วันที่ 31 มกราคม 2562 - 15:43 น.
หนี้สาธารณะสิ้นปี’61 เฉียด 7 ล้านล. – นายธีรัชย์ อัตนวานิช ที่ปรึกษาด้านตลาดตราสารหนี้ เปิดเผยว่า สถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2561 มีจำนวน 6,833,645.93 ล้านบาท หรือคิดเป็น 41.80% ของจีดีพี แบ่งออกเป็น หนี้ในประเทศ 6,578,857.80 ล้านบาท หรือ 96.27% และหนี้ต่างประเทศ 254,788.13 ล้านบาท (ประมาณ 7,778.38 ล้านเหรียญสหรัฐ) หรือ 3.73% ของหนี้สาธารณะคงค้างทั้งหมด และหนี้สาธารณะคงค้างแบ่งตามอายุคงเหลือ สามารถแบ่งออกเป็นหนี้ระยะยาว 5,970,360.85 ล้านบาท หรือ 87.37% และหนี้ระยะสั้น 863,285.08 ล้านบาท หรือ 12.63% ของหนี้สาธารณะคงค้างทั้งหมด
และแบ่งเป็นหนี้รัฐบาล 5,551,356.52 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจ 937,778.13 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 336,643.42 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานของรัฐ 7,867.86 ล้านบาท
โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1. หนี้รัฐบาล จำนวน 5,551,356.52 ล้านบาท มีรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ดังนี้ 1) เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณและการบริหารหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นสุทธิ 22,600 ล้านบาท ทั้งนี้ เป็นไปตามแผนการกู้เงินที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2562 ที่ตั้งขาดดุลไว้ถึง 4.5 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นการกู้เงินเพื่อพัฒนาประเทศ สร้างความเข้มแข็งและความยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจ รวมถึงการออกพันธบัตรออมทรัพย์เพื่อเป็นการส่งเสริมการออมที่มั่นคงของประชาชนเป็นสำคัญ
2) การกู้เพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่ถึงกำหนดการเบิกจ่ายตามแผนงานและความก้าวหน้าของโครงการจากแหล่งเงินกู้ในประเทศ เพิ่มขึ้นสุทธิ 4,119.13 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นการกู้เงินเพื่อให้กู้ต่อแก่ (1) การรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งเบิกจ่ายเงินกู้จำนวน 1,797.64 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ – ขอนแก่น จำนวน 1,227.92 ล้านบาท โครงการก่อสร้างทางคู่ ช่วงมาบกะเบา – ชุมทางถนนจิระ จำนวน 198.58 ล้านบาท โครงการก่อสร้างทางคู่ ช่วงนครปฐม – ชุมพร จำนวน 174.48 ล้านบาท โครงการก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก ช่วงฉะเชิงเทรา – คลองสิบเก้า – แก่งคอย จำนวน 121.17 ล้านบาท โครงการก่อสร้างทางคู่ ช่วงลพบุรี – ปากน้ำโพ จำนวน 38.27 ล้านบาท และโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ – รังสิต จำนวน 37.22 ล้านบาท
และ (2) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยซึ่งเบิกจ่ายเงินกู้จำนวน 2,321.49 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี จำนวน 1,335.82 ล้านบาท สายสีเขียวช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต จำนวน 671.87 ล้านบาท และสายสีน้ำเงิน จำนวน 313.80 ล้านบาท
ทั้งนี้ เมื่อโครงการต่างๆ แล้วเสร็จ คาดการณ์ว่าจะสร้างผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญ กล่าวคือ โครงการลงทุนของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และการรถไฟแห่งประเทศไทย เมื่อแล้วเสร็จจะมีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจประมาณ 15.13% และ 15.72% ของมูลค่าการลงทุนของโครงการ ตามลำดับ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการขนส่งทางรถไฟ ลดระยะเวลาการเดินทาง กระจายความเจริญสู่ภูมิภาค และลดมลพิษทางสิ่งแวดล้อม
3) หนี้ที่รัฐบาลกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินลดลงจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 1,000 ล้านบาท และ 4) หนี้ต่างประเทศลดลงสุทธิ 309.89 ล้านบาท โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดจากการชำระคืนหนี้สกุลเงินเหรียญสหรัฐและสกุลเงินเยนเป็นสำคัญ
2. หนี้รัฐวิสาหกิจ จำนวน 937,778.13 ล้านบาท โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดจาก 1. หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน เพิ่มขึ้นสุทธิ 204.36 ล้านบาท โดยรายการที่สำคัญเกิดจากการเบิกจ่ายเงินกู้ของการรถไฟแห่งประเทศไทย 2. หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน เพิ่มขึ้นสุทธิ 1,491.19 ล้านบาท โดยรายการที่สำคัญเกิดจากหนี้ที่เพิ่มขึ้นของบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน)
3. หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) จำนวน 336,643.42 ล้านบาท ลดลงสุทธิ 1,614.93 ล้านบาท โดยรายการที่สำคัญเกิดจากหนี้ที่ลดลงของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
4. หนี้หน่วยงานของรัฐ จำนวน 7,867.86 ล้านบาท ลดลงสุทธิ 597.56 ล้านบาท โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดจากการชำระคืนหนี้เงินกู้ของสำนักงานกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย จำนวน 500 ล้านบาท
https://www.khaosod.co.th/economics/news_2159200
