คุณเชื่อหรือไม่ วัดร้างไม่ได้มีอยู่แต่ในเขตทุรกันดารหรือเขตชนบทเท่านั้น

เมื่อพูดถึงวัดร้างแล้วหลายๆคนอาจจะคิดถึงวัดที่อยู่ในชนบทหรืออยู่ในป่าเขาหรือเขต
ทุรกันดารที่อยู่ห่างไกลจากผู้คน การเดินทางก็ยากลำบากเข้าถึงได้ยาก


    แต่ทุกคนลืมมองไปว่ายังมีวัดอีกไม่น้อยที่อยู่ในเขตชุมชน หรือในเขตกรุงเทพมหานคร
ที่กลายเป็นวัดร้างทั้งๆที่ความจริงแล้ว วัดเหล่านี้เมื่อไปค้นประวัติดูแล้วล้วนแต่เป็นวัดที่
ใหญ่และมีชื่อเสียง เป็นศูนย์กลางของชุมชนมาก่อน และถือว่าเป็นวัดที่มีความเจริญรุ่งเรือง
มากในยุคสมัยก่อนเลยทีเดียว บางวัดก็มีอายุเก่าแก่ตั้งแต่ต้นสมัยกรุงศรีอยุธยาหรือสมัย
รัตนโกสินทร์ตอนต้น เช่น วัดสวนสวรรค์ บางยี่ขัน,วัดสุวรรณคีรีหรือวัดขี้เหล็ก,วัดรังษีสุทธาวาส
,วัดบวรสถานสุทธาวาส,วัดใหม่วิเชียร,วัดพระยาไกรหรือวัดโชตนาราม เป็นต้น ยังมีอีก
หลายวัดที่ไม่ได้กล่าวถึงที่เคยที่ชื่อเสียงแต่ปัจจุบันกับกลายเป็นวัดร้างที่ถูกทุกคนลืม
จะขอยกตัวอย่างวัดร้างที่เคยรุ่งเรืองมาก่อนสักหนึ่งวัดก็แล้วกันนะครับ คือ




     วัดพระยาไกร หรือ วัดโชตนาราม ในอดีตตั้งอยู่ในย่านแขวงวัดพระยาไกร
เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร ก่อนมาเป็นที่ตั้งของท่าเรือและบริษัท อีสต์เอเชียติก
บริษัทเดินเรือสัญชาติเดนมาร์กในสมัยรัชกาลที่ 5 และปัจจุบันเป็นที่ตั้งของเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์

     วัดพระยาไกร เป็นชื่อดั้งเดิมของวัดโชตนาราม มีหลักฐานว่าสร้างก่อน พ.ศ. 2344
จนกระทั่งมีพระยาโชฎึกราชเศรษฐี (บุญมา) เจ้ากรมท่าซ้าย เป็นหัวหน้าคนจีน ควบคุม
คนจีนในไทยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทำการ บูรณะปฏิสังขรณ์เสร็จแล้ว
ได้น้อมถวายเป็นพระอารามหลวงในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว   
และได้รับการสถาปนา ขึ้นเป็นพระอารามหลวงมีนามว่าวัดโชตนาราม ตามหลักฐาน
จดหมายเหตุ ต่อมา "วัดพระยาไกร" กลายสภาพเป็นวัดร้าง สันนิษฐานว่าอาจเป็นเพราะ
ท่านเจ้าสัวบุญมาคงไม่มีทายาทสืบสายสกุลทำให้ขาดผู้ดูแลอุปถัมภ์วัด หลักฐานที่ปรากฏว่า
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วัดนี้ก็ไม่มีเจ้าอาวาสปกครองแล้ว
เสนาสนะสงฆ์ปรักหักพังชำรุดทรุดโทรมยากแก่การบูรณะรวมไปถึงพระอุโบสถอันเป็นที่
ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น (พระสุโขทัยไตรมิตร ก่อนย้านไปวัดไตรมิตรวิทยาราม
และหลวงพ่อสัมฤทธิ์ ก่อนย้ายไปวัดไผ่เงิน) ก็ชำรุดทรุดโทรมลงตามลำดับ บริเวณภายในวัด
ก็กลายเป็นที่รกร้างว่างเปล่าเนื่องจากไม่มีผู้ดูแลรักษา จนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 ในเวลานั้นเอง
ทางบริษัท อีสท์ เอเชียติก จำกัด แห่งประเทศเดนมาร์ก ซึ่งทำธุรกิจค้าไม้สักส่งออกยัง
ต่างประเทศมองเห็นเป็นทำเลที่ดีสำหรับตั้งโรงเลื่อยจักรของบริษัทฯ (โรงเลื่อยจักรที่ใหญ่
ที่สุดในสยามในช่วงเวลานั้น) จึงได้แสดงความประสงค์ ขอเช่าพื้นที่วัดโชตนาราม จากทาง
ราชการ เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ทางบริษัทฯ ก็ได้ทำการรื้อถอนเสนาสนะสงฆ์ที่ปรักหักพังเสีย
คงเหลือไว้แต่เพียงพระอุโบสถ อันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น 2 องค์ ไว้ภายในเท่านั้น
พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร (พระพุทธรูปทองคำ) ก่อนที่จะอัญเชิญมาประดิษฐาน
ณ วัดไตรมิตรวิทยาราม รวมทั้งพระประธานในอุโบสถวัดไผ่เงินโชตนาราม ที่หล่อด้วยโลหะสำริด
สมัยอาณาจักรสุโขทัย




