การสถาปนายศยุคประเทศราช
ภายหลังการเสวยราชย์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว พระองค์ทรงปรารถนาที่จะวางกฎเกณฑ์บรรดาศักดิ์แก่บรรดาเจ้าประเทศราชฝ่ายล้านช้างให้เป็นแบบแผน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม สถาปนาฐานันดรศักดิ์สำหรับลูกท่านหลานเธอแห่งเจ้าผู้ครองนครประเทศราชฝ่ายล้านช้างหลวงพระบางและฝ่ายจำปาศักดิ์ (ยกเว้นนครเวียงจันทน์) ตลอดจนหัวเมืองฝ่ายอีสานบางเมืองขึ้นอีก เรียกว่า เจ้ายั้งขะหม่อม หรือ เจ้าย่ำกระหม่อม รวมเป็น ๑๑ ตำแหน่ง ดังนี้
เจ้าองค์ครองนคร
พระเจ้าประเทศราช ถือศักดินา ๑๕,๐๐๐ เช่น พระเจ้านันทเสนราชพงษมลาวแห่งเวียงจันทน์ พระเจ้าองค์หลวงไชยกุมารแห่งจำปาศักดิ์ พระเจ้าสุททะกะสุวันนะกุมารแห่งเชียงขวาง
เจ้าประเทศราช ถือศักดินา ๑๐,๐๐๐ เช่น เจ้าจันทรเทพสุริยวงศ์ดำรงรัฐสีมามุกดาหาราธิบดีแห่งมุกดาหาร เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงศ์ดำรงรัฐสีมาอุบลราชธานีบาลแห่งอุบลราชธานี เจ้ายุติธรรมทรนครจำปาศักดิ์รักษาประชาธิบดีแห่งจำปาศักดิ์
พระยาประเทศราช (เสมอหัวเมืองชั้นเอก) เช่น พระยารัตนวงศามหาขัติยราชแห่งสุวรรณภูมิ พระยาศรีโสราชอุปราชามันธาตุราชแห่งมุกดาหาร พระยาพนมนครานุรักษ์สิทธิศักดิ์เทพฦๅยศแห่งนครพนม
พระประเทศราช (เสมอหัวเมืองชั้นเอก) เช่น พระประทุมวรราชสุริยวงศ์แห่งอุบลราชธานี พระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราชแห่งจำปาศักดิ์ พระสุนทรราชวงศามหาขัติยชาติแห่งยโสธร
เจ้าอุปฮาต (เจ้าอุปราช) ถือศักดินา ๕,๐๐๐
เจ้าราชวงศ์ (เจ้าราชวงษ์) ถือศักดินา ๓,๐๐๐
เจ้าราชบุตร (เจ้าราชบุตร์) ถือศักดินา ๒,๔๐๐
เจ้าราชดนัย ถือศักดินา ๒,๐๐๐
เจ้าราชภาคิไนย (เจ้าราชภาคินัยหรือเจ้าภาคินัย) ถือศักดินา ๒,๐๐๐
เจ้าราชสัมพันธวงศ์ (เจ้าราชสัมพันธ์หรือเจ้าสัมพันธวงศ์) ถือศักดินา ๒,๐๐๐
เจ้าราชประพันธวงศ์ (เจ้าประพันธวงศ์) ถือศักดินา ๒,๐๐๐
เจ้าเมืองประเทศราชล้านช้างที่ส่งราชบรรณาการต้นไม้เงินต้นไม้ทองทางฝั่งซ้ายมี ๗ เมือง ส่วนเจ้าเมืองประเทศราชล้านช้างที่ส่งราชบรรณาการต้นไม้เงินต้นไม้ทองทางฝั่งขวามี ๑๓ เมือง รวม ๒๐ เมือง ดังนี้
เมืองนครจันทบุรีศรีสัตนคนหุตอุตมราชธานีบุรีรมย์ ปัจจุบันคือเวียงจันทน์ ประเทศลาว
เมืองนครล้านช้างฮ่มขาวหลวงพระบาง ปัจจุบันคือเมืองหลวงพระบาง แขวงหลวงพระบาง ประเทศลาว
เมืองนครกาลจำบากนัคบุรีศรี ปัจจุบันคือเมืองจำปาศักดิ์ แขวงจำปาศักดิ์ ประเทศลาว
เมืองมหารัตนบุรีรมย์พรหมจักรพรรดิศรีมหานัครตักกะเสลา ปัจุบันคือแขวงเชียงขวาง ประเทศลาว
