DAY 4
11 พฤศจิกายน 2018
วันนี้ตื่นตั้งแต่ตี 4 ที่โบสถ์ Wukro Chirkos มีงานสวดบูชาพระรัตนตรัย (พระเจ้า, พระบุตร, และพระจิต) ตั้งแต่เมื่อคืน สวดใส่เครื่องกระจายเสียงดังไปเจ็ดคุ้งน้ำ ข่มตาหลับก็ไม่หลับ แต่คาดว่าน่าจะเป็นเพราะ jet lag มากกว่าเพราะเสียงสวดสูงต่ำแบบต่อเนื่องไม่ทำให้เราหงุดหงิดเท่าเสียงที่มาแบบขาดๆหายๆ
ที่พักมีบริการอาหารเช้าและค่ำแบบบุฟเฟต์ ส่วนตอนกลางวันเป็นอาหารตามสั่ง ไม่ฟรีนะคะเอามาคิดรวบยอดทีเดียวตอน check out ไฟฟ้ามาแบบติดๆดับๆ หากใครมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ให้จับชาร์จพลังทันทีเวลาอยู่ในห้องเพราะไม่สามารถรู้ได้เลยว่าไฟจะไปเมื่อไรและจะไปนานกี่เพลา
.
เริ่มออกเดินทางไปชมโบสถ์ตอน 9 โมงครึ่งโดยมีหมุดหมายแรกอยู่ที่ Medhane Alem Adi Kesho ทางทัวร์ส่งรถตู้พร้อมคนขับ, ไกด์, และผู้ร่วมเดินทางอีก 1 คนที่เราไม่รู้ว่า job description ของนางคืออะไร ได้ฟีลเหมือนเป็นภริยาท่านผู้ว่าออกเยี่ยมกิจการโอทอป ช่วงแรกเป็นถนนราดยางไต่ตามสันเขาจากนั้นก็วกเข้ามายังทางลูกรังที่แสนจะทรหด ขับขย่มมาได้สักพักรถดันติดหล่ม ต้องเกณฑ์คนแถวนั้นมาช่วยกันเข็นรถขึ้นจากหลุมโคลน ไอ้เราก็อยากช่วยแต่กลัวเป็นภาระ ทางไกด์บอกให้นั่งเฉยๆเดี๋ยวพวกนางจัดการกันเอง เข้าใจสำนวนที่ว่า “take a village” เลยทีเดียวเชียว
หนูน้อยเอธิโอเปียนเข้ามาช่วยดันรถอีกหนึ่งแรง ยิ้มฟันขาวจั๊วะ
หลังจากเข็นรถออกจากหล่มก็ขับไปตามทางจนถึงภูเขาลูกหนึ่งแล้วขับตามไหล่เขาขึ้นไปยังจุดพักรถ ถึงตรงนี้ต้องสละพาหนะแล้วเดินท้าแรงโน้มถ่วงอีกประมาณ 1 กิโลเมตร ทางเดินช่วงแรกเป็นขั้นบันไดใหญ่ๆแต่เดินแล้วเหนื่อยโคตรเหมือนขึ้นซำแฮ่กภูกระดึง ด่านที่ 2 เป็นผาหินขาวชันมากกว่า 60 องศา ทางคนขับรถต้องยื่นมือมาให้จับพาขึ้นไป (ขาลงก็เช่นกัน; ภริยาท่านผู้ว่าของแท้) ด่านสุดท้ายเป็นทางเดินแนวระนาบ คุณไกด์จ่ายเงินค่าเข้าชมเป็นเงิน 150 หน่วยแล้วพวกเราก็เข้าไปยังลานหน้าโบสถ์ที่กลายร่างเป็นสุสานฝังชาวคริสต์เอธิโอเปีย
ภูมิประเทศภูมิภาคทิเกรย์ สวยงามตามท้องเรื่อง
ตัวโบสถ์คว้านลึกเข้าไปในผาหิน ส่วนแรกเป็นระเบียงที่สุดทางด้านขวามี chapel ของพระแม่มารี จากระเบียงต้องผ่านประตูเข้าไปในตัวโบสถ์จริง ข้างในมืดมากเพราะไม่มีไฟและไม่มีหน้าต่างให้แสงเข้า ผู้คุมโบสถ์ต้องฉาย spotlight ให้แสงสว่าง เรารู้สึกตื่นตาตื่นใจมาก แม้ไม่อลังการเหมือนโบสถ์ในยุโรปแต่มันมีความสวยแบบดิบๆดูแข็งแกร่ง บนเพดานมีการสลักลายเช่นลายเรขาคณิต, พรรณพฤกษา, และไม้กางเขน บางส่วนมีร่องรอยของจิตรกรรมฝาผนัง รู้สึกปีติน้ำตารื้นเป็นที่สุด
รวมรูปภายในและภายนอกโบสถ์
.
