“สายตาคนดูที่ไม่รู้จักจ้องมองมา ทำให้ทำอะไรไม่ถูก หายใจไม่ออก และรู้สึกเหมือนฉันเป็นคนโง่”
เฟรเดอริก โชแปง (1809-1847) - คีตกวีเอกและนักเปียโน พูดถึงการแสดงสดบนเวที
Highly sensitive person หรือ HSP เป็นชนกลุ่มน้อย โดยจะมีคน 1 ใน 5 หรือ 1 ใน 6 ทั้งหญิงและชายที่เป็น HSP แต่การเป็น HSP นี้ไม่ได้ถือว่าเป็นเรื่องผิดปกติ และในทางจิตวิทยาถือว่าไม่ได้เป็นปัญหา ทำนองเดียวกับใครเป็น extrovert หรือ introvert ก็ไม่ใช่ปัญหา แต่เนื่องจาก HSP เป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจ รวมถึงเจ้าตัวเองด้วย จึงทำให้ชีวิตคน HSP ไม่ง่ายนัก
HSP เริ่มได้รับความสนใจอย่างแพร่หลายมาจากหนังสือขายดีของ Dr Elaine Aron “The Highly Sensitive Person” โดย Dr Aron สรุปความเป็น HSP ไว้ง่ายๆ ด้วยอักษร 4 ตัวคือ D.O.E.S. ไว้ว่า
D = depth of processing หมายถึงระบบประสาท สามารถ process สิ่งที่มากระตุ้นได้อย่างลึกเป็นพิเศษ
O = overstimulation เป็นผลจาก D depth of processing นั่นคือ เป็นคนที่ถูกกระตุ้นจากสิ่งเร้าได้ง่ายและแรงกว่าคนทั่วไป
E = emotional reactivity and empathy เป็นคนที่มีอารมณ์อ่อนไหวมากกว่าคนส่วนใหญ่
S = sensitive stimuli มีความอ่อนไหวต่อ เสียง กลิ่น แสง การสัมผัส เป็นพิเศษ
Highly sensitive person มีสาเหตุโดยกำเนิด มาจากพันธุกรรมผ่านยีน ในเชิงกายภาพอธิบายได้ว่า ถึงแม้เซลล์ระบบประสาทส่วนการรับรู้จะมีจำนวนเท่าๆกับคนทั่วไป แต่เซลล์ของคน highly sensitive person มีความ active มากกว่า รวมถึง “mirror nueron” หรือประสาทส่วนที่รับรู้พฤติกรรมของคนรอบข้าง ก็มีความ active มากกว่า
ความ active ในระบบประสาทส่วนนี้ในสมองนี้เอง ทำให้คน HSP มองโลกและตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมแตกต่างไปจากคนอื่น โดยจะ “อิน” เป็นพิเศษกับสิ่งที่คนทั่วไปมองว่าเฉยๆ
นักประสาทวิทยาเพิ่มเติมว่า ในสมองของคน HSP ส่วนที่เรียกว่า ventromedial prefontal cortex ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการ process อารมณ์นั้น มีการทำงานเข้มข้นมากกว่าคนทั่วไป และนี่เองที่ทำให้คน HSP มองเห็นสิ่งธรรมดาในสายตาคนอื่น ให้กลายเป็นสิ่งพิเศษขึ้นมาได้
ทิวทัศน์ดวงอาทิตย์ตกอาจสวยดีในสายตาใครๆ แต่สำหรับ HSP แล้ว มีมากกว่า “ความสวย” ด้วยสามารถสร้างอารมณ์ปิติหรือเศร้าอย่างลึกได้ ดนตรีที่คนอื่นฟังว่าก็เพราะดี แต่คน HSP อาจซาบซึ้งจนน้ำตาไหล ทั้งนี้รวมถึงเรื่องของ ศิลป วิชาการต่างๆ
คุณสมบัตินี้เอง ทำให้คน HSP เป็นคนที่มีความ creative ค่อนข้างมากกว่าคนทั่วไป มีจินตนาการสูง อีกทั้งความที่มีอารมณ์ร่วมและอ่อนไหวกับเรื่องราวต่างๆของผู้คนและสังคม ทำให้ชาว HSP มีความเห็นใจและเข้าใจปัญหา จนทำให้หลายคนกลายเป็นคนที่ popular ในสังคมนั้นๆ
นอกจากเรื่องอารมณ์แล้ว เมื่อคราวต้องวิเคราะห์ตัดสินใจ คน HSP สามารถวิเคราะห์พฤติกรรมของคนรอบข้างได้ลึกและฉับไว นักจิตวิทยา Sheila Hirsch ผู้เชี่ยวชาญด้าน HSP บอกว่า ความสามารถ depth processing ทำให้คน HSP คิดลึก ระมัดระวัง ไม่ด่วนสรุป อ่านเกมเข้าใจในสถานการณ์ต่างๆได้ดี และประเมินทางเลือกต่างๆก่อนที่จะเลือกคำตอบที่ดีที่สุด โดยพยายามมองเรื่องที่เกิดขึ้นในภาพรวม โดยมีนิสัยตั้งคำถามเสมอๆว่า “What is going on here?”
