17/4/2562
สมัยเด็กๆ หลายคนอาจเคยได้ยินผู้ใหญ่เตือนว่าห้ามกลืนหมากฝรั่งนะ เดี๋ยวติดคอ เดี๋ยวมันจะติดอยู่ในท้อง เคยสงสัยกันไหมว่าถ้าเผลอกลืนเข้าไปจริงๆ มันจะเกิดอะไรขึ้น?
.
ดร. Lisa Ganjhu ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินอาหาร บอกว่าหมากฝรั่งที่ถูกกลืนลงไปก็จะเข้าสู่ร่างกาย ผ่านระบบต่างๆ เหมือนกับอาหารที่เรากินทั่วไปนี่แหละ ไม่ได้ไปติดค้างในร่างกายเราแต่อย่างใด และจะออกมาตอนขับถ่าย อันตรายจากการกลืนหมากฝรั่งถือว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก
.
นอกจากนี้ ดร. Ganjhu ยังบอกด้วยว่า จะไม่มีอะไรเกิดขึ้นกับกระเพาะอาหาร หรือลำไส้ของเราเมื่อเรากลืนหมากฝรั่งหรอก เพียงแต่ระบบทางเดินอาหารของเราจะพยายามอย่างสุดความสามารถ เพื่อที่จะดึงสารอาหารออกมา ถึงแม้ในท้ายที่สุดเราจะไม่ได้รับสารอาหารอะไรเลยก็ตาม เพราะร่างกายเราไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ย่อยอะไรแบบนี้
หลังจากผ่านกระบวนการของร่างกาย มันก็จะถูกขับออกมาผ่านการขับถ่ายพร้อมกับอาหารอื่นๆ ที่ย่อยแล้ว Nancy McGreal ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินอาหาร บอกว่าหากเราลองไปค้นอุจจาระ เราก็จะพบว่าหมากฝรั่งแทบจะยังคงอยู่ในสภาพเดิม นั่นเป็นเพราะมันไม่สามารถย่อยสลายได้ยังไงล่ะ
.
อย่างไรก็ตาม การกลืนหมากฝรั่งนั้นยังคงมีความเสี่ยงสำหรับเด็ก เช่น ทำให้ติดคอ สำลัก และจากข้อมูลของ Mayo Clinic การกลืนหมากฝรั่งในปริมาณมากอาจทำให้ลำไส้ของเด็กอุดตันได้เช่นกัน โดยเฉพาะเด็กที่มีปัญหาท้องผูกอยู่แล้ว
ผลการศึกษาของ The New York Times ในปี 1998 เผยว่าจากกรณีที่เคยมี แม้จะไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยก็ตาม เด็กมีสิ่งกีดขวางในลำไส้ เพราะหมากฝรั่งที่ถูกกลืนลงไปนั้นไปรวมกับสิ่งแปลกปลอมที่เด็กอาจเผลอกลืนลงไป จนมีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้มีอาการปวด อาเจียน และท้องผูก
ถึงแม้ผู้เชี่ยวชาญจะบอกว่า โดยปกติการเผลอกลืนหมากฝรั่งจะไม่เป็นอันตราย แต่ทางที่ดี เคี้ยวแล้วคายตามวัตถุประสงค์ของมันน่าจะดีกว่านะ
.
.
