เสนอโครงการศึกษา รถไฟความเร็วสูง รางเบา ค่าก่อสร้างเท่ารถไฟธรรมดา

ปัญหาของรถไฟความเร็วสูง (HSR) ของไทยอยู่ที่  มีเครื่องบิน LowCost เป็นคู่แข่ง 
ทำให้ HSR ต้องเก็บค่าโดยสาร กม ละ  2  บาท   โครงการคืนทุนใน 50 ปี
จำนวนผู้โดยสารต่อวัน(ไป-กลับ) จึงต้องสูงถึงวันละ 50,000  คน (ตัวเลขจากการศึกษาของญี่ปุ่น)

วิธีคิด   https://www.1213.or.th/th/tools/programs/Pages/loans.aspx
HSR กทม-เชียงใหม่  ค่าก่อสร้าง  420,000 ล้านบาท   ดอกเบี้ย 2%  คืนทุนใน 50 ปี  ต้องจ่ายคืนเดือนละ  1,108 ล้านบาท
เมื่อรวมค่าจ้าง ค่าไฟ ค่าบำรุงรักษา ฯลฯ  จะต้องมีรายได้เดือนละ 1,800 ล้านบาท  หรือวันละ 60 ล้านบาท
ค่าโดยสาร กทม-เชียงใหม่ 1,200 บาท  จะต้องมีผู้โดยสารวันละ  (60 x 1,000,000) / 1,200 = 50,000  คน

ปัจจุบัน กทม - เชียงใหม่  มีเครื่องบินวันละ 80 เที่ยว (ไป-กลับ)  จำนวนผู้โดยสารวันละ 13,000  คน
เครื่องบิน  กทม - พิษณุโลก + กทม - ลำปาง  วันละ  2,000  คน 
รวมผู้โดยสารวันละ  15,000  คน 

สมมุติให้  เมื่อสร้าง HSR เสร็จ ผู้โดยสารเพิ่มเป็นวันละ  20,000  คน  
เครื่องบิน LowCost  และ HSR ใช้เวลาเดินทาง ละ ค่าใช้จ่ายเท่าๆกัน  ผู้โดยสารแบ่งกัน 50:50  จะมีผู้โดยสาร HSR วันละ 10,000 คน
ยังห่างไกลจากเป้าหมายอยู่ 5 เท่า  สร้างไปก็เจ๊งยับแน่นอน

-----------------------------------------------------------------------------------------

เอาผู้โดยสารวันละ 10,000  คน  เป็นตัวตั้ง 
จะได้ค่าโดยสารเดือนละ (10,000 x 1,200 x 30) / 1,000,000 =  360  ล้านบาท
เมื่อรวมรายได้อื่น เช่น ค่าเช่า ค่าโฆษณา ฯลฯ  น่าจะมีรายได้เดือนละ  4xx ล้านบาท   [จำนวนผู้โดยสารเพิ่ม ค่าโดยสารเพิ่มจากเงินเฟ้อ]
กู้เงิน 120,000  ล้าน ดอกเบี้ย 2% จ่ายคืน 50 ปี  ต้องจ่ายเดือนละ  317 ล้านบาท
เมื่อรวมค่าจ้าง ค่าไฟ ค่าบำรุงรักษา ฯลฯ  น่าจะเป็นรายจ่ายเดือนละ 4xx ล้านบาท
แบบนี้ รายได้กับรายจ่ายใกล้เคียงกัน งบการก่อสร้างได้เท่านี้

ค่าก่อสร้าง กทม - เชียงใหม่  120,000  ล้านบาท  ระยะทาง 600  กม   เฉลี่ย กม ละ  200  ล้านบาท
ราคานี้สร้างได้แต่รถไฟธรรมดาเท่านั้น     ค่าก่อสร้าง   HSR กม ละ 700  ล้าน 

-----------------------------------------------------------------------------------------

ถ้าอยากสร้าง HSR ในราคารถไฟธรรมดา   ลองแบบนี้
อ้างอิงจาก   ผลการศึกษาฉบับเต็ม Hyperloop in thailand ของคุณธนาธร
https://drive.google.com/file/d/1jMRP-kIWRkRPp1VnKjMhtV9CYkJHSMSj/view

ตารางบางส่วนดูมั่วๆหน่อย ด้านขวาสุดไม่ตรงกับผลรวมของด้านซ้ายในหลายๆช่อง  เว้นเรื่องตารางมั่วไว้ก่อน  
เอาเป็น Total cost (M USD)   24,851MUSD   ถูกละกัน
เป็นระยะทางเชียงใหม่ - ภูเก็ต 590 + 725 = 1315 KM
เฉลี่ย กม ละ  18.9 M-USD  หรือ  18.9 x 32 =  605  ล้านบาท
- ค่าสร้างเสา กม ละ  67 ล้านบาท
- ค่าท่อ กม ละ  245  ล้านบาท
- ค่าแรง กม ละ 54 ล้านบาท
3 อย่างนี้ กม  ละ  366 ล้านบาท   ยังเกินงบที่ต้องการสร้าง กม ละ 200 ล้านบาท

ถ้าเราไม่ต้องการความเร็วสูง 1000 กม/ชม   เอาแค่ 250 กม/ชม  ก็พอ   ไม่ต้องทำท่อเป็นสูญญากาศ

เดิมค่าท่อ กม ละ  245  ล้านบาท  ถ้าเราใช้แค่ครึ่งเดียว  จะเหลือ กม ละ  122 ล้านบาท
ไม่ต้องทำท่อเป็นสูญญากาศ  ท่อไม่ต้องรับแรงดันมากเท่าเดิม   ลดความหนาท่อลงครึ่งนึง  จะเหลือ กม ละ  61 ล้านบาท
[ อันนี้มโนล้วนๆ  ไม่รู้ความแข็งแรงของท่อ  ต้องไปตรวจสอบเอาว่ารับแรงจาก Pod ไหวไหม]

จากตารางรูปบน Figure 29
- ค่าสร้างเสา กม ละ 67 ล้านบาท
- Galvanized ตัดทิ้ง (อันนี้ไม่เข้าใจว่าใช้ทำอะไร)
- ค่าท่อ กม ละ 61 ล้านบาท
- ทางออกฉุกเฉินตัดทิ้ง เพราะไม่เป็นท่อปิดแล้ว
- ถนน ตัดทิ้ง
- สถานีไฟฟ้า กม ละ 9 ล้าน
- Service Com ทุกๆ 250 เมตร ไม่แน่ใจว่าไว้ทำอะไร ตัดไปก่อน
- ค่าแรง กม ละ 30 ล้านบาท [มโนล้วนๆ ลดจาก 54]
- เงินฉุกเฉิน กม ละ 33 ล้าน [ลดจาก 55]
รวม รวมค่าก่อสร้าง กม ละ 200 ล้านบาท

ผู้โดยสารไป-กลับ วันละ 10,000 คน  หรือ 5,000 คน ต่อ ทิศทาง
รถออกเวลา 7-21  รวม 14 ชั่วโมง  เฉลี่ย ชม ละ 357 คน / ทิศทาง
ขบวนรถใช้แบบ  Pod  ของ HPL  1 ขบวน มี 2 ตู้โดยสาร  รวม 100  คน   ออกทุกๆ 15  นาที   รวม 400 คน/ชม/ทิศทาง
สามารถเพิ่มได้สูงสุด 3 เท่า   ออกทุกๆ 5 นาที   หรือ  เพิ่มตู้  เป็น 3-4 ตู้/ขบวน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่