มารีวิวประสบการณ์ ก่อน และ หลัง การผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลัง ข้อL4/L5 และ L5/S1 ค่ะ กระทู้นี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นกำลังใจให้ทุกๆคนให้ก้าวผ่านโรคนี้ไปได้อย่างเข้มแข็งนะคะ ที่ผ่านมา เราลองผิดลองถูกมาระดับนึง เลยอยากแชร์ประสบการณ์ให้ฟังค่ะ
สิ่งที่เกิดขึ้น
เดือน มค. 2561 (อายุ 29 สูง 174 นน. 80)
มีอาการปวดหลังเรื้อรังมาพักนึง จนกระทั่งเริ่มลุกจากเตียงลำบาก ขาซ้ายเสียวแปลบ นั่งนานลุกขึ้นและสะโพกเบี้ยว ไปหาหมอเอกซเรย์พบว่า กล้ามเนื้ออักเสบไปดันโครงสันหลังให้เบี้ยว แต่อาการนี้สามารถหายได้เมื่อกล้ามเนื้อหายอักเสบ แต่สิ่งที่พบเพิ่มเติมคือ พบว่ามีหมอนรองกระดูกส่วน lower back เริ่มปลิ้นออกมาเล็กน้อย ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เรารู้สึกเสียวร้าวลงขา หมอสั่งให้เริ่มทำกายภาพด้วยตนเองและลดน้ำหนัก
เดือน กค. 2561 (นน. 78)
หลังจากอาการเมื่อเดือนมค. ดีขึ้น ก็ชะล่าใจทำงานหนักเหมือนเดิม จนกระทั่งต้องเดินทาง และแบกกระเป๋า 30 กก. คนเดียว จังหวะที่ยกกระเป๋าเร็วเกินไป ความรู้สึกแรกคือปวดหลังมาก แต่ก็ยังชะล่าใจ คิดว่ากล้ามเนื้ออักเสบ ตอนเดินทางไปทำงานต้องกินยาแก้ปวดทุกวัน เวลาลงจากเตียงจะปวดร้าวขาซ้ายมากจนแทบไม่มีแรงเดิน ต้องอาศัยท่ากายภาพทุกเช้าก่อนออกไปทำงาน จนอาการดีขึ้น คิดว่าหายแล้ว ก็จัดเต็มเดินทางแบกของหนักเหมือนเดิม
เดือน กย. 2561 (นน. 82)
เรียนอยู่ที่ปักกิ่ง เริ่มละเลยการออกกำลังกายและคุมน้ำหนัก เมื่อน้ำหนักแตะเลข 8 สิ่งที่ตามมาคือมีอาการปวดหลังแทบทุกวัน และเริ่มร้าวลงขาอีกครั้ง แต่ครั้งนี้มีอาการทุกวัน แบบที่ทำท่ากายภาพด้วยตนเองขนาดนั้นก็ไม่หาย อาการหนักขึ้นเมื่อพบว่า ขาซ้ายที่ปวดร้าวทุกวันเริ่มหมดแรงและไม่มีแรงเดิน ไม่สามารถก้าวขาขึ้นบันไดด้วยเท้าซ้ายได้ มีครั้งหนึ่งเพื่อนแนะให้ลองไปนวดเพื่อบรรเทาอาการปรากฎว่ากลับมาวันต่อมาไม่สามารถก้าวเท้าเดินได้เลย
เดือน ตค. 2561 (นน. 82) ตัดสินใจไปหาหมอ โดยเริ่มจากแพทย์แผนจีนก่อน เพื่อบรรเทาอาการปวดที่รุนแรงมากในตอนนั้น ปรากฎว่า ครอบแก้วและฝังเข็ม (โดยอาจารย์แพทย์แผนจีนที่รพ.ใหญ่) สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้ แต่ต้องไปทำอาทิตย์ ละ 2 ครั้ง สลับกับการทำกายภาพแผนปัจจุบันคือเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า (ทำMRIที่จีนแล้วทางหมอกายภาพแนะนำว่าให้เข้าพบหมอกระดูกเพื่อคอนซัลท์ต่อ แต่ไม่ได้พบเพราะคิวยาวมาก) ผลปรากฎว่า แม้อาการปวดจะทุเลา แต่ขาซ้ายยังคงปวดร้าวและไม่สามารถเดินอย่างปกติได้ ต้องเริ่มใช้ไม้ค้ำเดิน ตอนนั้นเริ่มตัดสินใจแล้วว่าหากเป็นแบบนี้ต่อไปต้องเสียการเสียงานมากๆแน่
