เลขาธิการ กสทช. แจงแนวคิดการจัดเก็บรายได้ OTT ย้ำไม่ได้จัดเก็บจากประชาชนผู้ใช้บริการ ยืนยันทุกคนยังสามารถใช้งาน Facebook YouTube และ Twitter ได้ปกติ เตรียมเสนอต่อที่ประชุมอาเซียนในเดือน ส.ค. นี้ ที่ปีนี้ประเทศไทยจะเป็นประธานอาเซียนทางด้านโทรคมนาคมด้วย หากแนวคิดดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมอาเซียน จะต้องรับฟังความคิดเห็นประชาชน และฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่าย ทั้ง ผู้ประการโทรคมนาคม ผู้ให้บริการ OTT ก่อนที่จะนำไปใช้
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) ชี้แจง แนวคิดในการจัดเก็บรายได้จากธุรกิจที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตบนโครงข่ายโทรคมนาคม (Over The Top – OTT) เช่น Facebook YouTube และ Twitter ของสำนักงาน กสทช. ว่า แนวคิดเรื่องการจัดเก็บรายได้จากผู้ให้บริการ OTT เป็นข้อหารือในหลายๆ ประเทศมาไม่น้อยกว่า 2-3 ปีแล้ว ซึ่งสำหรับประเทศในกลุ่มอาเซียนเองก็ได้มีการหารือในเรื่องดังกล่าวด้วย เนื่องจากผู้ให้บริการ OTT เหล่านั้น ให้บริการโดยใช้โครงข่ายพื้นฐานโทรคมนาคมของแต่ละประเทศจำนวนมาก แต่ไม่มีการเสียภาษีเพื่อนำมาพัฒนาประเทศ และปรับปรุงโครงข่ายโทรคมนาคมที่ต้องมีการสร้าง และมีการปรับปรุง บำรุงรักษาอยู่ทุกปี
นายฐากร กล่าวว่า แนวคิดในการจัดเก็บค่าใช้บริการโครงข่ายจาก OTT ที่มีการใช้งานโครงข่ายโทรคมนาคมในปริมาณมาก และมีทราฟฟิกในการใช้งานสูง มีการนำเสนอขึ้นมาครั้งแรกบนเวทีในงาน 5G ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นการเปิดประเด็นทางความคิดและกระตุ้นให้เกิดความสนใจในการดำเนินการเรื่องจัดเก็บรายได้จากการทำธุรกิจ OTT โดยแนวคิดนี้ ผมในฐานะประธานอาเซียนด้านโทรคมนาคมในปีนี้ จะนำเสนอต่อที่ประชุมอาเซียนที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพ ในเดือน ส.ค. 2562 เพื่อหาข้อยุติ
นายฐากร กล่าวว่า สำหรับแนวทางการจัดเก็บภาษีจากผู้ประกอบการ OTT หลายประเทศอยากให้ดำเนินการ ประเทศไทยเองก่อนหน้านี้เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ก็มีความพยายามเช่นกัน โดยเสนอให้ OTT เหล่านั้นลงทะเบียนในประเทศไทย ซึ่งแนวคิดดังกล่าวหลายฝ่ายรวมทั้งผม ไม่เห็นด้วยเนื่องจากเราไม่สามารถบังคับ OTT ให้เข้ามาลงทะเบียนในประเทศไทยได้ นอกจากนี้หลายประเทศในอาเซียนก็ได้มีความพยายามให้ OTT ไปลงทะเบียนในประเทศของตนเช่นกัน แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ
นายฐากร กล่าวย้ำว่า เรื่องนี้เป็นเพียงแค่แนวคิดยังไม่ได้ข้อสรุป และมีผลบังคับใช้แต่อย่างใด ซึ่งหากที่ประชุมอาเซียนให้ความเห็นชอบ สำนักงาน กสทช. จึงจะทำการรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายเพื่อให้ได้แนวทางที่ดีที่สุด ซึ่งหากแนวทางที่สำนักงาน กสทช. เสนอหลายๆ ฝ่ายเห็นว่าไม่สามารถดำเนินการได้ มีแนวทางที่ดีกว่า สำนักงาน กสทช. ก็พร้อมน้อมรับ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อทุกฝ่ายทั้งประเทศชาติ ประชาชน รวมถึงผู้ประกอบการโทรคมนาคม ผู้ประกอบการ OTT ด้วย
