ในปีที่ผ่านมา เพื่อนๆ หลายคนคงเคยตั้งใจทำแผนตั้งแต่ต้นปีว่าปีหน้าจะทำอะไรใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเก็บเงินให้ได้ตามที่ต้องการ การลดน้ำหนัก ไปออกกำลังกาย หาทริปไปเที่ยวพักผ่อนตามที่ใจฝันหรือการอ่านหนังสือ ในปีที่ผ่านๆ มา เป้าหมายของเพื่อนๆ หลายคนอาจจะทำสำเร็จบ้าง ไม่สำเร็จบ้าง หรือทำได้ถึงกลางทางแล้วล้มเลิกไป เป้าหมายเก่าๆ ที่ยังไม่สำเร็จ ลองมาเริ่มต้นกันใหม่ด้วยการตั้งเป้าหมายแบบ
S-M-A-R-T-C เพื่อให้เราทำเป้าหมายให้สำเร็จได้ง่ายขึ้น
เตรียมกระดาษ ปากกา แล้วมาเริ่มตั้งเป้าหมายไปด้วยกันเลยนะครับ!
เริ่มต้นกันด้วย S - SPECIFIC
เจาะจงเป้าหมายชัดเจน เป้าหมายของคุณคืออะไร พร้อมกับระบุเป็นจำนวน มีตัวเลข ยิ่งละเอียดยิ่งดีครับ ยกตัวอย่างเช่น
แบบที่ผิด เป้าหมายในปี 2562 ของฉันคือ อยากมีเงินเก็บ เพราะกว้างเกินไป
แบบที่ควรจะเป็น เป้าหมายในปี 2562 ของฉันคือ จะเก็บเงินให้ได้ 100,000 บาทในระยะเวลา 1 ปี โดยแบ่งเก็บออมเดือนละ 8,400 บาท
หรือ
แบบที่ผิด เป้าหมายในปี 2562 ของฉันคือ อยากผอม สุขภาพดี
แบบที่ควรจะเป็น เป้าหมายในปี 2562 ของฉันคือ สุขภาพดี รอบเอวลดจาก 36 นิ้ว เหลือเพียง 32 นิ้ว ในระยะเวลา 1 ปี โดยออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 45 นาที
M- MEASURABLE
เป้าหมายที่ตั้งสามารถวัดผลได้ เพื่อให้เราทราบว่า เราอยู่ตรงไหนของเป้าหมายที่เราวางไว้ และอีกไกลแค่ไหนถึงจะประสบความสำเร็จ เวลาที่เพื่อนๆ วัดเป้าหมายจะมองเห็นการเปลี่ยนแปลงของเป้าหมายในทางที่ดีขึ้นในทุกๆ วัน ช่วยเป็นกำลังใจให้สำเร็จ การตั้งเป้าเป็นตัวเลขจะช่วยให้วัดผลได้ง่ายขึ้น เช่น ตั้งเป้าเก็บเงิน 1 แสนในปี 62 ถ้าเราเก็บเงินมาได้แล้ว 50,000 บาท ในเดือนกันยายน (จริงๆ แล้วควรจะได้ 75,600 บาท) แสดงว่าเรายังช้าอยู่ ในเดือนที่เหลือเราต้องเร่งเก็บออมเพิ่มเพื่อให้บรรลุเป้า หรืออาจจะกลับมามองย้อนดูว่า รายจ่ายส่วนไหนทำให้เรายังช้ากว่าแผนที่เราวางไว้ตั้งแต่แรก
A- ACHIEVABLE
เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย มีขั้นตอนและวิธีการใดได้บ้าง ให้เรียงลำดับความสำคัญของวิธีการเพื่อทำให้เป้าหมายสำเร็จ เมื่อเพื่อนๆ ตั้งเป้าหมาย แน่นอนว่าอยากทำมันให้สำเร็จ จะไม่มีประโยชน์อะไรเลย ถ้าเพื่อนๆตั้งเป้าหมายแล้วล้มเลิกมันไประหว่างทาง ดังนั้น การตั้งเป้าหมายท้าทายถือเป็นสิ่งจำเป็น แต่ต้องไม่เกินกำลังของเราจนเกินไป และเรามีแผนหรือวิธีการที่จะทำให้สำเร็จลงได้ ยกตัวอย่าง ถ้าเป้าหมายของเราคือ อยากลดน้ำหนักให้ได้ 10 กิโลกรัม โดยตั้งใจจะลดสัปดาห์ละ 1 กิโลกรัม อาจจะหักโหมเกินไป ควรตั้งเป้าหมายให้พอดีๆ เช่น อยากลดน้ำหนักให้ได้ 10 กิโลกรัม โดยตั้งใจจะลดเดือนละ 1 กิโลกรัม ด้วยวิธีการคุมอาหารและตั้งใจจะไปฟิตเนสทุกอาทิตย์ อาทิตย์ละ 3 ครั้งครั้งละ 45 นาที ลักษณะของเป้าหมายควรตั้งอย่างสมเหตุสมผล ท้าทายและทำได้จริง
R- REALISTIC
มีโอกาสทำได้จริง ตามสภาพแวดล้อม และพื้นฐานของเราด้วย ไม่หักดิบเปลี่ยนพฤติกรรมทันทีทันใด เช่น เราตั้งเป้าหมายอยากมีเงินเก็บ 1 แสนในปีหน้า แต่เรายังเป็นหนี้บัตรเครดิตอยู่ เป้าหมายอยากมีเงินเก็บอาจจะยังไม่ใช่เป้าหมายแรก เราอาจจะต้องเลือกการปิดหนี้เป็นเป้าหมายหลักก่อนแล้วตามด้วยการเก็บเงิน หรือการตั้งเป้าหมายในการออกกำลังกายลดน้ำหนัก จากคนที่ไม่เคยออกกำลังกายเลย จะให้มาออกกำลังวันละ 45 นาที อาจยากที่จะเริ่มต้นและทำต่อ ควรเริ่มอย่างค่อยเป็นค่อยไป ค่อยๆ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ
T- TIME TARGETED
กำหนดกรอบเวลาที่ชัดเจนว่าเป้าหมายจะสำเร็จเมื่อไหร่ โดยอาจจะแบ่งซอยเป้าหมายใหญ่ออกเป็นเป้าหมายย่อยๆ การทำเช็คลิสต์ระหว่างที่ทำเป้าหมายที่ตั้งไว้จะช่วยให้เพื่อนๆ มีเป้าหมายที่ชัดเจน มีความภูมิใจเล็กๆ ที่ทำเป้าหมายสำเร็จอย่างค่อยเป็นค่อยไป เช่น ตั้งใจจะเก็บเงินให้ได้ 1 แสนบาทในปี 62 แสดงว่าต้องเก็บประมาณเดือนละ 8,400 บาท ซึ่งในแต่ละเดือนเรามาดูว่า แผนย่อยๆ ของเราสำเร็จหรือไม่ ช้าหรือเร็วกว่าแผนเช็คลิสต์ที่เราเขียนเอาไว้
และสุดท้ายคือ C- CONFIDENCE:
ความมั่นใจในการตั้งเป้าหมายว่า เราทำได้และประสบความสำเร็จทุกอย่างเกิดขึ้นจากความเชื่อว่าเราทำได้ เมื่อเรามั่นใจและเชื่อว่าเราทำได้จะเป็นแรงผลักดันให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยเราอาจเพิ่มคำพูดที่จะช่วยให้เรารู้สึกฮึกเหิม อยากเอาชนะเป้าหมายลงไปในการตั้งเป้าหมาย ยกตัวอย่างการตั้งเป้าหมาย เช่น เป้าหมายของปี 2562 ของฉันคือ จะต้องเก็บเงินให้ได้ 100,000 บาท โดยแบ่งเก็บออมเดือนละ 8,400 บาท ให้ได้ในทุกๆ เดือน
