“การเปลี่ยนแปลงและการปรับตัวของสถาบันอุดมศึกษา” โดย ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินธร .. 3/12/2561 สรายุทธ กันหลง

“การเปลี่ยนแปลงและการปรับตัวของสถาบันอุดมศึกษา” โดย ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินธร .. 3/12/2561
.. ไปอ่านดูครับ  Cr: online

วันก่อนได้มีโอกาสรับฟังการบรรยายพิเศษหัวข้อ “การเปลี่ยนแปลงและการปรับตัวของสถาบันอุดมศึกษา” โดย ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินธร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

ขอสรุปประเด็นตามที่จะพอจดทันนะครับ
1. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม น่าจะคลอดแน่ ๆ ก่อนการเลือกตั้ง ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ซึ่งจะรวมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดตามชื่อกระทรวงมาอยู่ด้วยกัน ก็น่าจะขับเคลื่อนได้เป็นอย่างดี (อันนี้ความคิดส่วนตัว)
https://ppantip.com/topic/38328335

2. มหาวิทยาลัยจะถูกแบ่งตามประเภทและความถนัดของมหาวิทยาลัยนั้น ๆ เพื่อให้มหาวิทยาลัยสามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างคุ้มค่าตามศักยภาพของตัวเอง

3. เรื่องของ Disruptive Business เป็นเรื่องที่กำลังมีอิทธิพลในปัจจุบันและในอนาคตอย่างแน่นอน ซึ่ง ณ ปัจจุบันเรากำลังเผชิญอยู่ เทรนในอนาคต (ปี 2030) เรื่องของ Education และ Health care จะมาแรง

4. จำนวนนักศึกษาที่เข้าเรียนย้อนหลัง ปี 2556-2560 นักศึกษา ป.ตรี-โท ลดลงอย่างต่อเนื่อง ประมาณ 20-25% (ซึ่งอาจจะเป็นเพราะจำนวนประชากรเด็กลดลง) เช่นเดียวกับจำนวนนักศึกษาในมหาวิทยาลัยรัฐจำกัดรับ (ม.ปิด ที่ไม่ได้เป็น ม.ในกำกับ) และมหาวิทยาลัยรัฐไม่จำกัดรับ (ม.รามคำแหง ม.สุโขทัยธรรมธิราช) มหาวิทยาลัยราชภัฏ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล แต่ที่น่าแปลกใจคือจำนวนนักศึกษาในมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐกลับเพิ่มขึ้น (น่าจะเป็นเพราะในปี 2556-2560 มี ม. ที่ปรับเปลี่ยนมาเป็น ม.ในกำกับเพิ่มขึ้น เลยทำให้จำนวน นศ. เพิ่มขึ้นตาม (อันนี้ความคิดส่วนตัว))

5. อีกไม่นาน ปริญญาบัตรจะเสื่อมค่า ทั้งนี้เพราะมหาวิทยาลัยผลิตบัณฑิตไม่ตอบโจทย์ตลาดแรงงาน บัณฑิตที่จบไปไม่มีความสามารถอย่างแท้จริง

6. ปัจจุบัน งบประมาณด้านการศึกษาลดลง แต่ไปเน้นงบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนาเพิ่มมากขึ้น ตอบโจทย์ Thailand 4.0

7. หลักสูตรในมหาวิทยาลัยต้องปรับเปลี่ยนตามความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอน จบแล้วสามารถทำงานได้เลย ไม่ต้องไปทดลองงานอีก มหาวิทยาลัยควรจะสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชน โดยเฉพาะควรจะให้อาจารย์ได้มีความร่วมมือด้านงานวิจัยกับภาคเอกชน

8. ความตกต่ำของมหาวิทยาลัยไทยสะท้อมถึงความอ่อนแอของระบบการศึกษาไทย โดยเฉพาะอุดมศึกษาที่จะต้องผลิตคนให้เข้าสู่ตลาดแรงงาน ถ้าไม่สามารถผลิตทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสามารถ มีศักยภาพได้ ก็ไม่สามารถทำให้เกิดการพัฒนาประเทศชาติได้ ก็ติดอยู่ใน Middle Income Trap แบบนี้ต่อไป

9. เมื่อดู Competitiveness landscape ของประเทศไทย พบว่าการศึกษาอยู่ต่ำมาก ซึ่งทำให้ ranking ของประเทศไทยอยู่ต่ำมากกกกกก สู้สิงคโปร์ มาเลเซียไม่ได้เลย

10. ทุกวันนี้บริษัทเอกชนต้องการ High quality workforce เค้าไม่สนใจว่าจะได้เกรดอะไร จบจากที่ไหน แต่เมื่อเข้าไปทำงานแล้ว ก็ต้องทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

