เพลงก็ฟังไป งานก็ทำไป จริงไหมที่การฟังเพลงเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
Posted On 8 March 2019 vanat putnark
เราต่างพยายามสรรหาวิธีมาทำให้การทำงานของเราดีขึ้น การฟังเพลงไปทำงานไปเป็นอีกหนึ่งกลเม็ดที่หลายสำนักเชื่อว่าเพลงเช่นเพลงคลาสสิกอาจจะช่วยให้สมองและกระบวนการคิดของเราทำงานได้ดีกว่าเดิม หรือบางทีการฟังเพลงอาจเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทำให้เราทำงานได้อย่างเพลินใจ
ประเด็นเรื่อง ‘คุณฟังเพลงขณะทำงานได้ไหม’ ดูจะเป็นอีกหนึ่ง ‘ความชอบส่วนบุคคล’ บางคนอาจจะชอบเปิดเพลงฟังคลอๆ บางคนอาจจะต้องการความเงียบถึงจะสามารถทำงานได้ ซึ่งประเด็นเรื่องการฟังเพลงเพื่อเพิ่มพลังสมองเริ่มต้นตั้งแต่แนวคิดว่าด้วย Mozart Effect ในปี ค.ศ. 1993 จนกระทั่งปัจจุบัน
นักวิจัยก็ยังพยายามหาคำตอบว่าตกลงแล้วการฟังเพลงช่วยเพิ่มพลังหรือมีประสิทธิผลทำให้การทำงานให้เราดีขึ้นได้มากน้อยแค่ไหน
กลายเป็นว่ามีงานวิจัยล่าสุดที่ออกมาในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาซึ่งให้คำตอบที่อาจจะแย้งกับความเชื่อดั้งเดิมที่ว่าเพลงอาจช่วยเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ได้ งานวิจัยถึงขนาดบอกว่าเพลงไม่ว่าจะแนวไหนก็ ‘ลดทอน’ ประสิทธิภาพในการคิดเชิงสร้างสรรค์ลง ในขณะที่มีงานวิจัยอีกชิ้นพยายามเพิ่มมิติให้ว่า เราควรจะฟังเพลงไปทำงานไปไหมก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยว่า เราเป็นคนยังไง ขี้เบื่อมั้ย งานที่เราทำเป็นงานประเภทไหน และเพลงที่ฟังเป็นเพลงแบบไหน งานศึกษาชิ้นหลังฟังดูเข้าอกเข้าใจและช่วยอธิบายเหล่าคนขี้เบื่อสมาธิสั้นในมิติที่ต่างออกไป
เพลงอาจพังการทำงานเชิงสร้างสรรค์
งานศึกษาจาก Lancaster University ที่เพิ่งเผยแพร่กันสดๆ ร้อนๆ เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาได้ทำการทดลองให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ โดยตัวแบบทดสอบว่าด้วยการคิดที่เกี่ยวข้องกับคำ (verbal) คือให้คำสามคำมาและเราต้องเติมคำหนึ่งคำที่สามารถทำให้ทั้งสามคำมีความหมายได้ (ตัวอย่างคือให้คำว่า dress, dial, flower ผู้ทดสอบต้องเติมคำว่า sun ไปข้างหน้าก็จะได้คำที่มีความหมายทั้งหมด — คล้ายๆ รายการเกมโชว์) วิธีการทดสอบก็ให้กลุ่มตัวอย่างแก้โจทย์ในบรรยากาศที่ต่างกัน ตั้งแต่เปิดเพลงที่มีเนื้อเพลง เพลงที่ไม่มีเนื้อ ไปจนถึงการปิดเพลง ทั้งแบบที่เงียบสนิทกับการเปิดเสียงที่เป็นเสียงเหมือนในห้องสมุด