นักจิตวิทยาดัง Jenn Granneman ผู้เขียน “The Secret Live of Introverts: Inside Our Hidden World” พูดถึงธรรมชาติคน HSP ว่า พวกเขามักจะให้ความสำคัญกับ “inner life” หรือ ชีวิตของตนเอง มากกว่า outer life หรือ ชีวิตภายนอกที่เป็นการเปรียบเทียบและวัตถุนิยม โดย HSP มักจะสนใจที่จะค้นหาประสบการณ์ใหม่ๆให้กับตนเองเพื่อให้เข้าใจชีวิตดีขึ้น
แต่ในขณะที่คน HSP สามารถ “เข้าถึง” ในเรื่องต่างๆได้ลึกซึ้งมากกว่าคนทั่วไป ในด้านลบ ระบบประสาทที่สร้างความอ่อนไหวนี้ ก็สร้างปัญหาใหญ่ให้กับพวกเขา
นั่นคือ คน HSP ไม่ค่อยจะทนต่อสิ่งกระตุ้นที่รุมเร้าโดยเฉพาะหากมีหลายเรื่องประดังกันเข้ามาพร้อมๆกัน และความเปราะบางนี้อาจทำให้ HSP อาจพลาดโอกาสดีๆในชีวิตไปอย่างน่าเสียดาย
ในขณะที่คนอื่นไม่ได้เดือดร้อนกับเสียงดังหรือฝูงชนจำนวนมาก HSP จะทนไม่ได้นาน และออกจากพื้นที่นั้นเร็วกว่าคนอื่น หรือไม่ก็หลีกเลี่ยงไม่ไปเสียเลย HSP หลายคนมีปัญหาในเรื่องที่คนอื่นมองว่าไร้สาระ เช่น มีปัญหาเสื้อผ้าคันทำให้ใส่ได้ไม่กี่ตัวไม่กี่แบบ หรือ เพียงมีคนมายืนใกล้ๆก็ไม่มีสมาธิแล้ว ยิ่งในงานใดๆที่รู้ว่ามีคนเฝ้ามองจับผิดอยู่ HSP มักจะทำไม่ได้ดี และนั่นทำให้ HSP หลายคน มีปัญหาเรื่อง “วันซ้อมทำได้ วันจริงกลับทำไม่ได้” อยู่บ่อยๆ HSP หลายคนทำงานไม่ได้เลยกับเจ้านายประเภทตามจิกจู้จี้
หรือ สำหรับคนทั่วไปแล้ว งานที่เร่งรีบ deadline ที่ใกล้กำหนดส่ง email ที่ยังไม่ได้ตอบ หรือดูหนังสือตอนใกล้สอบ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ แต่คนที่เป็น HSP จะพยายามเลี่ยงสถานการณ์ที่มีความกดดันเช่นนั้นให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะเขาแทบจะไม่ function เอามากๆในสภาพนั้น
ในแง่การงาน คนที่เป็น HSP จึงมักพบปัญหาถูกมองว่า ข้อจำกัดเยอะ รอบคอบเกินไป คิดมาก ไม่อดทน ทำงานเร่งด่วนไม่ได้ดี และต้องการอิสระการทำงานมากกว่าคนอื่น
ในวัยเด็ก คน HSP มักถูกต่อว่าเรื่องการแสดงออก เช่น “ควบคุมอารมณ์หน่อย คนอื่นเขาไม่เห็นเป็นไรเลย” และพอถูกย้ำมากๆเข้า ไม่ว่าจะด้วย พ่อแม่ เพื่อนที่โรงเรียน จนมาถึงเพื่อนร่วมงานเมื่อเป็นผู้ใหญ่ ก็อาจจะเกิดอาการฝังใจ สูญเสียความมั่นใจในตนเอง จนในที่สุดกลายเป็นคนมีปัญหาขึ้นมาจริงๆ