เมืองวังอ่างคำ ปัจจุบันคือเมืองวัง แขวงสุวรรณเขต ประเทศลาว
เมืองอัตตะปือละมามท่งแอกกระบือควาย หรือเมืองข่าเรอเดว ปัจุบันคือแขวงอัตตะปือ ประเทศลาว
เมืองมหาชนไชยก่องแก้ว หรือเมืองมหาชัยกองแก้ว ปัจจุบันคือเมืองมหาชัย แขวงคำม่วน ประเทศลาว
เมืองนครบุรีราชธานีศรีโคตรบูรหลวง ปัจจุบันคือจังหวัดนครพนม ประเทศไทย
เมืองมุกดาหารทบุรีศรีมุตติกนคร ปัจจุบันคือจังหวัดมุกดาหาร ประเทศไทย
เมืองสุวรรณภูมิราชบุรียประเทศราช ปัจจุบันคืออำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ประเทศไทย
เมืองฮ้อยเอ็ด ปัจจุบันคือจังหวัดร้อยเอ็ด ประเทศไทย
เมืองมหาสารคาม ปัจจุบันคือจังหวัดมหาสารคาม ประเทศไทย
เมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัยประเทศราช ปัจจุบันคือจังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย
เมืองเขมราษฎร์ธานี ปัจจุบันคืออำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย
เมืองยศสุนทร ปัจจุบันคือจังหวัดยโสธร ภาคอีสาน
เมืองหนองคาย หรือเมืองหล้าหนองคาย ปัจจุบันคือจังหวัดหนองคาย ประเทศไทย
เมืองกาลสินธุ์ ปัจจุบันคือจังหวัดกาฬสินธุ์ ประเทศไทย
เมืองสกลทวาปี หรือเมืองหนองหานเชียงใหม่ ปัจจุบันคือจังหวัดสกลนคร ประเทศไทย
เมืองวาปีปทุม ปัจจุบันคืออำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ประเทศไทย
เมืองโกสุมพิสัย ปัจจุบันคืออำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ประเทศไทย
การลดฐานะหลังยุคปฏิรูปการปกครอง
หลังปฏิรูปการเมืองการปกครองในสมัยรัชกาลที่ ๕ ราวพุทธศักราช ๒๔๔๔ เจ้านายลาวและกรมการเมืองทั้งหลายได้ประสบปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองกับสยามเป็นอย่างมาก สยามได้ลดฐานะความเป็นเจ้าของเจ้านายลาวให้เป็นเพียงข้าราชการรับเงินเดือนตามตำแหน่ง จนเป็นเหตุให้เกิดการต่อต้านอำนาจสยามในรูปแบบต่างๆ เจ้านายลาวบางกลุ่มเข้าสนับสนุนขบวนการผีบุญ เจ้านายลาวฝั่งขวาหลายท่านพากันเข้าไปพึ่งอำนาจฝรั่งเศสทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ทางสยามได้ยกเลิกระบบอาญาสี่และตั้งตำแหน่งจากส่วนกลางให้แก่เจ้านายลาวขึ้นใหม่ โดยผู้ดำรงตำแหน่งยุคแรกนั้นยังคงเป็นกลุ่มทายาทบุตรหลานที่สืบเชื้อสายจากเจ้านายในคณะอาญาสี่ ดังนี้
ผู้ว่าราชการเมือง เทียบตำแหน่งเจ้าเมือง
ปลัดเมือง เทียบตำแหน่งอุปฮาต
ยกกระบัตรเมือง เทียบตำแหน่งราชวงศ์
ผู้ช่วยราชการเมือง เทียบตำแหน่งราชบุตร
จางวางช่วยราชการ เทียบตำแหน่งเจ้าเมืองที่สละตำแหน่งด้วยทุพลภาพ