โบสถ์ที่ 2 ชื่อ Mikael Melehayzenghi โบสถ์นี้เดินขึ้นเขาเล็กน้อยก็ถึง ไม่สมบุกสมบันเหมือนโบสถ์แรก ตัวโบสถ์อยู่ในเขาเลยคือคว้านเอาเนื้อหินออกทำเป็นห้องสี่เหลี่ยมแล้วติดประตู 2 บานเป็นทางเข้า ละม้ายคล้ายบ้านฮอบบิท ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วาดขึ้นใหม่ในสมัยจักรพรรดิเฮลลี เซลาซซี่ (Haile Selassie) ระหว่างปีค.ศ. 1941-74
รวมรูปภายในและภายนอกโบสถ์
.
โบสถ์ที่ 3 มีนามกรว่า Petros and Paulus Meleheyzenghi โบสถ์นี้ไม่ใช่โบสถ์สกัดจากหินแต่เป็นโครงสร้างแบบก่ออิฐถือปูนอยู่บนหน้าผาสูงชัน ช่วงแรกต้องไต่เขาขึ้นไป ด่านนี้ธรรมดา ด่านที่ 2 นี่สิเห็นแล้วใจหล่นไปที่ตาตุ่ม ต้องขึ้นบันไดลิงความชันประมาณ 90 องศาไปยังช่องเว้าของหน้าผาที่ตั้งโบสถ์ มาถึงตรงนี้กลับตัวก็ไม่ได้เลยต้องเดินหน้าต่อไป ตอนขึ้นนี่ภาวนาว่าเรายังตายไม่ได้เพราะยังนกอยู่ (ขาลงก็เช่นกัน)
วิวข้างบนเวลามองลงเบื้องล่างสวยมาก แต่สวยแบบสวยประหารเพราะพลาดตกลงไปหมายถึงชีวิต ถึงแม้จะขึ้นยากและข้างนอกโบสถ์ดูธรรมดาแต่ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่งดงามยิ่งและดูไม่เป็นการ์ตูนเหมือนโบสถ์ที่ 2
รวมรูป
.
เกร็ดความรู้
ตอนแรกที่ได้ยินเสียงสวดนึกว่าเป็นเสียงเรียกให้ทำละหมาดเพราะลักษณะคำและสำเนียงคล้ายกับภาษาอารบิค (Arabic) มาก แต่จริงๆแล้วก็ไม่แปลกเพราะภาษาอัมฮาริค (Amharic) ที่เอธิโอเปียนส่วนใหญ่ใช่สื่อสารก็อยู่ในตระกูลย่อยเซมิติค (Semitic) ร่วมกับอารบิค, ฮิบรู (Hebrew), อาราเม็ค (Aramaic), และภาษาที่ตายแล้วอย่างแอ๊คคาด (Akkad) หรือสุเมอ (Sumer) อนึ่ง, ชื่อ Semitic เอามาจาก Shem บุตรของโนอาเป็นภาษาอยู่ในตระกูลใหญ่ Afroasiatic สันนิษฐานว่าอัมฮาริคกับอาราบิคหรือภาษา Afroasiatics ทั้งหมดวิวัฒนาการมาจากกลุ่มชาติพันธุ์ที่สร้างบ้านแปงเมืองอยู่ในแถบทะเลทรายนูเบียในประเทศซูดาน (Sudan) ปัจจุบัน
.