และปัญหาจะยิ่งขยายหนักขึ้นเพราะความอ่อนไหวในอารมณ์ของคน HSP จะทำการป้อน negative feed back loop ให้เกิดความระแวงหรือกลัวการถูกตำหนิมากขึ้นเรื่อยๆ จนบางคนไม่กล้าทำอะไร คอยแต่จะปกป้องตนเอง กลายเป็นโรคซึมเศร้าไปเลยก็มี
นักจิตวิทยาอย่าง Dr Ted Zeff เจ้าของหนังสือ The Highly Sensitive Person’s Survival Guide บอกว่า ความเป็น HSP เป็นเรื่องที่ “รักษา” ไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องที่ได้มาจากยีน คนที่เป็น HSP ไม่มีความสามารถที่จะ “ปิด” ระบบการรับรู้ได้เหมือนคนส่วนใหญ่
ดังนั้น วิธีเท่าที่ทำได้คือ รู้จักว่า HSP มีข้อจำกัดอย่างไร และใช้ชีวิตให้สอดคล้องกับข้อจำกัดเหล่านั้น ส่วนคนที่ไม่ได้เป็น HSP ก็ควรจะเข้าใจในข้อจำกัดเหล่านี้ด้วย และเลิกตำหนิคน HSP ได้แล้ว เพราะจะไม่เกิดประโยชน์ใดๆเลย เพราะที่จริง ความสามารถของคน HSP นั้น หากใช้ให้ถูก จะนำประโยชน์มามหาศาล
นั่นคือ ความเป็น HSP จึงไม่ใช่ปัญหา ปัญหาอยู่ที่ คนทั้งหลายไม่เข้าใจ HSP และใช้คน HSP ไม่เป็นต่างหาก
ด้วยความที่ไม่ค่อยอดทนต่อ สิ่งกระตุ้นต่างๆ เช่นความอึกทึก เสียง และความกดดัน ทำให้มีความเข้าใจที่ผิดว่า HSP เป็นคนขี้อายและเก็บตัว และมีความเข้าใจปนกันว่า คน HSP ก็คือ คน introvert ซึ่ง Dr Aron บอกว่าไม่ใช่ เพราะที่จริงแล้วมี HSP ตั้ง 30% ที่เป็นคน extrovert โดยพวกเขาชอบคุย ออกสังคมเหมือนคน extrovert ทั่วไป เพียงแต่ต้องการ “downtime” หรือ เวลาส่วนตัว มากกว่าคน extrovert อื่นๆ
Downtime เป็นสิ่งจำเป็นมากสำหรับคน HSP แม้กระทั่งในชีวิตประจำวัน เพราะนั่นคือสิ่งที่ทำให้เขาได้ recharge ตัวเองจากความวุ่นวาย กุญแจสำคัญในการอยู่รอดของคน HSP คือ การบริหาร downtime นี่เอง
Downtime เป็นช่วงเวลาเบรคจากสิ่งกระตุ้นทั้งหลาย ที่ HSP สามารถทำโน่นนี่อยู่คนเดียว หรือกับคนไม่กี่คนได้ เช่น อ่านหนังสือ เล่นกีฬา solo sport
ในระหว่าง downtime ระบบประสาทในสมองของคน HSP ที่ทำงานหนักกว่าคนทั่วไปจะได้พัก พร้อมกับความคิดต่างๆที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ระหว่างถูกรุมเร้าด้วยสิ่งกระตุ้นต่างๆ ก็อาจจะปรากฏออกมา