11. เมื่อดูการตีพิมพ์ผลงานวิจัยของประเทศไทย มีแค่ 137 ผลงานต่อประชากร 1 ล้านคน ซึ่งเทียบไม่ได้กับสิงคโปร์ซึ่งเป็นอันดับ 1 มีถึง 2,740 ผลงานต่อประชากร 1 ล้านคน ห่างไกลกันมาก ซึ่งส่งผลต่อการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประเทศ

12. ประเทศไทยยังคงติดกับดักรายได้ปานกลางอยู่ (5,800 US) หากจะหลุดต้องมากกว่า 12,000 US

13. เมื่อก่อนมาเลเซียมีผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ต่ำกว่าไทย แต่มาเลเซียปรับโครงสร้างโดยแยกกระทรวงที่ดูแลด้านอุดมศึกษาเป็นอิสระ หลังจากนั้น 4-5 ปี ผลงานตีพิมพ์พุ่งกระฉุด และปัจจุบันนำหน้าไทยไปเยอะมาก ในช่วงใกล้ ๆ กันไทยกลับควบรวมทบวงมหาวิทยาลัยมาอยู่ในกระทรวงศึกษาฯ ... แล้วเป็นไงหล่ะ???

14. ข้อมูลเมื่อปี 2011 ประเทศไทยยื่นจดสิทธิบัตรเพียง 1,137 เรื่อง ซึ่งถือว่าน้อยมาก หากต้องการขับเคลื่อนประเทศด้วยนวัตกรรม

15. จำนวนบุคลากรด้านวิจัยและพัฒนาในประเทศไทยอยู่ในภาครัฐและเอกชนพอ ๆ กัน ซึ่งเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ บุคลากรกลุ่มนี้อยู่ในภาคเอกชนมากกว่า ทำให้ขับเคลื่อนงานวิจัยและพัฒนาไปได้เร็วกว่าภาครัฐ (ตอนนี้มาเลเซียก็มีปัญหา เพราะบุคลากรกลุ่มนี้อยู่ในภาครัฐมากกว่าภาคเอกชนมาก)

16. จำนวนนักศึกษาระดับปริญญาโท-เอก ซึ่งเป็นทรัพยากรบุคคลที่จะพัฒนาประเทศกลับอยู่ในสายสังคมศาสตร์มากกว่าสายวิทยาศาสตร์ ซึ่งอาจเป็น mindset ของผู้ปกครองรวมถึงตัวนักศึกษาเองที่มองว่าอยากเรียนอะไรที่ง่าย จบง่าย ซึ่งท่าน รมช. ไม่ได้หมายถึงว่าสายสังคมจะเรียนง่ายจบง่ายนะ แต่มันเป็น mindset ของคนมากกว่า ถ้ากลุ่มของนักศึกษาทางด้านสายวิทยาศาสตร์น้อย ก็ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศตามนโยบายประเทศไทย 4.0 ที่ต้องขับเคลื่อนด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม

17. ปัจจุบันมีความท้าทายและเงื่อนไขของการศึกษาที่เปลี่ยนไปอย่างมาก ตลาดแรงงานมีความต้องการเปลี่ยนไป การเปลี่ยนแปลงวิธีการรับรู้ในโลกศตวรรษที่ 21 Disruptive era การแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้น ประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว จำนวนประชากรเด็กลดลองอย่างรวดเร็ว รวมถึงการที่เด็กเข้าสู่ Gen Z ทั้งหมดนี้ส่งผลให้มหาวิทยาลัยต้องมีการเปลี่ยนแปลง

18. มหาวิทยาลัยอาจมองหลักสูตร Non-degree สำหรับคนที่จบสายสังคมให้มาเรียนสายวิทยาศาสตร์ หรือ คนที่จบอาชีวะให้มาเรียนสายวิทยาศาสตร์ เป็น short course เป็นต้น หรือ หลักสูตรสำหรับผู้สูงอายุหรือวัยทำงาน การนำผู้สูงอายุกลับมาเรียนกลับมาทำงาน

19. การสอนเด็ก Gen Z ก็ต้องเปลี่ยนแปลงไป ใช้เค้าให้ถูก จะมาใช้รูปแบบเดิม ๆ นั้นเป็นไปไม่ได้ เค้าจะ focus แค่ 8 วินาทีแรกเท่านั้น ถ้าไม่สามารถทำให้เค้าสนใจได้ ก็จบ

20. แนวโน้มใหญ่ของโลกศตวรรษที่ 21 จะเป็นการปรับตัวเป็นสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ยุคโลกาภิวัตน์ ปรับนโยบายและเส้นทางการผลิตไปในรูปแบบของการเพิ่มมูลค่าของทรัพยากร และมุ่งไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ต้องใช้องค์ความรู้