ผู้ช่วยอาญาสี่และกรมการเมือง
เจ้าทั้งสี่และท้าวทั้งสี่
ผู้ช่วยอาญาสี่เป็นผู้ช่วยราชการของคณะอาญา แบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม กลุ่มแรกคือคณะผู้ช่วยใกล้ชิดหากเป็นกรุงเอกราชหรือนครประเทศราช มักตั้งเจ้านายในราชวงศ์ให้ดำรงตำแหน่ง คณะผู้ใกล้ชิดแบ่งออกเป็น ๔ ตำแหน่ง ดังนี้
เจ้าสุริยะ
เจ้าสุริโย
เจ้าโพธิสาร
เจ้าสุทธิสาร มี ๓ ราชทินนาม ดังนี้
เจ้าสิทธิสาร
เจ้าสุทธิสาร
เจ้าสิทธิราช
หากเมืองใดผู้ดำรงตำแหน่งมิได้เป็นเจ้า เช่น เมืองชั้นเอก ชั้นโท ชั้นตรี และชั้นจัตวา คณะผู้ช่วยใกล้ชิดจะมีบรรดาศักดิ์เป็นท้าว ดังนี้
ท้าวสุริยะ
ท้าวสุริโย
ท้าวโพธิสาร
ท้าวสุทธิสาร มี ๓ ราชทินนาม ดังนี้
ท้าวสิทธิสาร
ท้าวสุทธิสาร
ท้าวสุทธิราช
ชื่อเมือง
เป็นตำแหน่งกรมการเมืองหรือกรรมการเมืองชั้นผู้ใหญ่ คือมหาเสนาบดีของเมือง แยกการปกครองออกจากผู้ช่วยอาญาสี่ประเภทท้าวทั้งสี่ต่างหาก ขื่อเมืองมี ๒ ตำแหน่งคือ เมืองแสน ทำหน้าที่กำกับดูแลฝ่ายทหาร และเมืองจันทน์ ทำหน้าที่กำกับดูแลฝ่ายพลเรือน ในคัมภีร์พระธรรมศาสตร์บูราณ บทว่าด้วยเรื่องระเบียบแต่งราชการไปต่าง ประเทศในสมัยพระเจ้าสุริยวงศามหาธรรมิกราช ออกนามเต็มของตำแหน่งเมืองแสนและเมืองจันทน์ ดังนี้
พระยาเมืองแสนราชธานี สุรมุนตรีศรีสิทธิชัย ปราเกียรติยศทศราชฤๅศักดิ์ อัครมหาเสนาบดีศรีสัตนาค
พระยาหลวงจันทบุรีภิรมย์ราชธานี ศรีสุไชยโนชิตสิทธิปัญญา ประสิทธิไชยสมคามรามภัทร อัครมหาเสนาธิปติศรีรัตนามาศ
ขางเมือง
ขางเมืองมีศักดินารองจากขื่อเมืองหรือขื่อบ้าน ตำแหน่งขื่อเมืองและขางเมืองนี้ โบราณเรียกรวมกันว่า ขื่อบ้านขางเมือง หากเป็นเมืองหลวงหรือเป็นเมืองที่มีกษัตริย์ปกครอง จะใช้คำว่า พระยา หรือ เจ้าพระยาเป็นบรรดาศักดิ์ ถ้าเป็นนหัวเมืองจะใช้คำว่า เพีย หรือ ท้าว เป็นบรรดาศักดิ์ ได้แก่
เมืองขวา เมืองซ้าย เมืองกลาง ดูแลบัญชีไพร่พล บัญชีสักเลก งานราชทัณฑ์ การปฏิสังขรณ์วัดวาอารามตลอดจนวัสดุครุภัณฑ์
เมืองคุก เมืองฮาม เมืองแพน เป็นผู้ช่วยการสามตำแหน่งข้างต้น
นาเหนือ นาใต้ ดูแลเสบียงยุ้งฉางเมือง เก็บส่วยภาษีอากร สำรวจสำมะโนครัวไพร่พลทุก ๓ ปี แทงจำหน่ายเลกที่หนีหายตายพิการชราอุปสมบท ควบคุมดูแลสัตว์พาหนะ
ซาเนตร ซานนท์ เป็นเจ้าหน้าที่เลขานุการของขื่อบ้านขื่อเมือง
ซาบัณฑิต เป็นอาลักษณ์หรือเจ้าพนักงานอ่านประกาศต่าง ๆ ทั้งการแช่งน้ำสาบาน อ่านพระราชโองการคำสั่งเจ้าเมืองหรือสารตราต่างเมือง ตลอดจนแต่งหนังสือตำราต่าง ๆ
กรมเมือง เป็นผู้รักษาขนบธรรมเนียมประเพณี จารีต ฮีต คลอง ต่าง ๆ
