ครม.เห็นชอบ "สุดาวรรณ" เป็นผู้แทนประเทศไทย ร่วมประชุมขับเคลื่อนงานวัฒนธรรมอาเซียน AMCA ครั้งที่ 11 ระหว่างวันที่ 23-25 ตุลาคม ๒๕๖๗ ณ ประเทศมาเลเซีย จับมือส่งเสริมความร่วมมือทางวัฒนธรรมระหว่างภูมิภาคอาเซียน และพร้อมผลักดันภูมิภาคก้าวสู่อุตสาหกรรมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ อีกทั้งร่วมประชุมงานเทศกาลศิลปะอาเซียน และพบปะเยาวชนอาเซียน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และรับฟังการบรรยายด้านมรดกวัฒนธรรมของเยาวชนในการอนุรักษ์มรดกที่สืบทอดกันมา
วันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๗ นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมด้วยนางยุถิกา อิศรางกูร ณ อยุธยา รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และคณะข้าราชการในสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนที่กำกับดูแลงานด้านวัฒนธรรมและศิลปะ ครั้งที่ 11 (ASEAN Ministers Responsible for Culture and Arts: 11th AMCA) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 23 - 25 ตุลาคม 2567 โดยมี Dato’ Sri Tiong King Sing รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยว ศิลปะและวัฒนธรรมมาเลเซียเป็นประธานการประชุมและรัฐมนตรีอาเซียนที่กำกับดูแลงานด้านวัฒนธรรมและศิลปะจากประเทศสมาชิกอาเซียน เลขาธิการอาเซียน คณะผู้แทนจากประเทศสมาชิกอาเซียน และประเทศคู่เจรจา (สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐเกาหลี และญี่ปุ่น) เข้าร่วมการประชุม และมีคณะผู้แทนจากติมอร์-เลสเต เข้าร่วมในฐานะผู้สังเกตการณ์
นางสาวสุดาวรรณ กล่าวว่า การประชุม AMCA มีวัตถุประสงค์ในการติดตาม กำกับดูแลและกำหนดนโยบายความร่วมมือ ด้านวัฒนธรรมและศิลปะของอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา และจะถูกนำเสนอผลการประชุมครั้งนี้ต่อที่ประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC Council) พร้อมทั้งติดตามและหารือแนวทางการส่งเสริมความร่วมมือที่สอดคล้องกับผลการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนอีกด้วย โดยการประชุม AMCA ครั้งที่ 11 ประกอบด้วย การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน (Senior Officials Responsible for Culture and Arts: SOMCA) และการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา (สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐเกาหลี และญี่ปุ่น) การประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนและการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนและประเทศคู่เจรจา นอกจากนี้ ในระหว่างการประชุม AMCA ครั้งที่ 11 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมจะร่วมกล่าวแสดงวิสัยทัศน์ในการพัฒนาและส่งเสริมความร่วมมือทางวัฒนธรรมระหว่างภูมิภาคอาเซียน เพื่อนำภูมิภาคก้าวสู่อุตสาหกรรมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์อาเซียนอย่างมีประสิทธิภาพพร้อมทั้งนำเสนอการดำเนินงานของกระทรวงวัฒนธรรมตามแนวนโยบาย 4 - 3 - 2 - 1 เพื่อนำไปสู่การต่อยอดความร่วมมือโดยใช้มรดกทางวัฒนธรรมอันรุ่มรวยและหลากหลายของภูมิภาคอาเซียน มาช่วยส่งเสริมนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ในระดับภูมิภาค ผ่านการนำอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่มีร่วมกันมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้ประชาคมอาเซียนเกิดความคล่องตัว ยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันในภูมิภาคในระดับโลกและสามารถเชื่อมโยงความหลากหลายทางวัฒนธรรม หลอมรวมอัตลักษณ์ เสริมสร้างเอกภาพและความมั่นคง
มั่งคั่งให้แก่ภูมิภาคอาเซียนต่อไปในอนาคต
นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
นางสาวสุดาวรรณ กล่าวอีกว่า ในการประชุมดังกล่าว ตนในในฐานะรัฐมนตรีอาเซียนที่กำกับดูแลงานด้านวัฒนธรรมและศิลปะแห่งราชอาณาจักรไทย จะได้กล่าวถ้อยแถลงร่วมการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนที่กำกับดูแลงานด้านวัฒนธรรมและศิลปะ ครั้งที่ 11 ด้วย ซึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 22 ตุลาคมที่ผ่านมา ได้มีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงร่วมการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนที่กำกับดูแลงานด้านวัฒนธรรมและศิลปะ (Meeting of ASEAN Ministers Responsible for Culture and Arts: AMCA) ครั้งที่ 11 (ร่างถ้อยแถลงฯ) “เชื่อมโยงวัฒนธรรม สร้างสรรค์อนาคต: เอกภาพบนความหลากหลาย” (Joint Media Statement the 11th Meeting of the ASEAN Ministers Responsible for Culture and Arts “Bridging Cultures, Building Futures: Unity in Diversity”)