เดือน พย. 2561 (นน. 80)
ตัดสินใจกลับไทยมารักษา ขากลับนั่งเครื่องบินต้องร้องไห้ตลอดทาง เพราะนั่งมาแล้วปวดมากๆ ถึงไทยก็เข้าหาคอนซัลท์หมอกระดูก 2 ท่านจึงได้ข้อสรุปว่าต้องผ่าตัดแน่ๆ เพราะหมอนรองออกมาจากส่วนของข้อกระดูมากเกินไป ถึงตอนนี้ ต้องพยายามหาหมอผ่าตัดรพ.รัฐ แต่คิวเป็นหลักเดือนถึงต้นปีหน้า จึงต้องตัดสินใจเข้ารพ.เอกชน (จ่ายเต็ม ไม่มีประกัน - มาถึงตอนนี้อยากได้บัตรคนจนมากเพราะจนไปเลย) ซึ่งได้คิวภายในอาทิตย์แรกที่กลับมา ผลจากการทำ MRI รอบใหม่ที่ไทยได้ข้อสรุปว่า หมอนรองกระดูก L4/L5 L5/S1 แตกทั้ง 2 ข้อ น้ำไขข้อไหลออกมาเคลือบโซนเส้นประสาท รวมไปถึงส่วนของหมอนรองที่แตกออกไปก็เบียดเส้นประสาททั้งขาซ้าย และขาขวา แต่ขาซ้ายโดนเยอะกว่าจนเริ่มทำงานไม่ปกติ หมอจึงแนะนำให้ผ่าด้วยการส่องกล้อง เพื่อดูดน้ำไขข้อออกจนหมดทั้ง 2 ข้อ และ เหลือส่วนเปลือกของหมอนรองทั้งสองข้อไว้ เพื่อกันไม่ให้กระดูกสันหลังเคลื่อนตัวมาติดกัน ผลที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้ที่ต้องยอมรับคือ
1. หมอนรองกระดูกทั้ง 2 จะเหลืออยู่ 70 % ทั้ง 2 ข้อ นั่นแปลว่า ประสิทธิภาพของมันก็จะเหลือเท่านั้นเช่นกัน
2. หมอไม่ดามเหล็กให้ เพราะเห็นว่าอายุยังน้อย และสามารถสร้างกล้ามเนื้อเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงเองได้ เพราะฉะนั้น ต้องยอมรับว่าหลังจากนี้ ถ้าปล่อยตัวเองอีกอาจเกิดปัญหาที่รุนแรงตามมาในภายภาคหน้า
3.ในส่วนของกล้ามเนื้อขาซ้ายและขาขวาที่อ่อนแรงไปด้วยปัญหาเส้นประสาทถูกกดทับจะใช้เวลาในการฟื้นยาวนานที่สุด (กล้ามเนื้อ > กระดูก > เส้นประสาท ตามลำดับ) ดังนั้น อาจจะต้องอยู่ให้คุ้นชินกับอาการชา และออกกำลังกล้ามเนื้อไม่ให้เนื้อลีบและกระตุ้นให้เส้นประสาททำงานอย่างปกติอย่างสม่ำเสมอ โอกาสจะหายขาดจากอาการนี้มี 95 %
เดือน พย. หลังผ่าตัด (นน. 79)
อยู่รพ.ทั้งหมด 4 คืน 5 วัน (ค่ารักษา 290K) หมออยากให้เดินทันทีภายในสามวันแรกเพื่อรีบคืนแรงที่กล้ามเนื้อ และพยายามไม่ให้เกิดพังผืดที่แผลผ่าตัด แต่สุดท้ายเราก็ยอมเดินในวันที่ 4 และพร้อมกลับบ้านในวันที่ 5 ข้อปฎิบัติเริ่มต้นที่หมอแนะนำคือ เดิน หรือ ยืนให้เยอะที่สุด สลับนั่ง (ห้ามนั่งนานเกิน 15นาที แต่ไม่ต้องห่วง คุณจะปวดหลังตั้งแต่ 5 นาทีแรก) นอนเมื่อรู้สึกเหนื่อย พยายามออกกำลังตามท่าที่คุณหมอสอน ได้แก่ เขย่งเท้าและยืนบนปลายเท้า 10 วิ ยืนบนส้นเท้า 10วิ (ช่วงหลังผ่าแรกๆยกไม่ขึ้นเลย) เขย่งเท้าแล้วเดินไปมา ยกขาขึ้นให้เข่าสูงเหนือเอวข้างไว้ บิดตัวไปทางซ้ายและขวา ก้มตัวลงเอามือจะหัวเข่า (ยากมากกกก) หงายตัวขึ้นยกมือสูงๆ ท่าเหล่านี้ ทำมันไปเลยทุกวัน วันละ 3-4 รอบ ยันวันที่ตัดไหม (ประมาณ 10 วันแรก) อาจเพิ่มด้วยการเดินบนลู่วิ่งช้า