บทความโดย ลงทุนแมน
ในช่วงไม่กี่วันนี้ มีข่าวใหญ่ที่สะเทือนวงการทีวี
คือประกาศปิดสถานี Money Channel ซึ่งเป็นรายการที่นำเสนอข่าวการเงินมานาน 13 ปี
และ สถานีทีวีต่างๆ เจอปัญหาอยู่เป็นระยะ
ก่อนอื่นเราลองนึกย้อนไปสมัยเด็กๆ กันก่อน เชื่อว่าช่วงหัวค่ำ หลายคนคงเคยนั่งดูละคร ดูข่าว ทางทีวีด้วยกัน แต่ถามว่า ตอนนี้เรายังทำแบบนี้อยู่ไหม..
แน่นอนว่า “เวลา” นั้นมีจำกัด ใน 1 วัน มี 24 ชั่วโมง การที่เราแบ่งเวลาไปทำอะไรบางอย่าง ทำให้ต้องลดการทำกิจกรรมบางอย่าง อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
แล้วคนสมัยนี้เอาเวลาไปทำอะไร ที่คนในสมัยก่อนไม่ได้ทำ?
ต้องยอมรับว่าการถดถอยของธุรกิจทีวีนั้น สาเหตุสำคัญนั้นมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้คนเข้าถึง อินเทอร์เน็ตกันมากขึ้น
ในปี 2018 ประชากรบนโลกเรามีจำนวน 7.6 พันล้านคน และกว่า 4 พันล้านคน มีอินเทอร์เน็ตใช้ซึ่งเพิ่มขึ้นประมาณ 4 เท่า จาก 1 พันล้านคน ที่มีอินเทอร์เน็ตใช้ในปี 2005
แล้วสถิติการใช้งานอินเทอร์เน็ตของประเทศไทยเป็นอย่างไร?
ปี 2016 จำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเท่ากับ 41 ล้านคน
คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ย 6 ชั่วโมง 24 นาทีต่อวัน
ปี 2017 จำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเท่ากับ 57 ล้านคน
คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ย 9 ชั่วโมง 38 นาทีต่อวัน
เรียกได้ว่า ทั้งจำนวนผู้ใช้ และระยะเวลาที่ใช้งาน เติบโตขึ้นเป็นก้าวกระโดด
พูดง่ายๆตอนนี้ เวลามากกว่า 1 ใน 3 ของแต่ละวันของคนไทยอยู่บนอินเทอร์เน็ต.. มากกว่าเวลานอนเสียอีก
ที่น่าสนใจมากกว่านั้นคือ คนไทยใช้เวลาบนอินเทอร์เน็ตนานที่สุดในโลกด้วย
สิ่งที่ตามมาก็คือ มีหลายธุรกิจในไทยได้รับผลกระทบเต็มๆ จากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของคนในปัจจุบัน
และหนึ่งในนั้นคือ ธุรกิจทีวี..
