พระเจ้าเชียงใหม่

กระทู้สนทนา


ราชวงศ์ฝ่ายเหนือ

ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน)เป็นวงศ์ตระกูลในชนชั้นปกครองมาตั้งแต่ยุคของหนานทิพย์ช้าง
องค์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน

ต่อมาพระราชโอรส และพระราชนัดดาได้แยกย้ายกันไปปกครองหัวเมืองประเทศราช อันได้แก่
นครเชียงใหม่ นครลำปาง และ นครลำพูน กลุ่มพระประยูรญาติก็ดำรงตนอยู่ในสถานะชนชั้นปกครองตลอดมา

จนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๔๔๒

รัฐบาลสยามได้เข้ามาแทรกแซงกิจการในนครเชียงใหม่อย่างเต็มรูปแบบโดยดำเนินนโยบาย
ผนวกดินแดนและปฏิรูปการปกครองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาลเจ้านายฝ่ายเหนือ
จึงดำรงสถานะเป็นเพียงข้าราชการที่มีเงินประจำตำแหน่งเท่านั้น

เมื่อหลังปี พ.ศ. ๒๔๔๒

เจ้านายฝ่ายเหนือได้มีการปรับตัวในด้านต่างๆ จากชนชั้นผู้ปกครองไปเป็นข้าราชการ
และเป็นผู้รับสัมปทานกิจการของรัฐอาทิ กิจการป่าไม้ กิจการเหมืองฝาย กิจการโรงบ่มยาสูบ
และกิจการร้านค้าห้องแถวเป็นต้น แต่รัฐบาลสยามยังคงให้ความสำคัญในสถานะเจ้านายฝ่ายเหนือ
จนกระทั่งการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และ ยกเลิกระบบเจ้าประเทศราช

บทบาทหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕

ตระกูลการเมือง

ราชตระกูล ณ เชียงใหม่เดิมเป็นตระกูลที่มีบทบาทเป็นเจ้าผู้ปกครองนครเชียงใหม่
ต่อมาหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ. ๒๔๗๕ ราชตระกูล ณ เชียงใหม่
ได้มีการปรับเปลี่ยนบทบาทตามสถานการณ์บ้านเมืองยังคงรักษาสถานภาพทางการปกครอง
โดยใช้ช่องทางการเมือง โดยการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
รวมถึงการเมืองในท้องถิ่น ซึ่งส่งผลให้ ราชตระกูล ณ เชียงใหม่ เป็นตระกูลที่มีบทบาททางการเมืองของไทย
โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่มีนักการเมืองจำนวนหลายคนที่มาจากราชตระกูล ณ เชียงใหม่

ด้านสังคม

ราชตระกูล ณ เชียงใหม่ เป็นราชตระกูลที่บทบาททางสังคมและทางวัฒนธรรมในฐานะชนชั้นนำ
อาทิ การสืบสานศิลปวัฒนธรรมฝ่ายเหนือในนามของมูลนิธินวราชดำริอนุรักษ์ฝ่ายเหนือ
และการเข้าร่วมกิจกรรมกับจังหวัดเชียงใหม่ และองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน
รวมถึงงานรัฐพิธี ราชพิธีต่างๆ ด้วย และบทบาทในสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่

ราชสำนักสยามได้มีการกำหนดศักดินาแก่เจ้านาย หัวเมืองประเทศราช ดังนี้

๑. เจ้าหลวง

๑.๑ "พระเจ้าประเทศราช" ถือศักดินา ๑๕,๐๐๐
๑.๒ "เจ้าประเทศราช" ถือศักดินา ๑๐,๐๐๐

๒. เจ้าอุปราช ถือศักดินา ๕,๐๐๐
๓. เจ้าราชวงศ์ ถือศักดินา ๓,๐๐๐
๔. เจ้าบุรีรัตน์ ถือศักดินา ๒,๔๐๐
๕. เจ้าราชบุตร ถือศักดินา ๒,๔๐๐
๖. เจ้าราชภาคินัย ถือศักดินา ๒,๐๐๐
๗. เจ้าอุตรการโกศล ถือศักดินา ๑,๖๐๐
๘. เจ้าไชยสงคราม ถือศักดินา ๑,๖๐๐
๙. เจ้าราชภาติกวงษ์ ถือศักดินา ๒,๐๐๐
๑๐. เจ้าราชสัมพันธวงศ์ ถือศักดินา ๒,๐๐๐
๑๑. เจ้าสุริยวงศ์ ถือศักดินา ๒,๐๐๐
๑๒. เจ้าทักษิณนิเกตน์ ถือศักดินา ๑,๖๐๐
๑๓. เจ้านิเวศอุดร ถือศักดินา ๑,๖๐๐

Credit : ThiranuwatMahavong

เทวพงศ์พันธ์เชียงใหม่มหานคร
http://www.chiangmai-thailand.net/
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่