หมากฝรั่ง (Gum)
เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับเคี้ยวที่ผลิตขึ้นจากกัม และแบะแซ และผสมสารให้รสหรือสารอื่นเข้าไป เพื่อให้เกิดรสสัมผัสที่ดี และประโยชน์ในด้านอื่นๆ อาทิ ช่วยป้องกันฟันผุ ช่วยดับกลิ่นปาก ทำให้ลมหายใจมีกลิ่นหอม เป็นต้น
ประวัติหมากฝรั่ง
มนุษย์รู้จักเคี้ยวยางมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ แต่มีหลักฐานที่ชัดเจนที่พบในสมัยกรีกโบราณ คือ ชาวกรีกนิยมเคี้ยวเปลือกของต้นมาสติค (mastic) และมีหลักฐานที่พบการเคี้ยวหมากฝรั่งในยุคต่อมา ก็คือ การเคี้ยวยางไม้ที่เริ่มการเคี้ยวหมากฝรั่งที่เป็นยางไม้ครั้งแรกนี้ที่เม็กซิโก และนำเข้ามาเผยแพร่ต่อที่สหรัฐอเมริกา โดยนายพลอันโตนิโอ โลเปซ เอก ซานตา อันนา แห่งเม็กซิโก ซึ่งเป็นหมากฝรั่งยางไม้ที่ได้จากต้นซาโปดิลลา (Sapodilla) ในป่าของเม็กซิโก โดยยางไม้ชนิดนี้ชาวเม็ก เรียกว่า ซิคเคิล (Chicle)
ยางต้นซาโปดิลลา
ต่อมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 จึงเริ่มทำหมากฝรั่งเพื่อการค้าขึ้น โดยโทมัส อดัมส์ นักประดิษฐ์ และนักถ่ายภาพ ที่เกิดความสนใจยางไม้ที่ไม่มีรสนี้ขึ้น ด้วยทำเป็นหมากฝรั่งยางไม้ มีรูปกลมๆ ไม่มีรส จำหน่ายในท้องถิ่นขึ้น โดยวางจำหน่ายครั้งแรกในร้านขายยาแห่งหนึ่งที่เมืองโฮโบเค็น รัฐนิวเจอร์ซี่ ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1871 ในราคาเม็ดละ 1 เพนนี
ต่อมาจึงเปลี่ยนรูปให้เป็นสีเหลี่ยมแบนๆ และมีการผสมสารให้รสแก่หมากฝรั่ง โดยเภสัชกร จอห์น คอลแกน เป็นผู้ริเริ่มเติมสารให้หมากฝรั่งมีรสชาต โดยเป็นรสขี้ผึ้งหอมทูโล ที่เป็นตัวยาทางการแพทย์ มีรสคล้ายกับยาแก้ไอน้ำเชื่อมของเด็ก และตั้งชื่อหมากฝรั่งที่มีรสของเขาว่า “แทฟฟี่ ทูโล” และหลังจากนั้น โทมัส อดัมส์ จึงได้เริ่มเติมรสชะเอมให้แก่หมากฝรั่งของเขา และให้ชื่อหมากฝรั่งที่มีรสนี้ว่า “แบลคแจ็ค” และยังเป็นรสหมากฝรั่งที่ยังมีขายมาจนถึงปัจจุบัน
ส่วนหมากฝรั่งที่มีรสยอดนิยม คือ หมากฝรั่งเปปเปอร์มินต์ ถูกผลิตขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1880 โดยนายวิลเลียม เจ ไวท์ ที่ได้ผสมชิคเคิ้ลกับน้ำเชื่อมข้าวโพด พร้อมกับเติมรสเปปเปอร์มินต์ ซึ่งเป็นรสที่ขายดีมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนหมากฝรั่งที่เป่าเป็นลูกได้ เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1906 โดยสองพี่น้องที่ชื่อเฮนรี่ และแฟรงค์ ฟลรีเออร์ แต่หมากฝรั่งชนิดเป่าที่ผลิตครั้งแรกนี้ยังไม่มีคุณภาพนัก เพราะมีเนื้อค่อนข้างเหนียว และเป่าแตกง่าย จนต่อมา ในปี ค.ศ. 1928 วอลเตอร์ เดมเมอร์ ได้พัฒนาคุณภาพให้สามารถเป่าได้โตกว่าหมากฝรั่งของสองพี่น้องได้ถึง 2 เท่า และตั้งชื่อหมากฝรั่งของตนว่า Dubble Bubble หลังจากนั้น ได้มีการพัฒนาคุณภาพของหมากฝรั่ง และจำออกจำหน่ายในทั่วโลกจนถึงปัจจุบัน
