เมื่อวานนี้ผมมีโอกาสไปร่วมงาน “Future Energy Asia 2018” ที่ศูนย์การประชุมไบเทค บางนา ก็เลยถือโอกาสเก็บภาพบรรยากาศเล็ก ๆ น้อย ๆ กับ แง่มุมที่น่าสนใจเรื่องพลังงานมาฝากเพื่อน ๆ กันครับ
สำหรับงาน Future Energy Asia 2018 เป็นงานนิทรรศการและการประชุมด้านพลังงานเพื่ออนาคตที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย มีกระทรวงพลังงานเป็นแม่งานใหญ่ ร่วมกับ Co-Host ที่สำคัญอย่าง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และ ปตท. ซึ่งภายในงานก็รวมเอาบริษัทชั้นนำทางด้านพลังงานทั่วภูมิภาคเอเชีย มาร่วมเวทีเสวนา แลกเปลี่ยนความรู้ และสร้างโอกาสทางธุรกิจร่วมกัน ภายใต้แนวคิด “Asia’s Integrated Oil, Gas & Energy Transformation” จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 12 – 14 ธันวาคม 2561 ณ ศูนย์การประชุมไบเทค บางนา
ส่วนตัวผมไปร่วมบูทของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มาครับ ซึ่งงานนี้ EGAT เขาก็จัดบูทยิ่งใหญ่อลังการ เป็น Pavilion สองชั้นสูงตระหง่าน ภายใต้แนวคิด “Innovate Power Solutions for a Better Life” ซึ่งพอเดินดูจนครบ ต้องบอกว่า EGAT เขาจัดหนักจัดเต็มกับงาน Multimedia สมกับ Theme ของบูทจริง ๆ เพราะในโซนนิทรรศการ ก็จัดแสดงเนื้อหาด้วย Interactive Wall ที่ฉายเนื้อหาเกี่ยวกับ โครงการสถานีกักเก็บและแปลงสภาพก๊าซธรรมชาติเหลวแบบทุ่นลอยน้ำ (Floating Storage and Regasification Unit: FSRU) บนผนัง ให้ผู้ร่วมชมสามารถกดเลือกชมเนื้อหาได้เอง
พอพ้นอุโมงค์ Interactive Wall ก็จะมาเจอ ส่วนนิทรรศการ เรื่องการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนของ กฟผ. ที่นำเสนอด้วย Hologram 3 มิติ ล้ำ ๆ เรียกว่ายืนชมกันเพลิน ๆ ไม่เบื่อเลย
แม้แต่ Business Zone ที่ทาง กฟผ. เขาจัดเอาไว้ให้บรรดานักธุรกิจ ผู้ประกอบการ ได้มาพูดคุย แลกเปลี่ยนข้อมูลติดต่อกัน ก็ยังล้ำกว่าการแลกนามบัตรธรรมดา เพราะเขามีสตาฟฟ์สาวสวยคอยเก็บข้อมูลนามบัตรของผู้เข้าชมงานด้วย iPad สแกนนามบัตรแชะเดียว ก็เก็บข้อมูลเข้าระบบเสร็จสรรพ
ถ้ายังไม่เห็นภาพว่าล้ำขนาดไหน ผมมีคลิปสั้น ๆ ที่บูท กฟผ. เขารวบรวมบรรยากาศงานเมื่อวานนี้เอาไว้มาให้ชมกันเป็นน้ำจิ้มด้วยครับ
มาว่ากันที่เรื่องของเนื้อหาในงานกันบ้าง ที่น่าสนใจ และถูกชูเป็นเรือธงของ กฟผ. ในงานนี้ เป็นเรื่อง โครงการสถานีกักเก็บและแปลงสภาพก๊าซธรรมชาติเหลวแบบทุ่นลอยน้ำ หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า FSRU (Floating Storage and Regasification Unit) ซึ่งจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานหน้าตาเหมือนเรือขนาดใหญ่ ลอยอยู่กลางน้ำ ทำหน้าที่กักเก็บและแปรสภาพก๊าซ LNG ที่ขนมาทางเรือในสภาพของเหลวให้กลับไปเป็นก๊าซเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง ถือเป็นสถานี LNG แบบลอยน้ำแห่งแรกในประเทศไทย หลังจากที่ก่อนหน้านี้เรามีเพียงสถานีบนบกของ ปตท. เท่านั้น
ซึ่งโครงการ FSRU ที่ว่านี้ ก็มีจุดเริ่มต้นจากการที่ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) มีมติเห็นชอบให้ กฟผ. ก้าวมาเป็นผู้จัดหาก๊าซ LNG รายใหม่ ในปริมาณไม่เกิน 1.5 ล้านตันต่อปี เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2560 นั่นหมายความว่า กฟผ. จะพลิกบทบาท จากเดิมที่ต้องซื้อก๊าซ LNG จาก ปตท. มาใช้ในโรงไฟฟ้า กลายมาเป็นผู้จัดหา LNG ที่สามารถบริหารจัดการเรื่องเชื้อเพลิงได้เอง และเมื่อต้องจัดหาก็ต้องมีการสร้างคลังเอาไว้รองรับ กพช. จึงได้มอบหมายให้ กฟผ. เป็นผู้ดำเนินโครงการ FSRU หรือคลังก๊าซธรรมชาติลอยน้ำในพื้นที่อ่าวไทยด้วย ตามกำหนดการจะเริ่มก่อสร้างและทดสอบระบบในระหว่างปี 2563 - 2566 มีกำหนดแล้วเสร็จสามารถส่งก๊าซธรรมชาติได้ในปี 2567
