🎉มาลาริน/ลืมว่าโกง..พรรคแดงพยายามชูเรื่องเศรษฐกิจ แต่ก็ไม่มีอะไรประกันว่าจะดี..ส่วนเรื่องที่ขี้โกงพยายามปกปิดไม่พูดถึง

อัปยศ !? การเมืองไทยใต้เงา “ทักษิณ” 16 ปีคดีทุจริตติดคุกเพียบ


16 ปีกับอภิมหาคอร์รัปชันของพรรคการเมืองใหญ่ใต้บังเหียน “ทักษิณ” สร้างความเสียหายให้ประเทศกว่า 6 แสนล้าน แกนนำพรรคพัวพันทุจริตถูกดำเนินคดีแล้ว 9 ราย ระดับบิ๊กหนีไปได้ 3 มีเพียง “เจ๊แดง” ที่ยังลัลลา ไร้คดีความ จะมีเพียงข่าวลือฉาว ๆ ด้านเลขาธิการองค์การต่อต้านคอร์รัปชัน ชี้ไทยยังไม่มีมาตรการป้องกันการหนีออกนอกประเทศ

ปฏิเสธไม่ได้ว่านับแต่การก้าวเข้าสู่สนามการเมืองของ “ทักษิณ ชินวัตร” ในฐานะหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ที่มาพร้อมกับวาทกรรม “รวยแล้วไม่โกง” ก็ได้เกิดปรากฏการณ์ข่าวอภิมหาคอร์รัปชันสารพัดโครงการ ทั้งโดยตัวนายทักษิณเองและบรรดารัฐมนตรีในสังกัด ชนิดที่เรียกได้ว่าคอร์รัปชันกันอย่างมโหฬารอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ไม่ว่าพรรคการเมืองที่นายทักษิณสนับสนุนจะถูกยุบกี่ครั้ง เปลี่ยนชื่อมากี่หน เปลี่ยนตัวหัวหน้าพรรคมากี่คน ก็ยังมีข่าวพัวพันกับการคอร์รัปชันอย่างต่อเนื่อง

เริ่มตั้งแต่ตั้งพรรคไทยรักไทย เมื่อปี 2544 และถูกศาลตัดสินยุบพรรคเนื่องจากทุจริตในการเลือกตั้งโดยจ้างพรรคเล็กลงสมัคร จึงจัดตั้งพรรคใหม่ในชื่อพรรคพลังประชาชน และถูกตัดสินยุบพรรคอีกครั้งเนื่องจากทุจริตในการเลือกตั้ง กระทั่งเกิดเป็นพรรคเพื่อไทยในปัจจุบั

จากข้อมูลพบว่าตลอดระยะเวลา 16 ปี กับการดำเนินกิจกรรมการเมืองภายใต้โลโก้ของทั้ง 3 พรรคการเมืองที่มีนายทักษิณ เป็นผู้กุมบังเหียนนั้นมีคดีที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชันเกิดขึ้นถึง 13 คดี มีนักการเมืองระดับแกนนำพรรคเข้าไปพัวพันต้องขึ้นโรงขึ้นศาลไม่ต่ำกว่า 9 คน รวมมูลค่าความเสียหายกว่า 6 แสนล้านบาท


เริ่มจาก นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีที่ตกเป็นผู้ต้องหาในคดีคอร์รัปชันมากที่สุดถึง 5 คดี และเนื่องจากนายทักษิณไม่ไปรายงานตัวต่อศาลตามกำหนดและเดินทางหลบหนีไปยังประเทศอังกฤษ ศาลจึงออกหมายจับ คดีดังกล่าวได้แก่

1. คดีทุจริตในการซื้อ-ขายที่ดินรัชดา สร้างความเสียหายให้แก่ประเทศชาติ 2,000 ล้านบาท โดยคดีนี้อัยการสูงสุดเป็นโจทก์ฟ้องนายทักษิณและคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร (ชินวัตร) ต่อศาลอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในความผิดฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐร่วมกันเป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้ส่วนเสียในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานของรัฐ ซึ่งศาลตัดสินว่าให้ลงโทษจำคุกนายทักษิณ 2 ปี ส่วนคุณหญิงพจมานศาลตัดสินยกฟ้องหมดอายุความไปแล้ว

2. คดีเอ็กซิมแบงก์ สร้างความเสียหายให้รัฐไม่ต่ำกว่า 670 ล้านบาท เนื่องจากนายทักษิณได้ใช้อำนาจในฐานะนายกรัฐมนตรี สั่งการให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (เอ็กซิมแบงก์) ให้เงินกู้แก่รัฐบาลสหภาพพม่า จำนวน 4,000 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี ซึ่งต่ำกว่าราคาต้นทุนของเอ็กซิมแบงก์ โดยรัฐบาลต้องตั้งงบประมาณชดเชยผลขาดทุนให้แก่เอ็กซิมแบงก์ในระยะเวลา 12 ปี เป็นเงินรวมทั้งสิ้น 670,436,201.25 บาท เพื่อหวังประโยชน์ในธุรกิจดาวเทียมที่มีการสั่งซื้ออุปกรณ์ จากบริษัท ชินแซทเทิลไลท์ บริษัทในเครือชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ของตระกูลชินวัตร ซึ่งถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 152 และมาตรา 157