ผมขอลองยกตัวอย่าง การตั้งเป้าหมายของผมแบบ S-M-A-R-T-Cเป็นตัวอย่างให้เพื่อนๆ นะครับ
สำหรับ เป้าหมายของผมในปี 2562 คือ ฉันจะต้องออมเงินให้ได้ 120,000 บาท ในปี 62 โดยออมเดือนละ 10,000 บาททุกๆ วันที่ 28 ของเดือน และนำเงินออมไปลงทุนในกองทุนรวม โดยลงทุนในกองทุนหุ้นไทย 5,000 บาท และอีก 5,000 บาท ลงทุนในกองทุนตราสารหนี้
จากการยกตัวอย่างนะครับ
S – ผมจะต้องออมเงินในให้ได้ 120,000 บาท
M - โดยออมเดือนละ 10,000 บาท ทุกๆ วันที่ 28 ของเดือน ซึ่งติดตามผลได้ทุกเดือน
A – ทำสำเร็จได้ โดยนำเงินออมไปลงทุนในกองทุนรวม แบ่งเป็น 5,000 บาท ลงทุนในกองทุนหุ้นไทย และอีก 5,000 บาท ลงทุนในกองทุนตราสารหนี้
R – ตั้งเป้าหมายไม่สูงจนเกินไป และทำได้จริงเพราะออมเดือนละ 10,000 บาทโดยคิดเป็น 20% ของเงินเดือนจึงไม่กระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน
T – ออมทุกเดือนเป็นเวลา 12 เดือน ในจำนวนเงินที่เท่าๆกัน
C – จาก S M A R T ทั้งหมดที่ได้วางแผนไว้ ผมมั่นใจว่าผมสามารถทำได้
นี่เป็นตัวอย่างของผม เพื่อนๆ ลองนำไปใช้กันดูนะครับ วิธีการตั้งเป้าหมายของปี 62 แบบ S.M.A.R.T.C เพื่อนๆคนไหนตั้งเป้าหมายได้แล้ว ลองแชร์ที่ Comment ข้างล่างได้เลยครับ
###__เริ่มต้นปีใหม่ กับการตั้งเป้าหมายปี 2562 แบบ S.M.A.R.T.C__###
ในปีที่ผ่านมา เพื่อนๆ หลายคนคงเคยตั้งใจทำแผนตั้งแต่ต้นปีว่าปีหน้าจะทำอะไรใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเก็บเงินให้ได้ตามที่ต้องการ การลดน้ำหนัก ไปออกกำลังกาย หาทริปไปเที่ยวพักผ่อนตามที่ใจฝันหรือการอ่านหนังสือ ในปีที่ผ่านๆ มา เป้าหมายของเพื่อนๆ หลายคนอาจจะทำสำเร็จบ้าง ไม่สำเร็จบ้าง หรือทำได้ถึงกลางทางแล้วล้มเลิกไป เป้าหมายเก่าๆ ที่ยังไม่สำเร็จ ลองมาเริ่มต้นกันใหม่ด้วยการตั้งเป้าหมายแบบ S-M-A-R-T-C เพื่อให้เราทำเป้าหมายให้สำเร็จได้ง่ายขึ้น
เริ่มต้นกันด้วย S - SPECIFIC
เจาะจงเป้าหมายชัดเจน เป้าหมายของคุณคืออะไร พร้อมกับระบุเป็นจำนวน มีตัวเลข ยิ่งละเอียดยิ่งดีครับ ยกตัวอย่างเช่น
แบบที่ผิด เป้าหมายในปี 2562 ของฉันคือ อยากมีเงินเก็บ เพราะกว้างเกินไป