สำหรับ โครงการ FSRU ที่ กฟผ.ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการ เป็นสถานีก๊าซ LNG แบบลอยน้ำ(Offshore Terminal) ลอยอยู่ในอ่าวไทยห่างจากชายฝั่งออกไปประมาณ 20 กิโลเมตร ความจุอยู่ที่ 5 ล้านตัน ใช้ส่งก๊าซ LNG ให้โรงไฟฟ้าพระนครใต้ จ.สมุทรปราการ และโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ จ.นนทบุรี รวมทั้งจัดส่งเข้าสู่โครงข่ายระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติในปัจจุบันด้วย
สิ่งที่น่าจับตามองก็คือ กฟผ. ที่อยู่กับไฟฟ้ามาโดยตลอด เมื่อต้องมาทำก๊าซธรรมชาติเอง ก็ต้องชูจุดแข็งเรื่องการบริหารจัดการก๊าซ LNG ที่ได้มาให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะหากมองให้ดีจะเห็นว่า กฟผ. มี Demand การใช้ก๊าซในโรงไฟฟ้าเป็นของตัวเองอยู่แล้ว ซึ่งการได้สิทธิ์ในการจัดหาก๊าซได้เอง ย่อมหมายถึงต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าจะถูกลง ทำให้ประชาชนอีก 70 ล้านคนได้ใช้ไฟฟ้าในราคาถูกลงตามไปด้วย นับเป็นผลประโยชน์สำคัญของคนไทยทั้งประเทศ ณ วันนี้ ประเทศไทยกำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคพลังงาน 4.0 ตามเป้าที่วางเอาไว้ในการก้าวไปเป็นศูนย์กลางด้านพลังงานยั่งยืนของเอเชีย การขยับตัวของ กฟผ. ในการเข้ามาจัดหาก๊าซ LNG ครั้งนี้ จึงนับเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญในการเดินไปสู่เป้าหมายดังกล่าวอย่างไม่ต้องสงสัย
พาไปส่อง FSRU โครงการคลังก๊าซลอยน้ำของ กฟผ. ในงาน Future Energy Asia 2018
สำหรับงาน Future Energy Asia 2018 เป็นงานนิทรรศการและการประชุมด้านพลังงานเพื่ออนาคตที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย มีกระทรวงพลังงานเป็นแม่งานใหญ่ ร่วมกับ Co-Host ที่สำคัญอย่าง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และ ปตท. ซึ่งภายในงานก็รวมเอาบริษัทชั้นนำทางด้านพลังงานทั่วภูมิภาคเอเชีย มาร่วมเวทีเสวนา แลกเปลี่ยนความรู้ และสร้างโอกาสทางธุรกิจร่วมกัน ภายใต้แนวคิด “Asia’s Integrated Oil, Gas & Energy Transformation” จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 12 – 14 ธันวาคม 2561 ณ ศูนย์การประชุมไบเทค บางนา
ส่วนตัวผมไปร่วมบูทของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มาครับ ซึ่งงานนี้ EGAT เขาก็จัดบูทยิ่งใหญ่อลังการ เป็น Pavilion สองชั้นสูงตระหง่าน ภายใต้แนวคิด “Innovate Power Solutions for a Better Life” ซึ่งพอเดินดูจนครบ ต้องบอกว่า EGAT เขาจัดหนักจัดเต็มกับงาน Multimedia สมกับ Theme ของบูทจริง ๆ เพราะในโซนนิทรรศการ ก็จัดแสดงเนื้อหาด้วย Interactive Wall ที่ฉายเนื้อหาเกี่ยวกับ โครงการสถานีกักเก็บและแปลงสภาพก๊าซธรรมชาติเหลวแบบทุ่นลอยน้ำ (Floating Storage and Regasification Unit: FSRU) บนผนัง ให้ผู้ร่วมชมสามารถกดเลือกชมเนื้อหาได้เอง
พอพ้นอุโมงค์ Interactive Wall ก็จะมาเจอ ส่วนนิทรรศการ เรื่องการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนของ กฟผ. ที่นำเสนอด้วย Hologram 3 มิติ ล้ำ ๆ เรียกว่ายืนชมกันเพลิน ๆ ไม่เบื่อเลย
