คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
** ... อยากจะบอกคุณ จขกท. ว่า การฝึกอานาปานฯ หรือ จับลมหายใจ เป็นการฝึกที่ยากมาก สำหรับมือใหม่ หรือ คนที่ไม่เคยได้จิตรวมสงบมาก่อน กรรมฐานกองนี้ไม่เหมาะสำหรับมือใหม่นัก ... **
สาเหตุ คือ ลมหายใจ ไม่มีรูปร่างตัวตนชัดเจน ไม่มีจุดให้จับแน่นอน และมันเคลื่อนไหวตลอดเวลา .. บางคนใช้วิธีกำหนดจุดที่ลมกระทบ เช่น ปลายจมูก ดั้งจมูก หน้าอก ท้อง... นั่นก็เบี่ยงเบน เฉ ออกไปจากลม คือ แทนที่จะกำหนดจับลม แต่ไปกำหนดจุดที่ลมสัมผัสแทน ก็เลยกลายไปกำหนดอย่างอื่นแทนลม และบางจุดจะก่อเกิดความปวดหน่วงเจ็บมากๆ เช่น ใครที่กำหนดจุดที่ลมกระทบที่ปลายจมูก หรือดั้งจมูก หรือหน้าผาก มักจะเกิดอาการปวดหน่วงตรงจุดนั้นๆอย่างมาก จนเลิกฝึกไปเลย
นั่นคือ ถ้าจะกำหนดลม ก็กำหนดที่ลมล้วนๆ อย่างเดียงว ไม่มีอะไรอื่นๆอีกเลย คือ มีแค่ ตัวรู้ลม และ ลมที่ถูกกำหนด ๒ อย่างแค่นั้น ไม่มีอะไรอื่นๆอีก ไม่มีตัวตนร่างกาย โลกนี้ และทุกๆอย่าง... ซึ่งจะทำได้ยากสำหรับมือใหม่
จึงอยากจะแนะนำให้ฝึกกรรมฐานแบบอื่นๆก่อน จนได้จิตรวม และชำนาญพอควรแล้ว จึงค่อยมาฝึกกำหนดลม ..กรรมฐานที่น่าฝึก เช่น ท่องบริกรรม พุทโธๆๆ...ฯ เป็นต้น
หลักในการฝึกคือ อย่านึกคาดหวังผลล่วงหน้า คือ อย่าวาดมโนภาพ หรือ จินตนาการมโนภาพถึงผลการฝึกล่วงหน้า แค่ฝึกๆไป เรื่อยๆๆ จนวันใดวันหนึ่งผลจะเกิดมาเองตามธรรมชาติโดยอัตโนมัติ ซึ่งจะแตกต่างกับที่เราเคยคิดไว้มากมาย ไม่เหมือนกับที่เราเคยคาดไว้เลย
วิธีฝึก คือ พยายามกำหนดจิตให้แน่วแน่ แนบแน่น แน่วนิ่ง เป็นกลาง วางเฉย สงบตื่นรู้ที่จุดใดจุดหนึ่งเพียงจุดเดียว ไม่สนใจอะไรอื่นๆทุกอย่าง จนวันใดวันหนึ่งจะได้จิตรวมลงสว่างไสว มีอาการปีติ สุข อย่างน่าอัศจรรย์มากๆ เกิดขึ้นมาท่วมท้นทั้งกายใจ ยิ่งกว่าอยู่บนสวรรค์
ถ้าฝึกท่องบริกรรมพุทโธๆๆ .. ก็กำหนดจิตท่องบริกรรม พุทโธๆๆๆ ไปเรื่อยๆ อย่าให้หลุดแม้คำเดียว อย่าให้มีอะไรแรกในช่องว่างระหว่างคำพุทโธๆๆๆ... แม้นิดเดียว ถ้าทำได้ติดต่อประมาณ ๔ พันคำ ก็จะได้เห็นจิตรวมลงเป็นอัปปนาสมาธิ(ฌาน) แน่นอน ( ท่องบริกรรม พุทโธๆๆ ประมาณ ๔ พันคำก็จะใช้เวลาประมาณ ๑ ชม. ๒๐ นาที โดยเฉลี่ย ซึ่งหมายถึงใช้ความเร็วกลางๆ )
พอจะลองทำได้ไหมละ ?