3. คดีทุจริตโครงการหวยบนดิน 3 ตัว 2 ตัว สร้างความเสียหายให้แก่รัฐรวม 3.6 หมื่นล้านบาท โดยคดีนี้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ยื่นฟ้องทักษิณและพวก ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อหรือจัดการทรัพย์ ได้เบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตน หรือเป็นของผู้อื่นโดยทุจริต ซึ่งตัดสินจำคุกและปรับอดีตรัฐมนตรีและข้าราชการหลายคน

4. คดีธนาคารกรุงไทยอนุมัติสินเชื่อให้บริษัทในเครือกฤษฎามหานคร สร้างความเสียหายให้รัฐประมาณ 1 หมื่นล้านบาท โดยคดีดังกล่าวอัยการสูงสุดเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายทักษิณและพวกอีก 27 ราย ในความผิดฐานเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และโดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และความผิดในอีกหลายมาตรา ซึ่งศาลได้ตัดสินจำคุกและปรับจำเลยที่เกี่ยวข้องในคดีหลายราย

5. คดีออกกฎหมายแก้ไขค่าสัมปทานโทรศัพท์มือถือ-ดาวเทียมเป็นภาษีสรรพสามิต เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อบริษัทชินคอร์ป ซึ่งทำรัฐเสียหาย 6.6 หมื่นล้านบาท โดยคดีนี้อัยการสูงสุดเป็นโจทก์ยื่นฟ้องอดีตนายกฯ ทักษิณในความผิดฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่รับสัมปทาน หรือเข้าเป็นคู่สัญญาในลักษณะดังกล่าว, เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการใดเข้าไปมีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อประโยชน์สำหรับตัวเอง หรือผู้อื่น, เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต


คนต่อมาซึ่งน่าสนใจไม่แพ้กันคือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี น้องสาวแท้ๆ ของนายทักษิณซึ่งเดินตามรอยพี่ชายมาติด ๆ โดยอัยการสูงสุดเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ใน “คดีรับจำนำข้าว” ในความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 57 และความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ตามกฎหมาย ป.ป.ช. กรณีปล่อยปละละเลยให้เกิดการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งสร้างความเสียหายแก่รัฐกว่า 5 แสนล้านบาท


นอกจากคดีรับจำนำข้าวแล้วในวันเดียวกันยังมีการพิจารณาคดี “ขายข้าวแบบจีทูจี” ที่มี นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีต รมว.พาณิชย์ และนายภูมิ สาระผล อดีต รมช.พาณิชย์ จากพรรคเพื่อไทย เป็นจำเลย โดยคดีดังกล่าวสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายบุญทรง และพวกอีก 27 ราย ฐานร่วมกันขายข้าวจีทูจีจำนวน 4 สัญญา ปริมาณข้าว 6.2 ล้านตัน รวมมูลค่ากว่า 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งคดีนี้ศาลได้ตัดสินจำคุกนายบุญทรง 42 ปี และตัดสินจำคุกนายภูมิ 36 ปี ขณะที่นายอภิชาต จันทร์สกุลพร หรือ เสี่ยเปี่ยง เอกชนรายใหญ่ซึ่งอยู่ในเครือข่ายบริษัท สยามอินดิก้า จำกัด ที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อทำนิติกรรมอำพรางในการทุจริตครั้งนี้ ศาลได้ตัดสินจำคุก 48 ปี ส่วนผู้ต้องหาอื่นๆ ตัดสินจำคุกในอัตราที่แตกต่างกันตามฐานความผิด


ล่าสุดเมื่อวันที่ 29 ส.ค. 2560 ศาลอาญาแผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ได้ตัดสินคดีที่ดินสนามกอล์ฟอัลไพน์ ซึ่ง ป.ป.ช.เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ อดีต รมว.มหาดไทย และอดีตหัวหน้าพรรคเพื่อไทย สมัยดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงมหาดไทย รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงมหาดไทยเมื่อปี 2544 ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 จากกรณีสั่งเพิกถอนคำสั่งของอธิบดีกรมที่ดินที่ให้ยกเลิกโฉนดของบริษัท อัลไพน์ ซึ่งได้จากการจดทะเบียนโอนมรดกและโอนสิทธิขายธรณีสงฆ์ของที่ดิน วัดธรรมามิการามวรวิหาร จ.ปทุมธานี จำนวน 732 ไร่โดยมิชอบ โดยศาลมีคำพิพากษาจำคุกยงยุทธ 2 ปี ไม่รอลงอาญา เนื่องจากเห็นว่านายยงยุทธจงใจหาผลประโยชน์และเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัท อัลไพน์ และทำลายศรัทธาของผู้เลื่อมใสพุทธศาสนา รวมถึงทำให้กรมที่ดินซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐต้องเสื่อมเสีย


