โรคความทุกข์ใจเพราะความพร่องไปในความปราถนาดีต่อผู้อื่นมีลักษณะอาการดังนี้*ไล่ไปตามลำดับความรุนแรง)
1.มีความทุกข์ใจเมื่อได้รับข่าวสารว่าผู้อื่นได้ดี
2.มีการแสดงออกทางกาย วาจา เมื่อได้รับข่าวสารว่าผู้อื่นได้ดี
3.มีความทุกข์ใจต่อเนื่องยาวนาน เมื่อได้รับข่าวสารว่าผู้อื่นได้ดี
4มีการแสดงออกทางกายวาจา ต่อเนื่องเนื่อง เมื่อได้รับข่าวสารว่าผู้อื่นได้ดี
โรคทางใจนี้ ที่นำไปสู่ความทุกข์ใจเศร้าหมองนี้
หายได้แต่ ผู้เป็นต้องแก้ด้วยตัวเอง โดยมีลำดับดังต่อไปนี้คือ
1.ดึงสติพิจรณาให้เห็น ความทุกข์ใจ หรือ พฤติกรรมทางกายวาจาของตัวเอง ที่แสดงออกไปเมื่อได้รับข่าวสารว่าผู้อื่นได้ดี
2.พิจรณาให้เห็นว่า (เป็นขั้นตอนที่ยากที่สุด)
สิ่งที่เกิดขึ้นดังกล่าวนั้นเกิดจาก"ความไม่พอใจผู้อื่นได้ดี"นั้นเป็นรากของความริษยาต้อง เปิดใจยอมรับ "ความอิจฉา ริษยา"ของตัวเองอันเป็นปกติธรรมดาของมนุษย์ปถุชน
3.(ยากขึ้น)ทำใจให้สงบและพิจรณาให้เห็นความว่าความริษยาของเรานั้น มีเหตุจาก ความไม่พอใจตัวเอง ไม่ชอบใจตัวเอง ไม่พอใจสิ่งที่เป็นสี่งทีมีสิ่งที่ได้ ไม่พอใจปัจจุบัน
4.(ลึกลงไปอีก) เมื่อยอมรับความไม่พอใจตัวเองได้แล้ว พิจรณาต่อไปให้เห็นว่าความไม่พอใจตัวเองนั้น เกิดจากความอคติต่อตัวเอง อันทำให้บิดเบือนไปว่า ไม่เห็นสิ่งดีที่ตัวเองทำได้ ,ไม่ยอมรับสิ่งไม่ดีที่ตัวเองทำไว้,ไม่เข้าใจว่าสิ่งที่เกิดนั้นเป็นเหตุที่ควบคุมได้หรือไม่ได้ บิดเบือนไปว่า ผลที่ไม่ดีนั้นล้วนเกิดจากผู้อื่นทั้งหมดทั้งสิ้น
5.พิจรณาต่อไปว่า การเสริมอคตินั้น มาจากตัวเราเพียงคนเดียวหรือมาจากสภาพแวดล้อมเช่นคนรอบตัวช่วยเสริมอคตินั้น ถ้าพิจรณาเห็นว่า สภาพแวดล้อมเป็นผู้ส่งเสริมอคติ ให้ลดตัดเพิ่มระยะห่างต่อ การเชื่อมโยงนั้นๆเสีย ถ้าพิจรณาว่ามาจากตัวเราก็ให้เล็งเห็นถึงขนาดของอคติของตัวเองให้เด่นชัดขึ้น
6.พิจรณาให้เห็นความโลภ ที่ทำให้เกิดอคตินั้นอันได้แก่ อยากได้ผลในเรื่องใดๆ ความอยากมีในเรื่องใดๆ ความอยากสำเร็จในเรื่องใดๆ เมื่อพิจรณาความอยากได้แล้วให้พิจรณาว่า เราได้เชื่อมเหตุที่นำไปสู่ผลอย่างเหมาะสมหรือยัง เช่น ความโลภของเราที่เห็นรากคือความอยากร่ำรวย ก็ให้พิจรณาต่อไปว่าเหตุที่จะทำให้ร่ำรวยของเรานั้น ถูกต้องตามสัมมาทิฐิต่อความร่ำรวยหรือยัง เช่น การมีฐานะได้นั้นเพราะขยันทำงานอดออมเป็นต้น ถ้าพิจรณาเหตุเชื่อมโยงไปผลที่ถูกต้องแล้วความโลภ ที่มีผลโดยปราศจากเหตุก็จะลดลงไป เช่นอยากรวย แต่ไม่อยากทำงาน อยากสำเร็จแต่ไม่มีเหตุให้สำเร็จเช่น ไม่หมั่นฝึกฝนเป็นต้น
