เห็นด้วยหรือไม่ ? สื่อมวลชนไทย ควรนำคำสอนทางศาสนา รณรงค์ไม่โกหกเล่นในวัน April Fool's Day ?!?!

จากกระแสข่าวปลอมในสื่อหรือโลกออนไลน์
จะเห็นได้ว่า ข่าวปลอมเผยแผ่กระจายรวดเร็วมาก
บางที่ข่าวปลอม แผ่กระจายเร็วกว่าข่าวจริงซะอีก
ถ้าโกหกเรื่องคอขาดบาดตายขึ้นมาจะทำสังคมวุ่นวาย
ไม่มีคนแก้ข่าว หรือบางคนก็เชื่อว่าเป็นเรื่องจริงไปเลย
ยิ่งมามี เทศกาลวันโกหกเข้าไปอีก ยิ่งไปกันใหญ่

นอกจากผลกระทบทางสื่อสังคมแล้ว
ประเพณีนี้ยังไม่ใช่ประเพณีของไทย
และเป็นการส่งเสริมให้คนโกหกมากขึ้นเรื่อยๆอีกด้วย
จริงอยู่ ที่คนทั่วๆไปเคยโกหกกันบ้างอยู่แล้ว
แต่คนเหล่านั้น ไม่ได้โกหกโดยมีเทศกาลหรือประเพณีที่อนุญาตให้โกหกได้แบบถูกต้อง

อย่ามองว่า ก็แค่โกหกกันขำๆ
เพราะผลเสียมันเยอะกว่าที่คิด โกหกไปเรื่อยกลายเป็นนิสัย
หรือคิดว่าการโกหกเป็นเรื่องปกติ สังคมจะอยู่อย่างไร ?

สิ่งที่เราควรสนับสนุนส่งเสริม คือ ต้องไม่โกหก ต่างหาก
โดยไม่ต้องบังคับว่าทุกคนต้องพูดแต่ความจริงเท่านั้น
แต่ถ้าใครจะเคร่ง อย่างนักบวชถือศีล อันนี้ก็แล้วแต่คนไป

ก่อนจาก ขอฝาก พุทธพจน์ เรื่องการพูด(วาจา)ไว้ เป็นข้อเตือนใจ

ไม่โกหกกัน แม้เพียงเพื่อหัวเราะเล่น

“ราหุล ! นักบวช ที่ไม่มีความละอายในการ
แกล้งกล่าวเท็จ ทั้งที่รู้อยู่ว่าเป็นเท็จ ก็มีความเป็นสมณะ
เท่ากับความว่างเปล่าของน้ำในภาชนะนี้ ฉันนั้นเหมือนกัน
..ฯลฯ..”
“ราหุล ! เรากล่าวว่า กรรมอันเป็นบาปหน่อยหนึ่ง
ซึ่งนักบวชที่ไม่มีความละอายในการแกล้งกล่าวเท็จ ทั้งที่
รู้อยู่ว่าเป็นเท็จ จะทำไม่ได้ หามีไม่. เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้
เธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้ว่า
“เราทั้งหลายจักไม่กล่าวมุสาแม้แต่เพื่อหัวเราะกันเล่น” ดังนี้.
ราหุล ! เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกใจไว้อย่างนี้”.
ม. ม. ๑๓/๑๒๓/๑๒๖.

ลักษณะการพูดของตถาคต
๑.
ราชกุมาร ! ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันไม่จริง
ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์และไม่เป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่น
ตถาคตย่อม ไม่กล่าววาจานั้น.
๒.
ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันจริง อันแท้ แต่ไม่ประกอบ
ด้วยประโยชน์และไม่เป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่น
ตถาคตย่อมไม่กล่าววาจานั้น.
๓.
ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันจริง อันแท้ ประกอบ
ด้วยประโยชน์ แต่ไม่เป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่น
ตถาคตย่อมเลือกให้เหมาะกาล เพื่อกล่าววาจานั้น.
๔.
ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบ
ด้วยประโยชน์ แต่เป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่น
ตถาคตย่อมไม่กล่าววาจานั้น.
๕.
ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันจริง อันแท้ แต่ไม่ประกอบ
ด้วยประโยชน์ แต่ก็เป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่น
ตถาคตย่อมไม่กล่าววาจานั้น.
๖.
ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันจริง อันแท้ ประกอบด้วย
ประโยชน์และเป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่น
ตถาคตย่อมเป็นผู้ รู้จักกาละที่เหมาะเพื่อกล่าววาจานั้น.
ม. ม. ๑๓/๙๑/๙๔.

สัมมวาจา ๔

ดูกรจุนทะ ความสะอาดทางวาจามี ๔ อย่าง อย่างไรเล่า
๑.
ดูกรจุนทะบุคคลบางคน ในโลกนี้ ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ อยู่ในสภา
ในบริษัท ในท่ามกลางญาติ ใน ท่ามกลางเสนา หรือในท่ามกลางราชสกุล
ถูกผู้อื่นนำไปเป็นพยานซักถามว่า มาเถิด บุรุษผู้เจริญ
ท่านรู้สิ่งใดจงพูดสิ่งนั้น บุรุษนั้นเมื่อไม่รู้ก็บอกว่าไม่รู้
หรือเมื่อรู้ก็บอกว่ารู้ เมื่อไม่เห็นก็บอกว่า ไม่เห็น
หรือเมื่อเห็นก็บอกว่าเห็น ไม่เป็นผู้กล่าวเท็จทั้งรู้ เพราะเหตุแห่งตน
เพราะเหตุแห่ง ผู้อื่นบ้าง หรือเพราะเหตุเห็นแก่อามิสเล็กน้อย ๑
๒.
ละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด ฟังข้าง นี้แล้วไปบอกข้างโน้น
เพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือฟังจากข้างโน้นแล้วไม่มาบอกข้างนี้เพื่อทำลาย
คนหมู่โน้น สมานคนที่แตกร้าวกันแล้วบ้าง
ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง ชอบคน ผู้พร้อมเพรียงกัน
ยินดีคนผู้พร้อมเพรียงกันเพลิดเพลินในคนผู้พร้อมเพรียงกัน กล่าววาจาที่
ทำให้คนพร้อมเพรียงกัน ๑
๓.
ละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ กล่าววาจาที่ไม่มีโทษ
เพราะหู ชวนให้รักจับใจ เป็นของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่ พอใจ ๑

๔.
ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจาก คำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำที่เป็นจริง
พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัยพูดแต่คำ มีหลักฐาน มีที่อ้างอิง
มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควร ๑
ดูกรจุนทะ ความสะอาดทางวาจามี ๔ อย่าง อย่างนี้แล ฯ
พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๔
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
หน้าที่ ๒๓๘-๒๔๒/๓๓๓ ข้อที่ ๑๖๕



คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
เห็นด้วยอย่างมากครับ  วันโกหกผมว่าเป็นอะไรที่งี่เง่ามาก และก็น่าจะเป็นปัญหาได้ โดยเฉพาะเด็กๆที่ยังไม่รู้ระดับของการโกหก เช่นเรื่องสำคัญๆถ้ามาโกหก มันก็จะแย่ได้นะ  ไอ้วัฒนธรรมแบบนี้ก็ไม่อยากจะให้รับมานะ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่