ในที่ทำงาน คน HSP ไม่สามารถทำงานได้ในสภาพที่เสียงดัง เอะอะ และถูกขัดจังหวะอยู่ตลอดเวลา การเอาคน HSP มานั่งใน office แบบนั้น ย่อมเป็นการสูญเปล่าทั้งองค์กรและเจ้าตัว หากไม่มีมุมเงียบให้กับคน HSP ได้ ก็คงต้องใช้วิธี work from home หรือ remote office
ส่วนใครมีเพื่อนเป็น HSP ก็ต้องเข้าใจว่า “อาการเว่อร์วัง” ที่บางครั้งปรากฏ ไม่ใช่เรื่องแกล้งเว่อร์ แต่เป็นของจริง หรือ ถ้าเขาจะใช้เวลาดูดดื่มกับ scene สวยๆเวลาเที่ยว ก็ต้องปล่อยเขาไป
ส่วนคนที่มีแฟนเป็น HSP ก็ต้องยอมให้เขามีเวลาส่วนตัวแยกไปมี downtime ให้พอ เพราะนั่นเป็นสิ่งจำเป็นสุดๆสำหรับเธอหรือเขา เพราะแม้อยู่กับแฟนสองต่อสอง ก็เกิดการ over stimulation ได้เหมือนกัน
แล้วจะรู้ได้อย่างไร ว่าใครเป็นคน highly sensitive person ?
มี HSP self-test ฟรี บนหลาย web หนึ่งในนั้นเป็นของ Dr Elaine Aron ผู้ทำให้โลกทั่วไปได้รู้จักกับ HSP จากหนังสือ bestseller “The Highly Sensitive Person” ของเธอ
ไม่แน่.. คุณอาจเป็น HSP 1 ใน 5 หรือ 1 ใน 6 คนของประชากรโลกก็ได้
“ไม่ได้เว่อร์ นี่เรื่องจริง” : เรื่องของ highly sensitive person โดย คุณสุรพร เกิดสว่าง
เฟรเดอริก โชแปง (1809-1847) - คีตกวีเอกและนักเปียโน พูดถึงการแสดงสดบนเวที
Highly sensitive person หรือ HSP เป็นชนกลุ่มน้อย โดยจะมีคน 1 ใน 5 หรือ 1 ใน 6 ทั้งหญิงและชายที่เป็น HSP แต่การเป็น HSP นี้ไม่ได้ถือว่าเป็นเรื่องผิดปกติ และในทางจิตวิทยาถือว่าไม่ได้เป็นปัญหา ทำนองเดียวกับใครเป็น extrovert หรือ introvert ก็ไม่ใช่ปัญหา แต่เนื่องจาก HSP เป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจ รวมถึงเจ้าตัวเองด้วย จึงทำให้ชีวิตคน HSP ไม่ง่ายนัก
HSP เริ่มได้รับความสนใจอย่างแพร่หลายมาจากหนังสือขายดีของ Dr Elaine Aron “The Highly Sensitive Person” โดย Dr Aron สรุปความเป็น HSP ไว้ง่ายๆ ด้วยอักษร 4 ตัวคือ D.O.E.S. ไว้ว่า
D = depth of processing หมายถึงระบบประสาท สามารถ process สิ่งที่มากระตุ้นได้อย่างลึกเป็นพิเศษ
O = overstimulation เป็นผลจาก D depth of processing นั่นคือ เป็นคนที่ถูกกระตุ้นจากสิ่งเร้าได้ง่ายและแรงกว่าคนทั่วไป