7พิจรณาให้เห็นว่าความโลภนั้นเกิดจากตัวเราทั้งหมดหรือมีสภาพแวดล้อมส่งเสริมให้เราโลภขึ้น พิจรณาถึงกลุ่มก้อนความโลภของตัวเราอย่างละเอียด และลดการเชื่อมโยงที่ส่งเสริมความโลภลง
เช่นนี้ก็จะหายจากทุกข์ใจเอง
เรามีความโลภได้เช่นปีหน้าตั้งใจจะรวยฟ้าผ่าแต่ถ้าเรา เชื่อมผลและเหตุอย่างถูกต้องว่า ความร่ำรวยนั้นเกิดจากความเพียรและการทำงานที่ดีของเราเองหรือ ที่เรายังลำบากเพราะยังขยันหมั่นเพียรไม่พอเองเป็นต้น เช่นนี้ ความโลภของเราก็จะไม่สร้างความริษยาขึ้นเพราะเหตุและผลล้วนถูกต้องปราศจากอคติบิดเบือน เมื่อไม่เกิดความอคติขึ้น ก็เห็นตัวเองตามความเป็นจริงเหมาะสมตามเหตุและผลที่ได้กระทำลงไปเช่นนี้ก็จะไม่เกิดความริษยาต่อผู้อื่น พลอยจะยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีเพราะเค้าได้ทำเหตุที่ดีจึงนำผลที่ดีมาให้ เมื่อดินพร้อมแล้ว ต้นไม้ชื่อความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีก็จะเกิดได้เอง
ตอนที่ 3 จะเล่าว่า อคติต่อตัวเองนั้นเกี่ยวพันกับอาการของโรคซึมเศร้าอย่างไร
(ตอนที่2) ทางแก้โรคความทุกข์ใจเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดี
1.มีความทุกข์ใจเมื่อได้รับข่าวสารว่าผู้อื่นได้ดี
2.มีการแสดงออกทางกาย วาจา เมื่อได้รับข่าวสารว่าผู้อื่นได้ดี
3.มีความทุกข์ใจต่อเนื่องยาวนาน เมื่อได้รับข่าวสารว่าผู้อื่นได้ดี
4มีการแสดงออกทางกายวาจา ต่อเนื่องเนื่อง เมื่อได้รับข่าวสารว่าผู้อื่นได้ดี
โรคทางใจนี้ ที่นำไปสู่ความทุกข์ใจเศร้าหมองนี้
หายได้แต่ ผู้เป็นต้องแก้ด้วยตัวเอง โดยมีลำดับดังต่อไปนี้คือ
1.ดึงสติพิจรณาให้เห็น ความทุกข์ใจ หรือ พฤติกรรมทางกายวาจาของตัวเอง ที่แสดงออกไปเมื่อได้รับข่าวสารว่าผู้อื่นได้ดี
2.พิจรณาให้เห็นว่า (เป็นขั้นตอนที่ยากที่สุด)
สิ่งที่เกิดขึ้นดังกล่าวนั้นเกิดจาก"ความไม่พอใจผู้อื่นได้ดี"นั้นเป็นรากของความริษยาต้อง เปิดใจยอมรับ "ความอิจฉา ริษยา"ของตัวเองอันเป็นปกติธรรมดาของมนุษย์ปถุชน
3.(ยากขึ้น)ทำใจให้สงบและพิจรณาให้เห็นความว่าความริษยาของเรานั้น มีเหตุจาก ความไม่พอใจตัวเอง ไม่ชอบใจตัวเอง ไม่พอใจสิ่งที่เป็นสี่งทีมีสิ่งที่ได้ ไม่พอใจปัจจุบัน
