จากที่ได้ทราบจากการแถลงข่าว กกต. เมื่อวานทำให้ได้ทราบว่า กกต. ยังไม่มีการคำนวณที่นั่ง Party List รวมทั้งยังไม่มีการเปิดสูตการคำนวณ ตัวเลขที่ออกมาเป็นตัวเลขที่สำนักข่าวคำนวณเอง ซึ่งมันจะต่างกันตามแต่การตีความ
ผมจึงทำ File Excel ขึ้นมาเพื่อลองคำนวณตามความเข้าใจของผม และแนบ Link ไว้ข้างล่างนี้ เผื่อใครอยากจะลองเล่นดู
(ให้ใส่ข้อมูลเฉพาะช่องสีเหลือง Column C & I)
https://drive.google.com/file/d/1lkSqCbfEpqQo0X5N31g6N7Uz3Z1dg__m/view?usp=sharing
ส่วนด้านล่างนี้เป็น วิธีการคำนวณตามความเข้าใจของผมซึ่งเป็นขั้นตอนที่ใช้ในการคำนวณใน File นี้ ลองมาแลกเปลี่ยนกันได้ครับ ตอนนี้อยากให้ กกต. ออกมาบอกให้ชัดว่าสูตรเป็นอย่างไรแน่ เพราะมันมีผลกับจำนวนที่นั่งจริงๆ ครับ
ขั้นตอนการคำนวณ
1. หาคะแนนเฉลี่ยต่อ สส 1 คนโดยเอาคะแนนทั้งหมด หารด้วย 500 จะได้เป็นคะแนนขั้นต่ำที่จะได้ สส. ถ้าต่ำกว่านี้ตัดทิ้ง จากตัวอย่างคือตัดที่ 66,599.34 จะได้ถึงพรรคพลังชาติไทย
2. หาจำนวน สส พึงมีเฉพาะกลุ่มที่มีสิทธิ์ได้ สส. ในทีนี้คือตัดคนที่คะแนนต่ำกว่าเกณฑ์ทิ้งทั้งหมด แล้วรวมคะแนนเฉพาะกลุ่มคะแนนถึงเกณฑ์ จะได้ตัวเลขตัวใหม่ขึ้นมาซึ่งใน File เรียกว่า “คะแนนเสียงต่อ สส. 1 คน เฉพาะพรรคที่ได้คะแนนมากกว่าคะแนนขั้นต่ำ” ในตัวอย่างคือ 64,627.77
3. นำคะแนนต่อ สส.1 คนในข้อ 2 ไปหาจำนวน สส. พึงมีที่แต่ละพรรคควรจะได้ (คะแนนพรรค / คะแนนเสียงต่อ สส. 1 คน เฉพาะพรรคที่ได้คะแนนมากกว่าคะแนนขั้นต่ำ) โดยจะเป็นการหารแบบเฉพาะจำนวนเต็ม ตัดเศษเกินทิ้ง ผลลัพธ์อยู่ที่ Column E และเศษของการหารอยู่ที่ Column F
4. ผลลัพธ์ที่เป็นจำนวน สส. พึงมี 1-1 (Column E) จะยังไม่ครบ 500 ณ ขั้นตอนนี้ ในตัวอย่างจะได้ 494 เหลืออีก 6 ที่นั่งที่จะต้องนำไปจัดสรร ให้จัดสรรให้แก่ พรรคที่มีเศษจากการหาร (Column F) เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย จนครบ ในตัวอย่าง พรรคเสรีรวมไทยจะได้เศษมากที่สุด ตามมาด้วยรักษ์ผืนป่าประเทศไทย จนกระทั่งถึงพรรคที่มีเศษเหลือเป็นลำดับ 6 คือชาติไทยพัฒนา
5. ตอนนี้เราก็นำผลลัพธ์จากการหารเป็นจำนวนเต็ม (Column E) บวกเข้ากับการเรียงลำดับเศษจากการหาร (Column G) ได้เป็น สส. พึงมีขั้นต้น (Column H) ซึ่งยังไม่ได้คำนึงถึงปัจจัยเพิ่มลดจากจำนวน สส เขต
6. กรอกจำนวน สส เขต ตามผลการเลือกตั้ง
7. จากตัวอย่าง สส. เขตเพื่อไทย มากกว่าจำนวน สส พึงมีขั้นต้น ระบบจึงต้องนำ สส. ที่เหลือทั้งหมดหลังจากที่หัก สส.เขตของพรรคที่ได้ที่นั่งเกินจาก สส. พึงมีขั้นต้น ไปคำนวณสัดส่วนใหม่ ในกรณีนี้ตัวเลขที่นำไปคำนวณใหม่คือ 500 – 137 = 363
