Social Credit เป็นระบบให้คะแนนประชาชนของจีน ที่มาของคะแนนนั้นซับซ้อน มาจากทั้งเรื่องของวินัยการเงิน ความประพฤติในชีวิตจริง สังคมที่คลุกคลี การใช้สื่อออนไลน์ การวิพากษ์วิจารณ์รัฐ ฯลฯ ใครทำเรื่องที่รัฐเห็นว่าดีก็ได้คะแนนสูง ใครทำเรื่องที่รัฐเห็นว่าไม่ดีก็ได้คะแนนน้อย คนคะแนนสูงจะทำให้เข้าถึงบริการที่ดีมีระดับกว่าคนคะแนนน้อยรวมถึงได้อภิสิทธิที่เหนือกว่าบางประการ และคนคะแนนน้อยจะถูกตัดสิทธิบางประการออกไปทำให้ไม่ได้รับความสะดวกในการดำเนินชีวิต
เรื่องนี้มีการหยิบยกมาคุยในสื่อตะวันตกตั้งแต่ปีที่แล้วครับ แต่ในไทยเพิ่งเริ่มเป็นกระแสพูดคุย ผมเลยเลือกมาตั้งกระทู้ช่วงนี้ดีกว่าที่คนพอจะหาข้อมูลในภาษาไทยกันได้แล้ว
___
โครงการนี้จะบังคับใช้กับประชากรจีนทุกคนในปี 2020 เกิดขึ้นมาได้จากการที่รัฐบาลจีนร่วมมือกับเอกชนขนาดยักษ์ของจีนทำการรวบรวมข้อมูลประชาชนในหลายๆด้าน เช่น รายรับมีที่มาจากช่องทางไหน รายจ่ายใช้ไปกับเรื่องอะไร ใช้บริการขนส่งอะไรบ้าง พบปะสังสรรค์กับใคร แล้วทำการตีเป็นคะแนนออกมา
เกณฑ์ที่ใช้ในการกำหนดคะแนนมีด้วยกัน 5 ข้อ คือ
1.
ประวัติข้อมูลการเงิน
ซื้ออะไร ใช้จ่ายเงินยังไง มีเงินออมเท่าไหร่ ยิ่งมีเครดิตดีคะแนนยิ่งดีตามไป
2.
ประวัติการทำตามข้อตกลงในสัญญา
ไม่มีประวัติการละเมิดข้อตกลงและสัญญาใดๆ สัญญาอะไรไว้ก็ทำตามนั้น ไม่ละเมิดคนอื่น
3.
คุณลักษณะส่วนบุคคล
รวมถึงประวัติการศึกษา ข้อมูลสถานที่ทำงาน ตำแหน่งงาน การฝึกอบรม ถ้าคุณศึกษาเพิ่มเติมคะแนนคุณก็เพิ่มตามไป
4.
พฤติกรรมและความชอบ
สนใจศิลปะวัฒนธรรมเป็นเรื่องดี เล่นกีฬาออกกำลังได้คะแนนบวก เล่นเกมเล็กน้อยไม่มีปัญหาแต่เล่นมากไปเสียคะแนน ออกมาด่ารัฐบาลเป็นเรื่องเลวร้าย เป็นต้น
5.
ความสัมพันธ์กับบุคลอื่น
คุณคบค้าสมาคมกับคนที่ประวัติดีมากๆ คะแนนคุณเพิ่ม คุณไปขลุกอยู่กับคนรายได้น้อยหนี้สินรุงรัง คะแนนคุณลด
การจะทำเรื่องนี้เป็นไปไม่ได้เลยหากรัฐบาลจีนไม่มีข้อมูลมหาศาลอยู่ในมือ แต่รัฐบาลจีนมีทางเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ครับ ได้แก่การร่วมมือกับบริษัทเอกชนขนาดยักษ์ของจีนอย่าง Alibaba, Tencent, Didi Chuxing (แพลตฟอร์มบริการ ridesharing ในจีน), และ Baihe (แพลตฟอร์มบริการจับคู่ขนาดใหญ่) เมื่อรวมเข้ากับกล้องวงจรปิดปริมาณมหาศาลพร้อมเทคโนโลยีระบุตัวตน ตัวตนของคุณก็เรียกได้ว่าตกอยู่ภายใต้การเฝ้าดูของรัฐตั้งแต่ตื่นยันเข้านอนครับ