    ความสำคัญของวัดพระยาไกรหรือวัดโชตนารามนี้คือ ในครั้งสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นวัดที่
ได้รับการอุปถัมภ์ มีหลักฐานตามที่ปรากฏในจดหมายเหตุ สมัยรัชกาลที่ 3 จ.ศ.1213  
บันทึกไว้ว่าวัดได้รับการ "ยกให้เป็นพระอารามหลวง" นอกจากนี้ยังพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์
ได้รับกิจนิมนต์ไปแสดงธรรมและฉันภัตตาหารในพระราชวังตลอดรัชกาล





   วัดโชตนาราม หรือที่ติดปากชาวบ้านว่า "วัดพระยาไกร" ก็มีสภาพกลายเป็นวัดร้าง
สันนิษฐานว่าอาจเป็นเพราะท่านเจ๊สัวบุญมาคงไม่มีทายาทสืบสายสกุลทำให้ขาดผู้ดูแล
อุปถัมภ์วัด บริเวณภายในวัดก็กลายเป็นที่รกร้างว่างเปล่า หลักฐานที่ปรากฏว่าในสมัย
พระจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 วัดนี้ก็ไม่มีเจ้าอาวาสปกครองแล้ว เสนาสนะสงฆ์ปรักหักพัง
ชำรุดทรุดโทรมยากแก่การบูรณะรวมไปถึงพระอุโบสถอันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น
(พระสุโขทัยไตรมิตร ก่อนย้ายไปวัดไตรมิตรวิทยาราม และหลวงพ่อสัมฤทธิ์ ก่อนย้าย
ไปวัดไผ่เงิน) ก็ชำรุดทรุดโทรมลง ตามลำดับ บริเวณภายในวัดก็กลายเป็นที่รกร้างว่าง
เปล่าเนื่องจากไม่มีผู้ดูแลรักษา


  ภาพถ่ายเก่าที่เห็นอาคารอุโบสถและวิหารของวัดพระยาไกร(ตรงลูกศรชี้)ตั้งอยู่ตรง
                             ท่าเรือและโรงเลื่อยอีสต์เอเชียติก


   ปัญหาวัดร้างไม่ได้เกิดขึ้นแต่ในปัจจุบันเพียงอย่างเดียว แต่กับเกิดขึ้นมาหลายยุคหลายสมัย
แล้วก็ว่าได้ ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน นับวันปัญหาวัดร้างก็เริ่มที่จะเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ
เหตุผลเพราะว่าเรายังขาดบุคคลที่จะมาสานต่ออายุพระศาสนาและขาดผู้ที่จะเข้ามาช่วยกัน
ดูแลรักษาวัดให้เป็นวัดและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองกันอย่างจริงจัง
ทำให้วัดต่างๆเหล่านี้ไม่สามารถที่จะอยู่ต่อไปได้




