สวัสดีครับ วันนี้ผมมีข่าวทางการแพทย์ที่น่าสนใจมาฝาก นั่นก็คือ
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยบาเซิล สวิตเซอร์แลนด์ สามารถเปลี่ยนเซลล์มะเร็งเต้านมให้กลายเป็นเซลล์ไขมัน เพื่อหยุดยั้งการแพร่กระจายในหนูทดลองได้ ซึ่งถือเป็นการรักษาแนวใหม่ที่น่าสนใจมาก และนั่นกลับมาสู่คำถามที่ว่า
แล้วนักวิจัยใช้วิธีไหนกันล่ะ ในการเปลี่ยนเซลล์แบบนี้?
โดยปกติแล้ว เวลาร่างกายเจริญเติบโต (โดยเฉพาะที่เห็นชัดมากในทารก)
เซลล์เยื่อบุผิว (Epithelium cells) นั้น จะเปลี่ยนแปลงตัวเองให้มีลักษณะคล้าย "
ของไหล" มากขึ้น และกลายเป็น
Stem cell หรือเซลล์ต้นกำเนิดชนิดที่เรียกว่า
Mesenchyme จากนั้นจึง
เปลี่ยนกลับไปเป็นเซลล์อื่นๆ ตามแต่ที่ร่างกายต้องการ กระบวนการนี้มีชื่อเรียกอย่างหรูไฮว่า Epithelial-Mesenchymal Transition (EMT) ครับ
แน่นอนว่ากระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่
พื้นฐานมากๆ และนักวิทยาศาสตร์ต่างก็ทราบกันดีอยู่แล้วว่า
การแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งมักจะอาศัยกระบวนการนี้ และรวมถึงกระบวนการตรงกันข้ามที่เรียกว่า Mesenchymal‐to‐Epithelial Transition (MET) อีกด้วย
งานวิจัยนี้ได้เริ่มต้นจากการที่มีการปลูกถ่ายเซลล์มะเร็งเต้านมในหนู จากนั้นจึงใช้ยา 2 ขนานควบคู่กันไป ได้แก่ยา
Rosiglitazone ซึ่งเป็นยารักษาเบาหวาน และยารักษามะเร็งอย่างยา
Trametinib ผลปรากฎว่า เมื่อเซลล์มะเร็งจะเริ่มการแพร่กระจายด้วยกระบวนการข้างต้น มัน
กลับเปลี่ยนแปลงตัวเองไปเป็นเซลล์ไขมันซะอย่างนั้น (กระบวนการนี้เองก็มีชื่อเรียกว่า
Adipogenesis)
ถึงแม้เซลล์มะเร็งจะ
ไม่เปลี่ยนไปเป็นเซลล์ไขมันทั้งหมดก็ตาม แต่จากการศึกษานั้น
เซลล์ที่เปลี่ยนไปเป็นเซลล์ไขมันแล้ว จะไม่มีทางเปลี่ยนกลับไปเป็นเซลล์มะเร็งอย่างแน่นอน ซึ่งนี่เป็นจุดที่น่าสนใจมากๆ
แล้วยาตัวนี้มันสำคัญยังไงล่ะ?
ทีมวิจัยกล่าวว่า จริงๆ แล้วตัวยา Rosiglitazone นั้นมีความสำคัญน้อยกว่า แต่เมื่อใช้ควบคู่ไปกับยา Trametinib แล้ว มันช่วยอย่างมากในการกระตุ้นให้เซลล์มะเร็งเปลี่ยนไปเป็น Stem cell และเปลี่ยนไปเป็นเซลล์ไขมันอีกทอดนึง (น่าศึกษาเรื่องกลไกการออกฤทธิ์เชิงเคมีมากๆ เลยแฮะ)
จากภาพ (ซ้าย) เซลล์มะเร็งติดแท็กด้วยโปรตีนเรืองแสงสีเขียว ในขณะที่เซลล์ไขมันติดแท็กด้วยโปรตีนเรืองแสงสีแดง (ขวา) เซลล์มะเร็งที่ถูกเปลี่ยนให้เป็นเซลล์ไขมันจะเป็นสีน้ำตาล เนื่องจากเซลล์ไขมันสีแดงหลอมรวมกับสีเขียวของเซลล์มะเร็งนั่นเองครับ
ที่สำคัญก็คือ
ยาทั้ง 2 ตัวได้รับการรับรองจาก FDA (องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา)
เรียบร้อยแล้วด้วย ทำให้ไม่ยากที่จะยกระดับการทดลองมาสู่คน (Clinical trials) ซึ่งการรักษาแนวใหม่นี้ถือเป็นอีกความหวังของการรักษามะเร็งในอนาคต และงานวิจัยชิ้นนี้ก็ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารชื่อดังอย่าง
Cancer Cell อีกด้วยครับ
ขอบคุณแหล่งข่าว
-
Researchers Successfully Turn Breast Cancer Cells Into Fat to Stop Them From Spreading | Science alert
นักวิจัยเปลี่ยนเซลล์มะเร็งเต้านมให้กลายเป็น "เซลล์ไขมัน" !!!