แม้ว่าหลายฝ่ายยังยอมรับว่า สื่อทีวียังเป็นสื่อหลักในการสื่อสาร เพราะสามารถเข้าถึงคนในวงกว้างมากกว่าสื่ออื่นๆ
แต่การเกิดขึ้นของสื่ออื่นๆ โดยเฉพาะสื่อสังคมออนไลน์ ทำให้รายได้จากการขายโฆษณาของสื่อทีวีก็ลดลงอย่างน่าใจหาย
ปี 2015 รายได้ค่าโฆษณาสื่อทีวี 62,674 ล้านบาท รายได้โฆษณาจากสื่อออนไลน์ 8,084 ล้านบาท
ปี 2016 รายได้ค่าโฆษณาสื่อทีวี 54,036 ล้านบาท รายได้โฆษณาจากสื่อออนไลน์ 9,479 ล้านบาท
ปี 2017 รายได้ค่าโฆษณาสื่อทีวี 49,600 ล้านบาท รายได้โฆษณาจากสื่อออนไลน์ 12,402 ล้านบาท
จะเห็นว่าแม้รายได้ค่าโฆษณาจากสื่อทีวียังมีจำนวนมาก แต่เป็นการถดถอยลง และถูกแบ่งไปให้สื่อออนไลน์
พอเรื่องเป็นแบบนี้ บริษัทที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจทีวีจึงได้รับผลกระทบไปด้วยเต็มๆ
รายได้และกำไรของบริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) (ช่อง 3)
ปี 2559 รายได้ 12,535 ล้านบาท กำไร 1,218 ล้านบาท
ปี 2560 รายได้ 11,226 ล้านบาท กำไร 61 ล้านบาท
รายได้และกำไรของบริษัท แฟมมิลี่ โนฮาว จำกัด (ผู้ผลิตรายการ Money Channel)
ปี 2559 รายได้ 197 ล้านบาท กำไร 9 ล้านบาท
ปี 2560 รายได้ 215 ล้านบาท กำไร 4 ล้านบาท
เมื่อพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยน คนดูน้อยลง รายได้ค่าโฆษณาน้อยลง ทั้งที่ต้นทุนเท่าเดิม นั่นก็ส่งผลให้กำไรนั้นเริ่มลดลง
แน่นอนว่า ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ส่งผลลบต่อหลายธุรกิจ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า บางธุรกิจก็ได้รับประโยชน์เช่นกัน
ทุกวันนี้ ธุรกิจสื่อออนไลน์กำลังโตระเบิด จะเห็นได้จากมี Influencer หน้าใหม่เกิดขึ้นมาใน Facebook YouTube กันเต็มไปหมด หรือแม้แต่ดาราก็มาเปิดช่องของตัวเองในสื่อออนไลน์
ธุรกิจสั่งซื้อสินค้าออนไลน์เติบโตอย่างก้าวกระโดด ซึ่งทำให้ธุรกิจขนส่งสินค้า จึงเติบโตตามไปด้วย
แล้วสุดท้ายผู้ประกอบการด้านนี้ต้องทำอย่างไร?
คำตอบของเรื่องนี้ อาจจะต้องกลับไปจุดเริ่มต้น
เมื่อคนมีทางเลือกมากขึ้น แต่มีเวลาจำกัด คนย่อมเลือกเสพแต่เนื้อหาที่ตัวเองสนใจจริงๆ
ไม่จำเป็นต้องดูทีวีที่มีไม่กี่ช่องมายัดเยียดให้อีกต่อไป..
สิ่งที่สื่อต้องเน้นก็คือ การเอาใจใส่กับคุณภาพเนื้อหา
ถ้ารายการทีวีตั้งใจทำ ก็ยังมีคนดูอยู่ ถึงแม้จะไม่ได้ดูในทีวี ก็จะไปตามดูย้อนหลังตามช่องทางต่างๆ ตัวอย่างเช่น ละครบุพเพสันนิวาส หรือ เลือดข้นคนจาง ที่ดังไปทั่วบ้านทั่วเมือง และสปอนเซอร์ก็เข้ามาเต็ม
ส่วนรายการที่ไม่ตั้งใจทำ สปอนเซอร์ก็ไม่เข้า..
ก็คงต้องติดตามกันต่อไปว่ารายการทีวีจะปรับตัวอย่างไร
ในวันที่ใครๆ ก็เปิดช่องของตัวเองได้ในต้นทุนที่ต่ำมาก
ส่วนรายการทีวีกลับมีภาระต้นทุนเดิมที่ต้องเฉือนทิ้งไปเรื่อยๆ
เฉือนไปจนกว่าจะเข้าสู่จุดสมดุล
จุดสมดุลที่รายการทีวี มีต้นทุนต่ำพอที่จะได้กำไร
จุดสมดุลที่ Influencer ตามสื่อออนไลน์มีเกลื่อนกลาดจนกลายเป็นทะเลเลือด
มันคงจะมีจุดนั้นสักวัน
แต่ไม่น่าจะใช่เร็วๆ นี้..