ส่วนนักการเมืองในสังกัดพรรคของนายทักษิณที่ถูกดำเนินคดีจากกรณีการทุจริตคอร์รัปชันก่อนหน้านี้ได้แก่ นายประชา มาลีนนท์ อดีต รมช.มหาดไทย และอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในนักการเมืองใหญ่ที่หนีคดีก่อนที่จะมีการตัดสิน ศาลจึงออกหมายจับ พร้อมทั้งยึดเงินประกันจำนวน 2 ล้านบาท โดยนายประชาถูก ป.ป.ช.ยื่นฟ้องในคดีทุจริตในการจัดซื้อรถดับเพลิงและเรือดับเพลิง ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และการกระทำผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ (ฮั้วประมูล) พ.ศ. 2542 จากกรณีการจัดซื้อรถ และเรือดับเพลิง พร้อมอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัย ตามโครงการพัฒนาระบบบริหารและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กทม.มูลค่า 6,687,489,000 บาท ซึ่งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ตัดสินจำคุกนายประชา เป็นเวลา 12 ปี ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 และ 13 ซึ่งเป็นบทลงโทษหนักที่สุด

นายชูชีพ หาญสวัสดิ์ อดีต รมว.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย และนายวิทยา เทียนทอง อดีตเลขานุการ รมว.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และอดีต ส.ส.สระแก้ว พรรคไทยรักไทย ตกเป็นจำเลยในความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หรือโดยทุจริต ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด จากกรณีร่วมกันทุจริตจัดซื้อปุ๋ยอินทรีย์ของกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ วงเงิน 367 ล้านบาท โดยศาลตัดสินว่านายชูชีพมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 10 และ 12 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบมาตรา 83 ส่วนนายวิทยามีความผิดฐานสนับสนุน ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 และ 10 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 และ 157 ประกอบมาตรา 83 เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 ซึ่งเป็นบทหนักสุด โดยให้จำคุกจำเลยทั้งสองคนละ 6 ปี


อีกทั้งเมื่อเร็ว ๆ นี้ คณะกรรมการ ป.ป.ช.มีมติชี้มูลความผิด นายวัฒนา เมืองสุข แกนนำพรรคเพื่อไทย สมัยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กับพวก ในรัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร ส่อว่าทุจริตโครงการบ้านเอื้ออาทร โครงการที่บริษัทพาสทีญ่า ไทย จำกัด โดยมีมูลความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานเรียกรับ หรือยอมจะรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด สำหรับตนเอง หรือผู้อื่นโดยมิชอบ เพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่ง ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 148, 149 โดยคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ส่งสำนวนการไต่สวนไปให้สำนักงานอัยการสูงสุด (อสส.) แล้ว แต่ อสส.เห็นว่า ยังมีข้อไม่สมบูรณ์ตามข้อกฎหมาย จึงมีมติให้ตั้งคณะทำงานร่วมระหว่าง ป.ป.ช.กับ อสส. เพื่อพิจารณาข้อไม่สมบูรณ์ดังกล่าวก่อนส่งฟ้องต่อศาลต่อไป 


อย่างไรก็ดีที่ผ่านมามีนักการเมืองในพรรคเพื่อไทยหลายคนที่มีพฤติกรรมคอร์รัปชันถูกดำเนินคดีไปก็ไม่น้อย แต่ที่น่าสังเกตคือมีนักการเมืองใหญ่ซึ่งถูกครหาหรือข่าวลือว่าพัวพันกับการทุจริตอย่างต่อเนื่องในหลายต่อหลายโครงการ อาทิ “เจ๊แดง” หรือ นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ น้องสาวของนายทักษิณ กลับไม่มีชื่อพัวพันกับคดีทุจริตใด ๆ จนกลายเป็นที่จับตาว่า “เจ๊แดง” บริหารจัดการทางการเมืองอย่างไรจึงอยู่รอดปลอดภัยท่ามกลางข่าวลือฉาว ๆ
เรื่องนี้คงต้องหาคำตอบจาก นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ ที่บอกกับ นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ คนในพรรคเดียวกันว่า ‘กูพูดไม่ได้’ นั่นมีนัยยะหรือต้องการสื่ออะไรให้สังคมไทยได้รับรู้ความจริงกันแน่.

https://mgronline.com/specialscoop/detail/9600000088787

ข้อมูลปี 60 ยังขนาดนี้  ตอนนี้มีคนล่องหนหนีคดีกันบ้างแล้ว

ความอัปยศเรื่องทุจริตของพรรคการเมืองพรรคนี้  
มีหลากหลายคดี ติดตามกันไม่หวาดไหว  
เผลอๆพวกขี้โกงเหล่านี้ก็ลืมตัว ไปชี้ว่าคนอื่นโกงไม่ดูตัวเองว่าโกงจนติดคุกกันเป็นแถว

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่