แบบที่ควรจะเป็น เป้าหมายในปี 2562 ของฉันคือ จะเก็บเงินให้ได้ 100,000 บาทในระยะเวลา 1 ปี โดยแบ่งเก็บออมเดือนละ 8,400 บาท
หรือ
แบบที่ผิด เป้าหมายในปี 2562 ของฉันคือ อยากผอม สุขภาพดี
แบบที่ควรจะเป็น เป้าหมายในปี 2562 ของฉันคือ สุขภาพดี รอบเอวลดจาก 36 นิ้ว เหลือเพียง 32 นิ้ว ในระยะเวลา 1 ปี โดยออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 45 นาที
M- MEASURABLE
เป้าหมายที่ตั้งสามารถวัดผลได้ เพื่อให้เราทราบว่า เราอยู่ตรงไหนของเป้าหมายที่เราวางไว้ และอีกไกลแค่ไหนถึงจะประสบความสำเร็จ เวลาที่เพื่อนๆ วัดเป้าหมายจะมองเห็นการเปลี่ยนแปลงของเป้าหมายในทางที่ดีขึ้นในทุกๆ วัน ช่วยเป็นกำลังใจให้สำเร็จ การตั้งเป้าเป็นตัวเลขจะช่วยให้วัดผลได้ง่ายขึ้น เช่น ตั้งเป้าเก็บเงิน 1 แสนในปี 62 ถ้าเราเก็บเงินมาได้แล้ว 50,000 บาท ในเดือนกันยายน (จริงๆ แล้วควรจะได้ 75,600 บาท) แสดงว่าเรายังช้าอยู่ ในเดือนที่เหลือเราต้องเร่งเก็บออมเพิ่มเพื่อให้บรรลุเป้า หรืออาจจะกลับมามองย้อนดูว่า รายจ่ายส่วนไหนทำให้เรายังช้ากว่าแผนที่เราวางไว้ตั้งแต่แรก
A- ACHIEVABLE
เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย มีขั้นตอนและวิธีการใดได้บ้าง ให้เรียงลำดับความสำคัญของวิธีการเพื่อทำให้เป้าหมายสำเร็จ เมื่อเพื่อนๆ ตั้งเป้าหมาย แน่นอนว่าอยากทำมันให้สำเร็จ จะไม่มีประโยชน์อะไรเลย ถ้าเพื่อนๆตั้งเป้าหมายแล้วล้มเลิกมันไประหว่างทาง ดังนั้น การตั้งเป้าหมายท้าทายถือเป็นสิ่งจำเป็น แต่ต้องไม่เกินกำลังของเราจนเกินไป และเรามีแผนหรือวิธีการที่จะทำให้สำเร็จลงได้ ยกตัวอย่าง ถ้าเป้าหมายของเราคือ อยากลดน้ำหนักให้ได้ 10 กิโลกรัม โดยตั้งใจจะลดสัปดาห์ละ 1 กิโลกรัม อาจจะหักโหมเกินไป ควรตั้งเป้าหมายให้พอดีๆ เช่น อยากลดน้ำหนักให้ได้ 10 กิโลกรัม โดยตั้งใจจะลดเดือนละ 1 กิโลกรัม ด้วยวิธีการคุมอาหารและตั้งใจจะไปฟิตเนสทุกอาทิตย์ อาทิตย์ละ 3 ครั้งครั้งละ 45 นาที ลักษณะของเป้าหมายควรตั้งอย่างสมเหตุสมผล ท้าทายและทำได้จริง
R- REALISTIC
