คำขวัญวันเด็ก มักจะเป็นเสียงที่ผู้ใหญ่บอกเด็ก
เราน่าจะมีคำขวัญวันเด็ก ที่เป็นเสียงที่เด็กอยากบอกผู้ใหญ่บ้างเนอะ
เรายังไม่เคยเป็นพ่อคนแม่คนนะคะ แต่ก็ชอบอ่านสิ่งที่น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของ"วิชาพ่อแม่" และสังเกตเอาจากหลายๆ ครอบครัว
สิ่งที่เราเขียนในกระทู้นี้เป็นเพียงมุมมองอันคับแคบของเรา อาจจะยังมีสิ่งที่เราไม่รู้ไม่เข้าใจอยู่นะคะ
พ่อๆ แม่ๆ และลูกๆ ทั้งหลายมาแชร์กันได้นะคะ เราจะได้เข้าใจกันและกันมากขึ้น
จขกท.คิดว่าการเลี้ยงเด็กคนหนึ่งให้มีคุณภาพมันไม่มีสูตรสำเร็จและก็ยากจริงๆ นั่นแหละค่ะ
พ่อแม่ส่วนใหญ่รักลูก แต่บางครั้งพ่อแม่บางคนก็ทำร้ายลูกโดยไม่รู้ตัว ในนามของความรักและความหวังดีต่อลูก
พ่อแม่บางคนรักลูกด้วยการขีดเส้นทางเคี่ยวเข็ญให้ลูกเดินตามแผน เพราะคิดว่านี่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับลูก
มันชัดเจนและไม่ยอมยืดหยุ่นจนบางทีทำให้ลูกไม่ได้รู้จักตัวเอง หรือไม่เป็นตัวของตัวเองเลย เป็นเพียงตุ๊กตาหุ่นเชิดของพ่อแม่เท่านั้น
พ่อแม่บางคนอาจจะโชคดีที่ลูกโอเคกับแนวทางที่พ่อแม่ขีดเส้นไว้ให้ แต่ลูกบางคนอาจโชคร้ายที่ความถนัด ความสามารถหรือความชอบของตัวเองไม่ตรงตามที่พ่อแม่ปรารถนาจะให้เป็น
มันน่าจะดีกว่า ถ้าพ่อแม่ลูกสื่อสารกัน และลูกกำหนดเป้าหมายชีวิตตัวเองได้โดยมีพ่อแม่ยอมรับและเข้าใจให้คำชี้แนะ
พ่อแม่บางคนห่วงลูกด้วยการขู่ให้กลัว อย่าทำอย่างนั้นนะ อย่าทำอย่างนี้นะ ด่าไปก่อน ขู่ไปก่อนล่วงหน้า ระวังภัยให้ดั่งไข่ในหิน กลายเป็นลูกไม่มีโอกาสหรือไม่กล้าที่จะเดินด้วยตัวเองเลย
ลูกบางคนก็น้อยใจที่ไม่เคยได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจจากพ่อแม่เลย ถูกขู่ถูกด่าว่า แม้จะทำตัวอยู่ในร่องในรอยมาตลอดก็ตาม
พ่อแม่อยากให้ลูกทำแบบไหนก็พูดแนะนำสิ่งนั้น ดีกว่าด่าหรือขู่ไปล่วงหน้า
เมื่อลูกทำได้ดีก็ชมลูกให้กำลังใจลูกบ้างก็ได้ อย่ากลัวว่าลูกจะเหลิงเพราะคำชมอันเป็นข้อเท็จจริงนั้นเลย
พ่อแม่บางคนคาดหวังในตัวลูก อยากให้ลูกได้ดี แต่แสดงออกด้วยการเปรียบเทียบลูกกับคนอื่น ยกตัวอย่างคนนั้นคนนี้มาเปรียบ