สวัสดีครับ วันนี้ผมมีข่าวทางการแพทย์ที่น่าสนใจมาฝาก นั่นก็คือนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยบาเซิล สวิตเซอร์แลนด์ สามารถเปลี่ยนเซลล์มะเร็งเต้านมให้กลายเป็นเซลล์ไขมัน เพื่อหยุดยั้งการแพร่กระจายในหนูทดลองได้ ซึ่งถือเป็นการรักษาแนวใหม่ที่น่าสนใจมาก และนั่นกลับมาสู่คำถามที่ว่า แล้วนักวิจัยใช้วิธีไหนกันล่ะ ในการเปลี่ยนเซลล์แบบนี้?
โดยปกติแล้ว เวลาร่างกายเจริญเติบโต (โดยเฉพาะที่เห็นชัดมากในทารก) เซลล์เยื่อบุผิว (Epithelium cells) นั้น จะเปลี่ยนแปลงตัวเองให้มีลักษณะคล้าย "ของไหล" มากขึ้น และกลายเป็น Stem cell หรือเซลล์ต้นกำเนิดชนิดที่เรียกว่า Mesenchyme จากนั้นจึงเปลี่ยนกลับไปเป็นเซลล์อื่นๆ ตามแต่ที่ร่างกายต้องการ กระบวนการนี้มีชื่อเรียกอย่างหรูไฮว่า Epithelial-Mesenchymal Transition (EMT) ครับ
แน่นอนว่ากระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่พื้นฐานมากๆ และนักวิทยาศาสตร์ต่างก็ทราบกันดีอยู่แล้วว่า การแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งมักจะอาศัยกระบวนการนี้ และรวมถึงกระบวนการตรงกันข้ามที่เรียกว่า Mesenchymal‐to‐Epithelial Transition (MET) อีกด้วย
งานวิจัยนี้ได้เริ่มต้นจากการที่มีการปลูกถ่ายเซลล์มะเร็งเต้านมในหนู จากนั้นจึงใช้ยา 2 ขนานควบคู่กันไป ได้แก่ยา Rosiglitazone ซึ่งเป็นยารักษาเบาหวาน และยารักษามะเร็งอย่างยา Trametinib ผลปรากฎว่า เมื่อเซลล์มะเร็งจะเริ่มการแพร่กระจายด้วยกระบวนการข้างต้น มันกลับเปลี่ยนแปลงตัวเองไปเป็นเซลล์ไขมันซะอย่างนั้น (กระบวนการนี้เองก็มีชื่อเรียกว่า Adipogenesis)
ถึงแม้เซลล์มะเร็งจะไม่เปลี่ยนไปเป็นเซลล์ไขมันทั้งหมดก็ตาม แต่จากการศึกษานั้น เซลล์ที่เปลี่ยนไปเป็นเซลล์ไขมันแล้ว จะไม่มีทางเปลี่ยนกลับไปเป็นเซลล์มะเร็งอย่างแน่นอน ซึ่งนี่เป็นจุดที่น่าสนใจมากๆ แล้วยาตัวนี้มันสำคัญยังไงล่ะ?
ทีมวิจัยกล่าวว่า จริงๆ แล้วตัวยา Rosiglitazone นั้นมีความสำคัญน้อยกว่า แต่เมื่อใช้ควบคู่ไปกับยา Trametinib แล้ว มันช่วยอย่างมากในการกระตุ้นให้เซลล์มะเร็งเปลี่ยนไปเป็น Stem cell และเปลี่ยนไปเป็นเซลล์ไขมันอีกทอดนึง (น่าศึกษาเรื่องกลไกการออกฤทธิ์เชิงเคมีมากๆ เลยแฮะ)
จากภาพ (ซ้าย) เซลล์มะเร็งติดแท็กด้วยโปรตีนเรืองแสงสีเขียว ในขณะที่เซลล์ไขมันติดแท็กด้วยโปรตีนเรืองแสงสีแดง (ขวา) เซลล์มะเร็งที่ถูกเปลี่ยนให้เป็นเซลล์ไขมันจะเป็นสีน้ำตาล เนื่องจากเซลล์ไขมันสีแดงหลอมรวมกับสีเขียวของเซลล์มะเร็งนั่นเองครับ
ที่สำคัญก็คือ ยาทั้ง 2 ตัวได้รับการรับรองจาก FDA (องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา) เรียบร้อยแล้วด้วย ทำให้ไม่ยากที่จะยกระดับการทดลองมาสู่คน (Clinical trials) ซึ่งการรักษาแนวใหม่นี้ถือเป็นอีกความหวังของการรักษามะเร็งในอนาคต และงานวิจัยชิ้นนี้ก็ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารชื่อดังอย่าง Cancer Cell อีกด้วยครับ
ขอบคุณแหล่งข่าว
- Researchers Successfully Turn Breast Cancer Cells Into Fat to Stop Them From Spreading | Science alert