รัฐบาลจีนได้ประกาศและเดินหน้าโครงการนี้มาตั้งแต่ปี 2014 และประกาศว่าจะบังคับใช้กับประชาชนทุกคนในปี 2020 แล้วปัจจุบันใครที่เป็นคนยอมให้ข้อมูลตัวเองกับรัฐ? แล้วจะให้ไปทำไม? เขาไม่ห่วงความเป็นส่วนตัวของตัวเขาเองเลยหรือ? คำตอบนั้นง่ายมาก เพราะการยอมเปิดเผยข้อมูลของตัวเองทำให้ประชาชนได้ในหลายสิ่งครับ ประชาชนในจีนจำนวนมหาศาลเข้าไม่ถึงระบบการเงิน แต่การยอมเปิดเผยข้อมูลของตัวเองทำให้เขาสามารถเข้าถึงระบบการเงินได้ ซึ่งระบบการเงินนั้นมีชื่อว่าเครดิตงาครับ (Sesame Credit) เป็นแอปตัวหนึ่งซึ่งได้รับอนุญาตจากธนาคารกลางของจีนให้ทำแพลตฟอร์มจัดเครดิตผู้ใช้บริการของตัวเองได้โดยกำหนดช่วงคะแนนเป็น 350 - 950 คะแนนอิงจากข้อมูลการใช้งานของแอปตัวนี้ ซึ่งระบบเครดิตงานี้มีผู้ลงชื่อยินยอมเปิดเผยข้อมูลมากถึง 200 ล้านคนทีเดียว
โครงการนี้ทำให้คนในสังคมจีนกลุ่มหนึ่งมุ่งมั่นที่จะทำให้คะแนนตัวเองสูง คนกลุ่มนี้จะดูแลสุขภาพตัวเอง พัฒนาศักยภาพตัวเอง คบคนในระดับเดียวกันหรือสูงกว่าเพื่อดึงคะแนนโดยทำกิจกรรมที่คนคะแนนสูงๆทำกัน ทำให้ภาพรวมของสังคมดีขึ้นเพราะคนล้วนแต่แข่งกันพัฒนาตัวเองเพื่อให้เข้าถึงสิทธิประโยชน์ที่เหนือกว่า มีสิทธิเช่าบ้านหรู ได้ดอกเบี้ยเงินกู้ราคาถูก ได้รับส่วนลดจากสินค้าและบริการต่างๆ
มีข้อดีก็มีข้อเสีย กล่าวคือ การกำหนดค่าเรื่องพฤติกรรมและความชอบโดยรัฐเป็นเครื่องมือหนึ่งในการควบคุมประชาชนของรัฐจีนเอง มีกรณีที่เคยเกิดขึ้นคือนักเขียนที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลคนหนึ่งไม่สามารถซื้อทั้งตั๋วเครื่องบินและตั๋วรถไฟได้ โดยเหตุผลคือคะแนนของเขาต่ำเกินไป และการกำหนดเรื่องความสัมพันธ์ส่วนบุคคลเอาไว้ก็เป็นมาตรการลงโทษทางสังคมต่อคนที่รัฐเห็นว่าประพฤติตัวไม่เหมาะสม ในจีนมีคนที่รวมตัวแชทกันเพื่อคุยว่าใครคะแนนสูงที่พวกเราควรคบ ใครคะแนนต่ำจนพวกเราน่าจะเลิกคบ เป็นไปในลักษณะนี้ทีเดียว
ในอนาคตผมเชื่อว่าจะมีหลายประเทศที่นำโครงการลักษณะเดียวกันนี้ไปใช้เพราะโดยภาพรวมแล้วสังคมได้ประโยชน์ รัฐได้ประโยชน์ คนที่ทำไม่ดีเท่านั้นที่เสียประโยชน์ สำหรับในไทยเองก็มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดเพราะปัจจุบันภาครัฐได้จัดทำบัตรคนจนแจกจ่ายให้กับประชาชนไปแล้วหลายล้านใบ ข้อมูลจากการใช้บัตรสามารถนำไปประมวลภาพการใช้ชีวิตของผู้ถือบัตรได้ในระดับหนึ่งครับ แต่เมื่อเทียบกับจีนแล้วข้อมูลเรายังไม่พร้อมในหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้กล้องวงจรปิดระบุตัวบุคคลซึ่งตรงนี้เรายังห่างไกลจากจีนมากครับดังนั้นผมคิดว่าประเทศไทยคงไปไม่ถึงจุดนั้นแน่นอน
ข้อมูลที่เอามาลงนี้อาจจะไม่สมบูรณ์ครบถ้วน หากมีจุดไหนเห็นว่าควรเสริมหรือแก้ไขสามารถบอกได้เลยนะครับ ^^
เครดิตภาพประกอบและเนื้อหาบทความบางส่วนมาจากลิงค์นี้ครับ
https://www.wired.co.uk/article/chinese-government-social-credit-score-privacy-invasion
https://www.wired.com/story/age-of-social-credit/