ไม่มีเด็กคนไหนชอบการเปรียบเทียบหรอก พ่อแม่ควรชื่นชมเขาในแบบที่เขาเป็น คุณค่าในตัวลูกไม่ได้เพิ่มขึ้นเพราะเขาดีกว่าคนอื่น และก็ไม่ได้ลดลงเพราะมีคนอื่นดีกว่าเขา
เด็กแต่ละคนมีดีในแบบของตัวเอง ฝึกภาคภูมิใจในตัวเองโดยไม่ต้องไปเปรียบเทียบแข่งขันเอาชนะใครเขา ใจมันจะสุขแบบไม่รุ่มร้อน ไม่กดดัน ไม่อิจฉา
อย่าให้ลูกหรือเราต้องกลายเป็นคนที่สุขได้ก็ต่อเมื่อเห็นว่าตนดีกว่าเขา หรือเห็นว่าคนอื่นเขาแย่กว่าตน มันอันตราย
หากวันใดเราหาจุดที่ดีกว่าใครเขาไม่ได้เลย(ไม่ใช่ตนไม่มีดีนะ แต่แค่มีคนอื่นเขาดีกว่า) เราอาจจะกลายเป็นคนที่หาความภูมิใจในตนเองไม่ได้ กดดันตัวเองตลอดเวลา หรือแย่กว่านั้นคือการพยายามทำให้คนอื่นแย่ลง เพื่อให้ตัวเองรู้สึกดี หรือเกิดอาการเห็นคนอื่นดีกว่าไม่ได้
เราควรภาคภูมิใจในตัวเองจากคุณค่าภายในของเรา เพิ่มคุณค่าในตัวเองด้วยการพัฒนาตัวเอง คนที่เห็นคุณค่าในตนเองเป็นจะรู้สึกชื่นชมยินดีและเห็นคุณค่าในตัวผู้อื่นด้วยเช่นกัน
พ่อแม่บางคนก็เอาความฝันของตัวเองที่ตัวเองทำไม่สำเร็จไปวางไว้บนบ่าลูก หรือยัดเยียดสิ่งที่ตัวเองอยากทำแต่ไม่มีโอกาสได้ทำไปให้ลูก โดยลืมไปว่าลูกก็มีชีวิตของเขาเอง มีความฝันของเขาเอง แล้วตกลง พ่อแม่รักลูกหรือรักตัวเองกันแน่นะ
พ่อแม่บางคนลงโทษลูกโดยไม่อธิบายเหตุผล ลูกจึงไม่ทันได้เข้าใจว่าตนผิดอะไร และไม่ทำพฤติกรรมนั้นอีกเพียงเพราะกลัวการถูกลงโทษเท่านั้น
และบางครั้งการลงโทษรุนแรงโดยไม่สมเหตุสมผลและไม่ฟังลูกอธิบาย ก็ทำให้ลูกเลือกที่จะโกหกปกปิดความจริงและแถเก่ง เพื่อไม่ให้ตนถูกทำโทษ แทนที่จะได้เรียนรู้ว่าคนเราผิดพลาดกันได้ การกล้ายอมรับผิดและรู้จักแก้ไขปรับปรุงตนนั้น เป็นสิ่งที่น่าชื่นชม
เมื่อเขาพลั้งพลาด เราควรอธิบายด้วยเหตุผล ให้คำแนะนำ ให้อภัยและให้โอกาสเขาได้แก้ไขปรับปรุงตน ไม่ใช่ซ้ำเติมหรือลงโทษชนิดที่ว่าเหยียบให้จมดิน
ตอนเด็กๆ เคยมีอาจารย์ท่านหนึ่งอธิบายคำพูดที่ว่า "พ่อแม่เป็นพระพรหมของลูก" ให้ฟัง
ท่านบอกว่า พระพรหมในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าพ่อแม่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แต่หมายถึงพ่อแม่คือผู้มีพรหมวิหาร4