----------------------
รายการทีวี กำลังจะเจอกับฝันร้าย
ในช่วงไม่กี่วันนี้ มีข่าวใหญ่ที่สะเทือนวงการทีวี
คือประกาศปิดสถานี Money Channel ซึ่งเป็นรายการที่นำเสนอข่าวการเงินมานาน 13 ปี
และ สถานีทีวีต่างๆ เจอปัญหาอยู่เป็นระยะ
ก่อนอื่นเราลองนึกย้อนไปสมัยเด็กๆ กันก่อน เชื่อว่าช่วงหัวค่ำ หลายคนคงเคยนั่งดูละคร ดูข่าว ทางทีวีด้วยกัน แต่ถามว่า ตอนนี้เรายังทำแบบนี้อยู่ไหม..
แน่นอนว่า “เวลา” นั้นมีจำกัด ใน 1 วัน มี 24 ชั่วโมง การที่เราแบ่งเวลาไปทำอะไรบางอย่าง ทำให้ต้องลดการทำกิจกรรมบางอย่าง อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
แล้วคนสมัยนี้เอาเวลาไปทำอะไร ที่คนในสมัยก่อนไม่ได้ทำ?
ต้องยอมรับว่าการถดถอยของธุรกิจทีวีนั้น สาเหตุสำคัญนั้นมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้คนเข้าถึง อินเทอร์เน็ตกันมากขึ้น
ในปี 2018 ประชากรบนโลกเรามีจำนวน 7.6 พันล้านคน และกว่า 4 พันล้านคน มีอินเทอร์เน็ตใช้ซึ่งเพิ่มขึ้นประมาณ 4 เท่า จาก 1 พันล้านคน ที่มีอินเทอร์เน็ตใช้ในปี 2005
แล้วสถิติการใช้งานอินเทอร์เน็ตของประเทศไทยเป็นอย่างไร?
ปี 2016 จำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเท่ากับ 41 ล้านคน
คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ย 6 ชั่วโมง 24 นาทีต่อวัน
ปี 2017 จำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเท่ากับ 57 ล้านคน
คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ย 9 ชั่วโมง 38 นาทีต่อวัน
เรียกได้ว่า ทั้งจำนวนผู้ใช้ และระยะเวลาที่ใช้งาน เติบโตขึ้นเป็นก้าวกระโดด
พูดง่ายๆตอนนี้ เวลามากกว่า 1 ใน 3 ของแต่ละวันของคนไทยอยู่บนอินเทอร์เน็ต.. มากกว่าเวลานอนเสียอีก
ที่น่าสนใจมากกว่านั้นคือ คนไทยใช้เวลาบนอินเทอร์เน็ตนานที่สุดในโลกด้วย
สิ่งที่ตามมาก็คือ มีหลายธุรกิจในไทยได้รับผลกระทบเต็มๆ จากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของคนในปัจจุบัน
และหนึ่งในนั้นคือ ธุรกิจทีวี..
