ใครเคยไปโกเอนก้าแล้วจบหลักสูตรสุดท้ายบ้างครับ??

พอดีช่วงนี้รู้สึกว่าพลังจิตของตนจะด้อยลงไปมาก  และรู้สึกว่าจิตเสื่อมลงอย่างกู่ไม่กลับเลย   อาจเป็นเพราะการงานกิจธุระทางโลกและ
พันธนาการทางสังคมที่ตนเองต้องจำใจอยู่ก็เป็นได้   เลยคิดว่าอยากจะหาที่ปฎิบัติสักที่ที่สามารถปิดวาจาได้ด้วยและเป็นที่ๆสงบสัปปายะพอสมควร    เพื่อที่จะฟื้นฟูพลังจิตกลับมาพร้อมกับเหมือนเป็นการชาร์จแบตประจุแบตเตอรีใหม่ด้วย  เพื่อที่จะเป็นการทำให้จิตที่เสื่อมลงไปกลับมาดีได้เหมือนดังเดิม   เลยนึกถึงสถานปฏิบัติธรรมของท่าน นารายัน โกเอนก้า  ขึ้นมาได้และพบว่าระเบียบปฏิบัติที่นั่นตรงกับจริตตนเองอย่างมาก   แต่เห็นว่ามีหลักสูตรสุดท้าย  ที่ว่าคือ ปิดวาจา 60 วันเห็นจะได้  เลยอยากจะถามว่าพอจะมีใครในห้องศาสนานี้เคยไป  อบรมจิตปฏิบัติที่นั่นมาบ้างมั๊ยครับ และ มีใครเคยเข้าอยู่ปฏิบัติปิดวาจาที่นั่นได้ ถึง 60 วันบ้าง   ผลที่ได้เป็นอย่างไรครับ  แล้วมีความก้าวหน้าทางจิตอย่างไรบ้าง  ใครมีข้อมูลดีๆก็มาแชร์มาแลกเปลี่ยนกันได้นะครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
เสวนาธรรมตามแนวท่านอาจารย์โกเอ็นก้า
23 กุมภาพันธ์

ประสบการณ์ 60 วัน แบ่งปันเรื่องราว (ตอนที่ 1)
===================================
เริ่มคอร์ส มารก็เริ่มทำงาน
2 วัน ก่อนเข้าปฏิบัติ ก็สบอุบัติเหตุ ถูกประตูรั้วบ้านเพื่อนที่น้ำหนักมากหลายกระแทกอัดร่างอย่างแรง
(เคย Xeray หมอบอกว่ากระดูกสะโพกบาง กำชับห้ามล้ม ห้ามกระแทก โดยเด็ดขาด มันอันตราย แต่ครั้งนี้โดนเต็มๆ)
---ดีนะ อาการไม่ปรากฏเร็วทันที งั้นอาจม่ะด้ายไปแล้ว แต่เมื่อคอร์สเริ่ม สัปดาห์แรก อาการปรากฏชัด ระบมไปทั้งซีกขวา ตั้งแต่ เอว สะโพก จรดปลายเท้า ทุกขเวทนาแสนสาหัส ด้านซ้ายอาการเล็กน้อย นั่ง ลุก นอน เดิน ทุกขเวทนาล้วนๆ ไม่ต้องสังเกตก็ปรากฏชัด ปวดร้าวไปทั้งร่าง โดยเฉพาะตอนนอน กลางคืนตื่นแทบทุกครึ่ง ชม. พลิกตัวก็ปวด ขยับก็ปวด ขยับซ้าย-ขวา ปวดหมด ตอนนอนพลิกตัวยากมากต้องหาจังหวะ เวลาจะลุกต้องหาว่าท่าไหนจะเจ็บน้อยสุด ....ทุกข์ทางงงน้านนน
+++++ มาร ....เราเห็นเจ้าแล้ว. +++++
บอกตัวเอง....สู้สุดๆ ตายเป็นตาย ไงก็มาแล้ว
****** เชื่อมั่นในธรรมโอสถ เดินหน้าปฏิบัติต่อไป
ใครจะรู้บ้างหน้ออ. เราทรมานเพียงใด จากเคยเดินเร็ว ก็ต้องค่อยๆย่อง. ดีเหมือนกันนะ. มีสติอยู่ทุกขณะ. ทุกย่างก้าว. ทุกก้าวที่เดิน เคลื่อนไหว รู้เวทนาดีแท้ รู้เวทนาชัดเจน เพราะต้องหาจังหวะเดินหรือเคลื่อนไหวในจังหวะที่เจ็บปวดน้อยที่สุด
:::::ทุกย่างก้าวรู้เวทนา. ทุกขเวทนาล้วนๆ :::::
:::::ทุกข์มันดีเช่นนี้เองหนอ ตั้งสติอยู่กับกายกับใจเท่านั้น. ล้วนๆ ไม่มีเรื่องอื่นเข้ามาแทรกให้คิดเลย
อนิจจังปรากฎชัด ปวดรุนแรง. บางทีก็ปวดลดลงบ้าง(มารคงปรานี) ตอนนั้นได้แต่บอกตนเอง ต้องอดทน ต้องอดทน ขันติมี บารมีเกิด มารไม่มี บารมีไม่เกิด(555 ปลอบใจตน)
#### ขันติไป 10 กว่าวัน อาการก็เริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ
ธรรมโอสถ....อุเบกขา อุเบกขา อุเบกขา
@@@โอ้หนอ ความทุกข์มันเป็นเช่นนี้เอง@@@
แล้วมันก็ผ่านไป. สาธุ สาธุ สาธุ