สุโพ เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของทหาร
ท้าวเพียโฮงหลวง
เป็นตำแหน่งพิเศษที่แต่งตั้งเพิ่มขึ้นตามความจำเป็นของสภาพการณ์บ้านเมือง ส่วนใหญ่เป็นขุนนางรับใช้ใกล้ชิดในหอโฮงหลวงหรือหอคำของเจ้าเมือง ทำนองเดียวกันกับมหาดเล็กชาวที่ของสยาม เช่น
เพียซาโนซิด ซาภูธร ราชต่างใจ คำมุงคุล ทำหน้าที่มหาดเล็ก
เพียซาตีนแท่นแล่นตีนเพียง เป็นพนักงานตามเสด็จ หรือองครักษ์ของเจ้าเมือง
เพียซาบุฮ่ม เป็นเจ้าพนักงานกั้นพระกลด หรือโบกจามร
เพียซาหลาบคำ เป็นเจ้าพนักงานเชิญพระแสงศาตราวุธ
เพียซามณเฑียร เป็นผู้ดูแลรักษาพระราชวัง ปราสาท ราชมณเฑียร
เพียซาบรรทม เจ้าพนักงานจัดที่บรรทม
เพียแขกขวา แขกซ้าย เป็นผู้ดำเนินการดูแลต้อนรับบรรดาแขกบ้านแขกเมือง
เพียศรีสุนนท์ เพียศรีสุธรรม เพียศรีบุญเฮือง เพียศรีอัครฮาด และเพียศรีอัครวงศ์ เป็นผู้ดูแลจัดการด้านการศึกษาและกิจการด้านศาสนา
ท้าวเพียผู้ช่วย
เป็นตำแหน่งที่เจ้าเมืองออกคำสั่งให้ไปช่วยราชการของเจ้าเมือง อุปราช ราชวงศ์ หรือราชบุตร ตลอดจนงานในกองของเมืองแสนและเมืองจันทร์ หลวงผดุงแคว้นประจันต์ (จันทร์ อุตรนคร) ข้าหลวงเทศาภิบาลกำกับเมืองสกลนคร ได้รวบรวมไว้ ๑๑ ตำแหน่ง ได้แก่
เพียนามเสนา
เพียมหาเสนา
เพียจันทฮส (เพียจันทรส)
เพียซามาตย์
เพียชานุชิต
เพียแก้วดวงดี
เพียสุวรรณไมตรี
เพียอัครวงศ์
เพียเนตวงศ์
เพียนามวงศ์
เพียวุฒิวงศ์
สิบฮ้อยน้อยใหญ่
เป็นตำแหน่งพิเศษที่แต่งตั้งเพิ่มขึ้นตามความจำเป็นของสภาพการณ์บ้านเมือง ส่วนใหญ่เป็นขุนนางชั้นรองถือศักดินาน้อย คอยช่วยราชการกรมการเมืองชั้นผู้ใหญ่ ช่วยราชการขื่อบ้านขางเมืองและขุนกว้านท้าวเพียทั้งหลาย บางตำแหน่งเป็นขุนนางบรรดาศักดิ์ปกครองหมู่บ้าน ตำบล กอง หรือเวียงขนาดเล็ก ได้แก่
ท้าวจันสีสุราช (ท้าวจันทน์สีสุราช) ท้าวจันสีราช ท้าวอาทิตสาราช ท้าวจิตตราช ท้าวศรีสุราช ท้าวศรีวรราช ท้าวโพธิราช ท้าวไกรยราช ท้าวเชียงบุญราช
ท้าวพรหมจักร ท้าวพรหมมหาไชย ท้าวมหาไชย ท้าวมหาพรม ท้าวมหาพันขวา
ท้าวสุริยา ท้าวสุริยง ท้าวสุริยวงศ์ ท้าวสุราชวงศ์ ท้าวสุวรรณดี ท้าวสุวรรณบุตร์
ท้าวจันทรชมภู ท้าวจันทเสน ท้าวจันทรัง ท้าวจันทโสภา ท้าวจันทะสุริยวงศ์
ท้าวขัติยะ (ท้าวขัตยะ) ท้าวขัติยา ท้าวสุทธิสม ท้าวสิทธิกุมาร
ท้าวไชยกุมาร ท้าวไชยวงษ์ ท้าวไชยสาร ท้าวไชยอำมาตย์
ท้าวอินธิสาร ท้าวพิมพิสาร ท้าวบุญสาร ท้าวขุนสาร
ท้าววรบุตร ท้าวเทียมคำยอ ท้าวคำพัน ท้าวแก้วเพลา ท้าวฝ่ายหน้า ท้าวพิลา ท้าวบุญจัน ท้าวอุปปละ ท้าวกะออก ท้าวชามาต
