อำเภอผักไห่ อยุธยา ... วัดย่านอ่างทอง

จากวัดป่าโมกวรวิหาร ออกมาทางถนนเลียบคลองชลประทาน ทล.3501 แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนน 4031

 
อ้อมนามายังวัดย่างอ่างทอง ซึ่งเป็นที่ต่ำ ดูชุ่มน้ำ จนเหมือนพร้อมที่จะถูกน้ำท่วมตลอดเวลาของอำเภอผักไห่

รถบรรทุกดินก็เยอะ  ถนนจึงมีเละเป็นช่วง ๆ  ไปยังวัดย่านอ่างทอง

 
 
 
 
 
 
 
 
ที่คุ้งน้ำแม่น้ำน้อยนี้ มีมอญทำหม้อใส่เรือมาขาย ได้เห็นอ่างทองคำใบใหญ่ลอยน้ำมา และจมลง จึงเรียกคุ้งน้ำนี้ว่า ย่านอ่างทอง
มีเรืองเล่าว่า วันดีคืนดีจะเห็นอ่างทองกับเป็ดทองคำลอยขึ้นมาเหนือน้ำด้วย
และเรียกวัดนี้ว่า วัดย่านอ่างทอง  ตั้งใจมามาดูจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัชกาลที่ 3

ภาพแรกที่เห็นวัด ... เน้นท้องฟ้าเพราะฝูงนก
กำแพงแก้วแบบรูปทำอย่างกำแพงแก้วของวัดพระแก้ววังหน้า หรือ วัดบวรสถานสุทธาวาส

 
 
ในสมัยรัชกาลที่ 3 เจ้าอาวาส ชื่อพระธรรมไตรโลกฯ (น่วม) ได้ไปเยี่ยมสหาย คือพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) เจ้าอาวาสวัดโมลีโลก
ท่านเป็นพระอาจารย์ถวายพระอักษรเบื้องต้นแด่พระเจ้าแผ่นดินถึง 3 พระองค์ คือ
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

แล้วเจ้านายวังหน้าได้ส่งช่างหลวงขึ้นไปทำการบูรณะก่อสร้าง
และยังได้ริ้อเอาตำหนักของเจ้านายวังหน้า ถวายไปปลูกเป็นกุฏิสงฆ์
ภายหลังรัชกาลที่ 4 เมื่อยังทรงผนวชอยู่ก็ได้ไปเทศน์ในงานฉลองของวัดนี้
และได้ใช้นามวัดนี้ว่า วัดจุฬาโลก ให้คล้องจองกับวัดของสหายคือวัดโมลีโลก

พระอุโบสถ
ทำอย่างหอพระนากในวัดพระแก้วที่สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
หอพระนากได้ถูกซ่อมแปลงในสมัยรัชกาลที่ 3 ไปแล้ว จึงไม่เหมือนหอพระนากในปัจจุบัน
ไปเปิดรูปดูพบว่าคล้ายหอพระมณเฑียรธรรมปัจจุบันมากกว่า

หน้าบันปูนปั้นเทพพนม ในลายพรรณพฤกษา
ด้านล่างมีซุ้มเรือนแก้ว ตรงกลางเป็นพระนารายณ์ ด้านข้างเป็นเทพถือดาบ

 
 
 
 
ซุ้มเสมา

 
ซุ้มประตูพระอุโบสถ เป็นซุ้มนาคสามเศียร สองชั้น ในซุ้มเป็นลวดลายดอกไม้ลวดลายละเอียดยิบ
ตรงยอดซุ้ม เล็งมาสามวัน น่าจะเป็นครุฑยุดนาค 3 เศียร ... ไม่แน่ใจนะคะ

 
บานประตู

ลวดลายเหนือประตูภายในพระอุโบสถเหลือเพียงแค่นี้

ลวดลายบานหน้าต่าง และบานไม้หลังพระประธาน

 
 
ภายในพระอุโบสถ
พระประธานปางมารวิชัย
ฐานชุกชี เป็นฐานสิงห์ และฐานปัทม์ ฐานด้านบนแอ่นโค้งแบบอยุธยา มีผ้าทิพย์ห้อยลงมาตรงหน้าตักพระพุทธรูป

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
วิหาร ทรงปราสาทจตุรมุขยอดปรางค์
แต่ละด้าน หลังคาจั่วหลังคาซ้อนกัน 3 ซด 3 ตับ ช่อฟ้า ใบระกา และหางหงส์
พระเจดีย์รอบพระวิหาร เป็นเจดีย์ทรงบัวเหลี่ยม ฐานสิงห์ อย่างเจดีย์รายของวัดราชโอรสาราม ธนบุรี

 
 
 
ยักษ์บนปรางค์ยอด

บันไดทางขึ้น 4 ด้านข้างมุข
มีสาหร่ายรวงผึ้ง หัวเสาปูนปั้นรูปบัวจงกล หน้าบันประดับด้วยไม้จำหลักลายแผงใบเทศพุ่มข้าวบิณฑ์ ประตูทั้ง 4 ด้าน ประดับลายปูนปั้นติดกระจกสี

 
 
 
ตรงกลางเป็นห้องก่ออิฐถือปูนขึ้นไปรับส่วนของยอดปรางค์
ซุ้มประตูห้องเข้าสู่ห้องกลางเดิมจะมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ทั้ง 4 ทิศ

 
 
ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ ได้ริ้อเอาตำหนักของเจ้านายวังหน้าถวายไปปลูกไว้เป็นสังฆาวาส
มีพิพิธภัณฑ์พระพุทธรูปเป็นแบบสุโขทัยนำมาจากเมืองเหนือในสมัยนั้น
มีธรรมมาส ซึ่งเดิมเป็นพระแท่นว่าราชการของวังหน้า
เสียดายที่ไม่ได้หาข้อมูลมาก่อนจึงไม่ได้เข้าไปชม ได้แค่เก็บภาพศาลาการเปรียญมาฝากเท่านั้น

 
อาคารโรงเรียนวัดย่านอ่างทอง

ข้ามแม่น้ำน้อยที่อำเภอผักไห่ อยุธยา  ....  ผักไห่คือมะระ

 
 
 
 
 
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่