สาเหตุ คือ ลมหายใจ ไม่มีรูปร่างตัวตนชัดเจน ไม่มีจุดให้จับแน่นอน และมันเคลื่อนไหวตลอดเวลา .. บางคนใช้วิธีกำหนดจุดที่ลมกระทบ เช่น ปลายจมูก ดั้งจมูก หน้าอก ท้อง... นั่นก็เบี่ยงเบน เฉ ออกไปจากลม คือ แทนที่จะกำหนดจับลม แต่ไปกำหนดจุดที่ลมสัมผัสแทน ก็เลยกลายไปกำหนดอย่างอื่นแทนลม และบางจุดจะก่อเกิดความปวดหน่วงเจ็บมากๆ เช่น ใครที่กำหนดจุดที่ลมกระทบที่ปลายจมูก หรือดั้งจมูก หรือหน้าผาก มักจะเกิดอาการปวดหน่วงตรงจุดนั้นๆอย่างมาก จนเลิกฝึกไปเลย
นั่นคือ ถ้าจะกำหนดลม ก็กำหนดที่ลมล้วนๆ อย่างเดียงว ไม่มีอะไรอื่นๆอีกเลย คือ มีแค่ ตัวรู้ลม และ ลมที่ถูกกำหนด ๒ อย่างแค่นั้น ไม่มีอะไรอื่นๆอีก ไม่มีตัวตนร่างกาย โลกนี้ และทุกๆอย่าง... ซึ่งจะทำได้ยากสำหรับมือใหม่
จึงอยากจะแนะนำให้ฝึกกรรมฐานแบบอื่นๆก่อน จนได้จิตรวม และชำนาญพอควรแล้ว จึงค่อยมาฝึกกำหนดลม ..กรรมฐานที่น่าฝึก เช่น ท่องบริกรรม พุทโธๆๆ...ฯ เป็นต้น
หลักในการฝึกคือ อย่านึกคาดหวังผลล่วงหน้า คือ อย่าวาดมโนภาพ หรือ จินตนาการมโนภาพถึงผลการฝึกล่วงหน้า แค่ฝึกๆไป เรื่อยๆๆ จนวันใดวันหนึ่งผลจะเกิดมาเองตามธรรมชาติโดยอัตโนมัติ ซึ่งจะแตกต่างกับที่เราเคยคิดไว้มากมาย ไม่เหมือนกับที่เราเคยคาดไว้เลย
วิธีฝึก คือ พยายามกำหนดจิตให้แน่วแน่ แนบแน่น แน่วนิ่ง เป็นกลาง วางเฉย สงบตื่นรู้ที่จุดใดจุดหนึ่งเพียงจุดเดียว ไม่สนใจอะไรอื่นๆทุกอย่าง จนวันใดวันหนึ่งจะได้จิตรวมลงสว่างไสว มีอาการปีติ สุข อย่างน่าอัศจรรย์มากๆ เกิดขึ้นมาท่วมท้นทั้งกายใจ ยิ่งกว่าอยู่บนสวรรค์
ถ้าฝึกท่องบริกรรมพุทโธๆๆ .. ก็กำหนดจิตท่องบริกรรม พุทโธๆๆๆ ไปเรื่อยๆ อย่าให้หลุดแม้คำเดียว อย่าให้มีอะไรแรกในช่องว่างระหว่างคำพุทโธๆๆๆ... แม้นิดเดียว ถ้าทำได้ติดต่อประมาณ ๔ พันคำ ก็จะได้เห็นจิตรวมลงเป็นอัปปนาสมาธิ(ฌาน) แน่นอน ( ท่องบริกรรม พุทโธๆๆ ประมาณ ๔ พันคำก็จะใช้เวลาประมาณ ๑ ชม. ๒๐ นาที โดยเฉลี่ย ซึ่งหมายถึงใช้ความเร็วกลางๆ )
พอจะลองทำได้ไหมละ ?
แสดงความคิดเห็น
สอบถามเรื่องการนั่งสมาธิค่ะ