ผู้วิจัยสรุปว่า เพลงไม่ว่าจะเป็นแบบที่มีเนื้อ หรือไม่มีเนื้อเพลงก็ทำให้กระบวนการคิดเชิงถ้อยคำด้อยลง นักวิจัยยังบอกว่าเป็นไปได้ว่าเพลงที่เปิดอาจจะไปแทรกแซงการที่เรากำลังนึกถึงถ้อยคำต่างๆ ในขณะที่เสียงหึ่งๆ ของห้องสมุดให้ผลเชิงประสิทธิภาพต่อการทำงานไม่ต่างกันกับความเงียบ
นักวิจัยบอกอีกว่า มีความเป็นไปได้ด้วยว่าเสียงหึ่งๆ ของห้องสมุด เป็นเสียงแบ็คกราวด์ที่ค่อนข้างนิ่ง ไม่ได้มีจังหวะขึ้นลงที่เข้าไปก่อกวนขณะที่เรากำลังทำงานอยู่ ตัวงานศึกษานี้เลยค่อนข้างตอบคำถามว่าในการทำงานสร้างสรรค์บางประเภท การเปิดเพลงก็อาจจะไม่ได้ช่วยอย่างที่เราเคยเชื่อว่าเพลงคลาสสิกอาจจะช่วยทำให้เรามีสมาธิหรือเพิ่มพลังการคิดให้กับเรา นักวิจัยจึงสรุปว่าไม่ว่าจะเป็นเพลงที่เรารู้เนื้อเพลง ไม่รู้เนื้อเพลง หรือเพลงที่ไม่มีเนื้อเพลงก็อาจจะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของเราลดลงซะอย่างนั้น
ถ้าดูจากตัวเนื้องานที่ให้กลุ่มตัวอย่างทำ การคิดเชิงถ้อยคำดูจะเป็น ‘งานซับซ้อน’ ที่ผู้ทำอาจจะต้องทั้งคิดประมวลคำที่ให้มา และต้องหาคำที่เป็นไปได้ที่จะมาเติมให้คำทั้งสามมีความหมาย งานศึกษานี้ก็เลยดูจะสอดคล้องกับงานศึกษาใน
Journal of Experimental Psychology ที่เผยแพร่ช่วงปลายเดือนมกราคม ซึ่งงานชิ้นนี้ก็ใจดีหน่อยที่ไม่ถึงขนาดบอกว่าการฟังเพลงใดๆ จะพังการทำงานเชิงสร้างสรรค์ไปซะทั้งหมด แต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ด้วย
คำตอบสำหรับคนขี้เบื่อ : ทำงานเงียบๆ ดีที่สุด
ในงานวิจัยจาก Journal of Experimental Psychology ค่อนข้างทำการทดลองที่ซับซ้อนมากกว่า คือใช้ทั้งเพลงแบบเรียบๆ กับแบบที่ซับซ้อนขึ้น (เช่น มีจังหวะกลอง) มีการแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็นกลุ่มที่ขี้เบื่อ ที่ต้องการสิ่งกระตุ้นต่างๆ มาทำให้ไม่เบื่อกับกลุ่มที่ไม่ขี้เบื่อ แถมยังแบ่งลักษณะงานที่ทำเป็นเนื้องานแบบเรียบๆ กับงานที่ซับซ้อน
ข้อสรุปโดยรวมก็ค่อนข้างสอดคล้องกับงานจากอังกฤษ คือผู้วิจัยสรุปว่าหากเป็นงานที่ซับซ้อน การเปิดเพลงเป็นแบ็คกราวด์ค่อนข้างลดประสิทธิภาพในการทำงานลง แต่ประเด็นที่งานศึกษาอีกชิ้นพบและน่าสนใจคือ กลุ่มคนขี้เบื่อ ไม่ว่าจะทำงานแบบไหน แบบซับซ้อนหรือไม่ซับซ้อนก็ไม่เหมาะกับการฟังเพลงใดๆ