8. นำคะแนนที่ได้ของแต่ละพรรคมารวมกันใหม่ โดยไม่รวมคะแนนของพรรคที่ได้ สส เขตเกินจำนวน สส. พึงมีขั้นต้น (ในตัวอย่างคือเพื่อไทย)
9. นำคะแนนรวมในข้อ 8 หารด้วยจำนวน สส. ที่จะจัดสรรใหม่ในข้อ 7 ในกรณีนี้คือ 24,890,275 / 363 = 68,568.25 ซึ่งตัวเลขนี้จะเป็นตัวเลขที่ใช้ในการจัดสรร จำนวน สส พึงมีขั้นที่ 2 ซึ่งตัดจำนวน สส ของพรรคที่ได้ สส.เขต เกินจำนวน สส. พึงมีขั้นต้นไปแล้ว
10. นำคะแนนต่อ สส.1 คนในข้อ 9 ไปหาจำนวน สส. พึงมีที่แต่ละพรรคควรจะได้ (คะแนนพรรค / คะแนนเสียงต่อ สส. 1 คน เฉพาะพรรคที่ได้ สส. เขตน้อยกว่า สส พึงมีขั้นต้น) โดยจะเป็นการหารแบบเฉพาะจำนวนเต็ม ตัดเศษเกินทิ้ง ผลลัพธ์อยู่ที่ Column L และเศษของการหารอยู่ที่ Column M โดยจำนวน สส. ของพรรคที่ได้เกินจำนวน สส. พึงมีขั้นต้นให้ยกตัวเลขนั้นมาเลย
11. ผลลัพธ์ที่เป็นจำนวน สส. พึงมี #2-1 (Column L) จะยังไม่ครบ 500 ณ ขั้นตอนนี้ ในตัวอย่างจะได้ 492 เหลืออีก 8 ที่นั่งที่จะต้องนำไปจัดสรร ให้จัดสรรให้แก่ พรรคที่มีเศษจากการหาร (Column M) เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย จนครบ เหมือนที่ทำมาแล้วในขั้นตอนที่ 4
12. ผลลัพธ์จำนวน สส ทั้งหมดคือ Column O ได้ สส เขตแล้วเท่าไร ก็จัดสรร สส ปาร์ตี้สิสต์ Column Q เข้าไปให้ครบ
ปัญหาเกี่ยวกับสูตรการคำนวณ สส. - ขั้นตอนส่งผลต่อผลลัพธ์ (มี File ตัวอย่าง)
ผมจึงทำ File Excel ขึ้นมาเพื่อลองคำนวณตามความเข้าใจของผม และแนบ Link ไว้ข้างล่างนี้ เผื่อใครอยากจะลองเล่นดู
(ให้ใส่ข้อมูลเฉพาะช่องสีเหลือง Column C & I)
https://drive.google.com/file/d/1lkSqCbfEpqQo0X5N31g6N7Uz3Z1dg__m/view?usp=sharing
ส่วนด้านล่างนี้เป็น วิธีการคำนวณตามความเข้าใจของผมซึ่งเป็นขั้นตอนที่ใช้ในการคำนวณใน File นี้ ลองมาแลกเปลี่ยนกันได้ครับ ตอนนี้อยากให้ กกต. ออกมาบอกให้ชัดว่าสูตรเป็นอย่างไรแน่ เพราะมันมีผลกับจำนวนที่นั่งจริงๆ ครับ
ขั้นตอนการคำนวณ
1. หาคะแนนเฉลี่ยต่อ สส 1 คนโดยเอาคะแนนทั้งหมด หารด้วย 500 จะได้เป็นคะแนนขั้นต่ำที่จะได้ สส. ถ้าต่ำกว่านี้ตัดทิ้ง จากตัวอย่างคือตัดที่ 66,599.34 จะได้ถึงพรรคพลังชาติไทย
2. หาจำนวน สส พึงมีเฉพาะกลุ่มที่มีสิทธิ์ได้ สส. ในทีนี้คือตัดคนที่คะแนนต่ำกว่าเกณฑ์ทิ้งทั้งหมด แล้วรวมคะแนนเฉพาะกลุ่มคะแนนถึงเกณฑ์ จะได้ตัวเลขตัวใหม่ขึ้นมาซึ่งใน File เรียกว่า “คะแนนเสียงต่อ สส. 1 คน เฉพาะพรรคที่ได้คะแนนมากกว่าคะแนนขั้นต่ำ” ในตัวอย่างคือ 64,627.77