รู้จักกับระบบให้คะแนนสังคมของจีนกันเถอะ ว่าด้วย social credit system เมื่อรัฐจับตาดูคุณ
Social Credit เป็นระบบให้คะแนนประชาชนของจีน ที่มาของคะแนนนั้นซับซ้อน มาจากทั้งเรื่องของวินัยการเงิน ความประพฤติในชีวิตจริง สังคมที่คลุกคลี การใช้สื่อออนไลน์ การวิพากษ์วิจารณ์รัฐ ฯลฯ ใครทำเรื่องที่รัฐเห็นว่าดีก็ได้คะแนนสูง ใครทำเรื่องที่รัฐเห็นว่าไม่ดีก็ได้คะแนนน้อย คนคะแนนสูงจะทำให้เข้าถึงบริการที่ดีมีระดับกว่าคนคะแนนน้อยรวมถึงได้อภิสิทธิที่เหนือกว่าบางประการ และคนคะแนนน้อยจะถูกตัดสิทธิบางประการออกไปทำให้ไม่ได้รับความสะดวกในการดำเนินชีวิต
เรื่องนี้มีการหยิบยกมาคุยในสื่อตะวันตกตั้งแต่ปีที่แล้วครับ แต่ในไทยเพิ่งเริ่มเป็นกระแสพูดคุย ผมเลยเลือกมาตั้งกระทู้ช่วงนี้ดีกว่าที่คนพอจะหาข้อมูลในภาษาไทยกันได้แล้ว
___
โครงการนี้จะบังคับใช้กับประชากรจีนทุกคนในปี 2020 เกิดขึ้นมาได้จากการที่รัฐบาลจีนร่วมมือกับเอกชนขนาดยักษ์ของจีนทำการรวบรวมข้อมูลประชาชนในหลายๆด้าน เช่น รายรับมีที่มาจากช่องทางไหน รายจ่ายใช้ไปกับเรื่องอะไร ใช้บริการขนส่งอะไรบ้าง พบปะสังสรรค์กับใคร แล้วทำการตีเป็นคะแนนออกมา
เกณฑ์ที่ใช้ในการกำหนดคะแนนมีด้วยกัน 5 ข้อ คือ
1. ประวัติข้อมูลการเงิน
ซื้ออะไร ใช้จ่ายเงินยังไง มีเงินออมเท่าไหร่ ยิ่งมีเครดิตดีคะแนนยิ่งดีตามไป
2. ประวัติการทำตามข้อตกลงในสัญญา
ไม่มีประวัติการละเมิดข้อตกลงและสัญญาใดๆ สัญญาอะไรไว้ก็ทำตามนั้น ไม่ละเมิดคนอื่น
3. คุณลักษณะส่วนบุคคล
รวมถึงประวัติการศึกษา ข้อมูลสถานที่ทำงาน ตำแหน่งงาน การฝึกอบรม ถ้าคุณศึกษาเพิ่มเติมคะแนนคุณก็เพิ่มตามไป
4. พฤติกรรมและความชอบ
สนใจศิลปะวัฒนธรรมเป็นเรื่องดี เล่นกีฬาออกกำลังได้คะแนนบวก เล่นเกมเล็กน้อยไม่มีปัญหาแต่เล่นมากไปเสียคะแนน ออกมาด่ารัฐบาลเป็นเรื่องเลวร้าย เป็นต้น
5. ความสัมพันธ์กับบุคลอื่น
คุณคบค้าสมาคมกับคนที่ประวัติดีมากๆ คะแนนคุณเพิ่ม คุณไปขลุกอยู่กับคนรายได้น้อยหนี้สินรุงรัง คะแนนคุณลด
การจะทำเรื่องนี้เป็นไปไม่ได้เลยหากรัฐบาลจีนไม่มีข้อมูลมหาศาลอยู่ในมือ แต่รัฐบาลจีนมีทางเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ครับ ได้แก่การร่วมมือกับบริษัทเอกชนขนาดยักษ์ของจีนอย่าง Alibaba, Tencent, Didi Chuxing (แพลตฟอร์มบริการ ridesharing ในจีน), และ Baihe (แพลตฟอร์มบริการจับคู่ขนาดใหญ่) เมื่อรวมเข้ากับกล้องวงจรปิดปริมาณมหาศาลพร้อมเทคโนโลยีระบุตัวตน ตัวตนของคุณก็เรียกได้ว่าตกอยู่ภายใต้การเฝ้าดูของรัฐตั้งแต่ตื่นยันเข้านอนครับ