หมากฝรั่งในตลาดบริโภคมีความหลากหลาย เช่น หมากฝรั่งไม่มีน้ำตาล หมากฝรั่งสำหรับเลิกบุหรี่ เพื่อตอบโจทย์ของผู้บริโภคที่รักสุขภาพ สำหรับหมากฝรั่งไม่มีน้ำตาลนั้น ส่วนใหญ่เป็นหมากฝรั่งสำหรับเคี้ยวที่ใช้สารให้ความหวานประเภทพอลิออล (Polyols) แทนน้ำตาล เช่น ไซลิทอล (Xylitol)ซึ่งเป็นน้ำตาลแอลกอฮอล์ที่มีคาร์บอน 5 อะตอม ในโครงสร้าง เพราะเชื้อแบคทีเรียในช่องปากไม่สามารถย่อยสลายน้ำตาลแอลกอฮอล์เป็นอาหารได้ จึงช่วยลดปริมาณการเกิดคราบฟัน นอกจากนี้ น้ำตาลแอลกอฮอล์ยังช่วยกระตุ้นการหลั่งของน้ำลาย และเป็นตัวกลางในการนำแร่ธาตุที่มีประโยชน์มาหล่อเลี้ยงฟันจึงช่วยลดอาการฟันผุ
ประเภทหมากฝรั่ง
หมากฝรั่งมี 2 ชนิด จำแนกตามชนิดของหมากพื้นฐานดังนี้
1. หมากฝรั่งสำหรับเคี้ยว (Chewing Gum)
หมากพื้นฐานที่ใช้ คือ ยางธรรมชาติผสมกับสไตรีน (Styrene) พอลิเอทิลีน (Polyethylene: PE) และยางสังเคราะห์ เช่น บิวตะไดอีน(Butadiene)
2. หมากฝรั่งสำหรับเป่า (Bubble Gum)
หมากพื้นฐานที่ใช้ คือ ยางสังเคราะห์ผสมกับสไตรีน พอลิเอทิลีน และพอลิไวนิลแอซีเทต (Polyvinyl Acetate: PVA) ซึ่งเป็นพอลิเมอร์ที่มีแขนงหนาแน่น มีลักษณะโมเลกุลแบบอะแทกติก ไม่มีความเป็นผลึก ช่วยให้เป่าเป็นลูกโป่งได้ และยางสังเคราะห์นี้จะมีส่วนผสมที่สูงกว่าหมากฝรั่งชนิดเคี้ยว
อ้างอิงจาก
https://www.thisisinsider.com/what-actually-happens-when-yo…
https://kidshealth.org/en/kids/swallowed-gum.html
#Brief #TheMATTER
siamchemi
BRIEF: ผู้เชี่ยวชาญเผย การเผลอกลืนหมากฝรั่งส่วนมากจะไม่เป็นอันตราย แต่ยังมีความเสี่ยงในเด็ก
สมัยเด็กๆ หลายคนอาจเคยได้ยินผู้ใหญ่เตือนว่าห้ามกลืนหมากฝรั่งนะ เดี๋ยวติดคอ เดี๋ยวมันจะติดอยู่ในท้อง เคยสงสัยกันไหมว่าถ้าเผลอกลืนเข้าไปจริงๆ มันจะเกิดอะไรขึ้น?
.
ดร. Lisa Ganjhu ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินอาหาร บอกว่าหมากฝรั่งที่ถูกกลืนลงไปก็จะเข้าสู่ร่างกาย ผ่านระบบต่างๆ เหมือนกับอาหารที่เรากินทั่วไปนี่แหละ ไม่ได้ไปติดค้างในร่างกายเราแต่อย่างใด และจะออกมาตอนขับถ่าย อันตรายจากการกลืนหมากฝรั่งถือว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก
.
นอกจากนี้ ดร. Ganjhu ยังบอกด้วยว่า จะไม่มีอะไรเกิดขึ้นกับกระเพาะอาหาร หรือลำไส้ของเราเมื่อเรากลืนหมากฝรั่งหรอก เพียงแต่ระบบทางเดินอาหารของเราจะพยายามอย่างสุดความสามารถ เพื่อที่จะดึงสารอาหารออกมา ถึงแม้ในท้ายที่สุดเราจะไม่ได้รับสารอาหารอะไรเลยก็ตาม เพราะร่างกายเราไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ย่อยอะไรแบบนี้
หลังจากผ่านกระบวนการของร่างกาย มันก็จะถูกขับออกมาผ่านการขับถ่ายพร้อมกับอาหารอื่นๆ ที่ย่อยแล้ว Nancy McGreal ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินอาหาร บอกว่าหากเราลองไปค้นอุจจาระ เราก็จะพบว่าหมากฝรั่งแทบจะยังคงอยู่ในสภาพเดิม นั่นเป็นเพราะมันไม่สามารถย่อยสลายได้ยังไงล่ะ
.
