจบ 150 คน

แยกทำเป็นข้อๆ ไปใช้ (๔) หรือ ใช้ (๕)
และ (๗) ใช้ (๔) โดยอนุโลมเป็นขั้นตอนของ (๗) แค่ไม่อยากกล่าวซ้ำเท่านั้น ไม่ใช่ (๔)

เอาแค่ผลที่ได้กับการเลือกตั้งในครั้งนี้ก่อน ข้อจำกัดที่ต้องแก้กฎหมายเอาไว้ทีหลังเพราะยังไม่ได้ใช้

ตารางคำนวณในรูปแบบที่สอง

ตารางคำนวณ_2 ที่เสนอนี้ต่างกับตารางคำนวณแรกที่ วิธีจัดสรรตามลำดับเศษทศนิยม
เป็นการให้สิทธิ์ทุกพรรคการเมืองที่ยังได้รับสิทธิ์อยู่ มาลำดับการจัดสรรตามเศษทศนิยมใหม่ทุกครั้ง

ต่างกับตารางแรกที่ให้จัดสรรครบทุกพรรคการเมืองก่อน แล้วเริ่มจัดสรรในรอบที่2 เวียนไปจนครบแล้วเริ่มรอบที่3

พรป.เลือกตั้ง ถ้าจะดูมาตรา ๑๒๘ ประกอบครับ
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/068/40.PDF
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่