นี่ขนาดบอกไม่กู้น่ะนี่
ถ้าเก็บภาษีไม่ได้ก็กู้เต็มแม๊ก สินปีน่าจะได้อยู่5.5แสนล้าน
ไม่สมราคาคุย
สำนักงานบริหารหนี้ฯเผยงวด 6 เดือนแรกปีงบประมาณ2560 กู้เงินอุดงบขาดดุลแล้วกว่า 2.9 แสนล้านบาท มั่นใจกู้เต็มเพดานใหม่ 5.5 แสนล้านบาท ไม่กระทบภาระหนี้สาธารณะและยังรักษากรอบวินัยทางการคลัง
นางสุนี เอกสมทราเมษฐ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.)เปิดเผย“ฐานเศรษฐกิจ”ว่าในครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2560 (1ต.ค.59-31มี.ค.60) สบน.ได้กู้เงินตามกรอบงบประมาณขาดดุลไปแล้วประมาณ 2.9 แสนล้านบาท จากกรอบงบประมาณขาดดุลรวม 5.5 แสนล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้นจากกรอบเดิมที่วางไว้ 3.9 แสนล้านบาท เนื่องจากมีการเพิ่มงบกลางปี 1.6 แสนล้านบาท เพื่อใช้พัฒนากลุ่มจังหวัด
“ตอนนี้วงเงินกู้รอบแรกยังไม่หมด สบน.ก็ทำการกู้ตามกรอบแรกภายใต้ 3.9 แสนล้านบาทไปก่อน หากกู้จบครบแล้วก็จะขยับเพิ่มโดยต้องดูจากความต้องการใช้เงินจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาประกอบว่าต้องการเงินในช่วงไหนอย่างไร”
ทั้งนี้ในช่วงครึ่งปีหลังของปีงบประมาณ 2560 หรือตั้งแต่เดือนเมษายน-กันยายน 2560 สบน. จะเดินหน้าในการกู้เงินตามแผนที่กำหนดำไว้ แต่ต้องขึ้นอยู่กับรายละเอียดจากสำนักงบประมาณว่ารายละเอียดของโครงการนั้นมีความพร้อมอย่างไร ถ้าโครงการพร้อมสบน.ก็สามารถกู้ได้ทันที
“ขึ้นอยู่กับทางสำนักงบประมาณว่าต้องการกู้เงินให้ถึง 5.5 แสนล้านบาทหรือไม่ หรือหากท้ายสุดแล้วได้ภาษีไม่พอจริงๆ เราก็จำเป็นที่จะต้องกู้ตามกรอบวงเงินที่วางไว้”
ทั้งนี้แหล่งที่มาของเงินกู้ชดเชยขาดดุลงบประมาณนั้นเกือบทั้งหมดเลือกใช้การกู้เงินเป็นเงินบาทเพื่อลดความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน
อย่างไรก็ตามยืนยันว่าถึงแม้ปีนี้ถึงแม้สบน. จะกู้ตามแผน คือ 5.5 แสนล้านบาทก็ตาม แต่ตัวเลขหนี้สาธารณะจะไม่สูงถึง 45% อย่างแน่นอน โดยสบน.ประมาณการตัวเลขของหนี้สาธารณะปีงบประมาณ 2560 ไว้ที่ 44.5% ซึ่งรวมวงเงินการกู้ 5.5 แสนล้านบาทตัวนี้เอาไว้แล้ว
ตามกรอบวินัยการคลัง กำหนดให้หนี้สาธารณะคงค้างต่อจีดีพี ต้องไม่สูงเกิน 60% แต่จากการทำแผนงบประมาณจะเห็นว่า แม้ปีนี้จะกู้ถึง 5.5 แสนล้านบาท ก็ยังมีรูมเหลือให้กู้เพิ่มเติมได้และยังห่างจากความเสี่ยงที่จะขาดวินัยการคลัง เพราะเหตุผลของการกู้ทั้งหมดก็นำมาใช้ในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ที่ในอนาคตจะเป็นผลตอบแทนกลับเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ไม่ใช่เป็นการกู้เพื่อใช้จ่ายตามนโยบายประชานิยมแต่อย่างใด
สำหรับหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2560 รวมทั้งสิ้น 6.09 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นหนี้รัฐบาล 4.64 ล้านล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจ 9.73 แสนล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน 4.60 แสนล้านบาท และหนี้หน่วยงานของรัฐ 1.94 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้หนี้สาธารณะคงค้างต่อ จีดีพณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2560 คิดเป็น 41.96% ของจีดีพีหรือลดลงเล็กน้อยจากเดือนมกราคม2560 ที่ระดับ 41.97%
ในส่วนของการกู้เงินเพื่อการลงทุนจากแหล่งเงินกู้ในประเทศ มีจำนวน 1,503.66 ล้านบาท แบ่งเป็นการกู้โดยให้กู้ต่อแก่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ที่เบิกเงินกู้จำนวน 909.18 ล้านบาท สำหรับจัดทำโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว 556.65 ล้านบาทและสายสีน้ำเงิน 352.53 ล้านบาท และเงินกู้แก่การรถไฟแห่งประเทศไทย ที่เบิกจ่ายเงินกู้แล้วจำนวน 594.48 ล้านบาท สำหรับจัดทำโครงการก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟ สายชายฝั่งทะเลตะวันออก ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า- แก่งคอย จำนวน306.39 ล้านบาท โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น157.33 ล้านบาท โครงการปรับปรุงทางที่ไม่ปลอดภัยต่อการเดินรถ จำนวน 78.38 ล้านบาท และ โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ -รังสิต จำนวน 52.38 ล้านบาท
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,254 วันที่ 20 - 22 เมษายน พ.ศ. 2560
http://www.thansettakij.com/content/142082
สำนักงานบริหารหนี้ฯเผยงวด 6 เดือนแรกปีงบประมาณ2560 กู้เงินอุดงบขาดดุลแล้วกว่า 2.9 แสนล้านบาท จาก5.5แสนล้าน
ถ้าเก็บภาษีไม่ได้ก็กู้เต็มแม๊ก สินปีน่าจะได้อยู่5.5แสนล้าน
ไม่สมราคาคุย
สำนักงานบริหารหนี้ฯเผยงวด 6 เดือนแรกปีงบประมาณ2560 กู้เงินอุดงบขาดดุลแล้วกว่า 2.9 แสนล้านบาท มั่นใจกู้เต็มเพดานใหม่ 5.5 แสนล้านบาท ไม่กระทบภาระหนี้สาธารณะและยังรักษากรอบวินัยทางการคลัง
นางสุนี เอกสมทราเมษฐ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.)เปิดเผย“ฐานเศรษฐกิจ”ว่าในครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2560 (1ต.ค.59-31มี.ค.60) สบน.ได้กู้เงินตามกรอบงบประมาณขาดดุลไปแล้วประมาณ 2.9 แสนล้านบาท จากกรอบงบประมาณขาดดุลรวม 5.5 แสนล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้นจากกรอบเดิมที่วางไว้ 3.9 แสนล้านบาท เนื่องจากมีการเพิ่มงบกลางปี 1.6 แสนล้านบาท เพื่อใช้พัฒนากลุ่มจังหวัด
“ตอนนี้วงเงินกู้รอบแรกยังไม่หมด สบน.ก็ทำการกู้ตามกรอบแรกภายใต้ 3.9 แสนล้านบาทไปก่อน หากกู้จบครบแล้วก็จะขยับเพิ่มโดยต้องดูจากความต้องการใช้เงินจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาประกอบว่าต้องการเงินในช่วงไหนอย่างไร”
ทั้งนี้ในช่วงครึ่งปีหลังของปีงบประมาณ 2560 หรือตั้งแต่เดือนเมษายน-กันยายน 2560 สบน. จะเดินหน้าในการกู้เงินตามแผนที่กำหนดำไว้ แต่ต้องขึ้นอยู่กับรายละเอียดจากสำนักงบประมาณว่ารายละเอียดของโครงการนั้นมีความพร้อมอย่างไร ถ้าโครงการพร้อมสบน.ก็สามารถกู้ได้ทันที