เลขาธิการ กสทช. แจงแนวคิดไม่ได้เรียกเก็บค่าบริการ OTT จากประชาชนผู้ใช้สื่อบนอินเทอร์เน็ต
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) ชี้แจง แนวคิดในการจัดเก็บรายได้จากธุรกิจที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตบนโครงข่ายโทรคมนาคม (Over The Top – OTT) เช่น Facebook YouTube และ Twitter ของสำนักงาน กสทช. ว่า แนวคิดเรื่องการจัดเก็บรายได้จากผู้ให้บริการ OTT เป็นข้อหารือในหลายๆ ประเทศมาไม่น้อยกว่า 2-3 ปีแล้ว ซึ่งสำหรับประเทศในกลุ่มอาเซียนเองก็ได้มีการหารือในเรื่องดังกล่าวด้วย เนื่องจากผู้ให้บริการ OTT เหล่านั้น ให้บริการโดยใช้โครงข่ายพื้นฐานโทรคมนาคมของแต่ละประเทศจำนวนมาก แต่ไม่มีการเสียภาษีเพื่อนำมาพัฒนาประเทศ และปรับปรุงโครงข่ายโทรคมนาคมที่ต้องมีการสร้าง และมีการปรับปรุง บำรุงรักษาอยู่ทุกปี
นายฐากร กล่าวว่า แนวคิดในการจัดเก็บค่าใช้บริการโครงข่ายจาก OTT ที่มีการใช้งานโครงข่ายโทรคมนาคมในปริมาณมาก และมีทราฟฟิกในการใช้งานสูง มีการนำเสนอขึ้นมาครั้งแรกบนเวทีในงาน 5G ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นการเปิดประเด็นทางความคิดและกระตุ้นให้เกิดความสนใจในการดำเนินการเรื่องจัดเก็บรายได้จากการทำธุรกิจ OTT โดยแนวคิดนี้ ผมในฐานะประธานอาเซียนด้านโทรคมนาคมในปีนี้ จะนำเสนอต่อที่ประชุมอาเซียนที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพ ในเดือน ส.ค. 2562 เพื่อหาข้อยุติ
นายฐากร กล่าวว่า สำหรับแนวทางการจัดเก็บภาษีจากผู้ประกอบการ OTT หลายประเทศอยากให้ดำเนินการ ประเทศไทยเองก่อนหน้านี้เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ก็มีความพยายามเช่นกัน โดยเสนอให้ OTT เหล่านั้นลงทะเบียนในประเทศไทย ซึ่งแนวคิดดังกล่าวหลายฝ่ายรวมทั้งผม ไม่เห็นด้วยเนื่องจากเราไม่สามารถบังคับ OTT ให้เข้ามาลงทะเบียนในประเทศไทยได้ นอกจากนี้หลายประเทศในอาเซียนก็ได้มีความพยายามให้ OTT ไปลงทะเบียนในประเทศของตนเช่นกัน แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ
นายฐากร กล่าวย้ำว่า เรื่องนี้เป็นเพียงแค่แนวคิดยังไม่ได้ข้อสรุป และมีผลบังคับใช้แต่อย่างใด ซึ่งหากที่ประชุมอาเซียนให้ความเห็นชอบ สำนักงาน กสทช. จึงจะทำการรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายเพื่อให้ได้แนวทางที่ดีที่สุด ซึ่งหากแนวทางที่สำนักงาน กสทช. เสนอหลายๆ ฝ่ายเห็นว่าไม่สามารถดำเนินการได้ มีแนวทางที่ดีกว่า สำนักงาน กสทช. ก็พร้อมน้อมรับ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อทุกฝ่ายทั้งประเทศชาติ ประชาชน รวมถึงผู้ประกอบการโทรคมนาคม ผู้ประกอบการ OTT ด้วย