2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมในฐานะรัฐมนตรีอาเซียนที่กำกับดูแลงานด้านวัฒนธรรมและศิลปะแห่งราชอาณาจักรไทย หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุม AMCA ครั้งที่ 11 ให้การรับรองร่างถ้อยแถลงฯ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ตนจะได้เข้าร่วมกิจกรรมคู่ขนานของการประชุมฯ ประกอบด้วย
1. งานเทศกาลศิลปะอาเซียน กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21 - 26 ตุลาคม 2567 ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นทุกสองปีในช่วงเวลาเดียวกันกับการประชุม AMCA โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของอัตลักษณ์อาเซียนและนำเสนอการแสดงทางวัฒนธรรมในโอกาสของการประชุมระดับรัฐมนตรี ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วยคณะนักแสดงจากทั้งประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศคู่เจรจา ร่วมกันจัดการแสดงทั้งในรูปแบบรายประเทศเพื่อแสดงเอกลักษณ์ประจำชาติของตนเอง รวมถึงการแสดงแบบรวมชาติเพื่อแสดงอัตลักษณ์อันแตกต่างหลากหลายแต่ทว่าเป็นหนึ่งเดียวกันในภูมิภาค ซึ่งกำหนดจัดงานเทศกาลศิลปะอาเซียนดังกล่าวจะจัดขึ้นระหว่างงานเลี้ยงรับรองอาหารค่ำ ในวันที่ 24 ตุลาคม 2567 ทั้งนี้ประเทศไทยได้ส่งคณะนักแสดงจากสำนักการสังคีต กรมศิลปากร จัดการแสดงในชุด "กินรี"
2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้พบปะคณะเยาวชนไทยที่เข้าร่วมโครงการ ASEAN Youth and Heritage: Celebrating Roots and Reimagining the Future Programme กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 22 - 28 ตุลาคม 2567 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ รัฐมะละกา และรัฐปะหัง มาเลเซีย มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี ปลูกฝังค่านิยมที่ดี และการเคารพต่อความหลากหลายทางวัฒนธรรมและศาสนาในหมู่เยาวชนอาเซียน ผู้เข้าร่วมโครงการฯประกอบด้วยเยาวชนจากประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศติมอร์ เลสเต ประเทศละ 2 คน เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และรับฟังการบรรยายด้านมรดกวัฒนธรรม รวมถึงนำเสนอข้อคิดริเริ่มของเยาวชนในการอนุรักษ์มรดกที่สืบทอดกันมา (Youth Initiatives in Safeguarding Heritage) โดยเยาวชนจากประเทศไทยประกอบด้วย นายภูริช พงษ์แพทย์ นักวิชาการวัฒนธรรม กองการต่างประเทศ และนายสรายุทธ นามเสน นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ทั้งนี้เยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการจะได้มีโอกาสพบกับผู้นำของประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศคู่เจรจา ในช่วงบ่ายของวันที่ 24 ตุลาคม 2567 อีกด้วย
ครม.เห็นชอบ "สุดาวรรณ" เป็นผู้แทนประเทศไทย ร่วมประชุมขับเคลื่อนงานวัฒนธรรมอาเซียน AMCA ครั้งที่ 11 ณ ประเทศมาเลเซีย
นางสาวสุดาวรรณ กล่าวว่า การประชุม AMCA มีวัตถุประสงค์ในการติดตาม กำกับดูแลและกำหนดนโยบายความร่วมมือ ด้านวัฒนธรรมและศิลปะของอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา และจะถูกนำเสนอผลการประชุมครั้งนี้ต่อที่ประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC Council) พร้อมทั้งติดตามและหารือแนวทางการส่งเสริมความร่วมมือที่สอดคล้องกับผลการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนอีกด้วย โดยการประชุม AMCA ครั้งที่ 11 ประกอบด้วย การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน (Senior Officials Responsible for Culture and Arts: SOMCA) และการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา (สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐเกาหลี และญี่ปุ่น) การประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนและการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนและประเทศคู่เจรจา นอกจากนี้ ในระหว่างการประชุม AMCA ครั้งที่ 