คือ กม ใหม่ บัญญัติว่า
ม 34 ให้ลูกจ้างมีสิทธิลา เพื่อกิจธุระอันจำเป็น ได้ปีละไม่น้อยกว่าสามวันทำงาน
ม.57 ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง..ตามม 34...ไม่เกินสามวันทำงาน
ในเมื่อ ม 34 ใช้คำว่า " เพื่อกิจธุระอันจำเป็น " นายจ้างจะสามารถกำหนดหลักเกณฑ์/ เงื่อนไขในการลาได้มั้ยคะ
เช่น ลาไปติดต่อราชการเท่าน้น หรือ ลาไปทำกิจที่ไม่สามารถทำในวันเสาร์อาทิตย์หรือวันหยุด หรือ เป็นกิจที่ต้องทำด้วยตัวเองเท่านั้น
ถ้าระบุตามข้างบนแบบนี้ จะใช้บังคับได้มั้ยคะ หรือว่า ไม่สามารถระบุได้
ซึ่งถ้าไม่สามารถระบุกรอบได้ชัดเจน คงจะวุ่นวายน่าดู เพราะผู้จัดการแต่ละแผนก ก็จะใช้ดุลยพินิจของตัวเอง มาตรฐานก็อาจต่างกันอีก
สุดท้าย วันลากิจอาจจะกลายเป็นเพิ่มวันหยุดพักผ่อนประจำปี ( พักร้อน ) ไปเลย
ขอความแนะนำด้วยนะคะ ว่า ถ้าจะระบุกรอบให้ชัดเจน ควรทำยังไงดี ที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย
ขอบคุณมากค่ะ
ม.34 พรบ คุ้มครองแรงงาน แก้ไขใหม่กรณีลากิจโดยได้รับค่าจ้างไม่เกิน3วันทำงาน นายจ้างจะกำหนดเงื่อนไขการลาได้หรือไม่
ม 34 ให้ลูกจ้างมีสิทธิลา เพื่อกิจธุระอันจำเป็น ได้ปีละไม่น้อยกว่าสามวันทำงาน
ม.57 ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง..ตามม 34...ไม่เกินสามวันทำงาน
ในเมื่อ ม 34 ใช้คำว่า " เพื่อกิจธุระอันจำเป็น " นายจ้างจะสามารถกำหนดหลักเกณฑ์/ เงื่อนไขในการลาได้มั้ยคะ
เช่น ลาไปติดต่อราชการเท่าน้น หรือ ลาไปทำกิจที่ไม่สามารถทำในวันเสาร์อาทิตย์หรือวันหยุด หรือ เป็นกิจที่ต้องทำด้วยตัวเองเท่านั้น
ถ้าระบุตามข้างบนแบบนี้ จะใช้บังคับได้มั้ยคะ หรือว่า ไม่สามารถระบุได้
ซึ่งถ้าไม่สามารถระบุกรอบได้ชัดเจน คงจะวุ่นวายน่าดู เพราะผู้จัดการแต่ละแผนก ก็จะใช้ดุลยพินิจของตัวเอง มาตรฐานก็อาจต่างกันอีก
สุดท้าย วันลากิจอาจจะกลายเป็นเพิ่มวันหยุดพักผ่อนประจำปี ( พักร้อน ) ไปเลย
ขอความแนะนำด้วยนะคะ ว่า ถ้าจะระบุกรอบให้ชัดเจน ควรทำยังไงดี ที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย
ขอบคุณมากค่ะ