สัก 15 นาที และค่อยๆเร่งความเร็วทีละน้อย อย่าริอาจยกของหนักเกิน 2 กิโลเป็นอันขาด(เพราะเรายกมาแล้วและเจ็บมาก) ส่วนเราซึ่งมีปัญหาเรื่องเส้นประสาทค่อนข้างหนัก อาการจะชากว่าปกติ ไม่ต้องตกใจ ถ้าอาการปวดร้าวหายไป นั่นเแปลว่าการรักษาได้ผลแล้ว อาการชาหลังผ่าตัดคือการที่เส้นประสาทกำลังฟื้นตัว เหมือนเวลาเรานั่งทับขานานๆแล้วปวดชา พอเราเปลี่ยนข้าง ก็ต้องรอสักพักให้ขาหายชา ดังนั้น ต้องทำท่ากายภาพที่หมอสั่งตลอดให้คุ้นชิน เดินคล่องขึ้นให้อาการชาเป็นอุปสรรคในการออกกำลังให้น้อยที่สุด ทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมาขอให้ดูลิมิตตัวเอง เพราะเราเป็นคนใจร้อน สุดท้าย 2 อาทิตย์หลังผ่า เราต้องกลับมากินยาแล้วหยุดออกกำลังไป 4 วันเพราะกล้ามเนื้ออักเสบ ดังนั้น ค่อยเป็นค่อยไปนะคะ
เดือนพย. หลัง ตัดไหม (นน. 78)
เริ่มคุมอาหาร (อย่าเพิ่งใจร้อนคุมอาหารตั้งแต่หลังผ่า เพราะตอนนั้นร่างกายเราต้องการอาหารครบ 5 หมู่เพื่อซ่อมแซมร่างกาย กินไปก่อนแล้วค่อนเริ่มคุมหลังผ่าสัก 2 อาทิตย์) หลังตัดไหม 2 วันเราเริ่มต้นว่ายน้ำทุกวัน ก่อนว่ายควรสังเกตแผลก่อนว่าตกสะเก็ดหมดรึยัง ถ้าหมดแล้วก็ว่ายได้อย่างสบายใจ ถ้ายังไม่หมดควรถามหมอก่อน ช่วงแรกให้ค่อยๆลอยตัวก่อน หาโฟมมาจับ ตีขาเบาๆ เดินในน้ำ แล้วค่อยเริ่มว่ายฟรีสไตล์ ท่าที่ต้องหลีกเลี่ยงยาวๆเลยคือกบและผีเสื้อ เมื่อกล้ามเนื้อหลังเริ่มสร้างแล้วค่อยว่ายกระเชียง จากการที่เราว่ายน้ำอย่างต่อเนื่องเกือบทุกวันเราค้นพบเลยว่า ว่ายน้ำคือยาวิเศษมากๆๆๆๆๆ นอกจากคุณจะมีกำลังใจในการออกกำลังมากขึ้น เพราะในน้ำสามารถทำให้เราสามารถทำอะไรได้มากกว่าอยู่บนบก เรายังได้ออกกำลังกล้ามเนื้อหลัง ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นมากหลังจากนี้ ส่วนเรื่องการเดินบนลู่ เรายังทำอย่างต่อเนื่องเกือบทุกวัน และพยายามเล่นท่าง่ายๆที่ไม่กระทบหลัง เช่น standing side leg raise อย่าเพิ่งยกสูงมาก ค่อยๆทำไปเรื่อยๆ หรือท่าบริหารแขนแบบไม่ใช้เวท
เดือนธค. 6 อาทิตย์หลังผ่าตัด (นน. 75)
แผลผ่าตัดของเรามีปัญหาเพราะแผลเราเกิดเนื้อตาย และเราว่ายน้ำมาตลอดเลยทำให้แผลหายช้า ผลสรุปคือต้องเย็บแผลใหม่และหยุดว่ายน้ำไป แต่เราก็ยังคงการออกกำลังกายโดยการเดินลู่ บิดตัว ออกกำลังแขนทุกวัน ทำเบาๆให้เหงื่อออกและทำวันละ 1 ฃั่วโมง การคุมอาหารนั้นเราไม่ได้ลด แต่เราเริ่มกินเหมือนคนที่คุมน้ำหนักพวกสร้างกล้ามเนื้อ เช่นกินโปรตีนเยอะๆลดคาร์ปและไขมัน หลีกเลี่ยงอาหารทอด และชานมไข่มุก เท่านี้ การลดอาทิตย์ละ 0.5-1 กิโลก็จะทำได้ไม่ยากเย็นนัก ตอนนี้เราสามารถเดินได้มากขึ้น นั่งได้นานขึ้น (แต่ไม่เกิน 40 นาที ต้องลุกขึ้นมายืดเส้นหรือเดินไปมา)
To be continued......