21. ในปี 2030 ประเทศไทยมุ่งจะเป็น Value-based economy เช่นเดียวกับหลาย ๆ ประเทศที่ตั้งธงไว้

22. ทุกวันนี้ SMEs จะเจ๊ง ก็เพราะบริษัทไม่ทำ R&D ไม่มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ทำให้บริษัทอื่น copy ไป แล้วเพิ่มมูลค่าให้มากขึ้น ผู้บริโภคก็เลือกที่จะไปซื้อสินค้ากับบริษัทนั้นมากกว่า ทำให้บริษัทเดิมเจ๊ง

23. ความท้าทายในศตวรรษที่ 21 หลาย ๆ บริษัทเริ่มปรับตัวโดยปรับลดจำนวนคนงาน ใช้ระบบที่เป็น automatic มากขึ้น มหาวิทยาลัยจะทำอย่างไรไม่ให้บัณฑิตตกงาน???

24. บริษัทใหญ่ ๆ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก เค้าสนใจเรื่อง competency ที่จะไปพัฒนาบริษัทมากกว่าปริญญา

25. มีหลักสูตรในอเมริกา ออสเตรเลีย สิงคโปร์ ที่ทำหลักสูตร 2 ปี จบ ป.ตรี เรียนเร็ว ทำงานเร็ว ได้เงินเร็ว ซึ่งตอบโจทย์ทั้งเด็กและบริษัท

26. การเรียนรู้ยุคใหม่ ควรจะเป็นอย่างไร? การเรียนและการทำงานจะกลายเป็นสิ่งเดียวกัน สามาถเรียนที่ไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเรียนในมหาวิทยาลัย เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา การเรียนเป็นแบบ module คณะ ภาควิชาต้องบูรณาการร่วมกัน จะไม่มี barrier ใด ๆ เกิดขึ้นทั้งสิ้น

27. Online course กำลังมี powerful มาก ต้องทำ

28. มหาวิทยาลัยจะเป็นแหล่งการเรียนรู้ ทุกคนสามารถเข้ามาเรียนรู้ได้ ไม่จำกัดช่วงวัย

29. การเรียนแบบใช้ ppt ไม่ได้กระตุ้นให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์ การเรียนจากสถานที่จริงต่างหากที่จะทำให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์อย่างแท้จริง ซึ่งก็น่าจะเกี่ยวกับการฝึกประสบการณ์ การฝึกสหกิจ ที่นักศึกษาลงมือปฏิบัติจริง

30. ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เกี่ยวเนื่องกับนโยบายประเทศไทย 4.0 ซึ่งการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ หรือนวัตกรรม ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในมหาวิทยาลัย เพราะฉะนั้นต้องสร้างคนไทย 4.0 มาขับเคลื่อน เป็นคนไทยที่มีความรู้ มีทักษะ มีความสามารถสูง มีจิตสาธารณะ รับผิดชอบต่อสังคม เป็น Digital Thai และเป็นคนไทยสากล

31. สิ่งสำคัญคือต้องสร้างคนให้มีความรู้ด้านกว้าง หรือ soft skills ซึ่ง 21st Century Skills เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ต้องเน้น competency ที่มีอยู่ในตัวบุคคล ซึ่งมหาวิทยาลัยต้องสอน

32. 4 ประเด็นสำคัญที่ต้องสร้างคือ Critical Thinking, Creative Thinking, Communication และ Collaboration ทั้งหมดนี้จะสร้างคนยุคใหม่

33. ครูอาจารย์ต้องกระตุ้นให้เกิดการอยากรู้ อยากทำ ต้องกระตุ้นจากการถามคำถาม ให้เด็กได้คิด วิเคราะห์ ไม่ใช่แค่การบอกเล่า

34. สถานศึกษาทุกระดับต้องปรับตัวทั้งในเรื่องของการศึกษาวิจัย การฝึกอบรม และการพัฒนาวิชาชีพ เพื่อให้บัณฑิตที่จบไปทำงานได้จริง

35. หลักสูตรควรจะเน้นด้าน Research and Innovation, Effective and Coordinated Education และ Training System

36. การทำหลักสูตรควรให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมดำเนินการตั้งแต่แรก ทั้งการวางแผนหลักสูตร การสอน การประเมิน ทั้งนี้เพราะผู้ที่จะใช้งานบัณฑิตคือภาคเอกชน

37. บทบาทของครูอาจารย์จะเปลี่ยนแปลงไป เป็น Designer & Facilitator, Coach และ Mentor ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้เอง ซึ่งจะเป็นการขับเคลื่อนในเกิดจินตนาการและนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมในที่สุด

