หนึ่งในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง จะพุ่งเป้าไปที่การลงทุนในโครงการขนาดยักษ์อย่างโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี ซึ่งจะเน้นกลุ่ม 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงและนวัตกรรม โดยต้องมีการเตรียมความพร้อมด้านคน เทคโนโลยี และการบริหารไปด้วยกัน เพราะหากขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง การพัฒนาก็จะไม่เป็นตามเป้าหมาย
จุดนี้ภาคการศึกษาจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญ โดยเฉพาะในระดับอุดมศึกษาและอาชีวศึกษา ซึ่งขณะนี้ต่างเร่งพัฒนายุทธศาสตร์ เพื่อสร้างทุนมนุษย์ให้ทันรองรับกับเป้าหมายของประเทศ โดยมุ่งพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อรองรับอีอีซี ภายใน 3 – 5 ปี และได้เร่งผลักดันนโยบายปฏิรูปการศึกษาในระดับอุดมศึกษาอย่างมีนัยสำคัญ และสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคต เช่น
- สร้างบุคลากรที่มีคุณภาพสูง สามารถทำงานได้ทั่วโลก
- ผลิตงานวิจัยและนวัตกรรมร่วมกับภาคเอกชนต่อยอดเป็นสินค้าที่มีมูลค่า
- ปรับวิธีการสอนจากเล็กเชอร์มาเป็นภาคปฏิบัติและทำงานจริงมากขึ้น
- ปรับหลักสูตรให้มีการเรียนข้ามศาสตร์ ข้ามคณะ
- ปรับหลักสูตรให้ทันโลก
- ผลิตหลักสูตรสำหรับผู้สูงอายุให้สามารถไปทำงานได้
- บุคลากรทั้งนักศึกษาและอาจารย์มีความสามารถทางภาษาอังกฤษและดิจิทัล
ดร.คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการอีอีซี เคยให้ความเห็นในประเด็นของการศึกษากับตลาดแรงงานไว้อย่างน่าสนใจว่า "ที่ผ่านมาเราทำอะไรที่ไม่เป็นไปตามความต้องการของตลาด จึงมีปัญหาการว่างงาน และให้ความสำคัญกับปริญญามากกว่าความสามารถ ในวันนี้เราจึงต้องปรับช่องทาง สร้างทางเดิน เพื่อสร้างงานที่จะทำให้ลูกหลานมีอนาคต"
เลขาธิการอีอีซี ยังได้ยกตัวอย่างอาชีพที่อีอีซีต้องการ เช่น
- วิศวกรด้านหุ่นยนต์อิเล็กทรอนิกส์
- วิศวกรยานยนต์และอาชีพที่เกี่ยวเนื่องกับรถยนต์ โดยเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าเป็นเทรนด์ที่กำลงมาแรง
- เกษตรกรที่เชี่ยวชาญด้านการใช้เทคโนโลยีลดแรงงานคนมาใช้ระบบ automation
- ผู้เชี่ยวชาญด้านอีคอมเมิร์ช
- นักบินและอาชีพที่เกี่ยวเนื่องกับการบิน
ทางด้านศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ได้ประมาณการจำนวนผู้จบการศึกษาในระดับอาชีวศึกษาว่าจะมีเพียง 1.19 แสนคน ในขณะที่ความต้องการแรงงานใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย มีจำนวนถึง 1.77 แสนคน จึงแนะนำนักเรียน นักศึกษา ให้เรียนสายอาชีพ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงาน
โดยแนวโน้มการจ้างงานในเขตพื้นที่อีอีซี 3 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา ระหว่างปี 2560 – 2564 รวมกว่า 32 โครงการ มูลค่ากว่าพันล้านบาท แบ่งตามสาขา ดังนี้
- เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ 3.5 หมื่นคน
- ยานยนต์สมัยใหม่ 3.4 หมื่นคน
- อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 3.3 หมื่นคน
- การท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 2.1 หมื่นคน
- หุ่นยนต์ 1.6 หมื่นคน
เป็นที่น่ายินดีที่การเกิดขึ้นของอีอีซี ทำให้ภาครัฐและสถาบันการศึกษาเร่งพัฒนานโยบายด้านการศึกษา และบุคลากรให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน แต่การพัฒนาต้องใช้เวลา ดังนั้นช่วงเวลาระหว่างทาง หากภาคเอกชนจะเข้ามามีบทบาทในการช่วยยกระดับพัฒนาแรงงานที่มีอยู่เดิม ให้มีความเชี่ยวชาญมากขึ้น โดยใช้องค์ความรู้ที่มี ร่วมส่งต่อหรือถ่ายทอดไปยังแรงงาน ก็จะทำให้องค์ประกอบความร่วมมือมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น นับว่าเป็นการพัฒนาไปในแนวทางของความยั่งยืน ที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน
อีอีซีดันไทยเร่งสร้างทุนมนุษย์รองรับเป้าหมายการพัฒนาประเทศ
จุดนี้ภาคการศึกษาจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญ โดยเฉพาะในระดับอุดมศึกษาและอาชีวศึกษา ซึ่งขณะนี้ต่างเร่งพัฒนายุทธศาสตร์ เพื่อสร้างทุนมนุษย์ให้ทันรองรับกับเป้าหมายของประเทศ โดยมุ่งพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อรองรับอีอีซี ภายใน 3 – 5 ปี และได้เร่งผลักดันนโยบายปฏิรูปการศึกษาในระดับอุดมศึกษาอย่างมีนัยสำคัญ และสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคต เช่น
- สร้างบุคลากรที่มีคุณภาพสูง สามารถทำงานได้ทั่วโลก
- ผลิตงานวิจัยและนวัตกรรมร่วมกับภาคเอกชนต่อยอดเป็นสินค้าที่มีมูลค่า
- ปรับวิธีการสอนจากเล็กเชอร์มาเป็นภาคปฏิบัติและทำงานจริงมากขึ้น
- ปรับหลักสูตรให้มีการเรียนข้ามศาสตร์ ข้ามคณะ
- ปรับหลักสูตรให้ทันโลก
- ผลิตหลักสูตรสำหรับผู้สูงอายุให้สามารถไปทำงานได้
- บุคลากรทั้งนักศึกษาและอาจารย์มีความสามารถทางภาษาอังกฤษและดิจิทัล
ดร.คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการอีอีซี เคยให้ความเห็นในประเด็นของการศึกษากับตลาดแรงงานไว้อย่างน่าสนใจว่า "ที่ผ่านมาเราทำอะไรที่ไม่เป็นไปตามความต้องการของตลาด จึงมีปัญหาการว่างงาน และให้ความสำคัญกับปริญญามากกว่าความสามารถ ในวันนี้เราจึงต้องปรับช่องทาง สร้างทางเดิน เพื่อสร้างงานที่จะทำให้ลูกหลานมีอนาคต"
เลขาธิการอีอีซี ยังได้ยกตัวอย่างอาชีพที่อีอีซีต้องการ เช่น
- วิศวกรด้านหุ่นยนต์อิเล็กทรอนิกส์
- วิศวกรยานยนต์และอาชีพที่เกี่ยวเนื่องกับรถยนต์ โดยเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าเป็นเทรนด์ที่กำลงมาแรง
- เกษตรกรที่เชี่ยวชาญด้านการใช้เทคโนโลยีลดแรงงานคนมาใช้ระบบ automation
- ผู้เชี่ยวชาญด้านอีคอมเมิร์ช
- นักบินและอาชีพที่เกี่ยวเนื่องกับการบิน
ทางด้านศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ได้ประมาณการจำนวนผู้จบการศึกษาในระดับอาชีวศึกษาว่าจะมีเพียง 1.19 แสนคน ในขณะที่ความต้องการแรงงานใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย มีจำนวนถึง 1.77 แสนคน จึงแนะนำนักเรียน นักศึกษา ให้เรียนสายอาชีพ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงาน
โดยแนวโน้มการจ้างงานในเขตพื้นที่อีอีซี 3 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา ระหว่างปี 2560 – 2564 รวมกว่า 32 โครงการ มูลค่ากว่าพันล้านบาท แบ่งตามสาขา ดังนี้
- เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ 3.5 หมื่นคน
- ยานยนต์สมัยใหม่ 3.4 หมื่นคน
- อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 3.3 หมื่นคน
- การท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 2.1 หมื่นคน
- หุ่นยนต์ 1.6 หมื่นคน
เป็นที่น่ายินดีที่การเกิดขึ้นของอีอีซี ทำให้ภาครัฐและสถาบันการศึกษาเร่งพัฒนานโยบายด้านการศึกษา และบุคลากรให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน แต่การพัฒนาต้องใช้เวลา ดังนั้นช่วงเวลาระหว่างทาง หากภาคเอกชนจะเข้ามามีบทบาทในการช่วยยกระดับพัฒนาแรงงานที่มีอยู่เดิม ให้มีความเชี่ยวชาญมากขึ้น โดยใช้องค์ความรู้ที่มี ร่วมส่งต่อหรือถ่ายทอดไปยังแรงงาน ก็จะทำให้องค์ประกอบความร่วมมือมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น นับว่าเป็นการพัฒนาไปในแนวทางของความยั่งยืน ที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน