บทบรรณาธิการ
สัปดาห์ที่ผ่านมา แวดวงธุรกิจ แวดวงการเงินต่างจับตาผลการประชุมพิจารณาทิศทางอัตราดอกเบี้ยของหลายประเทศ โดยเฉพาะกำหนดการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กับธนาคารกลางของจีนซึ่งมีขึ้นในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน
ในส่วนของไทย ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) 19 ธ.ค. ที่มีมติปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% จาก 1.50/ปี เป็น 1.75% ต่อปี แม้จะเป็นการปรับขึ้นครั้งแรกในรอบ 7 ปี แต่ไม่ได้เหนือความคาดหมาย ความวิตกกังวลในตลาดจึงไม่เกิดขึ้น
ณะที่เฟดตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยระยะสั้น 0.25% จาก 2.25% เป็น 2.50% ต่อปี เป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งที่ 4 ในปีนี้ และปรับลดการคาดการณ์การขึ้นดอกเบี้ยปี 2562 จากเดิม 3 ครั้ง เหลือ 2 ครั้ง ส่วนผลการประชุมธนาคารกลางของจีน (พีบีโอซี) ได้มีมติคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะสั้นไว้ในระดับเดิม
ทิศทางดอกเบี้ยที่ธนาคารกลางหลายประเทศทยอยปรับขึ้นช่วงโค้งสุดท้ายปีนี้ ชี้ว่าเทรนด์ดอกเบี้ยในตลาดเข้าสู่ขาขึ้นชัด ศักราชใหม่ปีกุน 2562 จึงเป็นปีที่ภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม นักลงทุน รวมทั้งประชาชนทั่วไป ต้องปรับโหมดบริหารต้นทุนค่าใช้จ่าย กับต้นทุนดอกเบี้ยที่พุ่งขึ้นหลังทรงตัวอยู่ในระดับที่ต่ำมานาน
ในส่วนของธุรกิจขนาดใหญ่ ขนาดกลาง แม้ดอกเบี้ยขาขึ้นทำให้ต้องแบกภาระเพิ่ม แต่คงไม่ถึงขั้นที่จะสร้างปัญหาให้กับหน่วยงาน องค์กร เพราะนอกจากจะมีทีมงานคอยบริหารจัดการต้นทุน มีผู้เชี่ยวชาญ-ที่ปรึกษาช่วยดูแลและให้คำแนะนำแล้ว ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นน่าจะยังพอแบกรับภาระไหว
ที่น่าห่วงคือ ธุรกิจขนาดเล็ก ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เกษตรกร ลูกหนี้รายย่อย กับมนุษย์เงินเดือน ที่ภาระค่าใช้จ่ายจะมีเพิ่มสวนทางกับยอดขาย และรายได้ที่ลดน้อยลง หรือคงที่ ดังนั้นปีหน้าถ้าอัตราดอกเบี้ยขยับขึ้นต่อเนื่องตามแนวโน้มตลาด ความสามารถในการชำระหนี้ของคนกลุ่มนี้จะยิ่งมีจำกัด
ไม่ต่างไปจากคนในชุมชนท้องถิ่นที่เวลานี้ตกที่นั่งลำบาก เศรษฐกิจฐานรากทั้งระบบยังฟุบไม่ฟื้น เพราะแม้ภาพรวมเศรษฐกิจปีนี้จะยังเติบโต และมีการคาดการณ์ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ตลอดทั้งปี จะขยายตัว 4.2% แต่รวยกระจุก จนกระจาย ยังเป็นปัญหาใหญ่ สะท้อนให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำที่นับวันยิ่งถ่างกว้างขึ้นเรื่อย ๆ
ท่ามกลางปัจจัยลบสงครามการค้า ดอกเบี้ยขาขึ้น การฝืนกลไกตลาดคงเป็นไปได้ยาก รัฐบาลในฐานะผู้บริหารประเทศจึงไม่ควรนิ่งนอนใจ ต้องเร่งหาทางลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจขนาดเล็ก เอสเอ็มอี เกษตรกร ลูกหนี้รายย่อย ซึ่งเปรียบเสมือนเส้นเลือดฝอยเศรษฐกิจ ขณะที่คนกลุ่มนี้ก็ต้องระมัดระวังเรื่องการสร้างหนี้ พร้อมปรับตัวให้ทันการณ์ มิฉะนั้นโอกาสที่จะก้าวข้ามดอกเบี้ยขาขึ้นคงเป็นไปได้ยาก
https://www.prachachat.net/columns/news-268902