บทสรุปอื่นๆที่เราพบเจอระหว่างการดูแลรักษา
1. โรคซึมเศร้าหรือโรคเครียดจากอาการป่วย - จากคนที่เคยทำงานหนักและ active ตลอดต้องมาเจออาการป่วยแบบนี้บอกเลยว่าทรมาณจิตใจมากๆ สำหรับเรา 2 อาทิตย์แรกหลังผ่าเราอยากจะขึ้นไปชั้นบนสุดของบ้านแล้วดิ่งลงพื้นไปเลย เพระาเราไม่เคยทำอะไรด้วยตัวเองไม่ได้ขนาดนี้ ต้องเสียโอกาสในชีวิตหลายอย่าง ต้องดรอปเรียน ต้องเสียเงินเป็นแสนๆ ต้องลำบากแม่มานั่งดูแล หากใครกำลังเผชิญความเครียดนี้อยู่ มาคุยกับเราได้นะ ส่งอินบอกมาเลย เรายินดีรับฟังจากใจ เราอาจไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ แต่ในฐานะคนเผชิญโรคนี้ด้วยกัน สามารถแบ่งปันความรู้กันได้ และคุณสามารถบอกความเครียดเหล่านี้ให้หมอของคุณฟังได้ด้วย วิธีการคอนซัลท์เค้าจะเปลี่ยนตามทันที เพียงแค่คุณต้องเปิดใจบอกปัญหาเรื่องเครียดให้คุณหมอฟัง อีกสิ่งหนึ่งที่สามารถทำให้หายเครียดได้คือการออกกำลังกาย ทำกายภาพให้เหงื่อออก จิตใจจะดีขึ้นทันทีเมื่อออกอย่างต่อเนื่องใน 1-2 สัปดาห์ เป็นกำลังใจให้ทุกคนนะคะ
2. ความสำคัญของกล้ามเนื้อหลัง
Office Syndrome คือจุดเริ่มต้นของการเจ็บป่วยทั้งปวง รวมไปถึงน้ำหนัก และการดูแลสุขภาพ ดังนั้น เราควรหันมาใส่ใจการดูแลเรื่องนี้ให้มาก และอย่าปล่อยให้ปวดหลังไปเรื่อยๆจนเรื้อรัง ร่างกายแต่ละคนไม่เหมือนกัน เราค้นพบว่าคนเป็นเรื่องหมอนรองกระดูกไม่จำเป็นต้องมีน้ำหนักมาก การนั่งผิดวิธี การทำงานผิดวิธีก็มีส่วนแล้ว กล้ามเนื้อหลังควรหมั่นสร้างให้แข็งแรง เพราะหมอนรองกระดูก เมื่อเสียหายแล้ว มันเอากลับคืนไม่ได้
3. การดูแลตัวเองหลังจากนี้
- ช่วงหลังผ่าเริ่มแรกหมอแพลนให้ลาหยุด 1 เดือน แต่ถ้า 1 เดือนนี้เรามีอาการแทรกซ้อน เช่นกล้ามเนื้ออักเสบ หมอจะให้ลาหยุดเพิ่มเป็น 1 เดือนครึ่ง สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ต้องทำใจให้ดี และดูแลตัวเองมากๆในช่วงที่หยุดพัก
- หลังจากผ่าตัด 4 เดือนแรก ห้ามยกของหนักเกิน 5 กิโล อย่าแม้แต่จะคิด และในช่วง 1 ปีแรกไม่ควรยกเกิน 10 กิโล
- ออกกำลังกายและทำกายภาพอย่างสม่ำเสมอมากๆ ทุกวันได้ยิ่งดี หรืออย่างน้อยต้องยืดเส้นยืดสายก่อนจะทำอะไร เพราะถ้าไม่แข็งแรงพอ โอกาสเกิดกล้ามเนื้ออักเสบมีมาก
- ทำจิตใจให้แจ่มใส คิดไว้ว่าหลังจากนี้เราจะแข็งแรง ผอม และดูดี
To be continued......
