การปรับโครงสร้างภาษีมีความจำเป็น เพราะที่ผ่านมารายได้ของรัฐบาลโตไม่ทันรายจ่าย
ในช่วงที่ผ่านมารายได้ของรัฐบาล ขยายตัวไม่ทันกับรายจ่าย ทำให้รัฐบาลต้องจัดทำงบประมาณแบบขาดดุลมาอย่างยาวนาน เราจำเป็นต้องปฏิรูปโครงสร้างภาษี เพื่อให้เรามีรายได้ เพียงพอต่อรายจ่าย”
ทั้งนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการคลังได้ศึกษาพบว่า สัดส่วนรายได้รัฐบาลสุทธิต่อ จีดีพียังคงลดลงต่อเนื่องจาก14.64 %ในปีงบประมาณ 2564 และคาดว่าจะลดลงเหลือ 13.31%ในปีงบประมาณ 2569
ในปีงบประมาณ 2564 รัฐบาลกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 6.08 แสนล้านบาท คิดเป็น 18.8% ของงบประมาณรายจ่าย ต่ำกว่าเพดานสูงสุดที่สามารถกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 1.27 แสนล้านบาท
ปี 2565 รัฐบาลกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 7 แสนล้านบาท คิดเป็น 22.6 % ของงบประมาณรายจ่ายในปีนั้น โดย เป็นการกู้เต็มเพดานเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลเท่าที่กฎหมายจะให้ได้
การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณในแต่ละปี ตามพ.ร.บ.การบริหารหนี้สาธารณะ กำหนดให้รัฐบาลสามารถกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณในแต่ละปีต้องไม่เกิน 20% ของจำนวนเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีนั้นๆ กับอีก 80 % ของงบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้สำหรับชำระคืนเงินกู้ในปีงบประมาณนั้นๆ
*** รายการลดหย่อนไหน จะโดนก่อน???
หากหารายได้เพิ่มไม่ได้ คงต้องปรับเพดานการกู้
การปรับโครงสร้างภาษีมีความจำเป็น เพราะที่ผ่านมารายได้ของรัฐบาลโตไม่ทันรายจ่าย
ในช่วงที่ผ่านมารายได้ของรัฐบาล ขยายตัวไม่ทันกับรายจ่าย ทำให้รัฐบาลต้องจัดทำงบประมาณแบบขาดดุลมาอย่างยาวนาน เราจำเป็นต้องปฏิรูปโครงสร้างภาษี เพื่อให้เรามีรายได้ เพียงพอต่อรายจ่าย”
ทั้งนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการคลังได้ศึกษาพบว่า สัดส่วนรายได้รัฐบาลสุทธิต่อ จีดีพียังคงลดลงต่อเนื่องจาก14.64 %ในปีงบประมาณ 2564 และคาดว่าจะลดลงเหลือ 13.31%ในปีงบประมาณ 2569
ในปีงบประมาณ 2564 รัฐบาลกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 6.08 แสนล้านบาท คิดเป็น 18.8% ของงบประมาณรายจ่าย ต่ำกว่าเพดานสูงสุดที่สามารถกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 1.27 แสนล้านบาท
ปี 2565 รัฐบาลกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 7 แสนล้านบาท คิดเป็น 22.6 % ของงบประมาณรายจ่ายในปีนั้น โดย เป็นการกู้เต็มเพดานเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลเท่าที่กฎหมายจะให้ได้
การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณในแต่ละปี ตามพ.ร.บ.การบริหารหนี้สาธารณะ กำหนดให้รัฐบาลสามารถกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณในแต่ละปีต้องไม่เกิน 20% ของจำนวนเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีนั้นๆ กับอีก 80 % ของงบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้สำหรับชำระคืนเงินกู้ในปีงบประมาณนั้นๆ
*** รายการลดหย่อนไหน จะโดนก่อน???