23 กุมภาพันธ์

ประสบการณ์ 60 วัน แบ่งปันเรื่องราว(ตอนที่ 2)
===================================
ช่วงปฏิบัติอานาปานสติ 20 วัน
การปฏิบัติอานาปานสติ มีจุดมุ่งหมายเพื่อผูกจิตไว้กับกาย จนเป็นสมาธิ (คอร์สยาวนี้มุ่งให้ถึงจิตตเอกัคคตา คือ อุปจารสมาธิ...เลยจากขณิกสมาธิที่เราทำในคอร์สสั้นๆ)
เริ่มด้วยการรับรู้ลมหายใจเข้าออกตลอดเวลา และให้จิตเฝ้าอยู่ที่จุดเล็กๆ ใต้ช่องจมูกเหนือริมฝีปากบน จุดเล็กเท่าปลายนิ้วสัมผัส เมื่อพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ก็จะเล็กลงเท่าปลายเข็ม
ให้พยายามรู้อย่างต่อเนื่อง ยิ่งรู้ต่อเนื่องนาน จิตจะยิ่งแนบแน่นเป็นสมาธิ
การเฝ้าดูลมหายใจ ทำเหมือนเป็นยามเฝ้าประตู แค่รู้การเข้า-ออก โดยไม่ต้องตามลมหายใจเข้าไปในช่องจมูก และไม่ต้องตามตอนออกจนถึงข้างนอกว่าจะไปสุดที่ไหน
เมื่อจิตเป็นสมาธิมากๆ ลมจะแผ่วเบาลง จนเหมือนไม่มีลมหายใจ(เบ๊า เบา) ถ้ารับรู้ลมไม่ได้ก็ให้หายใจแรงขึ้นเล็กน้อย หรือดันลมออกเบาๆ จนรู้ลมหายใจ แล้วพร้อมกับมีสติรู้เวทนาใต้ช่องจมูกด้วย
เฝ้าสังเกตความรู้สึกที่เกิดใต้ช่องจมูกนี้ รับรู้ตามที่มันเป็น ด้วยใจที่เป็นกลาง ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็แค่รู้
10 วันผ่านไป จิตจะสงบมากก มากจริงๆ
เมื่อมีความคิดใดแทรกเข้ามา สติจะรู้ได้เร็ว ทันทีที่รู้ ความคิดก็ดับ หยุดคิดได้เร็วมาก ไม่ต้องห้าม
ผ่าน 10 วันไปแล้ว สังเกตลมหายใจแล้วรับรู้บริเวณใต้ช่องจมูกด้วยใจเป็นกลาง สบายๆ ไม่เครียด ไม่ต้องตั้งใจมาก มันไปของมันเอง
ท่านอาจารย์บอกว่าให้สังเกตว่าไม่เครียดได้จากการสังเกตบริเวณใบหน้า ไม่ตึง ผ่อนคลาย ไม่คิ้วขมวดแบบตั้งใจมาก....มันสบายๆจริงๆ ไม่เคร่งตึง
แล้วก็ยึดระยะเวลารับรู้ลมหายใจให้ยาวขึ้น รู้เวทนาให้ต่อเนื่อง นานขึ้น จาก 1 นาที เป็น 2-3-4+++ จนเป็นครึ่ง ชม. หนึ่ง ชม.( อันนี้ก็ทำได้บ้างไม่ได้บ้าง สั้นบ้าง ยาวบ้าง 555)
...
ยาวไปและ แล้วค่อยมาต่อน๊าาา. พักก่อน