3. นำคะแนนต่อ สส.1 คนในข้อ 2 ไปหาจำนวน สส. พึงมีที่แต่ละพรรคควรจะได้ (คะแนนพรรค / คะแนนเสียงต่อ สส. 1 คน เฉพาะพรรคที่ได้คะแนนมากกว่าคะแนนขั้นต่ำ) โดยจะเป็นการหารแบบเฉพาะจำนวนเต็ม ตัดเศษเกินทิ้ง ผลลัพธ์อยู่ที่ Column E และเศษของการหารอยู่ที่ Column F
4. ผลลัพธ์ที่เป็นจำนวน สส. พึงมี 1-1 (Column E) จะยังไม่ครบ 500 ณ ขั้นตอนนี้ ในตัวอย่างจะได้ 494 เหลืออีก 6 ที่นั่งที่จะต้องนำไปจัดสรร ให้จัดสรรให้แก่ พรรคที่มีเศษจากการหาร (Column F) เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย จนครบ ในตัวอย่าง พรรคเสรีรวมไทยจะได้เศษมากที่สุด ตามมาด้วยรักษ์ผืนป่าประเทศไทย จนกระทั่งถึงพรรคที่มีเศษเหลือเป็นลำดับ 6 คือชาติไทยพัฒนา
5. ตอนนี้เราก็นำผลลัพธ์จากการหารเป็นจำนวนเต็ม (Column E) บวกเข้ากับการเรียงลำดับเศษจากการหาร (Column G) ได้เป็น สส. พึงมีขั้นต้น (Column H) ซึ่งยังไม่ได้คำนึงถึงปัจจัยเพิ่มลดจากจำนวน สส เขต
6. กรอกจำนวน สส เขต ตามผลการเลือกตั้ง
7. จากตัวอย่าง สส. เขตเพื่อไทย มากกว่าจำนวน สส พึงมีขั้นต้น ระบบจึงต้องนำ สส. ที่เหลือทั้งหมดหลังจากที่หัก สส.เขตของพรรคที่ได้ที่นั่งเกินจาก สส. พึงมีขั้นต้น ไปคำนวณสัดส่วนใหม่ ในกรณีนี้ตัวเลขที่นำไปคำนวณใหม่คือ 500 – 137 = 363
8. นำคะแนนที่ได้ของแต่ละพรรคมารวมกันใหม่ โดยไม่รวมคะแนนของพรรคที่ได้ สส เขตเกินจำนวน สส. พึงมีขั้นต้น (ในตัวอย่างคือเพื่อไทย)
9. นำคะแนนรวมในข้อ 8 หารด้วยจำนวน สส. ที่จะจัดสรรใหม่ในข้อ 7 ในกรณีนี้คือ 24,890,275 / 363 = 68,568.25 ซึ่งตัวเลขนี้จะเป็นตัวเลขที่ใช้ในการจัดสรร จำนวน สส พึงมีขั้นที่ 2 ซึ่งตัดจำนวน สส ของพรรคที่ได้ สส.เขต เกินจำนวน สส. พึงมีขั้นต้นไปแล้ว
10. นำคะแนนต่อ สส.1 คนในข้อ 9 ไปหาจำนวน สส. พึงมีที่แต่ละพรรคควรจะได้ (คะแนนพรรค / คะแนนเสียงต่อ สส. 1 คน เฉพาะพรรคที่ได้ สส. เขตน้อยกว่า สส พึงมีขั้นต้น) โดยจะเป็นการหารแบบเฉพาะจำนวนเต็ม ตัดเศษเกินทิ้ง ผลลัพธ์อยู่ที่ Column L และเศษของการหารอยู่ที่ Column M โดยจำนวน สส. ของพรรคที่ได้เกินจำนวน สส. พึงมีขั้นต้นให้ยกตัวเลขนั้นมาเลย
11. ผลลัพธ์ที่เป็นจำนวน สส. พึงมี #2-1 (Column L) จะยังไม่ครบ 500 ณ ขั้นตอนนี้ ในตัวอย่างจะได้ 492 เหลืออีก 8 ที่นั่งที่จะต้องนำไปจัดสรร ให้จัดสรรให้แก่ พรรคที่มีเศษจากการหาร (Column M) เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย จนครบ เหมือนที่ทำมาแล้วในขั้นตอนที่ 4
12. ผลลัพธ์จำนวน สส ทั้งหมดคือ Column O ได้ สส เขตแล้วเท่าไร ก็จัดสรร สส ปาร์ตี้สิสต์ Column Q เข้าไปให้ครบ