E = emotional reactivity and empathy เป็นคนที่มีอารมณ์อ่อนไหวมากกว่าคนส่วนใหญ่
S = sensitive stimuli มีความอ่อนไหวต่อ เสียง กลิ่น แสง การสัมผัส เป็นพิเศษ
Highly sensitive person มีสาเหตุโดยกำเนิด มาจากพันธุกรรมผ่านยีน ในเชิงกายภาพอธิบายได้ว่า ถึงแม้เซลล์ระบบประสาทส่วนการรับรู้จะมีจำนวนเท่าๆกับคนทั่วไป แต่เซลล์ของคน highly sensitive person มีความ active มากกว่า รวมถึง “mirror nueron” หรือประสาทส่วนที่รับรู้พฤติกรรมของคนรอบข้าง ก็มีความ active มากกว่า
ความ active ในระบบประสาทส่วนนี้ในสมองนี้เอง ทำให้คน HSP มองโลกและตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมแตกต่างไปจากคนอื่น โดยจะ “อิน” เป็นพิเศษกับสิ่งที่คนทั่วไปมองว่าเฉยๆ
นักประสาทวิทยาเพิ่มเติมว่า ในสมองของคน HSP ส่วนที่เรียกว่า ventromedial prefontal cortex ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการ process อารมณ์นั้น มีการทำงานเข้มข้นมากกว่าคนทั่วไป และนี่เองที่ทำให้คน HSP มองเห็นสิ่งธรรมดาในสายตาคนอื่น ให้กลายเป็นสิ่งพิเศษขึ้นมาได้
ทิวทัศน์ดวงอาทิตย์ตกอาจสวยดีในสายตาใครๆ แต่สำหรับ HSP แล้ว มีมากกว่า “ความสวย” ด้วยสามารถสร้างอารมณ์ปิติหรือเศร้าอย่างลึกได้ ดนตรีที่คนอื่นฟังว่าก็เพราะดี แต่คน HSP อาจซาบซึ้งจนน้ำตาไหล ทั้งนี้รวมถึงเรื่องของ ศิลป วิชาการต่างๆ
คุณสมบัตินี้เอง ทำให้คน HSP เป็นคนที่มีความ creative ค่อนข้างมากกว่าคนทั่วไป มีจินตนาการสูง อีกทั้งความที่มีอารมณ์ร่วมและอ่อนไหวกับเรื่องราวต่างๆของผู้คนและสังคม ทำให้ชาว HSP มีความเห็นใจและเข้าใจปัญหา จนทำให้หลายคนกลายเป็นคนที่ popular ในสังคมนั้นๆ
นอกจากเรื่องอารมณ์แล้ว เมื่อคราวต้องวิเคราะห์ตัดสินใจ คน HSP สามารถวิเคราะห์พฤติกรรมของคนรอบข้างได้ลึกและฉับไว นักจิตวิทยา Sheila Hirsch ผู้เชี่ยวชาญด้าน HSP บอกว่า ความสามารถ depth processing ทำให้คน HSP คิดลึก ระมัดระวัง ไม่ด่วนสรุป อ่านเกมเข้าใจในสถานการณ์ต่างๆได้ดี และประเมินทางเลือกต่างๆก่อนที่จะเลือกคำตอบที่ดีที่สุด โดยพยายามมองเรื่องที่เกิดขึ้นในภาพรวม โดยมีนิสัยตั้งคำถามเสมอๆว่า “What is going on here?”