23 กุมภาพันธ์

ประสบการณ์ 60 วัน แบ่งปันเรื่องราว (ตอน 3)
===================================
ปฏิบัติอานาปานสติต่อเนื่องตลอดโดยอยู่กับลมหายใจ ท่านอาจารย์บอกต้องทำตลอดทั้งกลางวันกลางคืน ตลอดเวลา ยกเว้นตอนหลับสนิทเท่านั้น
ทำต่อเนื่องอยู่ 16 วัน พอเริ่มวัน 17 จะมีคำสอนใหม่แต่เช้า มีคำสอนใหม่ 3 วัน คือ day 17,18,20 ก่อนเข้าวันวิปัสสนา day 21
ปฏิบัติอานาฯตั้งแต่ day 17 โดยรู้ลมหายใจ และตามลมหายใจเข้าไปภายในร่างกาย จนถึงหทัยวัตถุ ที่สุดตรงปอดหรือเรียกว่าลิ้นปี่ แล้วรับรู้ความรู้สึกตลอดทั่วร่างกาย จากศีรษะจรดปลายเท้า ขึ้น-ลง หายใจออกรับรู้กระแสลมหายใจจนสุด
---สัพพกาย ปฎิสังเวที-รู้เวทนาตลอดทั่วร่างกาย----
หากมีนิมิตใดเกิดก็ให้รับรู้ด้วยใจที่เป็นกลาง รู้ตามที่มันเป็น ไม่ต้องตื่นเต้น อะไรก็เกิดได้
รู้ความรู้สึกตลอดทั่วร่างกาย รู้ลมหายใจเข้าออก
ด้วยความผ่อนคลาย กายสงบระงับ
--------ปัสสัมภยัง กายสังขารัง--------
มาดูจากหนังสือมหาสติปัฏฐานสูตรแปลของท่านอาจารย์โกเอ็นก้า พบว่าท่านสอนให้ทำตามอานาปานบรรพ(ตอนว่าด้วยลมหายใจ) ในกายานุปัสสนา (การเฝ้าดูกาย)นั่นเอง
ครบ 20 วัน. จิตและกาย ก็สงบมากเลย จริงๆนะ
(ความเจ็บป่วยตอนต้นคอร์สหายเกลี้ยงสนิท ไม่น่าเชื่อ ธรรมอันมหัศจรรย์ของพระพุทธเจ้า)
เป้าหมายของท่านอาจารย์ถึงช่วงนี้จิตต้องสงบระงับเป็นจิตตเอกัคคตา เข้าอุปจาระสมาธิ (ปฐมฌาน)
เมื่อกายสงบแล้วจิตก็สงบด้วย เกิดปีติ เกิดสุข
####$###$####$####$###$###$###$##
อารมณ์ตอนฟังคำสอนพิเศษ 3 วัน ได้ความรู้สึกเหมือนเป็นพระสมัยพุทธกาล ที่กำลังนั่งปฏิบัติอยู่ต่อหน้าพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า พร้อมฟังคำสอนแล้วก็ปฏิบัติตามไปด้วย
*********************************************
จิตมันสุข สงบ.........รู้สึก ฟินเว่อร์