เฝ้าดูแลเอาใจใส่ทะนุถนอม คือ มีเมตตา กรุณา
ยินดีเมื่อลูกได้ดีมีความสุข คือ มีมุฑิตา
ปล่อยให้ลูกได้เติบโตมีชีวิตเป็นของตัวเองแม้จะห่วงแสนห่วง และยอมรับในตัวลูกไม่ว่าลูกจะเป็นเช่นไร คือ มีอุเบกขา
ข้อสุดท้ายน่าจะยากสุดสำหรับคนเป็นพ่อแม่(มั้ง) เราเองก็ยังไม่เข้าใจนักหรอก แต่ที่เห็นชัดสำหรับเราคือเรื่องอนาคตของลูก
บางครั้งลูกต้องไปเรียนหรือทำงานไกลบ้าน พ่อแม่สุดแสนจะห่วง แต่เพื่ออนาคตที่ดีของลูก ก็ปล่อยให้ลูกได้โบยบินไปตามวิถี
บางครั้งรู้ว่าทางที่ลูกเลือกนั้นสุดหินหรือไม่ตรงใจพ่อแม่เอาเสียเลย แต่ลูกเลือกแล้วก็ส่งเสริมให้กำลังใจ และยอมรับไม่ว่าลูกจะไปถึงฝั่งฝันนั้นหรือไม่
พ่อแม่ไม่อาจอยู่ค้ำฟ้าอ้าแขนปกป้องลูกได้ตลอดเวลา เมื่อถึงกาลอันเหมาะสมก็ต้องให้ลูกฝึกเดินเอง และเลือกทางเดินเอง
เขาอาจจะมีเดินสะดุดบ้างล้มบ้าง ก็เป็นธรรมดา หนทางอาจจะลื่นบ้างขรุขระบ้าง ก็ต้องเรียนรู้กันไป
แล้วเขาจะแข็งแรงขึ้น เดินเก่งขึ้น เลือกทางเก่งขึ้น หรือแม้แต่สร้างทางขึ้นมาสำหรับตัวเขาเองก็ได้ ใครจะไปรู้
บางครั้งลูกหลายคนก็อยากบอกพ่อแม่นะว่า พ่อจ๋าแม่จ๋า ฟังเสียงของหนูบ้าง เชื่อมั่นในตัวหนูบ้างนะ และคอยเป็นกำลังใจให้หนู คอยอยู่เคียงข้างหนูไม่ว่าผลลัพธ์จะออกมาเป็นอย่างไร ขอบคุณที่ให้หนูได้เลือกเองและหนูสัญญาว่าจะทำมันให้ดีที่สุด
ความเชื่อมั่นเชื่อใจที่พ่อแม่มีให้ลูกนั้นสำคัญมาก ลูก(ส่วนใหญ่)จะรักษามันไว้ด้วยการรักษาคำพูดและพิสูจน์ตัวเองให้พ่อแม่เห็น เขาจะดูแลตัวเองให้ดี เพื่อให้พ่อแม่วางใจ และจะมุ่งมั่นรับผิดชอบในสิ่งที่ตนเลือกอย่างดีที่สุด ให้สมกับที่พ่อแม่ให้ความเชื่อมั่นและเคารพการตัดสินใจ และถึงแม้สุดท้ายแล้วเขาอาจจะทำไม่สำเร็จ แต่เขาจะได้เรียนรู้จากบทเรียนที่เขาเลือกเองนั้นอย่างแน่นอน
ลูกจะไม่มีวันโต ถ้าพ่อแม่ไม่ยอมหรือไม่กล้าปล่อยให้ลูกได้เดินเองเลย
หากให้ลูกได้หัดเดินเองตอนที่พ่อแม่ยังอยู่ เวลาลูกล้มหรือเดินทางผิด พ่อแม่ก็ยังอยู่สอนหรือเข้าไปช่วยประคองได้
แต่หากอุ้มลูกไว้ตลอดเวลา วันหนึ่งพ่อแม่ไม่อยู่แล้ว เขาจำต้องหัดเดินคนเดียว เวลาล้มหรือเดินทางผิด จะมีใครคอยสอน จะมีใครมาประคอง