นักจิตวิทยาดัง Jenn Granneman ผู้เขียน “The Secret Live of Introverts: Inside Our Hidden World” พูดถึงธรรมชาติคน HSP ว่า พวกเขามักจะให้ความสำคัญกับ “inner life” หรือ ชีวิตของตนเอง มากกว่า outer life หรือ ชีวิตภายนอกที่เป็นการเปรียบเทียบและวัตถุนิยม โดย HSP มักจะสนใจที่จะค้นหาประสบการณ์ใหม่ๆให้กับตนเองเพื่อให้เข้าใจชีวิตดีขึ้น
แต่ในขณะที่คน HSP สามารถ “เข้าถึง” ในเรื่องต่างๆได้ลึกซึ้งมากกว่าคนทั่วไป ในด้านลบ ระบบประสาทที่สร้างความอ่อนไหวนี้ ก็สร้างปัญหาใหญ่ให้กับพวกเขา
นั่นคือ คน HSP ไม่ค่อยจะทนต่อสิ่งกระตุ้นที่รุมเร้าโดยเฉพาะหากมีหลายเรื่องประดังกันเข้ามาพร้อมๆกัน และความเปราะบางนี้อาจทำให้ HSP อาจพลาดโอกาสดีๆในชีวิตไปอย่างน่าเสียดาย
ในขณะที่คนอื่นไม่ได้เดือดร้อนกับเสียงดังหรือฝูงชนจำนวนมาก HSP จะทนไม่ได้นาน และออกจากพื้นที่นั้นเร็วกว่าคนอื่น หรือไม่ก็หลีกเลี่ยงไม่ไปเสียเลย HSP หลายคนมีปัญหาในเรื่องที่คนอื่นมองว่าไร้สาระ เช่น มีปัญหาเสื้อผ้าคันทำให้ใส่ได้ไม่กี่ตัวไม่กี่แบบ หรือ เพียงมีคนมายืนใกล้ๆก็ไม่มีสมาธิแล้ว ยิ่งในงานใดๆที่รู้ว่ามีคนเฝ้ามองจับผิดอยู่ HSP มักจะทำไม่ได้ดี และนั่นทำให้ HSP หลายคน มีปัญหาเรื่อง “วันซ้อมทำได้ วันจริงกลับทำไม่ได้” อยู่บ่อยๆ HSP หลายคนทำงานไม่ได้เลยกับเจ้านายประเภทตามจิกจู้จี้
หรือ สำหรับคนทั่วไปแล้ว งานที่เร่งรีบ deadline ที่ใกล้กำหนดส่ง email ที่ยังไม่ได้ตอบ หรือดูหนังสือตอนใกล้สอบ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ แต่คนที่เป็น HSP จะพยายามเลี่ยงสถานการณ์ที่มีความกดดันเช่นนั้นให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะเขาแทบจะไม่ function เอามากๆในสภาพนั้น
ในแง่การงาน คนที่เป็น HSP จึงมักพบปัญหาถูกมองว่า ข้อจำกัดเยอะ รอบคอบเกินไป คิดมาก ไม่อดทน ทำงานเร่งด่วนไม่ได้ดี และต้องการอิสระการทำงานมากกว่าคนอื่น
ในวัยเด็ก คน HSP มักถูกต่อว่าเรื่องการแสดงออก เช่น “ควบคุมอารมณ์หน่อย คนอื่นเขาไม่เห็นเป็นไรเลย” และพอถูกย้ำมากๆเข้า ไม่ว่าจะด้วย พ่อแม่ เพื่อนที่โรงเรียน จนมาถึงเพื่อนร่วมงานเมื่อเป็นผู้ใหญ่ ก็อาจจะเกิดอาการฝังใจ สูญเสียความมั่นใจในตนเอง จนในที่สุดกลายเป็นคนมีปัญหาขึ้นมาจริงๆ
และปัญหาจะยิ่งขยายหนักขึ้นเพราะความอ่อนไหวในอารมณ์ของคน HSP จะทำการป้อน negative feed back loop ให้เกิดความระแวงหรือกลัวการถูกตำหนิมากขึ้นเรื่อยๆ จนบางคนไม่กล้าทำอะไร คอยแต่จะปกป้องตนเอง กลายเป็นโรคซึมเศร้าไปเลยก็มี
นักจิตวิทยาอย่าง Dr Ted Zeff เจ้าของหนังสือ The Highly Sensitive Person’s Survival Guide บอกว่า ความเป็น HSP เป็นเรื่องที่ “รักษา” ไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องที่ได้มาจากยีน คนที่เป็น HSP ไม่มีความสามารถที่จะ “ปิด” ระบบการรับรู้ได้เหมือนคนส่วนใหญ่