    เราต้องมาตั้งคำถามกันแล้วละครับว่าปัจจัยใดที่ทำให้วัดที่มีจำนวนไม่น้อยเลยในอดีต
คือมีแทบจะทุกหัวระแหงในที่ที่มีผู้คนอยู่อาศัยหรือแม้แต่ในป่าเขาที่ทุรกันดารก็ยังมีวัดมีพระ
อาศัยอยู่จำนวนไม่น้อย แต่ปัจจุบันกับกลายมาเป็นวัดที่รกร้างว่างเปล่าปราศจากพระหรือ
พุทธบริษัทที่จะมาคอยดูแลรักษา บางวัดก็แทบจะไม่มีร่องรอยให้เห็นเลยว่าสถานที่แห่งนี้
เคยเป็นวัดมาก่อน บางวัดพื้นที่ของวัดก็ถูกปรับเปลี่ยนไปเป็นที่อยู่อาศัยของชาวบ้านหรือ
กลายเป็นของเอกชนไปเลยก็มี ยิ่งวัดที่อยู่ในเขตชุมชนด้วยแล้วถ้าขาดการเอาใจใส่
ดูแลรักษาของพุทธบริษัทแล้ววัดนั้นก็จะค่อยๆเสื่อมถอยลงและถูกชุมชนกลืนเข้าไปจนแทบจะ
ไม่เหลืออะไรให้เห็นถึงความเป็นวัดนั้นเลย
     ดังนั้นมันถึงเวลาแล้วที่พวกเราชาวพุทธจะต้องช่วยกันดูแล รักษาและปกป้องวัดวาอาราม
หรือพระพุทธศาสนาของเราให้อยู่คู่บ้านเมืองของเราให้ชนรุ่นหลังได้เข้ามาศึกษาและสาน
ต่อวัฒนธรรมอันดีงามของชาวพุทธในการช่วยกันดูแล ปกป้องพระพุทธศาสนาต่อจากพวกเรา
สืบต่อไปชั่วลูกชั่วหลาน



     พระพุทธศาสนาจะอยู่ได้ก็ต้องอาศัยพุทธบริษัททั้ง4ช่วยกันทำนุบำรุงและรักษา
ถ้าเมื่อไรพระพุทธศาสนาขาดพุทธบริษัท4 หรือพุทธบริษัท4ไม่เข้มแข็งพอไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน
วัดต่างๆเหล่านี้ก็อาจที่จะกลายเป็นวัดร้างไปในที่สุด  
    นอกจากที่จะช่วยกันดูแลรักษาวัดที่อยู่ห่างไกลแล้ว ก็อย่าลืมหันมาดูแลวัดที่อยู่ใกล้ตัว
ของเราด้วยนะครับ เพราะถ้าทุกคนต่างก็ไปสนใจแต่วัดที่อยู่ห่างไกล ปล่อยให้วัดที่อยู่ใกล้ตัว
กลายเป็นวัดร้างไม่มีใครเหลียวแลแล้ว จะมีอะไรมาการันตีได้ว่าเราจะสามารถดูแลวัดเหล่านั้นได้
แม้ว่าวัดที่อยู่ใกล้ๆตัวเรา เรายังไม่สามารถดูแลได้เลย
      ดังนั้นเราชาวพุทธทุกคนควรให้ความสำคัญกับวัดในทุกๆที่มากขึ้น แม้วัดที่อยู่ใกล้
ตัวเราก็ไม่ควรมองผ่าน เพื่อให้พระและวัดนั้นสามารถยืนหยัดอยู่ต่อไปได้ อย่าปล่อยให้วัดรุ่ง
กลายเป็นวัดร้างอีกต่อไปเลยนะครับ เพราะนั่นถือว่าความรับผิดชอบต่อพระพุทธศาสนาของ
เราชาวพุทธนั้นลดน้อยถอยลงไปเรื่อยๆ และอย่าปล่อยให้ความเป็นชาวพุทธของเราอยู่ในกระดาษ
เท่านั้น เราต้องทำหน้าที่ชาวพุทธของเราให้เต็มที่ให้สมกับการที่เราได้เกิดมาเป็นชาวพุทธอย่างแท้จริง



    ถ้าเราขาวพุทธช่วยกันคนละไม้คนละมือในการดูแลรักษาและปกป้องพระพุทธศาสนา
รับรองได้เลยว่า คำว่าวัดร้างจะไม่มีให้เห็นกันแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นวัดที่อยู่ในชุมชนเมือง
หรืออยู่ในชนบทหรือวัดป่าที่อยู่ห่างไกลจากผู้คนก็ตาม
   ถึงเวลาแล้วที่พวกเราจะหันมาให้ความสำคัญกับพระพุทธศาสนาของเราอย่างจริงจังกันเสียที

https://mamoketio.blogspot.com/2017/08/5.html
ขอบคุณข้อมูลจาก : วิกิพีเดีย,หนังสือวัดร้างในบางกอก
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่