สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 8
เริ่มแรกต้องดูก่อนว่า เขาถามหรือเปล่า ถ้าไม่ได้ถาม ก็ไม่ต้องไปบอก บอกไปทั้งๆ ไม่มีได้ถาม เป็นการอวดรู้
ต่อมาคุยกันไป ถ้าสิ่งที่เขารู้มามันผิด คิดก่อนว่าแก้แล้วได้อะไร ดูท่าทีเขาว่าเป็นคนเปิดกว้างรับฟังไหม
ถ้าดูแล้วไม่ประโยชน์อันใด แถมเขาเป็นคนไม่เปิดกว้าง ก็ไม่ต้องพูด
เคยได้ยินคำว่า "เรียนรู้ที่จะเงียบ" ตอนแรกก็ไม่เข้าใจ พอเข้าสังคมแล้วรู้เลยว่ามันสำคัญ คนเราไม่ต้องพูดทุกเรื่องที่รู้หรอก
มองรอบด้าน มองสังคมด้วย ว่าเราอยู่สังคมแบบไหน พูดไปเขาไม่รับฟัง นอกจากเสียเวลาแล้ว ยังถูกมองในแง่ร้าย
เข้าใจการทำแบบนี้ได้ กดข่มตัวเองเป็น ไม่อวดว่ารู้ไปซะทุกอย่าง จะอยู่ได้อย่างสง่างาม
*ขอเสริมอีกนิด
เราเคยสัมผัสคนที่เก่ง มีชื่อเสียง ดังในระดับประเทศ ส่วนมากเขาเป็นคนไม่พูดมากค่ะ บางคนเป็นคนขี้อายด้วยซ้ำ แปลกมั้ย?
แต่พูดแล้วเอาอยู่ ใช้คำไม่มาก ไม่น้ำท่วมทุ่ง พูดตรงประเด็น และอย่างที่บอก พูดเมื่อมีคนถาม คนฟังเขาถึงจะรับฟังอย่างตั้งใจ
ต่อมาคุยกันไป ถ้าสิ่งที่เขารู้มามันผิด คิดก่อนว่าแก้แล้วได้อะไร ดูท่าทีเขาว่าเป็นคนเปิดกว้างรับฟังไหม
ถ้าดูแล้วไม่ประโยชน์อันใด แถมเขาเป็นคนไม่เปิดกว้าง ก็ไม่ต้องพูด
เคยได้ยินคำว่า "เรียนรู้ที่จะเงียบ" ตอนแรกก็ไม่เข้าใจ พอเข้าสังคมแล้วรู้เลยว่ามันสำคัญ คนเราไม่ต้องพูดทุกเรื่องที่รู้หรอก
มองรอบด้าน มองสังคมด้วย ว่าเราอยู่สังคมแบบไหน พูดไปเขาไม่รับฟัง นอกจากเสียเวลาแล้ว ยังถูกมองในแง่ร้าย
เข้าใจการทำแบบนี้ได้ กดข่มตัวเองเป็น ไม่อวดว่ารู้ไปซะทุกอย่าง จะอยู่ได้อย่างสง่างาม
*ขอเสริมอีกนิด
เราเคยสัมผัสคนที่เก่ง มีชื่อเสียง ดังในระดับประเทศ ส่วนมากเขาเป็นคนไม่พูดมากค่ะ บางคนเป็นคนขี้อายด้วยซ้ำ แปลกมั้ย?
แต่พูดแล้วเอาอยู่ ใช้คำไม่มาก ไม่น้ำท่วมทุ่ง พูดตรงประเด็น และอย่างที่บอก พูดเมื่อมีคนถาม คนฟังเขาถึงจะรับฟังอย่างตั้งใจ
ความคิดเห็นที่ 5
รู้เยอะ กับ ข่มคน มันต่างกันตรงที่ เจตนา
ใจความหลักมันอยู่ที่ เรื่องราวที่คุย
เช่น เรื่องการเมือง บางคนเลี่ยงที่จะไม่สนทนา เพราะไม่รู้ว่าผู้พูด หรือ ผู้ฟัง เขาคิดอะไรในใจ คิดเหมือนตัวเองไหม เรื่องการเมืองถ้าคิดต่างนิดเดียวแตกหักกันได้ง่ายเลยทีเดียว เป็นต้น
ส่วนตัวเป็นคนที่แยกแยะได้ว่า ใครรู้เยอะ และ ใครชอบข่ม คนรู้เยอะจะมีเหตุผลและเป็นคนที่น่าเข้าหาด้วยซ้ำเพราะเราก็ไม่ได้รู้อะไรไปทุกอย่าง ส่วนคนชอบข่มมันจะมี sense บางอย่างที่บอกได้ว่าคนๆนี้ไม่น่าเข้าหาเลย มันมีบางอย่างที่ให้ความรู้สึกเหมือนเขาต้องการจะควบคุม มากกว่าให้เหตุผลที่น่าฟัง
ใจความหลักมันอยู่ที่ เรื่องราวที่คุย
เช่น เรื่องการเมือง บางคนเลี่ยงที่จะไม่สนทนา เพราะไม่รู้ว่าผู้พูด หรือ ผู้ฟัง เขาคิดอะไรในใจ คิดเหมือนตัวเองไหม เรื่องการเมืองถ้าคิดต่างนิดเดียวแตกหักกันได้ง่ายเลยทีเดียว เป็นต้น
ส่วนตัวเป็นคนที่แยกแยะได้ว่า ใครรู้เยอะ และ ใครชอบข่ม คนรู้เยอะจะมีเหตุผลและเป็นคนที่น่าเข้าหาด้วยซ้ำเพราะเราก็ไม่ได้รู้อะไรไปทุกอย่าง ส่วนคนชอบข่มมันจะมี sense บางอย่างที่บอกได้ว่าคนๆนี้ไม่น่าเข้าหาเลย มันมีบางอย่างที่ให้ความรู้สึกเหมือนเขาต้องการจะควบคุม มากกว่าให้เหตุผลที่น่าฟัง
แสดงความคิดเห็น
ยกตนข่มท่าน กับให้ความรู้ มันต่างกันยังไง แล้วให้ความรู้ยังไงไม่เหมือนคนอวดรู้
บางทีเรามองหน้าคนฟังแล้วรู้สึก เหมือนเรากำลังอวดรู้ คือเรายอมรับว่าเราเป็นคนมีข้อมูลเยอะ เกือบทุกเรื่อง
แต่ไม่ได้บอกว่ามันถูกทุกเรื่อง เพราะเราอ่านเยอะ แต่บางทีเวลาพูดออกไป รู้สึกว่าคนฟัง โดนข่มยังไงก็ไม่รู้
หลังๆเวลาคนนั้นพูดเรื่องที่มันไม่จริง แบบที่เรารู้มาเราเงียบๆ ไม่แก้ ไม่ให้ข้อเท็จจริง เพราะรู้สึกว่า มันไม่มีประดยชน์ เหมือนเราอวดรู้
เคยเป็นแบบนี้กันบ้างไหม