แม้ว่าหลายฝ่ายยังยอมรับว่า สื่อทีวียังเป็นสื่อหลักในการสื่อสาร เพราะสามารถเข้าถึงคนในวงกว้างมากกว่าสื่ออื่นๆ
แต่การเกิดขึ้นของสื่ออื่นๆ โดยเฉพาะสื่อสังคมออนไลน์ ทำให้รายได้จากการขายโฆษณาของสื่อทีวีก็ลดลงอย่างน่าใจหาย
ปี 2015 รายได้ค่าโฆษณาสื่อทีวี 62,674 ล้านบาท รายได้โฆษณาจากสื่อออนไลน์ 8,084 ล้านบาท
ปี 2016 รายได้ค่าโฆษณาสื่อทีวี 54,036 ล้านบาท รายได้โฆษณาจากสื่อออนไลน์ 9,479 ล้านบาท
ปี 2017 รายได้ค่าโฆษณาสื่อทีวี 49,600 ล้านบาท รายได้โฆษณาจากสื่อออนไลน์ 12,402 ล้านบาท
จะเห็นว่าแม้รายได้ค่าโฆษณาจากสื่อทีวียังมีจำนวนมาก แต่เป็นการถดถอยลง และถูกแบ่งไปให้สื่อออนไลน์
พอเรื่องเป็นแบบนี้ บริษัทที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจทีวีจึงได้รับผลกระทบไปด้วยเต็มๆ
รายได้และกำไรของบริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) (ช่อง 3)
ปี 2559 รายได้ 12,535 ล้านบาท กำไร 1,218 ล้านบาท
ปี 2560 รายได้ 11,226 ล้านบาท กำไร 61 ล้านบาท
รายได้และกำไรของบริษัท แฟมมิลี่ โนฮาว จำกัด (ผู้ผลิตรายการ Money Channel)
ปี 2559 รายได้ 197 ล้านบาท กำไร 9 ล้านบาท
ปี 2560 รายได้ 215 ล้านบาท กำไร 4 ล้านบาท
เมื่อพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยน คนดูน้อยลง รายได้ค่าโฆษณาน้อยลง ทั้งที่ต้นทุนเท่าเดิม นั่นก็ส่งผลให้กำไรนั้นเริ่มลดลง
แน่นอนว่า ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ส่งผลลบต่อหลายธุรกิจ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า บางธุรกิจก็ได้รับประโยชน์เช่นกัน
ทุกวันนี้ ธุรกิจสื่อออนไลน์กำลังโตระเบิด จะเห็นได้จากมี Influencer หน้าใหม่เกิดขึ้นมาใน Facebook YouTube กันเต็มไปหมด หรือแม้แต่ดาราก็มาเปิดช่องของตัวเองในสื่อออนไลน์
ธุรกิจสั่งซื้อสินค้าออนไลน์เติบโตอย่างก้าวกระโดด ซึ่งทำให้ธุรกิจขนส่งสินค้า จึงเติบโตตามไปด้วย
แล้วสุดท้ายผู้ประกอบการด้านนี้ต้องทำอย่างไร?
คำตอบของเรื่องนี้ อาจจะต้องกลับไปจุดเริ่มต้น
เมื่อคนมีทางเลือกมากขึ้น แต่มีเวลาจำกัด คนย่อมเลือกเสพแต่เนื้อหาที่ตัวเองสนใจจริงๆ
ไม่จำเป็นต้องดูทีวีที่มีไม่กี่ช่องมายัดเยียดให้อีกต่อไป..
สิ่งที่สื่อต้องเน้นก็คือ การเอาใจใส่กับคุณภาพเนื้อหา
ถ้ารายการทีวีตั้งใจทำ ก็ยังมีคนดูอยู่ ถึงแม้จะไม่ได้ดูในทีวี ก็จะไปตามดูย้อนหลังตามช่องทางต่างๆ ตัวอย่างเช่น ละครบุพเพสันนิวาส หรือ เลือดข้นคนจาง ที่ดังไปทั่วบ้านทั่วเมือง และสปอนเซอร์ก็เข้ามาเต็ม
ส่วนรายการที่ไม่ตั้งใจทำ สปอนเซอร์ก็ไม่เข้า..
ก็คงต้องติดตามกันต่อไปว่ารายการทีวีจะปรับตัวอย่างไร
ในวันที่ใครๆ ก็เปิดช่องของตัวเองได้ในต้นทุนที่ต่ำมาก
ส่วนรายการทีวีกลับมีภาระต้นทุนเดิมที่ต้องเฉือนทิ้งไปเรื่อยๆ
เฉือนไปจนกว่าจะเข้าสู่จุดสมดุล
จุดสมดุลที่รายการทีวี มีต้นทุนต่ำพอที่จะได้กำไร
จุดสมดุลที่ Influencer ตามสื่อออนไลน์มีเกลื่อนกลาดจนกลายเป็นทะเลเลือด
มันคงจะมีจุดนั้นสักวัน
แต่ไม่น่าจะใช่เร็วๆ นี้..
----------------------