25 กุมภาพันธ์

ประสบการณ์ 60 วัน แบ่งปันเรื่องราว (ตอน 4)
********************************************
วิปัสสนาเริ่มวัน 21 ...สำหรับการทำวิปัสสนาในคอร์สยาวขนาดนี้
ท่านอาจารย์บอกว่าผู้ปฏิบัติเป็นศิษย์เก่ามาหลายคอร์สแล้วต้องรู้วิธีวิปัสสนาแล้ว ว่าทำได้หลายรูปแบบ. จึงให้จิตของผู้ปฏิบัติเองเป็นอิสระที่จะเลือกว่าช่วงไหนควรทำแบบใด แต่เพียงให้รู้เวทนาที่ร่างกายตลอดเวลา โดยจะพิจารณาอย่างไรก็ได้ คือ จากศีรษะไปยังปลายเท้า ขึ้น-ลง. หรือทำที่ละส่วน. หรือจะปฏิบัติที่หทัยวัตถุก็ได้ ถ้าเกิดสภาวะภังคะแล้ว การปฏิบัติต้องทำด้วยความผ่อนคลาย ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติของจิต. จิตจะรู้เองว่าช่วงไหนจะปฏิบัติแบบไหน ไม่ต้องปฏิบัติแบบเป็นลำดับ ไม่จำกัดรูปแบบ
แต่สิ่งที่ต้องระวังก็คือ ให้มีสติรู้เวทนาที่กายและรู้ให้ต่อเนื่อง. ต่อเนื่องให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้ นั่นคือ มีสัมปชัญญะ นั่นเอง. แล้วพิจารณาการเกิด-ดับของเวทนาทุกชนิดที่เกิดขึ้นในแต่ละขณะ ทุกขณะจิตเลยเชียว เป็นการพัฒนาอนิจจสัญญา. เพื่อให้เกิดอนิจจวิชชาญาณในที่สุด
หากอนิจจวิชชาญาณมีความเข้มแข็งจะทำให้จิตเป็นอุเบกขาได้โดยอัตโนมัติเลย จิตจะมีกำลังต่อสู้กับภวสังขาร คือ กิเลสเก่าๆที่สั่งสมไว้ยาวนานที่อยู่ในส่วนลึกของจิต
ต้องรู้เวทนาบนร่างกายทุกชนิดด้วยใจที่เป็นกลาง รู้ตามที่มันเป็น (ยถา ภูตญาณทัสนัง) และเข้าใจความเป็นอนิจจังของมัน จิตก็จะอุเบกขาได้ เพื่อจะได้ไม่สร้างสังขารใหม่และสังขารเก่าก็จะถูกขจัดไปด้วยโดยธรรมชาติ
........................................
มันเป็นเช่นนี้แล. หลักการก็เป็นแค่นี้แหล่ะ
วิปัสสนาคอร์สยาว. ให้ความสำคัญกับการพัฒนาสัมปชัญญะมากกกก




25 กุมภาพันธ์

ประสบการณ์ 60 วัน แบ่งปันเรื่องราว (ตอน 5)
********************************************
ทำไมต้องเข้าคอร์สยาว?
ท่านอาจารย์โกเอ็นก้า อธิบายว่า การเข้าปฏิบัติติดต่อกัน ต่อเนื่องยาวๆ นานๆ มุ่งให้ผู้ปฏิบัติได้ประสบกับเวทนาหลายๆชนิด ทั้งหยาบและละเอียด
หากอุเบกขากับเวทนาทุกชนิดได้ ก็จะทำให้สังขารหลากหลายชนิดที่เกิดจากกิเลสประเภทต่างๆ ได้ถูกขจัดออกไปทีละเล็กทีละน้อย
อาจารย์บอกให้ใช้เวทนาเป็นเครื่องมือในการกำจัดสังขาร(กิเลส) ทั้งที่อยู่พิ้นผิวของจิตและทั้งที่อยู่ลึกๆ ที่เราสะสมกันไว้ตั้งหลายๆชาติแล้ว
# ใช้สุขเวทนาเป็นเครื่องมือขจัดราคานุสัย ความชอบ ความพอใจ ความอยาก
# ใช้ทุกขเวทนาเป็นเครื่องมือขจัดปฏิฆานุสัย ความขุ่นเคือง ความโกรธ ความแค้น
# ใช้อทุกขมสุข ซึ่งเป็นเวทนาละเอียดสุดๆ ขจัดอวิชชา ความหลงผิดต่างๆ เป็นแม่ทัพใหญ่ของกิเลสเลยแหล่ะ
และเตือนให้ระวังอย่างมากก็คือ เวทนาละเอียดที่เป็นสุขเวทนา ที่จะมีได้หลังสภาวะภังคะ จะทำให้ติดใจแล้วจะหลงไปว่าเป็นสภาวะนิพพาน
ดังนั้น สุขเวทนา ก็ต้องอุเบกขาและรู้ว่ามันก็เป็นอนิจจังด้วยเหมือนกัน. ท่านย้ำแล้วย้ำอีก กลัวว่าผู้ปฏิบัติจะหลงไปกับสภาวะสุขสุดๆ (แต่มันก็สุขจริงๆแหล่ะ อยากแต่จะนั่งเสพสุขต่อ ลืมอุเบกขา นี่แหล่ะตัวสร้างโลภะเลย พอมันเปลี่ยนไปก็จะทุกข์ เกิดตัณหาอยากได้อีก) ....มันคือสถานีอันตรายเลย จำกันไว้ นะจ๊ะๆ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่