Tonkit360
สนับสนุนเนื้อหา
เวลาเห็นเด็กๆ แคะขี้มูก แล้วเอาเข้าปาก ผู้ปกครองส่วนใหญ่มักจะดุลูกๆ เพราะมองว่าขี้มูกเป็นของสกปรก อีกทั้งยังเป็นพฤติกรรมที่ไม่น่าดูด้วย แต่ในเชิงวิทยาศาสตร์แล้ว ขี้มูกที่เด็กๆ กินเข้าไปนั้น อุดมไปด้วยแบคทีเรียที่มีประโยชน์
โดยผลการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์จากหลายมหาวิทยาลัย ซึ่งรวมถึงฮาร์เวิร์ด และสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) พบว่า ขี้มูกมีแบคทีเรียดีๆ อยู่สูงมาก จึงช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกันในการป้องกันเชื้อโรคต่างๆ ให้ทำงานได้ดีขึ้น
ผลการศึกษาดังกล่าว ที่เผยแพร่ในวารสาร American Society for Microbiology ยังพบด้วยว่า ขี้มูกสามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อในระบบหายใจ, ติดเชื้อจากแผลในกระเพาะอาหาร หรือแม้กระทั่งป้องกันเชื้อเอชไอวีได้ อีกทั้งยังช่วยป้องกันไม่ให้แบคทีเรียที่ทำให้ฟันผุไปเคลือบอยู่ที่ผิวฟันด้วย
ศาตราจารย์ฟรีดริช บิชิงเกอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านปอดชาวออสเตรีย ซึ่งร่วมศึกษางานชิ้นนี้ด้วย ระบุว่า ในจมูกจะมีขนช่วยในการกรองแบคทีเรียต่างๆ และเมื่อแบคทีเรียเหล่านั้นผสมผสานกัน จึงมีการทำงานที่ไม่ต่างจาก “ยารักษาโรค” ที่ช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแกร่งขึ้น
นอกจากนี้ ทีมนักวิจัยยังอยู่ระหว่างการทดลองทำยาสีฟันขี้มูกเทียม รวมถึงทดลองทำหมากฝรั่งที่อาศัยประโยชน์จากขี้มูกมาใช้ในด้านทันตกรรมด้วย
ที่มา : www.telegraph.co.uk
ขอขอบคุณ
ข้อมูล :tonkit360.com
SANOOK.COM
ลองดูป่ะ นักวิทยาศาสตร์เผย “กินขี้มูก” ดีต่อร่างกาย!
สนับสนุนเนื้อหา
เวลาเห็นเด็กๆ แคะขี้มูก แล้วเอาเข้าปาก ผู้ปกครองส่วนใหญ่มักจะดุลูกๆ เพราะมองว่าขี้มูกเป็นของสกปรก อีกทั้งยังเป็นพฤติกรรมที่ไม่น่าดูด้วย แต่ในเชิงวิทยาศาสตร์แล้ว ขี้มูกที่เด็กๆ กินเข้าไปนั้น อุดมไปด้วยแบคทีเรียที่มีประโยชน์
โดยผลการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์จากหลายมหาวิทยาลัย ซึ่งรวมถึงฮาร์เวิร์ด และสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) พบว่า ขี้มูกมีแบคทีเรียดีๆ อยู่สูงมาก จึงช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกันในการป้องกันเชื้อโรคต่างๆ ให้ทำงานได้ดีขึ้น
ผลการศึกษาดังกล่าว ที่เผยแพร่ในวารสาร American Society for Microbiology ยังพบด้วยว่า ขี้มูกสามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อในระบบหายใจ, ติดเชื้อจากแผลในกระเพาะอาหาร หรือแม้กระทั่งป้องกันเชื้อเอชไอวีได้ อีกทั้งยังช่วยป้องกันไม่ให้แบคทีเรียที่ทำให้ฟันผุไปเคลือบอยู่ที่ผิวฟันด้วย
ศาตราจารย์ฟรีดริช บิชิงเกอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านปอดชาวออสเตรีย ซึ่งร่วมศึกษางานชิ้นนี้ด้วย ระบุว่า ในจมูกจะมีขนช่วยในการกรองแบคทีเรียต่างๆ และเมื่อแบคทีเรียเหล่านั้นผสมผสานกัน จึงมีการทำงานที่ไม่ต่างจาก “ยารักษาโรค” ที่ช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแกร่งขึ้น
นอกจากนี้ ทีมนักวิจัยยังอยู่ระหว่างการทดลองทำยาสีฟันขี้มูกเทียม รวมถึงทดลองทำหมากฝรั่งที่อาศัยประโยชน์จากขี้มูกมาใช้ในด้านทันตกรรมด้วย
ที่มา : www.telegraph.co.uk
ขอขอบคุณ
ข้อมูล :tonkit360.com
SANOOK.COM