38. มหาวิทยาลัยก็ต้องปรับตัวอย่างที่สุด  เน้นการพัฒนาอาชีพ ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ (Demand side) เน้นเติมเต็มความรู้และทักษะในส่วนที่ขาด การเรียนเพื่อตอบโจทย์เฉพาะบุคคล (Personalized Education) คือเป็นแบบ tailor-made ใช้การเรียนรู้แบบ Experience-Based Learning มีการเรียนรู้นอกห้องเรียน นอกโรงเรียน นอกระบบ เน้นการเรียนรู้ทุกช่วงอายุ และ เน้นหลักสูตรที่ไม่มีประกาศนียบัตรหรือปริญญา

39. ท่าน รมช. ยกตัวอย่างมหาวิทยาลัยสแตมฟอร์ดที่ปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว (ตั้งแต่ปี 2016 เป็นต้นมา) โดยนักศึกษาไม่จำเป็นต้องวางแผนทั้งชีวิตในวันแรกที่เข้ามหาวิทยาลัย สามารถเรียนได้กว้าง ไม่จำเป็นต้องเรียนสาขาใดสาขาหนึ่งเท่านั้น มีอาจารย์ที่สามารถแนะนำการใช้ชีวิต ฝึกวิธีคิด วิธีถาม เพื่อเอาความรู้ที่ได้มาสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ และ ท้ายสุดคือ เน้นเรื่องทัศนคติต่อการศึกษามากกว่าสาระของการศึกษา ไม่มีการตีกรอบใด ๆ นักศึกษาจะสามารถพัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพที่เค้าจะเป็น

40. ที่ ม.สแตมฟอร์ด นักศึกษาจะมาเรียนตอนอายุเท่าไหร่ก็ได้ มีเวลาให้ 6 ปีในการจัดการชีวิตและตารางเรียนของตนเอง เรียนออนไลน์ด้วยก็ได้ ทำงานไปด้วยก็ได้ เมื่อเรียนจบแล้วสามารถกลับมาใช้บริการที่ ม. ได้ กลับมาสอนให้นักศึกษาก็ได้

41. ที่ NUS ของสิงคโปร์ก็ปรับตัวเช่นกัน

42. Salman Khan นักธุรกิจด้านการศึกษาชื่อดัง และเป็นผู้พัฒนาระบบการเรียนการสอนออนไลน์กลุ่มแรก ๆ ของโลก ผู้ก่อตั้ง Khan Academy โรงเรียนสอน คณิตศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์ แบบออนไลน์ ที่ได้รับการสนับสนุนจากเอกชนรายใหญ่อย่าง Microsoft และ Google บอกไว้ว่า การศึกษาเฉพาะทางจะมีความสำคัญมากขึ้น เน้น competency และทักษะด้านต่าง ๆ มากกว่าวิชาการ สามารถเรียนในสิ่งที่อยากเรียน ทำในสิ่งที่อยากทำ วุฒิการศึกษาในระบบจะไม่สำคัญ ในอนาคตคนอาจจะไปทำงานก่อนแล้วค่อยมาเรียนทีหลัง

43. ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของไทย สถานศึกษาต้องไม่ใช่เพียงเป็นสถานที่สอนหนังสือ แต่ต้องเป็นแหล่งความรู้ แล่งรวมจินตนาการสร้างสรรค์นวัตกรรม พัฒนาศักยภาพและสมรรถนะ แหล่งสร้างคนดี สร้างผู้นำสู่สังคมโลก เพราะฉะนั้นมหาวิทยาลัยต้องปรับตัวหาให้ได้ว่า Positioning, Target, Capability และ Capacity ของตนเองคืออะไร ต้อง focus ให้ชัดเจน

44. สร้างจุดเด่นให้ได้ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย มหาวิทยาลัยเน้นสอน มหาวิทยาลัยชุมชน หรือ มหาวิทยาลัยเปิด

เอวัง ก็มีด้วยประการะฉะนี้ ~

ปล. เพิ่มเติมความคิดเห็นส่วนตัว ... แม้มหาวิทยาลัยจะปรับตัวแล้ว แต่ถ้า Input (นักเรียน) ที่เข้ามาไม่เข้าใจ ไม่ได้ถูกปลูกฝัง พ่อแม่ ผู้ปกครอง คุณครูอาจารย์ในระดับประถม มัธยม ยังคิดแบบเดิม ๆ ไม่ได้ปรับเปลี่ยนวิธิการสอน วิธีการคิด มหาวิทยาลัยเองก็คงจะทำเรื่องพวกนี้ยาก
ตามหลัก QA เลย Input >>> Process >> Output
อยากได้ Output ดี ๆ ทั้ง Input และ Process ก็ต้องดี บางที Process ดี แต่ Input ไม่ดี ทุกอย่างก็จบ ~
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่