ท้ายนี้ก็ขอให้ทุกคนดูและสุขภาพหลังให้ดีนะคะ สู้ๆค่ะ ไว้จะมาอัพเดทเรื่อยๆเป็นเดือนๆไป
รีวิวตัวเอง ตั้งแต่เริ่มปวดหลัง ผ่าหลังและหลังผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลัง 6 สัปดาห์
สิ่งที่เกิดขึ้น
เดือน มค. 2561 (อายุ 29 สูง 174 นน. 80)
มีอาการปวดหลังเรื้อรังมาพักนึง จนกระทั่งเริ่มลุกจากเตียงลำบาก ขาซ้ายเสียวแปลบ นั่งนานลุกขึ้นและสะโพกเบี้ยว ไปหาหมอเอกซเรย์พบว่า กล้ามเนื้ออักเสบไปดันโครงสันหลังให้เบี้ยว แต่อาการนี้สามารถหายได้เมื่อกล้ามเนื้อหายอักเสบ แต่สิ่งที่พบเพิ่มเติมคือ พบว่ามีหมอนรองกระดูกส่วน lower back เริ่มปลิ้นออกมาเล็กน้อย ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เรารู้สึกเสียวร้าวลงขา หมอสั่งให้เริ่มทำกายภาพด้วยตนเองและลดน้ำหนัก
เดือน กค. 2561 (นน. 78)
หลังจากอาการเมื่อเดือนมค. ดีขึ้น ก็ชะล่าใจทำงานหนักเหมือนเดิม จนกระทั่งต้องเดินทาง และแบกกระเป๋า 30 กก. คนเดียว จังหวะที่ยกกระเป๋าเร็วเกินไป ความรู้สึกแรกคือปวดหลังมาก แต่ก็ยังชะล่าใจ คิดว่ากล้ามเนื้ออักเสบ ตอนเดินทางไปทำงานต้องกินยาแก้ปวดทุกวัน เวลาลงจากเตียงจะปวดร้าวขาซ้ายมากจนแทบไม่มีแรงเดิน ต้องอาศัยท่ากายภาพทุกเช้าก่อนออกไปทำงาน จนอาการดีขึ้น คิดว่าหายแล้ว ก็จัดเต็มเดินทางแบกของหนักเหมือนเดิม
เดือน กย. 2561 (นน. 82)
เรียนอยู่ที่ปักกิ่ง เริ่มละเลยการออกกำลังกายและคุมน้ำหนัก เมื่อน้ำหนักแตะเลข 8 สิ่งที่ตามมาคือมีอาการปวดหลังแทบทุกวัน และเริ่มร้าวลงขาอีกครั้ง แต่ครั้งนี้มีอาการทุกวัน แบบที่ทำท่ากายภาพด้วยตนเองขนาดนั้นก็ไม่หาย อาการหนักขึ้นเมื่อพบว่า ขาซ้ายที่ปวดร้าวทุกวันเริ่มหมดแรงและไม่มีแรงเดิน ไม่สามารถก้าวขาขึ้นบันไดด้วยเท้าซ้ายได้ มีครั้งหนึ่งเพื่อนแนะให้ลองไปนวดเพื่อบรรเทาอาการปรากฎว่ากลับมาวันต่อมาไม่สามารถก้าวเท้าเดินได้เลย
เดือน ตค. 2561 (นน. 82) ตัดสินใจไปหาหมอ โดยเริ่มจากแพทย์แผนจีนก่อน เพื่อบรรเทาอาการปวดที่รุนแรงมากในตอนนั้น ปรากฎว่า ครอบแก้วและฝังเข็ม (โดยอาจารย์แพทย์แผนจีนที่รพ.ใหญ่) สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้ แต่ต้องไปทำอาทิตย์ ละ 2 ครั้ง สลับกับการทำกายภาพแผนปัจจุบันคือเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า (ทำMRIที่จีนแล้วทางหมอกายภาพแนะนำว่าให้เข้าพบหมอกระดูกเพื่อคอนซัลท์ต่อ แต่ไม่ได้พบเพราะคิวยาวมาก) ผลปรากฎว่า แม้อาการปวดจะทุเลา แต่ขาซ้ายยังคงปวดร้าวและไม่สามารถเดินอย่างปกติได้ ต้องเริ่มใช้ไม้ค้ำเดิน ตอนนั้นเริ่มตัดสินใจแล้วว่าหากเป็นแบบนี้ต่อไปต้องเสียการเสียงานมากๆแน่
เดือน พย. 2561 (นน. 80)
