..." โต้ พ.ร.บ.มั่นคงไซเบอร์ฯ ให้รัฐคุมเบ็ดเสร็จไม่จริง ย้ำมุ่งใช้กับอาญชากรโจมตีระบบ ไม่เกี่ยวกับประชาชนทั่วไป "...
ที่มา :
https://mgronline.com/onlinesection/detail/9620000020932
( เผยแพร่: 1 มี.ค. 2562 00:12 โดย: ผู้จัดการออนไลน์ )
..." โต้ พ.ร.บ.มั่นคงไซเบอร์ฯ ให้รัฐคุมเบ็ดเสร็จไม่จริง ย้ำมุ่งใช้กับอาญชากรโจมตีระบบ ไม่เกี่ยวกับประชาชนทั่วไป "...
ที่ปรึกษา กมธ.พิจารณาร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ฯ โต้กระแส กม.ให้อำนาจรัฐเบ็ดเสร็จ ยืนยันมุ่งใช้กับอาชญากรที่โจมตีระบบคอมพิวเตอร์ ไม่เกี่ยวกับประชาชนทั่วไป และยังต้องอยู่ใต้อำนาจศาล จะให้ฝ่ายความมั่นคงเข้ามาเฉพาะกรณีวิกฤติฉุกเฉินมีผู้คนล้มตายเท่านั้น
จากกรณีที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) วันที่ 28 ก.พ.62 มีมติเห็นชอบให้ร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ…. ผ่านออกมาบังคับใช้เป็นกฎหมาย และมีการวิพากษ์วิจารณ์จากบุคคลบางฝ่ายเกี่ยวกับเนื้อหาของร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ(iLaw) ได้ระบุถึงข้อกังวล 8 ข้อเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้นั้น นายไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ที่ปรึกษากฎหมายสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ และที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคล พ.ศ…. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พิจารณาร่าง พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ…. ได้ชี้แจงตอบโต้ข้อกังวล 8 ข้อของ iLaw ดังนี้
1.นิยามภัยคุกคามไซเบอร์ ดีความได้กว้าง ครอบคลุม เนื้อหาบนโลกออนไลน์
คำชี้แจง : มีการร่างมาจากกฎหมายของสหภาพยุโรป-สิงคโปร์ ซึ่งถ้อยคําชัดเจน
(นิยาม “ภัยคุกคามทางไซเบอร์” ในมาตรา 3 หมายความว่า “การกระทำหรือการดำเนินการใดๆ โดยมิชอบโดยใช้คอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมไม่พึงประสงค์โดยมุ่งหมายให้เกิดการประทุษร้ายต่อระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงที่จะก่อให้เกิดความเสียหายหรือส่งผลกระทบต่อการทำงานของคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพวิตเอร์ หรือข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง”)
2. เจ้าหน้าที่รัฐสามารถขอข้อมูลจากใครก็ได้ เพื่อประโยชน์ในการทํางาน
คำชี้แจง : ไม่จริง
3.กฎหมายให้อํานาจเจ้าหน้าที่ยึด-ค้น-เจาะ-ทำสําเนา คอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์
คำชี้แจง : ต้องมีการขออำนาจจากศาล (ตามมาตรา 65) และใช้กับอาชญากรที่โจมตีระบบสาธารณูปโภคจนล่ม ไม่เกี่ยวกับประชาชนทั่วไป
4.เมื่อมีภัยคุกคามไซเบอร์ร้ายแรงขึ้นไป เจ้าหน้าที่รัฐสามารถสอดส่องข้อมูลได้แบบ Real-time
คำชี้แจง : จนท.จะใช้อํานาจตามคําสั่งศาล ถ้ามีการโจมตีระบบคอมพิวเตอร์ ที่ทําให้ระบบล่มเท่านั้น เฉพาะกับผู้กระทําผิด ไม่ใช่ประชาชน
5.ในกรณีจําเป็นเร่งด่วน เจ้าหน้าที่สามารถใช้อํานาจได้โดยไม่ต้องขอหมายศาล
คำชี้แจง :ไม่มีเขียนในกฎหมาย
6.การใช้อํานาจยึด ค้น เจาะ หรือขอข้อมูลใดๆ ไม่สามารถอุทธรณ์ เพื่อยับยั้งได้
คำชี้แจง : ไม่จริง ขอศาลยกเลิกได้
7.เมื่อมีภัยคุกคามไซเบอร์ระดับวิกฤติ ให้เป็นอํานาจหน้าที่ของสภาความมั่นคงแห่งชาติ
คำชี้แจง : สภาความมั่นคงแห่งชาติ เข้ามาเพราะเป็นสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีคนล้มตายจํานวนมากตามที่อธิบายข้างต้น (ตามความหมายของ “ภัยคุกคามทางไซเบอร์ในระดับวิกฤติ” ที่ระบุไว้ในมาตรา 59)
8.ผู้ใดฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามคําสั่งมีทั้งโทษปรับและโทษจําคุก
คำชี้แจง :โทษจําคุกมีเฉพาะถ้าเจ้าหน้าที่รัฐไปเปิดเผยข้อมูลที่ได้มา ไม่เกี่ยวกับประชาชน
" โต้ พ.ร.บ.มั่นคงไซเบอร์ฯ ให้รัฐคุมเบ็ดเสร็จไม่จริง ย้ำมุ่งใช้กับอาญชากรโจมตีระบบ ไม่เกี่ยวกับประชาชนทั่วไป "
ที่มา : https://mgronline.com/onlinesection/detail/9620000020932
( เผยแพร่: 1 มี.ค. 2562 00:12 โดย: ผู้จัดการออนไลน์ )
..." โต้ พ.ร.บ.มั่นคงไซเบอร์ฯ ให้รัฐคุมเบ็ดเสร็จไม่จริง ย้ำมุ่งใช้กับอาญชากรโจมตีระบบ ไม่เกี่ยวกับประชาชนทั่วไป "...
