ปกิณกะธรรม เรื่อง โอษฐภัย
ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี มีนกแขกเต้า ๒ ตัว พี่น้องกัน ตัวพี่ ชื่อว่าราธะ. ตัวน้องชื่อโปฏฐปาทะ
พรานคนหนึ่งจับนกแขกเต้าสองพี่น้องในขณะยังอ่อนอยู่ไปให้แก่พราหมณ์คนหนึ่ง
ในกรุงพาราณสี.
พราหมณ์เลี้ยงดูนกแขกเต้าเหมือนดังบุตร. แต่นางพราหมณภรรยาของพราหมณ์เป็นหญิงไม่รักษาเนื้อรักษาตัวเป็นคนทุศีล. เมื่อพราหมณ์จะไปทำการค้าจึงเรียกลูกนกแขกเต้านั้นมาสั่งว่า แน่ะลูกพ่อ พ่อจะไปทำการค้า เจ้าทั้งสองคอยดูการกระทำของแม่เจ้าทั้งในเวลากลางวัน และกลางคืน พึงสืบดูว่ามีชายอื่นไปมาหรือไม่ ครั้นมอบหมายนางพราหมณีกับลูกนกแขกเต้าแล้วก็ไป.
นางพราหมณีตั้งแต่พราหมณ์ออกไปแล้ว ก็ประพฤติอนาจาร. คนที่ ไป ๆมาๆ ทั้งกลางคืนกลางวัน ช่างมากมายเหลือเกิน
นกโปฏฐปาทะเห็นดังนั้น จึงถามนกราธะว่าพราหมณ์ได้มอบพราหมณีนี้แก่เราไว้แล้วจึงไป และนางพราหมณีนี้ก็ทำการน่าอดสู เราจะว่าแกดีหรือไม่.
นกราธะตอบว่า อย่าว่าแกเลยน้อง.
นกโปฏฐปาทะ ไม่เชื่อฟังคำของนกราธะ จึงไปต่อว่า นางพราหมณีว่า แม่ เพราะอะไร แม่จึงทำการน่าอดสูอย่างนี้
นางพราหมณีฟังดังนั้นก็โกรธอยากจะฆ่านกโปฏฐปาทะนัก แต่ทำทีเป็นรัก เรียกมาพูด
ว่า นี่ลูกเจ้าก็เป็นลูกของแม่ ตั้งแต่นี้ไปแม่จักไม่ทำอีก มานี่ก่อนซิลูก พอนกโปฏฐปาทะมาก็ตะคอกว่า เจ้าพูดกะเรา เจ้าไม่รู้ประมาณตน แล้วบิดคอเสียจนตายโยนลงไปในเตาไฟ.
พราหมณ์มาถึงพักผ่อนแล้วเมื่อจะถามพระโพธิสัตว์ว่า แน่ะพ่อราธะแม่ของเจ้าทำอนาจารหรือเปล่า
นกราธะตอบว่า ธรรมดาบัณฑิตไม่พูดวาจาที่ประกอบ ด้วยความจริง แต่ไม่ดี ขืนพูดไปจะต้องนอนตายอยู่ ดุจนกแขกเต้าโปฏฐปาทะถูกเผานอนจมอยู่ในเตาไฟฉะนั้น.
จบเรื่อง โอษฐภัย
ประเด็นน่าสนใจ
วาจาใดที่นำภัยอันตรายมาให้ตนเอง แม้จะเป็นคำจริง ก็ไม่ควรกล่าว อันที่จริง วาจาที่ควรกล่าว หรือวาจาสุภาษิตนั้นประกอบด้วย องค์ ๕
๑ วาจากล่าวถูกกาล
๒ วาจาที่กล่าวเป็นสัจ
๓ วาจาที่กล่าวอ่อนหวาน
๔ วาจาที่กล่าวประกอบด้วยประโยชน์
๕ วาจาที่กล่าวด้วยจิตที่เมตตา
ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงมุ่งอนุเคราะห์ผู้อื่นด้วยทรงเอ็นดู ย่อมตรัสวาจาที่มีหลัก ๖ ประการ คือ
๑ วาจาที่ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น
๒ วาจาที่จริง ที่แท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น
๓ วาจาที่จริง ที่แท้ และประกอบด้วยประโยชน์ แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ตถาคตรู้กาลที่จะกล่าววาจานั้น
๔ วาจาที่ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น
๕ วาจาที่จริง ที่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น
๖ วาจาที่จริง ที่แท้ ประกอบด้วยประโยชน์ และวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ตถาคตรู้กาลที่จะกล่าววาจานั้น
ปกิณกะธรรม เรื่อง โอษฐภัย
ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี มีนกแขกเต้า ๒ ตัว พี่น้องกัน ตัวพี่ ชื่อว่าราธะ. ตัวน้องชื่อโปฏฐปาทะ
พรานคนหนึ่งจับนกแขกเต้าสองพี่น้องในขณะยังอ่อนอยู่ไปให้แก่พราหมณ์คนหนึ่ง
ในกรุงพาราณสี.