ดอกเบี้ยขึ้นเส้นเลือดฝอย ศก.ปริ
สัปดาห์ที่ผ่านมา แวดวงธุรกิจ แวดวงการเงินต่างจับตาผลการประชุมพิจารณาทิศทางอัตราดอกเบี้ยของหลายประเทศ โดยเฉพาะกำหนดการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กับธนาคารกลางของจีนซึ่งมีขึ้นในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน
ในส่วนของไทย ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) 19 ธ.ค. ที่มีมติปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% จาก 1.50/ปี เป็น 1.75% ต่อปี แม้จะเป็นการปรับขึ้นครั้งแรกในรอบ 7 ปี แต่ไม่ได้เหนือความคาดหมาย ความวิตกกังวลในตลาดจึงไม่เกิดขึ้น
ณะที่เฟดตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยระยะสั้น 0.25% จาก 2.25% เป็น 2.50% ต่อปี เป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งที่ 4 ในปีนี้ และปรับลดการคาดการณ์การขึ้นดอกเบี้ยปี 2562 จากเดิม 3 ครั้ง เหลือ 2 ครั้ง ส่วนผลการประชุมธนาคารกลางของจีน (พีบีโอซี) ได้มีมติคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะสั้นไว้ในระดับเดิม
ทิศทางดอกเบี้ยที่ธนาคารกลางหลายประเทศทยอยปรับขึ้นช่วงโค้งสุดท้ายปีนี้ ชี้ว่าเทรนด์ดอกเบี้ยในตลาดเข้าสู่ขาขึ้นชัด ศักราชใหม่ปีกุน 2562 จึงเป็นปีที่ภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม นักลงทุน รวมทั้งประชาชนทั่วไป ต้องปรับโหมดบริหารต้นทุนค่าใช้จ่าย กับต้นทุนดอกเบี้ยที่พุ่งขึ้นหลังทรงตัวอยู่ในระดับที่ต่ำมานาน
ในส่วนของธุรกิจขนาดใหญ่ ขนาดกลาง แม้ดอกเบี้ยขาขึ้นทำให้ต้องแบกภาระเพิ่ม แต่คงไม่ถึงขั้นที่จะสร้างปัญหาให้กับหน่วยงาน องค์กร เพราะนอกจากจะมีทีมงานคอยบริหารจัดการต้นทุน มีผู้เชี่ยวชาญ-ที่ปรึกษาช่วยดูแลและให้คำแนะนำแล้ว ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นน่าจะยังพอแบกรับภาระไหว
ที่น่าห่วงคือ ธุรกิจขนาดเล็ก ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เกษตรกร ลูกหนี้รายย่อย กับมนุษย์เงินเดือน ที่ภาระค่าใช้จ่ายจะมีเพิ่มสวนทางกับยอดขาย และรายได้ที่ลดน้อยลง หรือคงที่ ดังนั้นปีหน้าถ้าอัตราดอกเบี้ยขยับขึ้นต่อเนื่องตามแนวโน้มตลาด ความสามารถในการชำระหนี้ของคนกลุ่มนี้จะยิ่งมีจำกัด
ไม่ต่างไปจากคนในชุมชนท้องถิ่นที่เวลานี้ตกที่นั่งลำบาก เศรษฐกิจฐานรากทั้งระบบยังฟุบไม่ฟื้น เพราะแม้ภาพรวมเศรษฐกิจปีนี้จะยังเติบโต และมีการคาดการณ์ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ตลอดทั้งปี จะขยายตัว 4.2% แต่รวยกระจุก จนกระจาย ยังเป็นปัญหาใหญ่ สะท้อนให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำที่นับวันยิ่งถ่างกว้างขึ้นเรื่อย ๆ
ท่ามกลางปัจจัยลบสงครามการค้า ดอกเบี้ยขาขึ้น การฝืนกลไกตลาดคงเป็นไปได้ยาก รัฐบาลในฐานะผู้บริหารประเทศจึงไม่ควรนิ่งนอนใจ ต้องเร่งหาทางลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจขนาดเล็ก เอสเอ็มอี เกษตรกร ลูกหนี้รายย่อย ซึ่งเปรียบเสมือนเส้นเลือดฝอยเศรษฐกิจ ขณะที่คนกลุ่มนี้ก็ต้องระมัดระวังเรื่องการสร้างหนี้ พร้อมปรับตัวให้ทันการณ์ มิฉะนั้นโอกาสที่จะก้าวข้ามดอกเบี้ยขาขึ้นคงเป็นไปได้ยาก
https://www.prachachat.net/columns/news-268902