แม้แต่ Business Zone ที่ทาง กฟผ. เขาจัดเอาไว้ให้บรรดานักธุรกิจ ผู้ประกอบการ ได้มาพูดคุย แลกเปลี่ยนข้อมูลติดต่อกัน ก็ยังล้ำกว่าการแลกนามบัตรธรรมดา เพราะเขามีสตาฟฟ์สาวสวยคอยเก็บข้อมูลนามบัตรของผู้เข้าชมงานด้วย iPad สแกนนามบัตรแชะเดียว ก็เก็บข้อมูลเข้าระบบเสร็จสรรพ
ถ้ายังไม่เห็นภาพว่าล้ำขนาดไหน ผมมีคลิปสั้น ๆ ที่บูท กฟผ. เขารวบรวมบรรยากาศงานเมื่อวานนี้เอาไว้มาให้ชมกันเป็นน้ำจิ้มด้วยครับ
มาว่ากันที่เรื่องของเนื้อหาในงานกันบ้าง ที่น่าสนใจ และถูกชูเป็นเรือธงของ กฟผ. ในงานนี้ เป็นเรื่อง โครงการสถานีกักเก็บและแปลงสภาพก๊าซธรรมชาติเหลวแบบทุ่นลอยน้ำ หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า FSRU (Floating Storage and Regasification Unit) ซึ่งจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานหน้าตาเหมือนเรือขนาดใหญ่ ลอยอยู่กลางน้ำ ทำหน้าที่กักเก็บและแปรสภาพก๊าซ LNG ที่ขนมาทางเรือในสภาพของเหลวให้กลับไปเป็นก๊าซเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง ถือเป็นสถานี LNG แบบลอยน้ำแห่งแรกในประเทศไทย หลังจากที่ก่อนหน้านี้เรามีเพียงสถานีบนบกของ ปตท. เท่านั้น
ซึ่งโครงการ FSRU ที่ว่านี้ ก็มีจุดเริ่มต้นจากการที่ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) มีมติเห็นชอบให้ กฟผ. ก้าวมาเป็นผู้จัดหาก๊าซ LNG รายใหม่ ในปริมาณไม่เกิน 1.5 ล้านตันต่อปี เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2560 นั่นหมายความว่า กฟผ. จะพลิกบทบาท จากเดิมที่ต้องซื้อก๊าซ LNG จาก ปตท. มาใช้ในโรงไฟฟ้า กลายมาเป็นผู้จัดหา LNG ที่สามารถบริหารจัดการเรื่องเชื้อเพลิงได้เอง และเมื่อต้องจัดหาก็ต้องมีการสร้างคลังเอาไว้รองรับ กพช. จึงได้มอบหมายให้ กฟผ. เป็นผู้ดำเนินโครงการ FSRU หรือคลังก๊าซธรรมชาติลอยน้ำในพื้นที่อ่าวไทยด้วย ตามกำหนดการจะเริ่มก่อสร้างและทดสอบระบบในระหว่างปี 2563 - 2566 มีกำหนดแล้วเสร็จสามารถส่งก๊าซธรรมชาติได้ในปี 2567
สำหรับ โครงการ FSRU ที่ กฟผ.ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการ เป็นสถานีก๊าซ LNG แบบลอยน้ำ(Offshore Terminal) ลอยอยู่ในอ่าวไทยห่างจากชายฝั่งออกไปประมาณ 20 กิโลเมตร ความจุอยู่ที่ 5 ล้านตัน ใช้ส่งก๊าซ LNG ให้โรงไฟฟ้าพระนครใต้ จ.สมุทรปราการ และโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ จ.นนทบุรี รวมทั้งจัดส่งเข้าสู่โครงข่ายระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติในปัจจุบันด้วย
สิ่งที่น่าจับตามองก็คือ กฟผ. ที่อยู่กับไฟฟ้ามาโดยตลอด เมื่อต้องมาทำก๊าซธรรมชาติเอง ก็ต้องชูจุดแข็งเรื่องการบริหารจัดการก๊าซ LNG ที่ได้มาให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะหากมองให้ดีจะเห็นว่า กฟผ. มี Demand การใช้ก๊าซในโรงไฟฟ้าเป็นของตัวเองอยู่แล้ว ซึ่งการได้สิทธิ์ในการจัดหาก๊าซได้เอง ย่อมหมายถึงต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าจะถูกลง ทำให้ประชาชนอีก 70 ล้านคนได้ใช้ไฟฟ้าในราคาถูกลงตามไปด้วย นับเป็นผลประโยชน์สำคัญของคนไทยทั้งประเทศ ณ วันนี้ ประเทศไทยกำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคพลังงาน 4.0 ตามเป้าที่วางเอาไว้ในการก้าวไปเป็นศูนย์กลางด้านพลังงานยั่งยืนของเอเชีย การขยับตัวของ กฟผ. ในการเข้ามาจัดหาก๊าซ LNG ครั้งนี้ จึงนับเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญในการเดินไปสู่เป้าหมายดังกล่าวอย่างไม่ต้องสงสัย