“ขึ้นอยู่กับทางสำนักงบประมาณว่าต้องการกู้เงินให้ถึง 5.5 แสนล้านบาทหรือไม่ หรือหากท้ายสุดแล้วได้ภาษีไม่พอจริงๆ เราก็จำเป็นที่จะต้องกู้ตามกรอบวงเงินที่วางไว้”
ทั้งนี้แหล่งที่มาของเงินกู้ชดเชยขาดดุลงบประมาณนั้นเกือบทั้งหมดเลือกใช้การกู้เงินเป็นเงินบาทเพื่อลดความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน
อย่างไรก็ตามยืนยันว่าถึงแม้ปีนี้ถึงแม้สบน. จะกู้ตามแผน คือ 5.5 แสนล้านบาทก็ตาม แต่ตัวเลขหนี้สาธารณะจะไม่สูงถึง 45% อย่างแน่นอน โดยสบน.ประมาณการตัวเลขของหนี้สาธารณะปีงบประมาณ 2560 ไว้ที่ 44.5% ซึ่งรวมวงเงินการกู้ 5.5 แสนล้านบาทตัวนี้เอาไว้แล้ว
ตามกรอบวินัยการคลัง กำหนดให้หนี้สาธารณะคงค้างต่อจีดีพี ต้องไม่สูงเกิน 60% แต่จากการทำแผนงบประมาณจะเห็นว่า แม้ปีนี้จะกู้ถึง 5.5 แสนล้านบาท ก็ยังมีรูมเหลือให้กู้เพิ่มเติมได้และยังห่างจากความเสี่ยงที่จะขาดวินัยการคลัง เพราะเหตุผลของการกู้ทั้งหมดก็นำมาใช้ในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ที่ในอนาคตจะเป็นผลตอบแทนกลับเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ไม่ใช่เป็นการกู้เพื่อใช้จ่ายตามนโยบายประชานิยมแต่อย่างใด
สำหรับหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2560 รวมทั้งสิ้น 6.09 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นหนี้รัฐบาล 4.64 ล้านล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจ 9.73 แสนล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน 4.60 แสนล้านบาท และหนี้หน่วยงานของรัฐ 1.94 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้หนี้สาธารณะคงค้างต่อ จีดีพณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2560 คิดเป็น 41.96% ของจีดีพีหรือลดลงเล็กน้อยจากเดือนมกราคม2560 ที่ระดับ 41.97%
ในส่วนของการกู้เงินเพื่อการลงทุนจากแหล่งเงินกู้ในประเทศ มีจำนวน 1,503.66 ล้านบาท แบ่งเป็นการกู้โดยให้กู้ต่อแก่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ที่เบิกเงินกู้จำนวน 909.18 ล้านบาท สำหรับจัดทำโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว 556.65 ล้านบาทและสายสีน้ำเงิน 352.53 ล้านบาท และเงินกู้แก่การรถไฟแห่งประเทศไทย ที่เบิกจ่ายเงินกู้แล้วจำนวน 594.48 ล้านบาท สำหรับจัดทำโครงการก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟ สายชายฝั่งทะเลตะวันออก ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า- แก่งคอย จำนวน306.39 ล้านบาท โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น157.33 ล้านบาท โครงการปรับปรุงทางที่ไม่ปลอดภัยต่อการเดินรถ จำนวน 78.38 ล้านบาท และ โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ -รังสิต จำนวน 52.38 ล้านบาท
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,254 วันที่ 20 - 22 เมษายน พ.ศ. 2560
http://www.thansettakij.com/content/142082