*** ต้องเชื่อ.. " สุเทพ "

กระทู้สนทนา
Siam Businesd  :  วิกฤติพลังงานไทย 'IAEA' ชี้ชัด แย่สุดในAsean

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จัดงานสัมมนาวิชาการผลิตไฟฟ้า
      ภายใต้แนวคิด "The Spirit of Excellence" อันมีความหมายถึงการปฏิบัติงานของ กฟผ.ที่ทำทุกอย่างให้ดีที่สุด ด้วยจิตวิญญาณอย่างมืออาชีพ เพื่อเป็น การแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเผยแพร่ ความรู้ในด้านการผลิตไฟฟ้า สร้างความมั่นใจในการดำเนินธุรกิจการให้บริการแก่โรงไฟฟ้าทั่วไป

(1) นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ปลัดก.พลังงาน
       กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ "มองอนาคตพลังงานไทยในอีก 20 ปี" ว่า.. ไทยเป็นประเทศที่น่าห่วงที่สุดในอาเซียน เพราะมีการนำเข้าพลังงาน ก๊าซธรรมชาติเป็นหลักมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า โดยในปี '55 ได้นำเข้าพลังงานคิดเป็นมูลค่าประมาณ 1.6 ล้านล้านบาท หรือมีสัดส่วนครึ่งหนึ่งของงบประมาณแผ่นดินที่จัดสรรไว้ 2.6 ล้านล้านบ.
       ทั้งนี้ ไทยได้นำเข้าพลังงาน คิดเป็นสัดส่วน 80% อีก 20% ผลิตได้ในประเทศ ขณะที่การใช้พลังงานเติบโตอย่าง ต่อเนื่องเฉลี่ยอยู่ที่ 4% ต่อปี โดยปี '55 พบว่า.. มีการใช้พลังงานมีมูลค่า 2.1 ล้านล้านบ. หรือคิดเป็น 19% ของจีดีพี อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาประเทศไทย ได้ส่งเสริมพลังงานทดแทนเพื่อลดการนำเข้า เช่น.. การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม แต่ขณะนี้สามารถผลิต ได้เพียง 10% เท่านั้นจากเป้าฯ ตั้งไว้ 25%
     ดังนั้น ในอนาคตความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศไทย ยัง.. น่าห่วง ! ซึ่งจาก ข้อมูล IAEA ระบุว่า ในกลุ่มประเทศอาเซียน ด้วยกันปรากฏว่า ไทยอยู่อันดับแย่ที่สุด , นายสุเทพ กล่าวว่า..  การจะพึ่งพาการผลิตไฟฟ้าในประเทศคงหมดหวัง เพราะโรงไฟฟ้าถ่านหิน ซึ่ง กฟผ.อยู่ระหว่าง ดำเนินการผลักดัน 6 แห่ง เช่น.. หัวไทร กระบี่ แต่ไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ เพราะถูกคัดค้าน และในอนาคตยังจะเป็น ปัญหายืดเยื้อต่อไป เช่นเดียวกับโรงไฟฟ้า จากพลังงานิวเคลียร์ รวมถึงการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) เพื่อผลิตไฟฟ้า ต้องใช้เรือขนส่งขนาดแสนกว่าตัน จำนวน 2ลำ ลอยอยู่ในอ่าวไทย

ซึ่งทางเสนาธิการ ทหารเรือ ก็มีความกังวลใจต่อความมั่นคงของประเทศ
       ในอนาคตประเทศไทยต้องนำเข้า LNG มากถึง 23 ล้านตัน ขณะที่ราคานำเข้า LNG สูงกว่าก๊าซธรรมชาติทั่วไปถึง 3 เท่า เมื่อนำไปเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าจะ ส่งผลกระทบต่อค่าไฟฟ้าขยับสูงขึ้น 7-8 บาทต่อหน่วย จากปัจจุบันอยู่ที่ 3.75 บาท ต่อหน่วย แม้ว่าในระยะอันใกล้ กฟผ.สามารถ ดูแลค่าไฟฟ้าให้อยู่ในระดับต่ำได้ แต่ในอนาคตราคาต้องขยับสูงขึ้นอย่างแน่นอน