อาญาสี่ในเรื่องซิ่นลายหงส์ (2)
ภายหลังการเสวยราชย์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว พระองค์ทรงปรารถนาที่จะวางกฎเกณฑ์บรรดาศักดิ์แก่บรรดาเจ้าประเทศราชฝ่ายล้านช้างให้เป็นแบบแผน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม สถาปนาฐานันดรศักดิ์สำหรับลูกท่านหลานเธอแห่งเจ้าผู้ครองนครประเทศราชฝ่ายล้านช้างหลวงพระบางและฝ่ายจำปาศักดิ์ (ยกเว้นนครเวียงจันทน์) ตลอดจนหัวเมืองฝ่ายอีสานบางเมืองขึ้นอีก เรียกว่า เจ้ายั้งขะหม่อม หรือ เจ้าย่ำกระหม่อม รวมเป็น ๑๑ ตำแหน่ง ดังนี้
เจ้าองค์ครองนคร
พระเจ้าประเทศราช ถือศักดินา ๑๕,๐๐๐ เช่น พระเจ้านันทเสนราชพงษมลาวแห่งเวียงจันทน์ พระเจ้าองค์หลวงไชยกุมารแห่งจำปาศักดิ์ พระเจ้าสุททะกะสุวันนะกุมารแห่งเชียงขวาง
เจ้าประเทศราช ถือศักดินา ๑๐,๐๐๐ เช่น เจ้าจันทรเทพสุริยวงศ์ดำรงรัฐสีมามุกดาหาราธิบดีแห่งมุกดาหาร เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงศ์ดำรงรัฐสีมาอุบลราชธานีบาลแห่งอุบลราชธานี เจ้ายุติธรรมทรนครจำปาศักดิ์รักษาประชาธิบดีแห่งจำปาศักดิ์
พระยาประเทศราช (เสมอหัวเมืองชั้นเอก) เช่น พระยารัตนวงศามหาขัติยราชแห่งสุวรรณภูมิ พระยาศรีโสราชอุปราชามันธาตุราชแห่งมุกดาหาร พระยาพนมนครานุรักษ์สิทธิศักดิ์เทพฦๅยศแห่งนครพนม
พระประเทศราช (เสมอหัวเมืองชั้นเอก) เช่น พระประทุมวรราชสุริยวงศ์แห่งอุบลราชธานี พระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราชแห่งจำปาศักดิ์ พระสุนทรราชวงศามหาขัติยชาติแห่งยโสธร
เจ้าอุปฮาต (เจ้าอุปราช) ถือศักดินา ๕,๐๐๐
เจ้าราชวงศ์ (เจ้าราชวงษ์) ถือศักดินา ๓,๐๐๐
เจ้าราชบุตร (เจ้าราชบุตร์) ถือศักดินา ๒,๔๐๐
เจ้าราชดนัย ถือศักดินา ๒,๐๐๐
เจ้าราชภาคิไนย (เจ้าราชภาคินัยหรือเจ้าภาคินัย) ถือศักดินา ๒,๐๐๐
เจ้าราชสัมพันธวงศ์ (เจ้าราชสัมพันธ์หรือเจ้าสัมพันธวงศ์) ถือศักดินา ๒,๐๐๐
เจ้าราชประพันธวงศ์ (เจ้าประพันธวงศ์) ถือศักดินา ๒,๐๐๐
เจ้าเมืองประเทศราชล้านช้างที่ส่งราชบรรณาการต้นไม้เงินต้นไม้ทองทางฝั่งซ้ายมี ๗ เมือง ส่วนเจ้าเมืองประเทศราชล้านช้างที่ส่งราชบรรณาการต้นไม้เงินต้นไม้ทองทางฝั่งขวามี ๑๓ เมือง รวม ๒๐ เมือง ดังนี้
เมืองนครจันทบุรีศรีสัตนคนหุตอุตมราชธานีบุรีรมย์ ปัจจุบันคือเวียงจันทน์ ประเทศลาว
เมืองนครล้านช้างฮ่มขาวหลวงพระบาง ปัจจุบันคือเมืองหลวงพระบาง แขวงหลวงพระบาง ประเทศลาว
เมืองนครกาลจำบากนัคบุรีศรี ปัจจุบันคือเมืองจำปาศักดิ์ แขวงจำปาศักดิ์ ประเทศลาว
เมืองมหารัตนบุรีรมย์พรหมจักรพรรดิศรีมหานัครตักกะเสลา ปัจุบันคือแขวงเชียงขวาง ประเทศลาว