Wukro Lodge กว้างใหญ่ไพศาล มีเพื่อนสาวออกหากินเต็มไปหมด นับได้หลายสปีชี่ส์อยู่แต่ไม่รู้ว่าชื่ออะไรบ้าง ปกติไม่ชอบเที่ยวธรรมชาติแต่ 2-3 วันนมานี้เดินถ่ายรูปนกแล้วมีความสุข สงสัยต้องลองเที่ยวแบบนี้บ้างละ
.
ป.ล.
1. พิมพ์ยังไงก็เกิน 10,000 คำ จะพิมพ์ต่อในช่องเม้นต์แล้วใส่รูปก็แปลงไฟล์รูปให้เล็กลงไม่เป็นอีก เลยต้องแบ่ง Part 2 เป็นจุดหนึ่งและจุดสอง (อาจจะมีจุดสาม)
2. ขอแถมเกร็ดความรู้สำหรับ Part 2.2 ในโพสต์นี้เลยละกัน สมัยโบราณแผ่นดินคาบสมุทรอาราเบียเป็นชุมชนของผู้นับถือศาสนาพหุเทวะนิยม ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 7 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 8 ศาสดามูฮัมหมัดได้รับสาส์นจากจิ๊บริ่ล (เกเบรียล; ตนเดียวกับที่มาบอกพระแม่มารีว่าจะตั้งครรภ์) แล้วเริ่มสอนสั่งให้ผู้สนใจหันมานับถือพระเจ้าองค์เดียว การกระทำของศาสดามูฮัมหมัดยังความไม่พอใจให้แก่เจ้าถิ่นจนต้องจัดการเข่นฆ่าชาวมุสลิม (สาเหตุที่ทำให้ต้องเข่นฆ่าจะไม่ขอเล่า หากสนใจไปหาอ่านกันเอาเอง) ศาสดามูฮัมหมัดและผู้ภักดีบางส่วนหนีไปเมดิน่า (Medina) ที่เรียกว่าฮิจราห์ครั้งที่ 1 และเป็นจุดเริ่มต้นของศาสนาอิสลาม
To be continued
#EthiopiaDiary Part 2.1 โบสถ์สลักหินในวูโคร (Wukro)
DAY 4
11 พฤศจิกายน 2018
วันนี้ตื่นตั้งแต่ตี 4 ที่โบสถ์ Wukro Chirkos มีงานสวดบูชาพระรัตนตรัย (พระเจ้า, พระบุตร, และพระจิต) ตั้งแต่เมื่อคืน สวดใส่เครื่องกระจายเสียงดังไปเจ็ดคุ้งน้ำ ข่มตาหลับก็ไม่หลับ แต่คาดว่าน่าจะเป็นเพราะ jet lag มากกว่าเพราะเสียงสวดสูงต่ำแบบต่อเนื่องไม่ทำให้เราหงุดหงิดเท่าเสียงที่มาแบบขาดๆหายๆ
ที่พักมีบริการอาหารเช้าและค่ำแบบบุฟเฟต์ ส่วนตอนกลางวันเป็นอาหารตามสั่ง ไม่ฟรีนะคะเอามาคิดรวบยอดทีเดียวตอน check out ไฟฟ้ามาแบบติดๆดับๆ หากใครมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ให้จับชาร์จพลังทันทีเวลาอยู่ในห้องเพราะไม่สามารถรู้ได้เลยว่าไฟจะไปเมื่อไรและจะไปนานกี่เพลา
.