4.(ลึกลงไปอีก) เมื่อยอมรับความไม่พอใจตัวเองได้แล้ว พิจรณาต่อไปให้เห็นว่าความไม่พอใจตัวเองนั้น เกิดจากความอคติต่อตัวเอง อันทำให้บิดเบือนไปว่า ไม่เห็นสิ่งดีที่ตัวเองทำได้ ,ไม่ยอมรับสิ่งไม่ดีที่ตัวเองทำไว้,ไม่เข้าใจว่าสิ่งที่เกิดนั้นเป็นเหตุที่ควบคุมได้หรือไม่ได้ บิดเบือนไปว่า ผลที่ไม่ดีนั้นล้วนเกิดจากผู้อื่นทั้งหมดทั้งสิ้น
5.พิจรณาต่อไปว่า การเสริมอคตินั้น มาจากตัวเราเพียงคนเดียวหรือมาจากสภาพแวดล้อมเช่นคนรอบตัวช่วยเสริมอคตินั้น ถ้าพิจรณาเห็นว่า สภาพแวดล้อมเป็นผู้ส่งเสริมอคติ ให้ลดตัดเพิ่มระยะห่างต่อ การเชื่อมโยงนั้นๆเสีย ถ้าพิจรณาว่ามาจากตัวเราก็ให้เล็งเห็นถึงขนาดของอคติของตัวเองให้เด่นชัดขึ้น
6.พิจรณาให้เห็นความโลภ ที่ทำให้เกิดอคตินั้นอันได้แก่ อยากได้ผลในเรื่องใดๆ ความอยากมีในเรื่องใดๆ ความอยากสำเร็จในเรื่องใดๆ เมื่อพิจรณาความอยากได้แล้วให้พิจรณาว่า เราได้เชื่อมเหตุที่นำไปสู่ผลอย่างเหมาะสมหรือยัง เช่น ความโลภของเราที่เห็นรากคือความอยากร่ำรวย ก็ให้พิจรณาต่อไปว่าเหตุที่จะทำให้ร่ำรวยของเรานั้น ถูกต้องตามสัมมาทิฐิต่อความร่ำรวยหรือยัง เช่น การมีฐานะได้นั้นเพราะขยันทำงานอดออมเป็นต้น ถ้าพิจรณาเหตุเชื่อมโยงไปผลที่ถูกต้องแล้วความโลภ ที่มีผลโดยปราศจากเหตุก็จะลดลงไป เช่นอยากรวย แต่ไม่อยากทำงาน อยากสำเร็จแต่ไม่มีเหตุให้สำเร็จเช่น ไม่หมั่นฝึกฝนเป็นต้น
7พิจรณาให้เห็นว่าความโลภนั้นเกิดจากตัวเราทั้งหมดหรือมีสภาพแวดล้อมส่งเสริมให้เราโลภขึ้น พิจรณาถึงกลุ่มก้อนความโลภของตัวเราอย่างละเอียด และลดการเชื่อมโยงที่ส่งเสริมความโลภลง
เช่นนี้ก็จะหายจากทุกข์ใจเอง
เรามีความโลภได้เช่นปีหน้าตั้งใจจะรวยฟ้าผ่าแต่ถ้าเรา เชื่อมผลและเหตุอย่างถูกต้องว่า ความร่ำรวยนั้นเกิดจากความเพียรและการทำงานที่ดีของเราเองหรือ ที่เรายังลำบากเพราะยังขยันหมั่นเพียรไม่พอเองเป็นต้น เช่นนี้ ความโลภของเราก็จะไม่สร้างความริษยาขึ้นเพราะเหตุและผลล้วนถูกต้องปราศจากอคติบิดเบือน เมื่อไม่เกิดความอคติขึ้น ก็เห็นตัวเองตามความเป็นจริงเหมาะสมตามเหตุและผลที่ได้กระทำลงไปเช่นนี้ก็จะไม่เกิดความริษยาต่อผู้อื่น พลอยจะยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีเพราะเค้าได้ทำเหตุที่ดีจึงนำผลที่ดีมาให้ เมื่อดินพร้อมแล้ว ต้นไม้ชื่อความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีก็จะเกิดได้เอง
ตอนที่ 3 จะเล่าว่า อคติต่อตัวเองนั้นเกี่ยวพันกับอาการของโรคซึมเศร้าอย่างไร