ตัดสินใจกลับไทยมารักษา ขากลับนั่งเครื่องบินต้องร้องไห้ตลอดทาง เพราะนั่งมาแล้วปวดมากๆ ถึงไทยก็เข้าหาคอนซัลท์หมอกระดูก 2 ท่านจึงได้ข้อสรุปว่าต้องผ่าตัดแน่ๆ เพราะหมอนรองออกมาจากส่วนของข้อกระดูมากเกินไป ถึงตอนนี้ ต้องพยายามหาหมอผ่าตัดรพ.รัฐ แต่คิวเป็นหลักเดือนถึงต้นปีหน้า จึงต้องตัดสินใจเข้ารพ.เอกชน (จ่ายเต็ม ไม่มีประกัน - มาถึงตอนนี้อยากได้บัตรคนจนมากเพราะจนไปเลย) ซึ่งได้คิวภายในอาทิตย์แรกที่กลับมา ผลจากการทำ MRI รอบใหม่ที่ไทยได้ข้อสรุปว่า หมอนรองกระดูก L4/L5 L5/S1 แตกทั้ง 2 ข้อ น้ำไขข้อไหลออกมาเคลือบโซนเส้นประสาท รวมไปถึงส่วนของหมอนรองที่แตกออกไปก็เบียดเส้นประสาททั้งขาซ้าย และขาขวา แต่ขาซ้ายโดนเยอะกว่าจนเริ่มทำงานไม่ปกติ หมอจึงแนะนำให้ผ่าด้วยการส่องกล้อง เพื่อดูดน้ำไขข้อออกจนหมดทั้ง 2 ข้อ และ เหลือส่วนเปลือกของหมอนรองทั้งสองข้อไว้ เพื่อกันไม่ให้กระดูกสันหลังเคลื่อนตัวมาติดกัน ผลที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้ที่ต้องยอมรับคือ
1. หมอนรองกระดูกทั้ง 2 จะเหลืออยู่ 70 % ทั้ง 2 ข้อ นั่นแปลว่า ประสิทธิภาพของมันก็จะเหลือเท่านั้นเช่นกัน
2. หมอไม่ดามเหล็กให้ เพราะเห็นว่าอายุยังน้อย และสามารถสร้างกล้ามเนื้อเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงเองได้ เพราะฉะนั้น ต้องยอมรับว่าหลังจากนี้ ถ้าปล่อยตัวเองอีกอาจเกิดปัญหาที่รุนแรงตามมาในภายภาคหน้า
3.ในส่วนของกล้ามเนื้อขาซ้ายและขาขวาที่อ่อนแรงไปด้วยปัญหาเส้นประสาทถูกกดทับจะใช้เวลาในการฟื้นยาวนานที่สุด (กล้ามเนื้อ > กระดูก > เส้นประสาท ตามลำดับ) ดังนั้น อาจจะต้องอยู่ให้คุ้นชินกับอาการชา และออกกำลังกล้ามเนื้อไม่ให้เนื้อลีบและกระตุ้นให้เส้นประสาททำงานอย่างปกติอย่างสม่ำเสมอ โอกาสจะหายขาดจากอาการนี้มี 95 %
เดือน พย. หลังผ่าตัด (นน. 79)
อยู่รพ.ทั้งหมด 4 คืน 5 วัน (ค่ารักษา 290K) หมออยากให้เดินทันทีภายในสามวันแรกเพื่อรีบคืนแรงที่กล้ามเนื้อ และพยายามไม่ให้เกิดพังผืดที่แผลผ่าตัด แต่สุดท้ายเราก็ยอมเดินในวันที่ 4 และพร้อมกลับบ้านในวันที่ 5 ข้อปฎิบัติเริ่มต้นที่หมอแนะนำคือ เดิน หรือ ยืนให้เยอะที่สุด สลับนั่ง (ห้ามนั่งนานเกิน 15นาที แต่ไม่ต้องห่วง คุณจะปวดหลังตั้งแต่ 5 นาทีแรก) นอนเมื่อรู้สึกเหนื่อย พยายามออกกำลังตามท่าที่คุณหมอสอน ได้แก่ เขย่งเท้าและยืนบนปลายเท้า 10 วิ ยืนบนส้นเท้า 10วิ (ช่วงหลังผ่าแรกๆยกไม่ขึ้นเลย) เขย่งเท้าแล้วเดินไปมา ยกขาขึ้นให้เข่าสูงเหนือเอวข้างไว้ บิดตัวไปทางซ้ายและขวา ก้มตัวลงเอามือจะหัวเข่า (ยากมากกกก) หงายตัวขึ้นยกมือสูงๆ ท่าเหล่านี้ ทำมันไปเลยทุกวัน วันละ 3-4 รอบ ยันวันที่ตัดไหม (ประมาณ 10 วันแรก) อาจเพิ่มด้วยการเดินบนลู่วิ่งช้า สัก 15 นาที