มีโอกาสทำได้จริง ตามสภาพแวดล้อม และพื้นฐานของเราด้วย ไม่หักดิบเปลี่ยนพฤติกรรมทันทีทันใด เช่น เราตั้งเป้าหมายอยากมีเงินเก็บ 1 แสนในปีหน้า แต่เรายังเป็นหนี้บัตรเครดิตอยู่ เป้าหมายอยากมีเงินเก็บอาจจะยังไม่ใช่เป้าหมายแรก เราอาจจะต้องเลือกการปิดหนี้เป็นเป้าหมายหลักก่อนแล้วตามด้วยการเก็บเงิน หรือการตั้งเป้าหมายในการออกกำลังกายลดน้ำหนัก จากคนที่ไม่เคยออกกำลังกายเลย จะให้มาออกกำลังวันละ 45 นาที อาจยากที่จะเริ่มต้นและทำต่อ ควรเริ่มอย่างค่อยเป็นค่อยไป ค่อยๆ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ
T- TIME TARGETED
กำหนดกรอบเวลาที่ชัดเจนว่าเป้าหมายจะสำเร็จเมื่อไหร่ โดยอาจจะแบ่งซอยเป้าหมายใหญ่ออกเป็นเป้าหมายย่อยๆ การทำเช็คลิสต์ระหว่างที่ทำเป้าหมายที่ตั้งไว้จะช่วยให้เพื่อนๆ มีเป้าหมายที่ชัดเจน มีความภูมิใจเล็กๆ ที่ทำเป้าหมายสำเร็จอย่างค่อยเป็นค่อยไป เช่น ตั้งใจจะเก็บเงินให้ได้ 1 แสนบาทในปี 62 แสดงว่าต้องเก็บประมาณเดือนละ 8,400 บาท ซึ่งในแต่ละเดือนเรามาดูว่า แผนย่อยๆ ของเราสำเร็จหรือไม่ ช้าหรือเร็วกว่าแผนเช็คลิสต์ที่เราเขียนเอาไว้
และสุดท้ายคือ C- CONFIDENCE:
ความมั่นใจในการตั้งเป้าหมายว่า เราทำได้และประสบความสำเร็จทุกอย่างเกิดขึ้นจากความเชื่อว่าเราทำได้ เมื่อเรามั่นใจและเชื่อว่าเราทำได้จะเป็นแรงผลักดันให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยเราอาจเพิ่มคำพูดที่จะช่วยให้เรารู้สึกฮึกเหิม อยากเอาชนะเป้าหมายลงไปในการตั้งเป้าหมาย ยกตัวอย่างการตั้งเป้าหมาย เช่น เป้าหมายของปี 2562 ของฉันคือ จะต้องเก็บเงินให้ได้ 100,000 บาท โดยแบ่งเก็บออมเดือนละ 8,400 บาท ให้ได้ในทุกๆ เดือน
จากการยกตัวอย่างนะครับ
S – ผมจะต้องออมเงินในให้ได้ 120,000 บาท
M - โดยออมเดือนละ 10,000 บาท ทุกๆ วันที่ 28 ของเดือน ซึ่งติดตามผลได้ทุกเดือน
A – ทำสำเร็จได้ โดยนำเงินออมไปลงทุนในกองทุนรวม แบ่งเป็น 5,000 บาท ลงทุนในกองทุนหุ้นไทย และอีก 5,000 บาท ลงทุนในกองทุนตราสารหนี้
R – ตั้งเป้าหมายไม่สูงจนเกินไป และทำได้จริงเพราะออมเดือนละ 10,000 บาทโดยคิดเป็น 20% ของเงินเดือนจึงไม่กระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน
T – ออมทุกเดือนเป็นเวลา 12 เดือน ในจำนวนเงินที่เท่าๆกัน
C – จาก S M A R T ทั้งหมดที่ได้วางแผนไว้ ผมมั่นใจว่าผมสามารถทำได้
นี่เป็นตัวอย่างของผม เพื่อนๆ ลองนำไปใช้กันดูนะครับ วิธีการตั้งเป้าหมายของปี 62 แบบ S.M.A.R.T.C เพื่อนๆคนไหนตั้งเป้าหมายได้แล้ว ลองแชร์ที่ Comment ข้างล่างได้เลยครับ