นักวิจัยใช้คำนิยามของคนขี้เบื่อว่าเป็นพวกชอบให้มีสิ่งมากระตุ้น ผลการศึกษาพบว่าพวกขี้เบื่อเวลาทำงานง่ายๆ ถ้ายิ่งฟังเพลงที่ซับซ้อน ด้วยความที่เนื้องานที่ทำมันน่าเบื่ออยู่แล้ว พวกขี้เบื่อก็เลยเอาใจออกห่างแล้วไปสนใจกับเพลงพวกนั้นซะเลย (ในทางกลับกันพวกไม่ขี้เบื่อกลับทำงานง่ายๆ ได้ดีถ้ามีเพลงที่ซับซ้อนเป็นแบ็คกราวด์ นักวิจัยอธิบายว่าเพลงที่ซับซ้อนกระตุ้นให้พวกเขากลับมาทำงานได้ในระดับพอดี ในขณะที่พวกขี้เบื่อจะถูกกระตุ้นมากไป) สำหรับงานยากๆ พวกขี้เบื่อก็จะทำได้ดีถ้ามีสภาพแวดล้อมแบบเงียบๆ เป็นเพราะด้วยความที่พวกขี้เบื่อถ้าทำงานที่ไม่น่าเบื่อก็จะมีความจดจ่อสนใจกับงานที่ตัวเองทำ การไม่มีเพลงฟังจึงอาจจะทำให้ทำงานได้ดีกว่า
งานศึกษาชิ้นหลังนอกจากจะทำความเข้าใจว่าประโยชน์ของการฟังเพลงไปทำงานไปขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งที่ว่าเราฟังเพลงแบบไหน และเราเป็นคนยังไง นักวิจัยยังท้าทายประเด็นเรื่องคุณสมบัติโดยเฉพาะของความขี้เบื่อไปพร้อมกันด้วย คือแต่เดิมคำว่าพวกเบื่อง่ายมักถูกโยงเป็นคุณลักษณะอันไม่พึงประสงค์ ไม่มีสมาธิ มีความสามารถในการควบคุมตัวเองต่ำ
แต่คราวนี้นักวิจัยกลับให้ความเห็นว่าพวกที่บอกว่าตัวเองขี้เบื่อและต้องการสิ่งกระตุ้น กลับจดจ่อและทำงานที่สลับซับซ้อนได้ดี ยิ่งขี้เบื่อเท่าไหร่ก็ยิ่งดูจะทำงานที่สลับซับซ้อนได้ดีเท่านั้น
อ้างอิงข้อมูลจาก
independent.co.uk
sciencedaily.com
digest.bps.org.uk
psycnet.apa.org
Illustration by Kodchakorn Thammachart
THE MATTER
จริงไหมที่การฟังเพลงเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
Posted On 8 March 2019 vanat putnark
เราต่างพยายามสรรหาวิธีมาทำให้การทำงานของเราดีขึ้น การฟังเพลงไปทำงานไปเป็นอีกหนึ่งกลเม็ดที่หลายสำนักเชื่อว่าเพลงเช่นเพลงคลาสสิกอาจจะช่วยให้สมองและกระบวนการคิดของเราทำงานได้ดีกว่าเดิม หรือบางทีการฟังเพลงอาจเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทำให้เราทำงานได้อย่างเพลินใจ
ประเด็นเรื่อง ‘คุณฟังเพลงขณะทำงานได้ไหม’ ดูจะเป็นอีกหนึ่ง ‘ความชอบส่วนบุคคล’ บางคนอาจจะชอบเปิดเพลงฟังคลอๆ บางคนอาจจะต้องการความเงียบถึงจะสามารถทำงานได้ ซึ่งประเด็นเรื่องการฟังเพลงเพื่อเพิ่มพลังสมองเริ่มต้นตั้งแต่แนวคิดว่าด้วย Mozart Effect ในปี ค.ศ. 1993 จนกระทั่งปัจจุบัน
นักวิจัยก็ยังพยายามหาคำตอบว่าตกลงแล้วการฟังเพลงช่วยเพิ่มพลังหรือมีประสิทธิผลทำให้การทำงานให้เราดีขึ้นได้มากน้อยแค่ไหน