คลังกางตัวเลขหนี้สาธารณะสิ้นปี’61 เฉียด 7 ล้านล้าน เป็นหนี้รัฐบาล 5.5 ล้านล้าน
หนี้สาธารณะสิ้นปี’61 เฉียด 7 ล้านล. – นายธีรัชย์ อัตนวานิช ที่ปรึกษาด้านตลาดตราสารหนี้ เปิดเผยว่า สถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2561 มีจำนวน 6,833,645.93 ล้านบาท หรือคิดเป็น 41.80% ของจีดีพี แบ่งออกเป็น หนี้ในประเทศ 6,578,857.80 ล้านบาท หรือ 96.27% และหนี้ต่างประเทศ 254,788.13 ล้านบาท (ประมาณ 7,778.38 ล้านเหรียญสหรัฐ) หรือ 3.73% ของหนี้สาธารณะคงค้างทั้งหมด และหนี้สาธารณะคงค้างแบ่งตามอายุคงเหลือ สามารถแบ่งออกเป็นหนี้ระยะยาว 5,970,360.85 ล้านบาท หรือ 87.37% และหนี้ระยะสั้น 863,285.08 ล้านบาท หรือ 12.63% ของหนี้สาธารณะคงค้างทั้งหมด
และแบ่งเป็นหนี้รัฐบาล 5,551,356.52 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจ 937,778.13 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 336,643.42 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานของรัฐ 7,867.86 ล้านบาท
โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1. หนี้รัฐบาล จำนวน 5,551,356.52 ล้านบาท มีรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ดังนี้ 1) เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณและการบริหารหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นสุทธิ 22,600 ล้านบาท ทั้งนี้ เป็นไปตามแผนการกู้เงินที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2562 ที่ตั้งขาดดุลไว้ถึง 4.5 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นการกู้เงินเพื่อพัฒนาประเทศ สร้างความเข้มแข็งและความยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจ รวมถึงการออกพันธบัตรออมทรัพย์เพื่อเป็นการส่งเสริมการออมที่มั่นคงของประชาชนเป็นสำคัญ
2) การกู้เพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่ถึงกำหนดการเบิกจ่ายตามแผนงานและความก้าวหน้าของโครงการจากแหล่งเงินกู้ในประเทศ เพิ่มขึ้นสุทธิ 4,119.13 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นการกู้เงินเพื่อให้กู้ต่อแก่ (1) การรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งเบิกจ่ายเงินกู้จำนวน 1,797.64 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ – ขอนแก่น จำนวน 1,227.92 ล้านบาท โครงการก่อสร้างทางคู่ ช่วงมาบกะเบา – ชุมทางถนนจิระ จำนวน 198.58 ล้านบาท โครงการก่อสร้างทางคู่ ช่วงนครปฐม – ชุมพร จำนวน 174.48 ล้านบาท โครงการก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก ช่วงฉะเชิงเทรา – คลองสิบเก้า – แก่งคอย จำนวน 121.17 ล้านบาท โครงการก่อสร้างทางคู่ ช่วงลพบุรี – ปากน้ำโพ จำนวน 38.27 ล้านบาท และโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ – รังสิต จำนวน 37.22 ล้านบาท
และ (2) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยซึ่งเบิกจ่ายเงินกู้จำนวน 2,321.49 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี จำนวน 1,335.82 ล้านบาท สายสีเขียวช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต จำนวน 671.87 ล้านบาท และสายสีน้ำเงิน จำนวน 313.80 ล้านบาท
ทั้งนี้ เมื่อโครงการต่างๆ แล้วเสร็จ คาดการณ์ว่าจะสร้างผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญ กล่าวคือ โครงการลงทุนของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และการรถไฟแห่งประเทศไทย เมื่อแล้วเสร็จจะมีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจประมาณ 15.13% และ 15.72% ของมูลค่าการลงทุนของโครงการ ตามลำดับ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการขนส่งทางรถไฟ ลดระยะเวลาการเดินทาง กระจายความเจริญสู่ภูมิภาค และลดมลพิษทางสิ่งแวดล้อม
3) หนี้ที่รัฐบาลกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินลดลงจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 1,000 ล้านบาท และ 4) หนี้ต่างประเทศลดลงสุทธิ 309.89 ล้านบาท โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดจากการชำระคืนหนี้สกุลเงินเหรียญสหรัฐและสกุลเงินเยนเป็นสำคัญ
2. หนี้รัฐวิสาหกิจ จำนวน 937,778.13 ล้านบาท โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดจาก 1. หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน เพิ่มขึ้นสุทธิ 204.36 ล้านบาท โดยรายการที่สำคัญเกิดจากการเบิกจ่ายเงินกู้ของการรถไฟแห่งประเทศไทย 2. หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน เพิ่มขึ้นสุทธิ 1,491.19 ล้านบาท โดยรายการที่สำคัญเกิดจากหนี้ที่เพิ่มขึ้นของบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน)
3. หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) จำนวน 336,643.42 ล้านบาท ลดลงสุทธิ 1,614.93 ล้านบาท โดยรายการที่สำคัญเกิดจากหนี้ที่ลดลงของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
4. หนี้หน่วยงานของรัฐ จำนวน 7,867.86 ล้านบาท ลดลงสุทธิ 597.56 ล้านบาท โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดจากการชำระคืนหนี้เงินกู้ของสำนักงานกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย จำนวน 500 ล้านบาท
https://www.khaosod.co.th/economics/news_2159200