เมืองวังอ่างคำ ปัจจุบันคือเมืองวัง แขวงสุวรรณเขต ประเทศลาว
เมืองอัตตะปือละมามท่งแอกกระบือควาย หรือเมืองข่าเรอเดว ปัจุบันคือแขวงอัตตะปือ ประเทศลาว
เมืองมหาชนไชยก่องแก้ว หรือเมืองมหาชัยกองแก้ว ปัจจุบันคือเมืองมหาชัย แขวงคำม่วน ประเทศลาว
เมืองนครบุรีราชธานีศรีโคตรบูรหลวง ปัจจุบันคือจังหวัดนครพนม ประเทศไทย
เมืองมุกดาหารทบุรีศรีมุตติกนคร ปัจจุบันคือจังหวัดมุกดาหาร ประเทศไทย
เมืองสุวรรณภูมิราชบุรียประเทศราช ปัจจุบันคืออำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ประเทศไทย
เมืองฮ้อยเอ็ด ปัจจุบันคือจังหวัดร้อยเอ็ด ประเทศไทย
เมืองมหาสารคาม ปัจจุบันคือจังหวัดมหาสารคาม ประเทศไทย
เมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัยประเทศราช ปัจจุบันคือจังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย
เมืองเขมราษฎร์ธานี ปัจจุบันคืออำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย
เมืองยศสุนทร ปัจจุบันคือจังหวัดยโสธร ภาคอีสาน
เมืองหนองคาย หรือเมืองหล้าหนองคาย ปัจจุบันคือจังหวัดหนองคาย ประเทศไทย
เมืองกาลสินธุ์ ปัจจุบันคือจังหวัดกาฬสินธุ์ ประเทศไทย
เมืองสกลทวาปี หรือเมืองหนองหานเชียงใหม่ ปัจจุบันคือจังหวัดสกลนคร ประเทศไทย
เมืองวาปีปทุม ปัจจุบันคืออำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ประเทศไทย
เมืองโกสุมพิสัย ปัจจุบันคืออำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ประเทศไทย
การลดฐานะหลังยุคปฏิรูปการปกครอง
หลังปฏิรูปการเมืองการปกครองในสมัยรัชกาลที่ ๕ ราวพุทธศักราช ๒๔๔๔ เจ้านายลาวและกรมการเมืองทั้งหลายได้ประสบปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองกับสยามเป็นอย่างมาก สยามได้ลดฐานะความเป็นเจ้าของเจ้านายลาวให้เป็นเพียงข้าราชการรับเงินเดือนตามตำแหน่ง จนเป็นเหตุให้เกิดการต่อต้านอำนาจสยามในรูปแบบต่างๆ เจ้านายลาวบางกลุ่มเข้าสนับสนุนขบวนการผีบุญ เจ้านายลาวฝั่งขวาหลายท่านพากันเข้าไปพึ่งอำนาจฝรั่งเศสทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ทางสยามได้ยกเลิกระบบอาญาสี่และตั้งตำแหน่งจากส่วนกลางให้แก่เจ้านายลาวขึ้นใหม่ โดยผู้ดำรงตำแหน่งยุคแรกนั้นยังคงเป็นกลุ่มทายาทบุตรหลานที่สืบเชื้อสายจากเจ้านายในคณะอาญาสี่ ดังนี้
ผู้ว่าราชการเมือง เทียบตำแหน่งเจ้าเมือง
ปลัดเมือง เทียบตำแหน่งอุปฮาต
ยกกระบัตรเมือง เทียบตำแหน่งราชวงศ์
ผู้ช่วยราชการเมือง เทียบตำแหน่งราชบุตร
จางวางช่วยราชการ เทียบตำแหน่งเจ้าเมืองที่สละตำแหน่งด้วยทุพลภาพ