กลายเป็นว่ามีงานวิจัยล่าสุดที่ออกมาในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาซึ่งให้คำตอบที่อาจจะแย้งกับความเชื่อดั้งเดิมที่ว่าเพลงอาจช่วยเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ได้ งานวิจัยถึงขนาดบอกว่าเพลงไม่ว่าจะแนวไหนก็ ‘ลดทอน’ ประสิทธิภาพในการคิดเชิงสร้างสรรค์ลง ในขณะที่มีงานวิจัยอีกชิ้นพยายามเพิ่มมิติให้ว่า เราควรจะฟังเพลงไปทำงานไปไหมก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยว่า เราเป็นคนยังไง ขี้เบื่อมั้ย งานที่เราทำเป็นงานประเภทไหน และเพลงที่ฟังเป็นเพลงแบบไหน งานศึกษาชิ้นหลังฟังดูเข้าอกเข้าใจและช่วยอธิบายเหล่าคนขี้เบื่อสมาธิสั้นในมิติที่ต่างออกไป
เพลงอาจพังการทำงานเชิงสร้างสรรค์
งานศึกษาจาก Lancaster University ที่เพิ่งเผยแพร่กันสดๆ ร้อนๆ เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาได้ทำการทดลองให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ โดยตัวแบบทดสอบว่าด้วยการคิดที่เกี่ยวข้องกับคำ (verbal) คือให้คำสามคำมาและเราต้องเติมคำหนึ่งคำที่สามารถทำให้ทั้งสามคำมีความหมายได้ (ตัวอย่างคือให้คำว่า dress, dial, flower ผู้ทดสอบต้องเติมคำว่า sun ไปข้างหน้าก็จะได้คำที่มีความหมายทั้งหมด — คล้ายๆ รายการเกมโชว์) วิธีการทดสอบก็ให้กลุ่มตัวอย่างแก้โจทย์ในบรรยากาศที่ต่างกัน ตั้งแต่เปิดเพลงที่มีเนื้อเพลง เพลงที่ไม่มีเนื้อ ไปจนถึงการปิดเพลง ทั้งแบบที่เงียบสนิทกับการเปิดเสียงที่เป็นเสียงเหมือนในห้องสมุด
ผู้วิจัยสรุปว่า เพลงไม่ว่าจะเป็นแบบที่มีเนื้อ หรือไม่มีเนื้อเพลงก็ทำให้กระบวนการคิดเชิงถ้อยคำด้อยลง นักวิจัยยังบอกว่าเป็นไปได้ว่าเพลงที่เปิดอาจจะไปแทรกแซงการที่เรากำลังนึกถึงถ้อยคำต่างๆ ในขณะที่เสียงหึ่งๆ ของห้องสมุดให้ผลเชิงประสิทธิภาพต่อการทำงานไม่ต่างกันกับความเงียบ
นักวิจัยบอกอีกว่า มีความเป็นไปได้ด้วยว่าเสียงหึ่งๆ ของห้องสมุด เป็นเสียงแบ็คกราวด์ที่ค่อนข้างนิ่ง ไม่ได้มีจังหวะขึ้นลงที่เข้าไปก่อกวนขณะที่เรากำลังทำงานอยู่ ตัวงานศึกษานี้เลยค่อนข้างตอบคำถามว่าในการทำงานสร้างสรรค์บางประเภท การเปิดเพลงก็อาจจะไม่ได้ช่วยอย่างที่เราเคยเชื่อว่าเพลงคลาสสิกอาจจะช่วยทำให้เรามีสมาธิหรือเพิ่มพลังการคิดให้กับเรา นักวิจัยจึงสรุปว่าไม่ว่าจะเป็นเพลงที่เรารู้เนื้อเพลง ไม่รู้เนื้อเพลง หรือเพลงที่ไม่มีเนื้อเพลงก็อาจจะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของเราลดลงซะอย่างนั้น
ถ้าดูจากตัวเนื้องานที่ให้กลุ่มตัวอย่างทำ การคิดเชิงถ้อยคำดูจะเป็น ‘งานซับซ้อน’ ที่ผู้ทำอาจจะต้องทั้งคิดประมวลคำที่ให้มา และต้องหาคำที่เป็นไปได้ที่จะมาเติมให้คำทั้งสามมีความหมาย งานศึกษานี้ก็เลยดูจะสอดคล้องกับงานศึกษาใน Journal of Experimental Psychology ที่เผยแพร่ช่วงปลายเดือนมกราคม ซึ่งงานชิ้นนี้ก็ใจดีหน่อยที่ไม่ถึงขนาดบอกว่าการฟังเพลงใดๆ จะพังการทำงานเชิงสร้างสรรค์ไปซะทั้งหมด แต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ด้วย