เริ่มออกเดินทางไปชมโบสถ์ตอน 9 โมงครึ่งโดยมีหมุดหมายแรกอยู่ที่ Medhane Alem Adi Kesho ทางทัวร์ส่งรถตู้พร้อมคนขับ, ไกด์, และผู้ร่วมเดินทางอีก 1 คนที่เราไม่รู้ว่า job description ของนางคืออะไร ได้ฟีลเหมือนเป็นภริยาท่านผู้ว่าออกเยี่ยมกิจการโอทอป ช่วงแรกเป็นถนนราดยางไต่ตามสันเขาจากนั้นก็วกเข้ามายังทางลูกรังที่แสนจะทรหด ขับขย่มมาได้สักพักรถดันติดหล่ม ต้องเกณฑ์คนแถวนั้นมาช่วยกันเข็นรถขึ้นจากหลุมโคลน ไอ้เราก็อยากช่วยแต่กลัวเป็นภาระ ทางไกด์บอกให้นั่งเฉยๆเดี๋ยวพวกนางจัดการกันเอง เข้าใจสำนวนที่ว่า “take a village” เลยทีเดียวเชียว
หนูน้อยเอธิโอเปียนเข้ามาช่วยดันรถอีกหนึ่งแรง ยิ้มฟันขาวจั๊วะ
หลังจากเข็นรถออกจากหล่มก็ขับไปตามทางจนถึงภูเขาลูกหนึ่งแล้วขับตามไหล่เขาขึ้นไปยังจุดพักรถ ถึงตรงนี้ต้องสละพาหนะแล้วเดินท้าแรงโน้มถ่วงอีกประมาณ 1 กิโลเมตร ทางเดินช่วงแรกเป็นขั้นบันไดใหญ่ๆแต่เดินแล้วเหนื่อยโคตรเหมือนขึ้นซำแฮ่กภูกระดึง ด่านที่ 2 เป็นผาหินขาวชันมากกว่า 60 องศา ทางคนขับรถต้องยื่นมือมาให้จับพาขึ้นไป (ขาลงก็เช่นกัน; ภริยาท่านผู้ว่าของแท้) ด่านสุดท้ายเป็นทางเดินแนวระนาบ คุณไกด์จ่ายเงินค่าเข้าชมเป็นเงิน 150 หน่วยแล้วพวกเราก็เข้าไปยังลานหน้าโบสถ์ที่กลายร่างเป็นสุสานฝังชาวคริสต์เอธิโอเปีย
ภูมิประเทศภูมิภาคทิเกรย์ สวยงามตามท้องเรื่อง
ตัวโบสถ์คว้านลึกเข้าไปในผาหิน ส่วนแรกเป็นระเบียงที่สุดทางด้านขวามี chapel ของพระแม่มารี จากระเบียงต้องผ่านประตูเข้าไปในตัวโบสถ์จริง ข้างในมืดมากเพราะไม่มีไฟและไม่มีหน้าต่างให้แสงเข้า ผู้คุมโบสถ์ต้องฉาย spotlight ให้แสงสว่าง เรารู้สึกตื่นตาตื่นใจมาก แม้ไม่อลังการเหมือนโบสถ์ในยุโรปแต่มันมีความสวยแบบดิบๆดูแข็งแกร่ง บนเพดานมีการสลักลายเช่นลายเรขาคณิต, พรรณพฤกษา, และไม้กางเขน บางส่วนมีร่องรอยของจิตรกรรมฝาผนัง รู้สึกปีติน้ำตารื้นเป็นที่สุด
รวมรูปภายในและภายนอกโบสถ์
.
โบสถ์ที่ 2 ชื่อ Mikael Melehayzenghi โบสถ์นี้เดินขึ้นเขาเล็กน้อยก็ถึง ไม่สมบุกสมบันเหมือนโบสถ์แรก ตัวโบสถ์อยู่ในเขาเลยคือคว้านเอาเนื้อหินออกทำเป็นห้องสี่เหลี่ยมแล้วติดประตู 2 บานเป็นทางเข้า ละม้ายคล้ายบ้านฮอบบิท ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วาดขึ้นใหม่ในสมัยจักรพรรดิเฮลลี เซลาซซี่ (Haile Selassie) ระหว่างปีค.ศ. 1941-74
รวมรูปภายในและภายนอกโบสถ์
.