และค่อยๆเร่งความเร็วทีละน้อย อย่าริอาจยกของหนักเกิน 2 กิโลเป็นอันขาด(เพราะเรายกมาแล้วและเจ็บมาก) ส่วนเราซึ่งมีปัญหาเรื่องเส้นประสาทค่อนข้างหนัก อาการจะชากว่าปกติ ไม่ต้องตกใจ ถ้าอาการปวดร้าวหายไป นั่นเแปลว่าการรักษาได้ผลแล้ว อาการชาหลังผ่าตัดคือการที่เส้นประสาทกำลังฟื้นตัว เหมือนเวลาเรานั่งทับขานานๆแล้วปวดชา พอเราเปลี่ยนข้าง ก็ต้องรอสักพักให้ขาหายชา ดังนั้น ต้องทำท่ากายภาพที่หมอสั่งตลอดให้คุ้นชิน เดินคล่องขึ้นให้อาการชาเป็นอุปสรรคในการออกกำลังให้น้อยที่สุด ทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมาขอให้ดูลิมิตตัวเอง เพราะเราเป็นคนใจร้อน สุดท้าย 2 อาทิตย์หลังผ่า เราต้องกลับมากินยาแล้วหยุดออกกำลังไป 4 วันเพราะกล้ามเนื้ออักเสบ ดังนั้น ค่อยเป็นค่อยไปนะคะ
เดือนพย. หลัง ตัดไหม (นน. 78)
เริ่มคุมอาหาร (อย่าเพิ่งใจร้อนคุมอาหารตั้งแต่หลังผ่า เพราะตอนนั้นร่างกายเราต้องการอาหารครบ 5 หมู่เพื่อซ่อมแซมร่างกาย กินไปก่อนแล้วค่อนเริ่มคุมหลังผ่าสัก 2 อาทิตย์) หลังตัดไหม 2 วันเราเริ่มต้นว่ายน้ำทุกวัน ก่อนว่ายควรสังเกตแผลก่อนว่าตกสะเก็ดหมดรึยัง ถ้าหมดแล้วก็ว่ายได้อย่างสบายใจ ถ้ายังไม่หมดควรถามหมอก่อน ช่วงแรกให้ค่อยๆลอยตัวก่อน หาโฟมมาจับ ตีขาเบาๆ เดินในน้ำ แล้วค่อยเริ่มว่ายฟรีสไตล์ ท่าที่ต้องหลีกเลี่ยงยาวๆเลยคือกบและผีเสื้อ เมื่อกล้ามเนื้อหลังเริ่มสร้างแล้วค่อยว่ายกระเชียง จากการที่เราว่ายน้ำอย่างต่อเนื่องเกือบทุกวันเราค้นพบเลยว่า ว่ายน้ำคือยาวิเศษมากๆๆๆๆๆ นอกจากคุณจะมีกำลังใจในการออกกำลังมากขึ้น เพราะในน้ำสามารถทำให้เราสามารถทำอะไรได้มากกว่าอยู่บนบก เรายังได้ออกกำลังกล้ามเนื้อหลัง ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นมากหลังจากนี้ ส่วนเรื่องการเดินบนลู่ เรายังทำอย่างต่อเนื่องเกือบทุกวัน และพยายามเล่นท่าง่ายๆที่ไม่กระทบหลัง เช่น standing side leg raise อย่าเพิ่งยกสูงมาก ค่อยๆทำไปเรื่อยๆ หรือท่าบริหารแขนแบบไม่ใช้เวท
เดือนธค. 6 อาทิตย์หลังผ่าตัด (นน. 75)
แผลผ่าตัดของเรามีปัญหาเพราะแผลเราเกิดเนื้อตาย และเราว่ายน้ำมาตลอดเลยทำให้แผลหายช้า ผลสรุปคือต้องเย็บแผลใหม่และหยุดว่ายน้ำไป แต่เราก็ยังคงการออกกำลังกายโดยการเดินลู่ บิดตัว ออกกำลังแขนทุกวัน ทำเบาๆให้เหงื่อออกและทำวันละ 1 ฃั่วโมง การคุมอาหารนั้นเราไม่ได้ลด แต่เราเริ่มกินเหมือนคนที่คุมน้ำหนักพวกสร้างกล้ามเนื้อ เช่นกินโปรตีนเยอะๆลดคาร์ปและไขมัน หลีกเลี่ยงอาหารทอด และชานมไข่มุก เท่านี้ การลดอาทิตย์ละ 0.5-1 กิโลก็จะทำได้ไม่ยากเย็นนัก ตอนนี้เราสามารถเดินได้มากขึ้น นั่งได้นานขึ้น (แต่ไม่เกิน 40 นาที ต้องลุกขึ้นมายืดเส้นหรือเดินไปมา)
To be continued......