คำตอบสำหรับคนขี้เบื่อ : ทำงานเงียบๆ ดีที่สุด
ในงานวิจัยจาก Journal of Experimental Psychology ค่อนข้างทำการทดลองที่ซับซ้อนมากกว่า คือใช้ทั้งเพลงแบบเรียบๆ กับแบบที่ซับซ้อนขึ้น (เช่น มีจังหวะกลอง) มีการแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็นกลุ่มที่ขี้เบื่อ ที่ต้องการสิ่งกระตุ้นต่างๆ มาทำให้ไม่เบื่อกับกลุ่มที่ไม่ขี้เบื่อ แถมยังแบ่งลักษณะงานที่ทำเป็นเนื้องานแบบเรียบๆ กับงานที่ซับซ้อน
ข้อสรุปโดยรวมก็ค่อนข้างสอดคล้องกับงานจากอังกฤษ คือผู้วิจัยสรุปว่าหากเป็นงานที่ซับซ้อน การเปิดเพลงเป็นแบ็คกราวด์ค่อนข้างลดประสิทธิภาพในการทำงานลง แต่ประเด็นที่งานศึกษาอีกชิ้นพบและน่าสนใจคือ กลุ่มคนขี้เบื่อ ไม่ว่าจะทำงานแบบไหน แบบซับซ้อนหรือไม่ซับซ้อนก็ไม่เหมาะกับการฟังเพลงใดๆ
นักวิจัยใช้คำนิยามของคนขี้เบื่อว่าเป็นพวกชอบให้มีสิ่งมากระตุ้น ผลการศึกษาพบว่าพวกขี้เบื่อเวลาทำงานง่ายๆ ถ้ายิ่งฟังเพลงที่ซับซ้อน ด้วยความที่เนื้องานที่ทำมันน่าเบื่ออยู่แล้ว พวกขี้เบื่อก็เลยเอาใจออกห่างแล้วไปสนใจกับเพลงพวกนั้นซะเลย (ในทางกลับกันพวกไม่ขี้เบื่อกลับทำงานง่ายๆ ได้ดีถ้ามีเพลงที่ซับซ้อนเป็นแบ็คกราวด์ นักวิจัยอธิบายว่าเพลงที่ซับซ้อนกระตุ้นให้พวกเขากลับมาทำงานได้ในระดับพอดี ในขณะที่พวกขี้เบื่อจะถูกกระตุ้นมากไป) สำหรับงานยากๆ พวกขี้เบื่อก็จะทำได้ดีถ้ามีสภาพแวดล้อมแบบเงียบๆ เป็นเพราะด้วยความที่พวกขี้เบื่อถ้าทำงานที่ไม่น่าเบื่อก็จะมีความจดจ่อสนใจกับงานที่ตัวเองทำ การไม่มีเพลงฟังจึงอาจจะทำให้ทำงานได้ดีกว่า
งานศึกษาชิ้นหลังนอกจากจะทำความเข้าใจว่าประโยชน์ของการฟังเพลงไปทำงานไปขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งที่ว่าเราฟังเพลงแบบไหน และเราเป็นคนยังไง นักวิจัยยังท้าทายประเด็นเรื่องคุณสมบัติโดยเฉพาะของความขี้เบื่อไปพร้อมกันด้วย คือแต่เดิมคำว่าพวกเบื่อง่ายมักถูกโยงเป็นคุณลักษณะอันไม่พึงประสงค์ ไม่มีสมาธิ มีความสามารถในการควบคุมตัวเองต่ำ
แต่คราวนี้นักวิจัยกลับให้ความเห็นว่าพวกที่บอกว่าตัวเองขี้เบื่อและต้องการสิ่งกระตุ้น กลับจดจ่อและทำงานที่สลับซับซ้อนได้ดี ยิ่งขี้เบื่อเท่าไหร่ก็ยิ่งดูจะทำงานที่สลับซับซ้อนได้ดีเท่านั้น
อ้างอิงข้อมูลจาก
independent.co.uk
sciencedaily.com
digest.bps.org.uk
psycnet.apa.org
Illustration by Kodchakorn Thammachart
THE MATTER