พราหมณ์เลี้ยงดูนกแขกเต้าเหมือนดังบุตร. แต่นางพราหมณภรรยาของพราหมณ์เป็นหญิงไม่รักษาเนื้อรักษาตัวเป็นคนทุศีล. เมื่อพราหมณ์จะไปทำการค้าจึงเรียกลูกนกแขกเต้านั้นมาสั่งว่า แน่ะลูกพ่อ พ่อจะไปทำการค้า เจ้าทั้งสองคอยดูการกระทำของแม่เจ้าทั้งในเวลากลางวัน และกลางคืน พึงสืบดูว่ามีชายอื่นไปมาหรือไม่ ครั้นมอบหมายนางพราหมณีกับลูกนกแขกเต้าแล้วก็ไป.
นางพราหมณีตั้งแต่พราหมณ์ออกไปแล้ว ก็ประพฤติอนาจาร. คนที่ ไป ๆมาๆ ทั้งกลางคืนกลางวัน ช่างมากมายเหลือเกิน
นกโปฏฐปาทะเห็นดังนั้น จึงถามนกราธะว่าพราหมณ์ได้มอบพราหมณีนี้แก่เราไว้แล้วจึงไป และนางพราหมณีนี้ก็ทำการน่าอดสู เราจะว่าแกดีหรือไม่.
นกราธะตอบว่า อย่าว่าแกเลยน้อง.
นกโปฏฐปาทะ ไม่เชื่อฟังคำของนกราธะ จึงไปต่อว่า นางพราหมณีว่า แม่ เพราะอะไร แม่จึงทำการน่าอดสูอย่างนี้
นางพราหมณีฟังดังนั้นก็โกรธอยากจะฆ่านกโปฏฐปาทะนัก แต่ทำทีเป็นรัก เรียกมาพูด
ว่า นี่ลูกเจ้าก็เป็นลูกของแม่ ตั้งแต่นี้ไปแม่จักไม่ทำอีก มานี่ก่อนซิลูก พอนกโปฏฐปาทะมาก็ตะคอกว่า เจ้าพูดกะเรา เจ้าไม่รู้ประมาณตน แล้วบิดคอเสียจนตายโยนลงไปในเตาไฟ.
พราหมณ์มาถึงพักผ่อนแล้วเมื่อจะถามพระโพธิสัตว์ว่า แน่ะพ่อราธะแม่ของเจ้าทำอนาจารหรือเปล่า
นกราธะตอบว่า ธรรมดาบัณฑิตไม่พูดวาจาที่ประกอบ ด้วยความจริง แต่ไม่ดี ขืนพูดไปจะต้องนอนตายอยู่ ดุจนกแขกเต้าโปฏฐปาทะถูกเผานอนจมอยู่ในเตาไฟฉะนั้น.
จบเรื่อง โอษฐภัย
ประเด็นน่าสนใจ
วาจาใดที่นำภัยอันตรายมาให้ตนเอง แม้จะเป็นคำจริง ก็ไม่ควรกล่าว อันที่จริง วาจาที่ควรกล่าว หรือวาจาสุภาษิตนั้นประกอบด้วย องค์ ๕
๑ วาจากล่าวถูกกาล
๒ วาจาที่กล่าวเป็นสัจ
๓ วาจาที่กล่าวอ่อนหวาน
๔ วาจาที่กล่าวประกอบด้วยประโยชน์
๕ วาจาที่กล่าวด้วยจิตที่เมตตา
ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงมุ่งอนุเคราะห์ผู้อื่นด้วยทรงเอ็นดู ย่อมตรัสวาจาที่มีหลัก ๖ ประการ คือ
๑ วาจาที่ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น
๒ วาจาที่จริง ที่แท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น
๓ วาจาที่จริง ที่แท้ และประกอบด้วยประโยชน์ แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ตถาคตรู้กาลที่จะกล่าววาจานั้น
๔ วาจาที่ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น
๕ วาจาที่จริง ที่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น
๖ วาจาที่จริง ที่แท้ ประกอบด้วยประโยชน์ และวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ตถาคตรู้กาลที่จะกล่าววาจานั้น