พ่อแม่บางคนอาจทำร้ายลูกโดยไม่รู้ตัว ในนามของความรักและความหวังดีต่อลูก
เราน่าจะมีคำขวัญวันเด็ก ที่เป็นเสียงที่เด็กอยากบอกผู้ใหญ่บ้างเนอะ
เรายังไม่เคยเป็นพ่อคนแม่คนนะคะ แต่ก็ชอบอ่านสิ่งที่น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของ"วิชาพ่อแม่" และสังเกตเอาจากหลายๆ ครอบครัว
สิ่งที่เราเขียนในกระทู้นี้เป็นเพียงมุมมองอันคับแคบของเรา อาจจะยังมีสิ่งที่เราไม่รู้ไม่เข้าใจอยู่นะคะ
พ่อๆ แม่ๆ และลูกๆ ทั้งหลายมาแชร์กันได้นะคะ เราจะได้เข้าใจกันและกันมากขึ้น
จขกท.คิดว่าการเลี้ยงเด็กคนหนึ่งให้มีคุณภาพมันไม่มีสูตรสำเร็จและก็ยากจริงๆ นั่นแหละค่ะ
พ่อแม่ส่วนใหญ่รักลูก แต่บางครั้งพ่อแม่บางคนก็ทำร้ายลูกโดยไม่รู้ตัว ในนามของความรักและความหวังดีต่อลูก
พ่อแม่บางคนรักลูกด้วยการขีดเส้นทางเคี่ยวเข็ญให้ลูกเดินตามแผน เพราะคิดว่านี่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับลูก
มันชัดเจนและไม่ยอมยืดหยุ่นจนบางทีทำให้ลูกไม่ได้รู้จักตัวเอง หรือไม่เป็นตัวของตัวเองเลย เป็นเพียงตุ๊กตาหุ่นเชิดของพ่อแม่เท่านั้น
พ่อแม่บางคนอาจจะโชคดีที่ลูกโอเคกับแนวทางที่พ่อแม่ขีดเส้นไว้ให้ แต่ลูกบางคนอาจโชคร้ายที่ความถนัด ความสามารถหรือความชอบของตัวเองไม่ตรงตามที่พ่อแม่ปรารถนาจะให้เป็น
มันน่าจะดีกว่า ถ้าพ่อแม่ลูกสื่อสารกัน และลูกกำหนดเป้าหมายชีวิตตัวเองได้โดยมีพ่อแม่ยอมรับและเข้าใจให้คำชี้แนะ
พ่อแม่บางคนห่วงลูกด้วยการขู่ให้กลัว อย่าทำอย่างนั้นนะ อย่าทำอย่างนี้นะ ด่าไปก่อน ขู่ไปก่อนล่วงหน้า ระวังภัยให้ดั่งไข่ในหิน กลายเป็นลูกไม่มีโอกาสหรือไม่กล้าที่จะเดินด้วยตัวเองเลย
ลูกบางคนก็น้อยใจที่ไม่เคยได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจจากพ่อแม่เลย ถูกขู่ถูกด่าว่า แม้จะทำตัวอยู่ในร่องในรอยมาตลอดก็ตาม
พ่อแม่อยากให้ลูกทำแบบไหนก็พูดแนะนำสิ่งนั้น ดีกว่าด่าหรือขู่ไปล่วงหน้า
เมื่อลูกทำได้ดีก็ชมลูกให้กำลังใจลูกบ้างก็ได้ อย่ากลัวว่าลูกจะเหลิงเพราะคำชมอันเป็นข้อเท็จจริงนั้นเลย
พ่อแม่บางคนคาดหวังในตัวลูก อยากให้ลูกได้ดี แต่แสดงออกด้วยการเปรียบเทียบลูกกับคนอื่น ยกตัวอย่างคนนั้นคนนี้มาเปรียบ