ที่ปรึกษา กมธ.พิจารณาร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ฯ โต้กระแส กม.ให้อำนาจรัฐเบ็ดเสร็จ ยืนยันมุ่งใช้กับอาชญากรที่โจมตีระบบคอมพิวเตอร์ ไม่เกี่ยวกับประชาชนทั่วไป และยังต้องอยู่ใต้อำนาจศาล จะให้ฝ่ายความมั่นคงเข้ามาเฉพาะกรณีวิกฤติฉุกเฉินมีผู้คนล้มตายเท่านั้น
จากกรณีที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) วันที่ 28 ก.พ.62 มีมติเห็นชอบให้ร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ…. ผ่านออกมาบังคับใช้เป็นกฎหมาย และมีการวิพากษ์วิจารณ์จากบุคคลบางฝ่ายเกี่ยวกับเนื้อหาของร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ(iLaw) ได้ระบุถึงข้อกังวล 8 ข้อเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้นั้น นายไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ที่ปรึกษากฎหมายสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ และที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคล พ.ศ…. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พิจารณาร่าง พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ…. ได้ชี้แจงตอบโต้ข้อกังวล 8 ข้อของ iLaw ดังนี้
1.นิยามภัยคุกคามไซเบอร์ ดีความได้กว้าง ครอบคลุม เนื้อหาบนโลกออนไลน์
คำชี้แจง : มีการร่างมาจากกฎหมายของสหภาพยุโรป-สิงคโปร์ ซึ่งถ้อยคําชัดเจน
(นิยาม “ภัยคุกคามทางไซเบอร์” ในมาตรา 3 หมายความว่า “การกระทำหรือการดำเนินการใดๆ โดยมิชอบโดยใช้คอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมไม่พึงประสงค์โดยมุ่งหมายให้เกิดการประทุษร้ายต่อระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงที่จะก่อให้เกิดความเสียหายหรือส่งผลกระทบต่อการทำงานของคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพวิตเอร์ หรือข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง”)
2. เจ้าหน้าที่รัฐสามารถขอข้อมูลจากใครก็ได้ เพื่อประโยชน์ในการทํางาน
คำชี้แจง : ไม่จริง
3.กฎหมายให้อํานาจเจ้าหน้าที่ยึด-ค้น-เจาะ-ทำสําเนา คอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์
คำชี้แจง : ต้องมีการขออำนาจจากศาล (ตามมาตรา 65) และใช้กับอาชญากรที่โจมตีระบบสาธารณูปโภคจนล่ม ไม่เกี่ยวกับประชาชนทั่วไป
4.เมื่อมีภัยคุกคามไซเบอร์ร้ายแรงขึ้นไป เจ้าหน้าที่รัฐสามารถสอดส่องข้อมูลได้แบบ Real-time
คำชี้แจง : จนท.จะใช้อํานาจตามคําสั่งศาล ถ้ามีการโจมตีระบบคอมพิวเตอร์ ที่ทําให้ระบบล่มเท่านั้น เฉพาะกับผู้กระทําผิด ไม่ใช่ประชาชน
5.ในกรณีจําเป็นเร่งด่วน เจ้าหน้าที่สามารถใช้อํานาจได้โดยไม่ต้องขอหมายศาล
คำชี้แจง :ไม่มีเขียนในกฎหมาย
6.การใช้อํานาจยึด ค้น เจาะ หรือขอข้อมูลใดๆ ไม่สามารถอุทธรณ์ เพื่อยับยั้งได้
คำชี้แจง : ไม่จริง ขอศาลยกเลิกได้
7.เมื่อมีภัยคุกคามไซเบอร์ระดับวิกฤติ ให้เป็นอํานาจหน้าที่ของสภาความมั่นคงแห่งชาติ
คำชี้แจง : สภาความมั่นคงแห่งชาติ เข้ามาเพราะเป็นสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีคนล้มตายจํานวนมากตามที่อธิบายข้างต้น (ตามความหมายของ “ภัยคุกคามทางไซเบอร์ในระดับวิกฤติ” ที่ระบุไว้ในมาตรา 59)
8.ผู้ใดฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามคําสั่งมีทั้งโทษปรับและโทษจําคุก
คำชี้แจง :โทษจําคุกมีเฉพาะถ้าเจ้าหน้าที่รัฐไปเปิดเผยข้อมูลที่ได้มา ไม่เกี่ยวกับประชาชน