(2) นางอัญชลี ชวนิชย์ ประธานกรรมการ กฟผ. กล่าวในหัวข้อ..
      "กฟผ. กับจุดยืนไฟฟ้าไทยในเวทีอาเซียน" ว่า.. ในอนาคตฟอสซิล&ถ่านหินยังเป็นเชื้อเพลิงหลักของโลก แต่จะมีการผลิตพลังงานทดแทนเพิ่มมากขึ้น เพราะได้รับการอุดหนุนด้านราคา โดยในประเทศเยอรมนีได้กำหนด ว่า.. ในอนาคตต้องมีพลังงานทดแทนให้ได้ 50% แต่ของโลกกำหนดไว้ในสัดส่วน 20% ซึ่งการที่ให้ Germany หันมาส่งเสริมพลังงาน ทดแทนแล้วยกเลิกโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ทำให้ค่าไฟของเยอรมนีสูงที่สุดในยุโรป
       การผลิตไฟฟ้า ในไทยต้องมีการปรับตัวหลายประการทั้งเพื่อรองรับความต้องการไฟฟ้าในประเทศ และการเปลี่ยนแปลงของตลาดโลก รวมถึงการเปิดประชาคมเศรษฐกิจ_Asean ในปี '58 โดยเฉพาะโครงการระบบส่งไฟฟ้า ASEAN Power Grid จะเป็นโอกาส ที่สำคัญของภูมิภาคในการร่วมมือส่งเสริม ซึ่งจะเห็นว่า.. ธุรกิจไฟฟ้าในยุโรปกำลังได้รับผลกระทบ แต่ธุรกิจไฟฟ้ามีการขยายตัว เพิ่มในภูมิภาคเอเชียรวมถึงจีนด้วย นอกจากนี้ ปัจจุบันการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้ามีสัดส่วนภาครัฐ 55% เอกชน 45% แต่แนวโน้มในอนาคตการลงทุนจะให้ เอกชนเข้ามาลงทุนในสัดส่วนมากขึ้น

(3) ด้านนายสุนชัย คำนูณเศรษฐ์ ผู้ว่าการ กฟผ. กล่าวว่า..
        การจัดงานสัมมนาวิชาการปีนี้มีการบรรยายพิเศษโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ที่เป็นการเปิดกว้างโดยการเชิญบริษัทคู่ค้าและพันธมิตรเข้าร่วมบรรยาย โดยปลัดกระทรวงพลังงาน ปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ "มองอนาคตพลังงานไทยในอีก 20 ปี" และการบรรยายพิเศษโดยประธานกรรมการ กฟผ.ในหัวข้อ "กฟผ.กับจุดยืนไฟฟ้าไทยในเวทีอาเซียน" ซึ่งสอดคล้องกับการที่ กฟผ.จะต้องเตรียมตัวเพื่อก้าวสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในอีก 2 ปี ข้างหน้า

(4) ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ PTT
        ปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ "The Spirit of Excellence" เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจพลังงาน จนประสบความสำเร็จในระดับส
ากล นอกจากนี้ กิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วยการจัดสัมมนาย่อย 3 ห้อง ได้แก่ ห้อง Operation & Production Optimization เป็นการบรรยายเกี่ยวกับการเดินเครื่องและการผลิตไฟฟ้าให้ได้ประโยชน์และคุ้มค่าสูงสุด ห้อง Main-tenance & Plan Improvement บรรยาย เกี่ยวกับการบำรุงรักษาอย่างไร ที่จะสามารถ ปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพให้ได้มากที่สุด และห้อง Power Plant & Environmental เป็นการบริหารจัดการโดยคำนึง ถึงสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีการคัดกรองหัวข้อที่น่าสนใจจากคณะกรรมการ จำนวนกว่า 24 หัวข้อ เช่น การออกแบบโรงไฟฟ้าพลังงาน ลมด้วยระบบอาณาจักรมด โดยจุดเด่นของ งานสัมมนาวิชาการในครั้งนี้คือ เป็นการบรรยายภาษาอังกฤษ เพื่อรองรับการเข้า สู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน พร้อมโชว์การแสดงนวัตกรรมหุ่นยนต์ที่ใช้ในการซ่อม Generator ในพื้นที่เล็กและแคบ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่