อย่างไรก็ตาม การกลืนหมากฝรั่งนั้นยังคงมีความเสี่ยงสำหรับเด็ก เช่น ทำให้ติดคอ สำลัก และจากข้อมูลของ Mayo Clinic การกลืนหมากฝรั่งในปริมาณมากอาจทำให้ลำไส้ของเด็กอุดตันได้เช่นกัน โดยเฉพาะเด็กที่มีปัญหาท้องผูกอยู่แล้ว
ผลการศึกษาของ The New York Times ในปี 1998 เผยว่าจากกรณีที่เคยมี แม้จะไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยก็ตาม เด็กมีสิ่งกีดขวางในลำไส้ เพราะหมากฝรั่งที่ถูกกลืนลงไปนั้นไปรวมกับสิ่งแปลกปลอมที่เด็กอาจเผลอกลืนลงไป จนมีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้มีอาการปวด อาเจียน และท้องผูก
ถึงแม้ผู้เชี่ยวชาญจะบอกว่า โดยปกติการเผลอกลืนหมากฝรั่งจะไม่เป็นอันตราย แต่ทางที่ดี เคี้ยวแล้วคายตามวัตถุประสงค์ของมันน่าจะดีกว่านะ
.
.หมากฝรั่ง (Gum)
เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับเคี้ยวที่ผลิตขึ้นจากกัม และแบะแซ และผสมสารให้รสหรือสารอื่นเข้าไป เพื่อให้เกิดรสสัมผัสที่ดี และประโยชน์ในด้านอื่นๆ อาทิ ช่วยป้องกันฟันผุ ช่วยดับกลิ่นปาก ทำให้ลมหายใจมีกลิ่นหอม เป็นต้น
ประวัติหมากฝรั่ง
มนุษย์รู้จักเคี้ยวยางมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ แต่มีหลักฐานที่ชัดเจนที่พบในสมัยกรีกโบราณ คือ ชาวกรีกนิยมเคี้ยวเปลือกของต้นมาสติค (mastic) และมีหลักฐานที่พบการเคี้ยวหมากฝรั่งในยุคต่อมา ก็คือ การเคี้ยวยางไม้ที่เริ่มการเคี้ยวหมากฝรั่งที่เป็นยางไม้ครั้งแรกนี้ที่เม็กซิโก และนำเข้ามาเผยแพร่ต่อที่สหรัฐอเมริกา โดยนายพลอันโตนิโอ โลเปซ เอก ซานตา อันนา แห่งเม็กซิโก ซึ่งเป็นหมากฝรั่งยางไม้ที่ได้จากต้นซาโปดิลลา (Sapodilla) ในป่าของเม็กซิโก โดยยางไม้ชนิดนี้ชาวเม็ก เรียกว่า ซิคเคิล (Chicle)
ยางต้นซาโปดิลลา
ต่อมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 จึงเริ่มทำหมากฝรั่งเพื่อการค้าขึ้น โดยโทมัส อดัมส์ นักประดิษฐ์ และนักถ่ายภาพ ที่เกิดความสนใจยางไม้ที่ไม่มีรสนี้ขึ้น ด้วยทำเป็นหมากฝรั่งยางไม้ มีรูปกลมๆ ไม่มีรส จำหน่ายในท้องถิ่นขึ้น โดยวางจำหน่ายครั้งแรกในร้านขายยาแห่งหนึ่งที่เมืองโฮโบเค็น รัฐนิวเจอร์ซี่ ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1871 ในราคาเม็ดละ 1 เพนนี
ต่อมาจึงเปลี่ยนรูปให้เป็นสีเหลี่ยมแบนๆ และมีการผสมสารให้รสแก่หมากฝรั่ง โดยเภสัชกร จอห์น คอลแกน เป็นผู้ริเริ่มเติมสารให้หมากฝรั่งมีรสชาต โดยเป็นรสขี้ผึ้งหอมทูโล ที่เป็นตัวยาทางการแพทย์ มีรสคล้ายกับยาแก้ไอน้ำเชื่อมของเด็ก และตั้งชื่อหมากฝรั่งที่มีรสของเขาว่า “แทฟฟี่ ทูโล” และหลังจากนั้น โทมัส อดัมส์ จึงได้เริ่มเติมรสชะเอมให้แก่หมากฝรั่งของเขา และให้ชื่อหมากฝรั่งที่มีรสนี้ว่า “แบลคแจ็ค” และยังเป็นรสหมากฝรั่งที่ยังมีขายมาจนถึงปัจจุบัน