รัฐบาลจีนได้ประกาศและเดินหน้าโครงการนี้มาตั้งแต่ปี 2014 และประกาศว่าจะบังคับใช้กับประชาชนทุกคนในปี 2020 แล้วปัจจุบันใครที่เป็นคนยอมให้ข้อมูลตัวเองกับรัฐ? แล้วจะให้ไปทำไม? เขาไม่ห่วงความเป็นส่วนตัวของตัวเขาเองเลยหรือ? คำตอบนั้นง่ายมาก เพราะการยอมเปิดเผยข้อมูลของตัวเองทำให้ประชาชนได้ในหลายสิ่งครับ ประชาชนในจีนจำนวนมหาศาลเข้าไม่ถึงระบบการเงิน แต่การยอมเปิดเผยข้อมูลของตัวเองทำให้เขาสามารถเข้าถึงระบบการเงินได้ ซึ่งระบบการเงินนั้นมีชื่อว่าเครดิตงาครับ (Sesame Credit) เป็นแอปตัวหนึ่งซึ่งได้รับอนุญาตจากธนาคารกลางของจีนให้ทำแพลตฟอร์มจัดเครดิตผู้ใช้บริการของตัวเองได้โดยกำหนดช่วงคะแนนเป็น 350 - 950 คะแนนอิงจากข้อมูลการใช้งานของแอปตัวนี้ ซึ่งระบบเครดิตงานี้มีผู้ลงชื่อยินยอมเปิดเผยข้อมูลมากถึง 200 ล้านคนทีเดียว
โครงการนี้ทำให้คนในสังคมจีนกลุ่มหนึ่งมุ่งมั่นที่จะทำให้คะแนนตัวเองสูง คนกลุ่มนี้จะดูแลสุขภาพตัวเอง พัฒนาศักยภาพตัวเอง คบคนในระดับเดียวกันหรือสูงกว่าเพื่อดึงคะแนนโดยทำกิจกรรมที่คนคะแนนสูงๆทำกัน ทำให้ภาพรวมของสังคมดีขึ้นเพราะคนล้วนแต่แข่งกันพัฒนาตัวเองเพื่อให้เข้าถึงสิทธิประโยชน์ที่เหนือกว่า มีสิทธิเช่าบ้านหรู ได้ดอกเบี้ยเงินกู้ราคาถูก ได้รับส่วนลดจากสินค้าและบริการต่างๆ
มีข้อดีก็มีข้อเสีย กล่าวคือ การกำหนดค่าเรื่องพฤติกรรมและความชอบโดยรัฐเป็นเครื่องมือหนึ่งในการควบคุมประชาชนของรัฐจีนเอง มีกรณีที่เคยเกิดขึ้นคือนักเขียนที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลคนหนึ่งไม่สามารถซื้อทั้งตั๋วเครื่องบินและตั๋วรถไฟได้ โดยเหตุผลคือคะแนนของเขาต่ำเกินไป และการกำหนดเรื่องความสัมพันธ์ส่วนบุคคลเอาไว้ก็เป็นมาตรการลงโทษทางสังคมต่อคนที่รัฐเห็นว่าประพฤติตัวไม่เหมาะสม ในจีนมีคนที่รวมตัวแชทกันเพื่อคุยว่าใครคะแนนสูงที่พวกเราควรคบ ใครคะแนนต่ำจนพวกเราน่าจะเลิกคบ เป็นไปในลักษณะนี้ทีเดียว
ในอนาคตผมเชื่อว่าจะมีหลายประเทศที่นำโครงการลักษณะเดียวกันนี้ไปใช้เพราะโดยภาพรวมแล้วสังคมได้ประโยชน์ รัฐได้ประโยชน์ คนที่ทำไม่ดีเท่านั้นที่เสียประโยชน์ สำหรับในไทยเองก็มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดเพราะปัจจุบันภาครัฐได้จัดทำบัตรคนจนแจกจ่ายให้กับประชาชนไปแล้วหลายล้านใบ ข้อมูลจากการใช้บัตรสามารถนำไปประมวลภาพการใช้ชีวิตของผู้ถือบัตรได้ในระดับหนึ่งครับ แต่เมื่อเทียบกับจีนแล้วข้อมูลเรายังไม่พร้อมในหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้กล้องวงจรปิดระบุตัวบุคคลซึ่งตรงนี้เรายังห่างไกลจากจีนมากครับดังนั้นผมคิดว่าประเทศไทยคงไปไม่ถึงจุดนั้นแน่นอน
ข้อมูลที่เอามาลงนี้อาจจะไม่สมบูรณ์ครบถ้วน หากมีจุดไหนเห็นว่าควรเสริมหรือแก้ไขสามารถบอกได้เลยนะครับ ^^
เครดิตภาพประกอบและเนื้อหาบทความบางส่วนมาจากลิงค์นี้ครับ
https://www.wired.co.uk/article/chinese-government-social-credit-score-privacy-invasion
https://www.wired.com/story/age-of-social-credit/