ไม่มีเด็กคนไหนชอบการเปรียบเทียบหรอก พ่อแม่ควรชื่นชมเขาในแบบที่เขาเป็น คุณค่าในตัวลูกไม่ได้เพิ่มขึ้นเพราะเขาดีกว่าคนอื่น และก็ไม่ได้ลดลงเพราะมีคนอื่นดีกว่าเขา
เด็กแต่ละคนมีดีในแบบของตัวเอง ฝึกภาคภูมิใจในตัวเองโดยไม่ต้องไปเปรียบเทียบแข่งขันเอาชนะใครเขา ใจมันจะสุขแบบไม่รุ่มร้อน ไม่กดดัน ไม่อิจฉา
อย่าให้ลูกหรือเราต้องกลายเป็นคนที่สุขได้ก็ต่อเมื่อเห็นว่าตนดีกว่าเขา หรือเห็นว่าคนอื่นเขาแย่กว่าตน มันอันตราย
หากวันใดเราหาจุดที่ดีกว่าใครเขาไม่ได้เลย(ไม่ใช่ตนไม่มีดีนะ แต่แค่มีคนอื่นเขาดีกว่า) เราอาจจะกลายเป็นคนที่หาความภูมิใจในตนเองไม่ได้ กดดันตัวเองตลอดเวลา หรือแย่กว่านั้นคือการพยายามทำให้คนอื่นแย่ลง เพื่อให้ตัวเองรู้สึกดี หรือเกิดอาการเห็นคนอื่นดีกว่าไม่ได้
เราควรภาคภูมิใจในตัวเองจากคุณค่าภายในของเรา เพิ่มคุณค่าในตัวเองด้วยการพัฒนาตัวเอง คนที่เห็นคุณค่าในตนเองเป็นจะรู้สึกชื่นชมยินดีและเห็นคุณค่าในตัวผู้อื่นด้วยเช่นกัน
พ่อแม่บางคนก็เอาความฝันของตัวเองที่ตัวเองทำไม่สำเร็จไปวางไว้บนบ่าลูก หรือยัดเยียดสิ่งที่ตัวเองอยากทำแต่ไม่มีโอกาสได้ทำไปให้ลูก โดยลืมไปว่าลูกก็มีชีวิตของเขาเอง มีความฝันของเขาเอง แล้วตกลง พ่อแม่รักลูกหรือรักตัวเองกันแน่นะ
พ่อแม่บางคนลงโทษลูกโดยไม่อธิบายเหตุผล ลูกจึงไม่ทันได้เข้าใจว่าตนผิดอะไร และไม่ทำพฤติกรรมนั้นอีกเพียงเพราะกลัวการถูกลงโทษเท่านั้น
และบางครั้งการลงโทษรุนแรงโดยไม่สมเหตุสมผลและไม่ฟังลูกอธิบาย ก็ทำให้ลูกเลือกที่จะโกหกปกปิดความจริงและแถเก่ง เพื่อไม่ให้ตนถูกทำโทษ แทนที่จะได้เรียนรู้ว่าคนเราผิดพลาดกันได้ การกล้ายอมรับผิดและรู้จักแก้ไขปรับปรุงตนนั้น เป็นสิ่งที่น่าชื่นชม
เมื่อเขาพลั้งพลาด เราควรอธิบายด้วยเหตุผล ให้คำแนะนำ ให้อภัยและให้โอกาสเขาได้แก้ไขปรับปรุงตน ไม่ใช่ซ้ำเติมหรือลงโทษชนิดที่ว่าเหยียบให้จมดิน
ตอนเด็กๆ เคยมีอาจารย์ท่านหนึ่งอธิบายคำพูดที่ว่า "พ่อแม่เป็นพระพรหมของลูก" ให้ฟัง
ท่านบอกว่า พระพรหมในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าพ่อแม่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แต่หมายถึงพ่อแม่คือผู้มีพรหมวิหาร4
เฝ้าดูแลเอาใจใส่ทะนุถนอม คือ มีเมตตา กรุณา
ยินดีเมื่อลูกได้ดีมีความสุข คือ มีมุฑิตา
ปล่อยให้ลูกได้เติบโตมีชีวิตเป็นของตัวเองแม้จะห่วงแสนห่วง และยอมรับในตัวลูกไม่ว่าลูกจะเป็นเช่นไร คือ มีอุเบกขา
ข้อสุดท้ายน่าจะยากสุดสำหรับคนเป็นพ่อแม่(มั้ง) เราเองก็ยังไม่เข้าใจนักหรอก แต่ที่เห็นชัดสำหรับเราคือเรื่องอนาคตของลูก
บางครั้งลูกต้องไปเรียนหรือทำงานไกลบ้าน พ่อแม่สุดแสนจะห่วง แต่เพื่ออนาคตที่ดีของลูก ก็ปล่อยให้ลูกได้โบยบินไปตามวิถี
บางครั้งรู้ว่าทางที่ลูกเลือกนั้นสุดหินหรือไม่ตรงใจพ่อแม่เอาเสียเลย แต่ลูกเลือกแล้วก็ส่งเสริมให้กำลังใจ และยอมรับไม่ว่าลูกจะไปถึงฝั่งฝันนั้นหรือไม่
พ่อแม่ไม่อาจอยู่ค้ำฟ้าอ้าแขนปกป้องลูกได้ตลอดเวลา เมื่อถึงกาลอันเหมาะสมก็ต้องให้ลูกฝึกเดินเอง และเลือกทางเดินเอง
เขาอาจจะมีเดินสะดุดบ้างล้มบ้าง ก็เป็นธรรมดา หนทางอาจจะลื่นบ้างขรุขระบ้าง ก็ต้องเรียนรู้กันไป
แล้วเขาจะแข็งแรงขึ้น เดินเก่งขึ้น เลือกทางเก่งขึ้น หรือแม้แต่สร้างทางขึ้นมาสำหรับตัวเขาเองก็ได้ ใครจะไปรู้
บางครั้งลูกหลายคนก็อยากบอกพ่อแม่นะว่า พ่อจ๋าแม่จ๋า ฟังเสียงของหนูบ้าง เชื่อมั่นในตัวหนูบ้างนะ และคอยเป็นกำลังใจให้หนู คอยอยู่เคียงข้างหนูไม่ว่าผลลัพธ์จะออกมาเป็นอย่างไร ขอบคุณที่ให้หนูได้เลือกเองและหนูสัญญาว่าจะทำมันให้ดีที่สุด
ความเชื่อมั่นเชื่อใจที่พ่อแม่มีให้ลูกนั้นสำคัญมาก ลูก(ส่วนใหญ่)จะรักษามันไว้ด้วยการรักษาคำพูดและพิสูจน์ตัวเองให้พ่อแม่เห็น เขาจะดูแลตัวเองให้ดี เพื่อให้พ่อแม่วางใจ และจะมุ่งมั่นรับผิดชอบในสิ่งที่ตนเลือกอย่างดีที่สุด ให้สมกับที่พ่อแม่ให้ความเชื่อมั่นและเคารพการตัดสินใจ และถึงแม้สุดท้ายแล้วเขาอาจจะทำไม่สำเร็จ แต่เขาจะได้เรียนรู้จากบทเรียนที่เขาเลือกเองนั้นอย่างแน่นอน
ลูกจะไม่มีวันโต ถ้าพ่อแม่ไม่ยอมหรือไม่กล้าปล่อยให้ลูกได้เดินเองเลย
หากให้ลูกได้หัดเดินเองตอนที่พ่อแม่ยังอยู่ เวลาลูกล้มหรือเดินทางผิด พ่อแม่ก็ยังอยู่สอนหรือเข้าไปช่วยประคองได้
แต่หากอุ้มลูกไว้ตลอดเวลา วันหนึ่งพ่อแม่ไม่อยู่แล้ว เขาจำต้องหัดเดินคนเดียว เวลาล้มหรือเดินทางผิด จะมีใครคอยสอน จะมีใครมาประคอง