11 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมจะร่วมกล่าวแสดงวิสัยทัศน์ในการพัฒนาและส่งเสริมความร่วมมือทางวัฒนธรรมระหว่างภูมิภาคอาเซียน เพื่อนำภูมิภาคก้าวสู่อุตสาหกรรมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์อาเซียนอย่างมีประสิทธิภาพพร้อมทั้งนำเสนอการดำเนินงานของกระทรวงวัฒนธรรมตามแนวนโยบาย 4 - 3 - 2 - 1 เพื่อนำไปสู่การต่อยอดความร่วมมือโดยใช้มรดกทางวัฒนธรรมอันรุ่มรวยและหลากหลายของภูมิภาคอาเซียน มาช่วยส่งเสริมนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ในระดับภูมิภาค ผ่านการนำอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่มีร่วมกันมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้ประชาคมอาเซียนเกิดความคล่องตัว ยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันในภูมิภาคในระดับโลกและสามารถเชื่อมโยงความหลากหลายทางวัฒนธรรม หลอมรวมอัตลักษณ์ เสริมสร้างเอกภาพและความมั่นคง
มั่งคั่งให้แก่ภูมิภาคอาเซียนต่อไปในอนาคต
1. เห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงร่วมการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนที่กำกับดูแลงานด้านวัฒนธรรมและศิลปะ (Meeting of ASEAN Ministers Responsible for Culture and Arts: AMCA) ครั้งที่ 11 (ร่างถ้อยแถลงฯ) “เชื่อมโยงวัฒนธรรม สร้างสรรค์อนาคต: เอกภาพบนความหลากหลาย” (Joint Media Statement the 11th Meeting of the ASEAN Ministers Responsible for Culture and Arts “Bridging Cultures, Building Futures: Unity in Diversity”)
2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมในฐานะรัฐมนตรีอาเซียนที่กำกับดูแลงานด้านวัฒนธรรมและศิลปะแห่งราชอาณาจักรไทย หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุม AMCA ครั้งที่ 11 ให้การรับรองร่างถ้อยแถลงฯ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ตนจะได้เข้าร่วมกิจกรรมคู่ขนานของการประชุมฯ ประกอบด้วย
1. งานเทศกาลศิลปะอาเซียน กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21 - 26 ตุลาคม 2567 ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นทุกสองปีในช่วงเวลาเดียวกันกับการประชุม AMCA โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของอัตลักษณ์อาเซียนและนำเสนอการแสดงทางวัฒนธรรมในโอกาสของการประชุมระดับรัฐมนตรี ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วยคณะนักแสดงจากทั้งประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศคู่เจรจา ร่วมกันจัดการแสดงทั้งในรูปแบบรายประเทศเพื่อแสดงเอกลักษณ์ประจำชาติของตนเอง รวมถึงการแสดงแบบรวมชาติเพื่อแสดงอัตลักษณ์อันแตกต่างหลากหลายแต่ทว่าเป็นหนึ่งเดียวกันในภูมิภาค ซึ่งกำหนดจัดงานเทศกาลศิลปะอาเซียนดังกล่าวจะจัดขึ้นระหว่างงานเลี้ยงรับรองอาหารค่ำ ในวันที่ 24 ตุลาคม 2567 ทั้งนี้ประเทศไทยได้ส่งคณะนักแสดงจากสำนักการสังคีต กรมศิลปากร จัดการแสดงในชุด "กินรี"
2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้พบปะคณะเยาวชนไทยที่เข้าร่วมโครงการ ASEAN Youth and Heritage: Celebrating Roots and Reimagining the Future Programme กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 22 - 28 ตุลาคม 2567 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ รัฐมะละกา และรัฐปะหัง มาเลเซีย มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี ปลูกฝังค่านิยมที่ดี และการเคารพต่อความหลากหลายทางวัฒนธรรมและศาสนาในหมู่เยาวชนอาเซียน ผู้เข้าร่วมโครงการฯประกอบด้วยเยาวชนจากประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศติมอร์ เลสเต ประเทศละ 2 คน เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และรับฟังการบรรยายด้านมรดกวัฒนธรรม รวมถึงนำเสนอข้อคิดริเริ่มของเยาวชนในการอนุรักษ์มรดกที่สืบทอดกันมา (Youth Initiatives in Safeguarding Heritage) โดยเยาวชนจากประเทศไทยประกอบด้วย นายภูริช พงษ์แพทย์ นักวิชาการวัฒนธรรม กองการต่างประเทศ และนายสรายุทธ นามเสน นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ทั้งนี้เยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการจะได้มีโอกาสพบกับผู้นำของประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศคู่เจรจา ในช่วงบ่ายของวันที่ 24 ตุลาคม 2567 อีกด้วย