โบสถ์ที่ 3 มีนามกรว่า Petros and Paulus Meleheyzenghi โบสถ์นี้ไม่ใช่โบสถ์สกัดจากหินแต่เป็นโครงสร้างแบบก่ออิฐถือปูนอยู่บนหน้าผาสูงชัน ช่วงแรกต้องไต่เขาขึ้นไป ด่านนี้ธรรมดา ด่านที่ 2 นี่สิเห็นแล้วใจหล่นไปที่ตาตุ่ม ต้องขึ้นบันไดลิงความชันประมาณ 90 องศาไปยังช่องเว้าของหน้าผาที่ตั้งโบสถ์ มาถึงตรงนี้กลับตัวก็ไม่ได้เลยต้องเดินหน้าต่อไป ตอนขึ้นนี่ภาวนาว่าเรายังตายไม่ได้เพราะยังนกอยู่ (ขาลงก็เช่นกัน)
วิวข้างบนเวลามองลงเบื้องล่างสวยมาก แต่สวยแบบสวยประหารเพราะพลาดตกลงไปหมายถึงชีวิต ถึงแม้จะขึ้นยากและข้างนอกโบสถ์ดูธรรมดาแต่ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่งดงามยิ่งและดูไม่เป็นการ์ตูนเหมือนโบสถ์ที่ 2
รวมรูป
.
เกร็ดความรู้
ตอนแรกที่ได้ยินเสียงสวดนึกว่าเป็นเสียงเรียกให้ทำละหมาดเพราะลักษณะคำและสำเนียงคล้ายกับภาษาอารบิค (Arabic) มาก แต่จริงๆแล้วก็ไม่แปลกเพราะภาษาอัมฮาริค (Amharic) ที่เอธิโอเปียนส่วนใหญ่ใช่สื่อสารก็อยู่ในตระกูลย่อยเซมิติค (Semitic) ร่วมกับอารบิค, ฮิบรู (Hebrew), อาราเม็ค (Aramaic), และภาษาที่ตายแล้วอย่างแอ๊คคาด (Akkad) หรือสุเมอ (Sumer) อนึ่ง, ชื่อ Semitic เอามาจาก Shem บุตรของโนอาเป็นภาษาอยู่ในตระกูลใหญ่ Afroasiatic สันนิษฐานว่าอัมฮาริคกับอาราบิคหรือภาษา Afroasiatics ทั้งหมดวิวัฒนาการมาจากกลุ่มชาติพันธุ์ที่สร้างบ้านแปงเมืองอยู่ในแถบทะเลทรายนูเบียในประเทศซูดาน (Sudan) ปัจจุบัน
.
Wukro Lodge กว้างใหญ่ไพศาล มีเพื่อนสาวออกหากินเต็มไปหมด นับได้หลายสปีชี่ส์อยู่แต่ไม่รู้ว่าชื่ออะไรบ้าง ปกติไม่ชอบเที่ยวธรรมชาติแต่ 2-3 วันนมานี้เดินถ่ายรูปนกแล้วมีความสุข สงสัยต้องลองเที่ยวแบบนี้บ้างละ
.
ป.ล.
1. พิมพ์ยังไงก็เกิน 10,000 คำ จะพิมพ์ต่อในช่องเม้นต์แล้วใส่รูปก็แปลงไฟล์รูปให้เล็กลงไม่เป็นอีก เลยต้องแบ่ง Part 2 เป็นจุดหนึ่งและจุดสอง (อาจจะมีจุดสาม)
2. ขอแถมเกร็ดความรู้สำหรับ Part 2.2 ในโพสต์นี้เลยละกัน สมัยโบราณแผ่นดินคาบสมุทรอาราเบียเป็นชุมชนของผู้นับถือศาสนาพหุเทวะนิยม ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 7 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 8 ศาสดามูฮัมหมัดได้รับสาส์นจากจิ๊บริ่ล (เกเบรียล; ตนเดียวกับที่มาบอกพระแม่มารีว่าจะตั้งครรภ์) แล้วเริ่มสอนสั่งให้ผู้สนใจหันมานับถือพระเจ้าองค์เดียว การกระทำของศาสดามูฮัมหมัดยังความไม่พอใจให้แก่เจ้าถิ่นจนต้องจัดการเข่นฆ่าชาวมุสลิม (สาเหตุที่ทำให้ต้องเข่นฆ่าจะไม่ขอเล่า หากสนใจไปหาอ่านกันเอาเอง) ศาสดามูฮัมหมัดและผู้ภักดีบางส่วนหนีไปเมดิน่า (Medina) ที่เรียกว่าฮิจราห์ครั้งที่ 1 และเป็นจุดเริ่มต้นของศาสนาอิสลาม
To be continued