ส่วนหมากฝรั่งที่มีรสยอดนิยม คือ หมากฝรั่งเปปเปอร์มินต์ ถูกผลิตขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1880 โดยนายวิลเลียม เจ ไวท์ ที่ได้ผสมชิคเคิ้ลกับน้ำเชื่อมข้าวโพด พร้อมกับเติมรสเปปเปอร์มินต์ ซึ่งเป็นรสที่ขายดีมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนหมากฝรั่งที่เป่าเป็นลูกได้ เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1906 โดยสองพี่น้องที่ชื่อเฮนรี่ และแฟรงค์ ฟลรีเออร์ แต่หมากฝรั่งชนิดเป่าที่ผลิตครั้งแรกนี้ยังไม่มีคุณภาพนัก เพราะมีเนื้อค่อนข้างเหนียว และเป่าแตกง่าย จนต่อมา ในปี ค.ศ. 1928 วอลเตอร์ เดมเมอร์ ได้พัฒนาคุณภาพให้สามารถเป่าได้โตกว่าหมากฝรั่งของสองพี่น้องได้ถึง 2 เท่า และตั้งชื่อหมากฝรั่งของตนว่า Dubble Bubble หลังจากนั้น ได้มีการพัฒนาคุณภาพของหมากฝรั่ง และจำออกจำหน่ายในทั่วโลกจนถึงปัจจุบัน
หมากฝรั่งในตลาดบริโภคมีความหลากหลาย เช่น หมากฝรั่งไม่มีน้ำตาล หมากฝรั่งสำหรับเลิกบุหรี่ เพื่อตอบโจทย์ของผู้บริโภคที่รักสุขภาพ สำหรับหมากฝรั่งไม่มีน้ำตาลนั้น ส่วนใหญ่เป็นหมากฝรั่งสำหรับเคี้ยวที่ใช้สารให้ความหวานประเภทพอลิออล (Polyols) แทนน้ำตาล เช่น ไซลิทอล (Xylitol)ซึ่งเป็นน้ำตาลแอลกอฮอล์ที่มีคาร์บอน 5 อะตอม ในโครงสร้าง เพราะเชื้อแบคทีเรียในช่องปากไม่สามารถย่อยสลายน้ำตาลแอลกอฮอล์เป็นอาหารได้ จึงช่วยลดปริมาณการเกิดคราบฟัน นอกจากนี้ น้ำตาลแอลกอฮอล์ยังช่วยกระตุ้นการหลั่งของน้ำลาย และเป็นตัวกลางในการนำแร่ธาตุที่มีประโยชน์มาหล่อเลี้ยงฟันจึงช่วยลดอาการฟันผุ
ประเภทหมากฝรั่ง
หมากฝรั่งมี 2 ชนิด จำแนกตามชนิดของหมากพื้นฐานดังนี้
1. หมากฝรั่งสำหรับเคี้ยว (Chewing Gum)
หมากพื้นฐานที่ใช้ คือ ยางธรรมชาติผสมกับสไตรีน (Styrene) พอลิเอทิลีน (Polyethylene: PE) และยางสังเคราะห์ เช่น บิวตะไดอีน(Butadiene)
2. หมากฝรั่งสำหรับเป่า (Bubble Gum)
หมากพื้นฐานที่ใช้ คือ ยางสังเคราะห์ผสมกับสไตรีน พอลิเอทิลีน และพอลิไวนิลแอซีเทต (Polyvinyl Acetate: PVA) ซึ่งเป็นพอลิเมอร์ที่มีแขนงหนาแน่น มีลักษณะโมเลกุลแบบอะแทกติก ไม่มีความเป็นผลึก ช่วยให้เป่าเป็นลูกโป่งได้ และยางสังเคราะห์นี้จะมีส่วนผสมที่สูงกว่าหมากฝรั่งชนิดเคี้ยว
อ้างอิงจาก
https://www.thisisinsider.com/what-actually-happens-when-yo…
https://kidshealth.org/en/kids/swallowed-gum.html
#Brief #TheMATTER
siamchemi