คํานิยามของระบอบทักษิณ เสื้อแดงที่ไม่รู้หรือแกล้งไม่รู้ ควรจะรับทราบเอาไว้ จะได้รู้เท่าทันคนต่างแดน

ระบอบทักษิณ (อังกฤษ: Thaksinocracy) เป็นคำที่นักวิชาการด้านสังคมศาสตร์และรัฐศาสตร์บางส่วนนิยามการปกครองประเทศไทยในสมัยที่ ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีพื้นฐานเป็นประชานิยม มีคนยากจนจำนวนมากได้ประโยชน์จากนโยบายต่าง ๆ นำไปสู่ความนิยมจนเป็นฐานเสียงในการเลือกตั้ง ทำให้ได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้งทุกครั้ง จนสามารถบริหารประเทศได้ด้วยเสียงของพรรคเดียว บ้างก็เรียกแบบการปกครองนี้ว่า "ทักษิณาธิปไตย" "ระบบเผด็จการโดยเสียงข้างมาก" และ "ระบอบสมบูรณาญาสิทธิ์จากการเลือกตั้ง" ซึ่งบางส่วนมาจากคำจำกัดความของระบอบทักษิณ[1] ซึ่งได้เป็นการเพิ่มความชอบธรรมให้กับการขับไล่ทักษิณ ชินวัตรให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่เกิดขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2548-2549

คำจำกัดความ
เกษียร เตชะพีระเป็นผู้ให้นิยามคำว่าระบอบทักษิณ โดยนิยามว่าเป็นระบอบอาญาสิทธิทุนนิยมจากการเลือกตั้ง (elected capitalist absolutism) โดยคำนิยามดังกล่าวสามารถแยกอธิบายองค์ประกอบออกเป็นสองส่วนคือ
มีลักษณะสมบูรณาญาสิทธิทุนในแง่การใช้อำนาจการเมือง
มีหัวหน้าฝ่ายบริหารทางการเมืองของชนชั้นนายทุน[2]
หลังจากนั้นได้มีการพยายามให้นิยามกับคำว่าระบอบทักษิณอีกหลายแบบ ยกตัวอย่างเช่น ในความคิดของแก้วสรร อติโพธิได้ให้คำจำกัดความไว้ 4 ข้อ ดังนี้
ยักยอกรัฐธรรมนูญ ยึดครองประชาธิปไตย การแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญให้มีความสอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวพันธ์หรือมีผลประโยชน์แอบแฝงเพื่อหมู่คณะของตนเอง
หลงใหลทุนนิยมใหม่จนลืมประเทศชาติ สร้างกระแสระบบทุนนิยมโดยลืมความเป็นรากเหง้าความเป็นไทย
ปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวงจำนวนมากมายไม่ได้แก้ไข ทำผลธุรกิจแอบแฝง
ทำให้บ้านเมืองสิ้นความสงบสุข เป็นตัวการในการสร้างความแตกแยกให้เกิดขึ้นในประเทศชาติ[3]
นักวิชาการบางคนเรียกระบอบทักษิณว่าเป็นระบบเผด็จการโดยเสียงข้างมาก เนื่องจากเป็นลักษณะการบริหารประเทศที่มีแนวโน้มรวบอำนาจแบบเบ็ดเสร็จ


มีข้อกล่าวหาว่าต่อไปนี้เป็นองค์ประกอบของระบอบทักษิณ เช่น
การโอนกิจการของรัฐเป็นของเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแปรรูปของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ณ ขณะนั้นโดยปัจจุบันเป็น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และความพยายามจะแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)ความพยายามการแปรรูป กฟผ. นั้นมีคำสั่งจากศาลปกครองว่าพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2548 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย [5]
การแก้สัมปทานสถานีโทรทัศน์ไอทีวี
การทำพิธีเป็นประธานในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม[6]
กรณีการควบรวมพรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535) พรรคเสรีธรรม (พ.ศ. 2535) เข้ากับพรรคไทยรักไทย ส่งผลให้เกิดเผด็จการรัฐสภาเนื่องจากสมาชิกสภาราษฎรไม่กล้าโหวตไม่ไว้วางใจรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องทำตามมติพรรคไทยรักไทย[7]จึงส่งผลให้การอภิปรายไม่ไว้วางใจฝ่ายรัฐบาลมักได้เสียงไว้วางใจเนื่องจากผู้ไม่ทำตามมติพรรคโดยโหวตไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีจะถูกลงโทษ
การครอบงำสมาชิกพรรคการเมืองว่าต้องโหวตตามมติพรรคในเรื่องต่างๆ อาทิ การออกกฎหมาย[8]
การกระจายเงินงบประมาณ ให้ประชาชนในต่างจังหวัด ผ่านโครงการหรือนโยบาย ต่าง ๆ เพื่อรักษาความนิยมในพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกมองว่าเป็นการซื้อเสียงระยะยาว ตัวอย่างเช่น กองทุนหมู่บ้านละ 1 ล้านบาท[9] ซึ่งบังคับให้ธนาคารของรัฐบาลปล่อยเงินกู้
การฟ้องร้องตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ[10]การข่มขู่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญโดยแกนนำนปช.[11] และการแทรกแซงศาลปกครองสูงสุดผ่านโภคิน พลกุล[12]
การใช้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินตรวจสอบบัญชี เพื่อกลั่นแกล้งสื่อมวลขนเช่นกรณี นายสุทธิชัย หยุ่น[13]
กรณีศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อยในฐานะรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ได้แถลงประณาม ผศ.ดร.หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ประธานศาลปกครองสูงสุด[14]
กรณีก่อแก้ว พิกุลทองสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย กล่าวปราศัยในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2552 ว่ามีการปลดรูปที่มีอยู่ทุกบ้าน[15]
การจัดซื้อเครื่องบินแอร์บัส 340-500 และแอร์บัส 340-600 ของการบินไทย[16]จนอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่สถานะการเงินของการบินไทยไม่ดีขึ้น
การให้ตำแหน่ง แก่ข้าราชการที่เอื้อประโยชน์ต่อ ทักษิณ ชินวัตร อาทิกรณี ตำแหน่ง ชัยเกษม นิติสิริ ประธานกรรมการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ [17]
กรณีพนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 5 ได้ขอถอนฟ้องพระเทพญาณมหามุนี (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย)[18]ภายหลังวัดธรรมกายให้ทักษิณ ชินวัตร จัดงาน "รวมใจทุกศาสนาพัฒนาท้องถิ่นไทยฯ”[19]
กรณีการเคลื่อนไหวทางการเมืองไทยโดยคณะนิติราษฎร์ เว็บไซด์ประชาไทที่รับเงินจากองค์กร National Endowment for Democracy ในสหรัฐอเมริกา[20]
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่