ดังนั้น วิธีเท่าที่ทำได้คือ รู้จักว่า HSP มีข้อจำกัดอย่างไร และใช้ชีวิตให้สอดคล้องกับข้อจำกัดเหล่านั้น ส่วนคนที่ไม่ได้เป็น HSP ก็ควรจะเข้าใจในข้อจำกัดเหล่านี้ด้วย และเลิกตำหนิคน HSP ได้แล้ว เพราะจะไม่เกิดประโยชน์ใดๆเลย เพราะที่จริง ความสามารถของคน HSP นั้น หากใช้ให้ถูก จะนำประโยชน์มามหาศาล
นั่นคือ ความเป็น HSP จึงไม่ใช่ปัญหา ปัญหาอยู่ที่ คนทั้งหลายไม่เข้าใจ HSP และใช้คน HSP ไม่เป็นต่างหาก
ด้วยความที่ไม่ค่อยอดทนต่อ สิ่งกระตุ้นต่างๆ เช่นความอึกทึก เสียง และความกดดัน ทำให้มีความเข้าใจที่ผิดว่า HSP เป็นคนขี้อายและเก็บตัว และมีความเข้าใจปนกันว่า คน HSP ก็คือ คน introvert ซึ่ง Dr Aron บอกว่าไม่ใช่ เพราะที่จริงแล้วมี HSP ตั้ง 30% ที่เป็นคน extrovert โดยพวกเขาชอบคุย ออกสังคมเหมือนคน extrovert ทั่วไป เพียงแต่ต้องการ “downtime” หรือ เวลาส่วนตัว มากกว่าคน extrovert อื่นๆ
Downtime เป็นสิ่งจำเป็นมากสำหรับคน HSP แม้กระทั่งในชีวิตประจำวัน เพราะนั่นคือสิ่งที่ทำให้เขาได้ recharge ตัวเองจากความวุ่นวาย กุญแจสำคัญในการอยู่รอดของคน HSP คือ การบริหาร downtime นี่เอง
Downtime เป็นช่วงเวลาเบรคจากสิ่งกระตุ้นทั้งหลาย ที่ HSP สามารถทำโน่นนี่อยู่คนเดียว หรือกับคนไม่กี่คนได้ เช่น อ่านหนังสือ เล่นกีฬา solo sport
ในระหว่าง downtime ระบบประสาทในสมองของคน HSP ที่ทำงานหนักกว่าคนทั่วไปจะได้พัก พร้อมกับความคิดต่างๆที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ระหว่างถูกรุมเร้าด้วยสิ่งกระตุ้นต่างๆ ก็อาจจะปรากฏออกมา
ในที่ทำงาน คน HSP ไม่สามารถทำงานได้ในสภาพที่เสียงดัง เอะอะ และถูกขัดจังหวะอยู่ตลอดเวลา การเอาคน HSP มานั่งใน office แบบนั้น ย่อมเป็นการสูญเปล่าทั้งองค์กรและเจ้าตัว หากไม่มีมุมเงียบให้กับคน HSP ได้ ก็คงต้องใช้วิธี work from home หรือ remote office
ส่วนใครมีเพื่อนเป็น HSP ก็ต้องเข้าใจว่า “อาการเว่อร์วัง” ที่บางครั้งปรากฏ ไม่ใช่เรื่องแกล้งเว่อร์ แต่เป็นของจริง หรือ ถ้าเขาจะใช้เวลาดูดดื่มกับ scene สวยๆเวลาเที่ยว ก็ต้องปล่อยเขาไป
ส่วนคนที่มีแฟนเป็น HSP ก็ต้องยอมให้เขามีเวลาส่วนตัวแยกไปมี downtime ให้พอ เพราะนั่นเป็นสิ่งจำเป็นสุดๆสำหรับเธอหรือเขา เพราะแม้อยู่กับแฟนสองต่อสอง ก็เกิดการ over stimulation ได้เหมือนกัน
แล้วจะรู้ได้อย่างไร ว่าใครเป็นคน highly sensitive person ?
มี HSP self-test ฟรี บนหลาย web หนึ่งในนั้นเป็นของ Dr Elaine Aron ผู้ทำให้โลกทั่วไปได้รู้จักกับ HSP จากหนังสือ bestseller “The Highly Sensitive Person” ของเธอ
ไม่แน่.. คุณอาจเป็น HSP 1 ใน 5 หรือ 1 ใน 6 คนของประชากรโลกก็ได้