บทสรุปอื่นๆที่เราพบเจอระหว่างการดูแลรักษา
1. โรคซึมเศร้าหรือโรคเครียดจากอาการป่วย - จากคนที่เคยทำงานหนักและ active ตลอดต้องมาเจออาการป่วยแบบนี้บอกเลยว่าทรมาณจิตใจมากๆ สำหรับเรา 2 อาทิตย์แรกหลังผ่าเราอยากจะขึ้นไปชั้นบนสุดของบ้านแล้วดิ่งลงพื้นไปเลย เพระาเราไม่เคยทำอะไรด้วยตัวเองไม่ได้ขนาดนี้ ต้องเสียโอกาสในชีวิตหลายอย่าง ต้องดรอปเรียน ต้องเสียเงินเป็นแสนๆ ต้องลำบากแม่มานั่งดูแล หากใครกำลังเผชิญความเครียดนี้อยู่ มาคุยกับเราได้นะ ส่งอินบอกมาเลย เรายินดีรับฟังจากใจ เราอาจไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ แต่ในฐานะคนเผชิญโรคนี้ด้วยกัน สามารถแบ่งปันความรู้กันได้ และคุณสามารถบอกความเครียดเหล่านี้ให้หมอของคุณฟังได้ด้วย วิธีการคอนซัลท์เค้าจะเปลี่ยนตามทันที เพียงแค่คุณต้องเปิดใจบอกปัญหาเรื่องเครียดให้คุณหมอฟัง อีกสิ่งหนึ่งที่สามารถทำให้หายเครียดได้คือการออกกำลังกาย ทำกายภาพให้เหงื่อออก จิตใจจะดีขึ้นทันทีเมื่อออกอย่างต่อเนื่องใน 1-2 สัปดาห์ เป็นกำลังใจให้ทุกคนนะคะ
2. ความสำคัญของกล้ามเนื้อหลัง
Office Syndrome คือจุดเริ่มต้นของการเจ็บป่วยทั้งปวง รวมไปถึงน้ำหนัก และการดูแลสุขภาพ ดังนั้น เราควรหันมาใส่ใจการดูแลเรื่องนี้ให้มาก และอย่าปล่อยให้ปวดหลังไปเรื่อยๆจนเรื้อรัง ร่างกายแต่ละคนไม่เหมือนกัน เราค้นพบว่าคนเป็นเรื่องหมอนรองกระดูกไม่จำเป็นต้องมีน้ำหนักมาก การนั่งผิดวิธี การทำงานผิดวิธีก็มีส่วนแล้ว กล้ามเนื้อหลังควรหมั่นสร้างให้แข็งแรง เพราะหมอนรองกระดูก เมื่อเสียหายแล้ว มันเอากลับคืนไม่ได้
3. การดูแลตัวเองหลังจากนี้
- ช่วงหลังผ่าเริ่มแรกหมอแพลนให้ลาหยุด 1 เดือน แต่ถ้า 1 เดือนนี้เรามีอาการแทรกซ้อน เช่นกล้ามเนื้ออักเสบ หมอจะให้ลาหยุดเพิ่มเป็น 1 เดือนครึ่ง สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ต้องทำใจให้ดี และดูแลตัวเองมากๆในช่วงที่หยุดพัก
- หลังจากผ่าตัด 4 เดือนแรก ห้ามยกของหนักเกิน 5 กิโล อย่าแม้แต่จะคิด และในช่วง 1 ปีแรกไม่ควรยกเกิน 10 กิโล
- ออกกำลังกายและทำกายภาพอย่างสม่ำเสมอมากๆ ทุกวันได้ยิ่งดี หรืออย่างน้อยต้องยืดเส้นยืดสายก่อนจะทำอะไร เพราะถ้าไม่แข็งแรงพอ โอกาสเกิดกล้ามเนื้ออักเสบมีมาก
- ทำจิตใจให้แจ่มใส คิดไว้ว่าหลังจากนี้เราจะแข็งแรง ผอม และดูดี
To be continued......
ท้ายนี้ก็ขอให้ทุกคนดูและสุขภาพหลังให้ดีนะคะ สู้ๆค่ะ ไว้จะมาอัพเดทเรื่อยๆเป็นเดือนๆไป