ผู้ช่วยอาญาสี่และกรมการเมือง
เจ้าทั้งสี่และท้าวทั้งสี่
ผู้ช่วยอาญาสี่เป็นผู้ช่วยราชการของคณะอาญา แบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม กลุ่มแรกคือคณะผู้ช่วยใกล้ชิดหากเป็นกรุงเอกราชหรือนครประเทศราช มักตั้งเจ้านายในราชวงศ์ให้ดำรงตำแหน่ง คณะผู้ใกล้ชิดแบ่งออกเป็น ๔ ตำแหน่ง ดังนี้
เจ้าสุริยะ
เจ้าสุริโย
เจ้าโพธิสาร
เจ้าสุทธิสาร มี ๓ ราชทินนาม ดังนี้
เจ้าสิทธิสาร
เจ้าสุทธิสาร
เจ้าสิทธิราช
หากเมืองใดผู้ดำรงตำแหน่งมิได้เป็นเจ้า เช่น เมืองชั้นเอก ชั้นโท ชั้นตรี และชั้นจัตวา คณะผู้ช่วยใกล้ชิดจะมีบรรดาศักดิ์เป็นท้าว ดังนี้
ท้าวสุริยะ
ท้าวสุริโย
ท้าวโพธิสาร
ท้าวสุทธิสาร มี ๓ ราชทินนาม ดังนี้
ท้าวสิทธิสาร
ท้าวสุทธิสาร
ท้าวสุทธิราช
ชื่อเมือง
เป็นตำแหน่งกรมการเมืองหรือกรรมการเมืองชั้นผู้ใหญ่ คือมหาเสนาบดีของเมือง แยกการปกครองออกจากผู้ช่วยอาญาสี่ประเภทท้าวทั้งสี่ต่างหาก ขื่อเมืองมี ๒ ตำแหน่งคือ เมืองแสน ทำหน้าที่กำกับดูแลฝ่ายทหาร และเมืองจันทน์ ทำหน้าที่กำกับดูแลฝ่ายพลเรือน ในคัมภีร์พระธรรมศาสตร์บูราณ บทว่าด้วยเรื่องระเบียบแต่งราชการไปต่าง ประเทศในสมัยพระเจ้าสุริยวงศามหาธรรมิกราช ออกนามเต็มของตำแหน่งเมืองแสนและเมืองจันทน์ ดังนี้
พระยาเมืองแสนราชธานี สุรมุนตรีศรีสิทธิชัย ปราเกียรติยศทศราชฤๅศักดิ์ อัครมหาเสนาบดีศรีสัตนาค
พระยาหลวงจันทบุรีภิรมย์ราชธานี ศรีสุไชยโนชิตสิทธิปัญญา ประสิทธิไชยสมคามรามภัทร อัครมหาเสนาธิปติศรีรัตนามาศ
ขางเมือง
ขางเมืองมีศักดินารองจากขื่อเมืองหรือขื่อบ้าน ตำแหน่งขื่อเมืองและขางเมืองนี้ โบราณเรียกรวมกันว่า ขื่อบ้านขางเมือง หากเป็นเมืองหลวงหรือเป็นเมืองที่มีกษัตริย์ปกครอง จะใช้คำว่า พระยา หรือ เจ้าพระยาเป็นบรรดาศักดิ์ ถ้าเป็นนหัวเมืองจะใช้คำว่า เพีย หรือ ท้าว เป็นบรรดาศักดิ์ ได้แก่
เมืองขวา เมืองซ้าย เมืองกลาง ดูแลบัญชีไพร่พล บัญชีสักเลก งานราชทัณฑ์ การปฏิสังขรณ์วัดวาอารามตลอดจนวัสดุครุภัณฑ์
เมืองคุก เมืองฮาม เมืองแพน เป็นผู้ช่วยการสามตำแหน่งข้างต้น
นาเหนือ นาใต้ ดูแลเสบียงยุ้งฉางเมือง เก็บส่วยภาษีอากร สำรวจสำมะโนครัวไพร่พลทุก ๓ ปี แทงจำหน่ายเลกที่หนีหายตายพิการชราอุปสมบท ควบคุมดูแลสัตว์พาหนะ
ซาเนตร ซานนท์ เป็นเจ้าหน้าที่เลขานุการของขื่อบ้านขื่อเมือง
ซาบัณฑิต เป็นอาลักษณ์หรือเจ้าพนักงานอ่านประกาศต่าง ๆ ทั้งการแช่งน้ำสาบาน อ่านพระราชโองการคำสั่งเจ้าเมืองหรือสารตราต่างเมือง ตลอดจนแต่งหนังสือตำราต่าง ๆ
กรมเมือง เป็นผู้รักษาขนบธรรมเนียมประเพณี จารีต ฮีต คลอง ต่าง ๆ
สุโพ เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของทหาร
ท้าวเพียโฮงหลวง
เป็นตำแหน่งพิเศษที่แต่งตั้งเพิ่มขึ้นตามความจำเป็นของสภาพการณ์บ้านเมือง ส่วนใหญ่เป็นขุนนางรับใช้ใกล้ชิดในหอโฮงหลวงหรือหอคำของเจ้าเมือง ทำนองเดียวกันกับมหาดเล็กชาวที่ของสยาม เช่น
เพียซาโนซิด ซาภูธร ราชต่างใจ คำมุงคุล ทำหน้าที่มหาดเล็ก
เพียซาตีนแท่นแล่นตีนเพียง เป็นพนักงานตามเสด็จ หรือองครักษ์ของเจ้าเมือง
เพียซาบุฮ่ม เป็นเจ้าพนักงานกั้นพระกลด หรือโบกจามร
เพียซาหลาบคำ เป็นเจ้าพนักงานเชิญพระแสงศาตราวุธ
เพียซามณเฑียร เป็นผู้ดูแลรักษาพระราชวัง ปราสาท ราชมณเฑียร
เพียซาบรรทม เจ้าพนักงานจัดที่บรรทม
เพียแขกขวา แขกซ้าย เป็นผู้ดำเนินการดูแลต้อนรับบรรดาแขกบ้านแขกเมือง
เพียศรีสุนนท์ เพียศรีสุธรรม เพียศรีบุญเฮือง เพียศรีอัครฮาด และเพียศรีอัครวงศ์ เป็นผู้ดูแลจัดการด้านการศึกษาและกิจการด้านศาสนา
ท้าวเพียผู้ช่วย
เป็นตำแหน่งที่เจ้าเมืองออกคำสั่งให้ไปช่วยราชการของเจ้าเมือง อุปราช ราชวงศ์ หรือราชบุตร ตลอดจนงานในกองของเมืองแสนและเมืองจันทร์ หลวงผดุงแคว้นประจันต์ (จันทร์ อุตรนคร) ข้าหลวงเทศาภิบาลกำกับเมืองสกลนคร ได้รวบรวมไว้ ๑๑ ตำแหน่ง ได้แก่
เพียนามเสนา
เพียมหาเสนา
เพียจันทฮส (เพียจันทรส)
เพียซามาตย์
เพียชานุชิต
เพียแก้วดวงดี
เพียสุวรรณไมตรี
เพียอัครวงศ์
เพียเนตวงศ์
เพียนามวงศ์
เพียวุฒิวงศ์
สิบฮ้อยน้อยใหญ่
เป็นตำแหน่งพิเศษที่แต่งตั้งเพิ่มขึ้นตามความจำเป็นของสภาพการณ์บ้านเมือง ส่วนใหญ่เป็นขุนนางชั้นรองถือศักดินาน้อย คอยช่วยราชการกรมการเมืองชั้นผู้ใหญ่ ช่วยราชการขื่อบ้านขางเมืองและขุนกว้านท้าวเพียทั้งหลาย บางตำแหน่งเป็นขุนนางบรรดาศักดิ์ปกครองหมู่บ้าน ตำบล กอง หรือเวียงขนาดเล็ก ได้แก่
ท้าวจันสีสุราช (ท้าวจันทน์สีสุราช) ท้าวจันสีราช ท้าวอาทิตสาราช ท้าวจิตตราช ท้าวศรีสุราช ท้าวศรีวรราช ท้าวโพธิราช ท้าวไกรยราช ท้าวเชียงบุญราช
ท้าวพรหมจักร ท้าวพรหมมหาไชย ท้าวมหาไชย ท้าวมหาพรม ท้าวมหาพันขวา
ท้าวสุริยา ท้าวสุริยง ท้าวสุริยวงศ์ ท้าวสุราชวงศ์ ท้าวสุวรรณดี ท้าวสุวรรณบุตร์
ท้าวจันทรชมภู ท้าวจันทเสน ท้าวจันทรัง ท้าวจันทโสภา ท้าวจันทะสุริยวงศ์
ท้าวขัติยะ (ท้าวขัตยะ) ท้าวขัติยา ท้าวสุทธิสม ท้าวสิทธิกุมาร
ท้าวไชยกุมาร ท้าวไชยวงษ์ ท้าวไชยสาร ท้าวไชยอำมาตย์
ท้าวอินธิสาร ท้าวพิมพิสาร ท้าวบุญสาร ท้าวขุนสาร
ท้าววรบุตร ท้าวเทียมคำยอ ท้าวคำพัน ท้าวแก้วเพลา ท้าวฝ่ายหน้า ท้าวพิลา ท้าวบุญจัน ท้าวอุปปละ ท้าวกะออก ท้าวชามาต