DAY 5
12 พฤศจิกายน 2018
1.
ทัวร์ภริยาท่านผู้ว่าเริ่มตอนเก้าโมงตรง วันนี้ตั้งใจไปดูหนึ่งโบสถ์, หนึ่งชุมชนมุสลิม, และหนึ่งซากวิหาร คนขับรถเซอร์ไพรส์ด้วยการพามาที่พิพิธภัณฑ์ประจำเมืองเป็นอันดับแรก เริ่ดมาก ไม่นึกว่าที่นี่จะมี ภายในบรรจุของที่ขุดค้นขึ้นมาจาก The Temple of Almaqah หรือวิหารพระเพ็ง (Almaqah เป็นเทพีแห่งพระจันทร์ นางเป็นเทพพื้นถิ่นทางใต้ของคาบสมุทรอาราเบีย อยู่ในกลุ่มวัฒนธรรมซาบาของอาณาจักรชื่อเดียวกันที่แผลงเป็นชีบะแล้วเอธิโอเปียนเชื่อว่าเป็นราชีนีที่ไปจิ้มก้องพระเจ้าโซโลมอนอันบันทึกไว้ในพันธะสัญญาเก่า) โบราณวัตถุที่น่าสนใจคือแท่นสำหรับบูชายัญ, ประติมากรรมสตรีนั่งห้อยขา, และแท่งหินสลักอักขระซาเบียน เขียนว่าสร้างอุทิศให้กับ Almaqah นอกจากนี้ยังมีรูปถ่ายสมัยโบราณของคณะนักโบราณคดีชาวเยอรมันที่มาขุดสำรวจเมืองอักสัม เป็นพิพิธภัณฑ์ขนาดเล็กมาก มีห้องจัดแสดงเพียงห้องเดียว แต่จัดวางดูอินเตอร์ค่าที่ฝรั่งดั้งขอมาช่วยออกทุนสร้างและจัดแสดง
แท่นบูชายัญ ภัณฑารักษ์บอกว่ากรรมวิธีในการบูชาคือเอาหัววัวพาดตรงแท่นแล้วตัดคอ เลือดจะไหลผ่านมายังหัววัวที่คล้ายก็อกน้ำไปตามทางที่เหมือนพัทกอล์ฟ
อักขระซาเบียน
ประติมากรรมสตรีห้อยขา
เครื่องประดับและกระจกสำริด
รูปถ่ายฝรั่งดั้งขอตอนมาช่วยขุดค้นอักสัม
.
พสกนิกรชาวทิเกรย์นับถือศาสนาคริสต์นิกาย Ethiopian Tawahedo Orthodox ฉะนั้นในภูมิภาคนี้จึงมีโบสถ์คริสต์มากมาย แต่มีชุมชนมุสลิมอยู่หนึ่งแห่งที่ไม่ไกลจากวูโคร ชุมชนนี้มีชื่อว่าเนกาช (Negash) ผู้เฒ่าผู้แก่เชื่อว่ามุสลิมกลุ่มแรก (ร่วมสมัยกับศาสดามูฮัมหมัดและน่าจะได้รับเอหิภิกขุอุปสัมปทา) จำนวนหลักสิบรวมทั้งรูคิยา (Rukiya) บุตรีของศาสดามูฮัมหมัดหนีจากเมกกะ (Mecca) ข้ามทะเลแดงมายังเนกาชแล้วสร้างบ้านแปงเมืองบริเวณนี้และอยู่สืบเนื่องกันมาเป็นพันกว่าปี นี่คือปริบทที่ควรรู้ก่อนไปเพราะถ้าไปแบบไม่ใส่ปริบทจะไม่มีอะไรน่าสนใจเลย
บริเวณมัสยิดและสุสาน
เชื่อว่านี่คือ tomb ของมุสลิมที่หนีตายจากเมกกะ อิหม่ามบอกว่ามี 12 คน ส่วนรูคิยาไม่ได้มา นางไปเมกกะพร้อมศาสดามูฮัมหมัด แต่ที่ศึกษามาได้ข่าวว่านางมาที่นี่
กำลังจะถ่ายรูปคุณปู่ถืออัลกุรอานแบบ candid คุณปู่เห็นปุ๊บยื่นมาให้เลย
.
จุดที่ 2 ที่ไปเยี่ยมชมคือซากปรักหักพังของวิหารพระเพ็งหรือ The Temple of Almaqah ซึ่งอยู่ห่างจากวูโครไปทางใต้ประมาณ 8 กิโลเมตร การไปวิหารแห่งนี้ต้องเติมปริบทให้เต็มแมกซ์เพราะมันไม่มีอะไรเลยนอกจากกำแพงเตี้ยๆที่เป็นซากของวิหารและอุปกรณ์ประกอบฉากที่คาดว่าเป็นของทำขึ้นใหม่เพราะของจริงเอาไปเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์
อย่างที่บอก Almaqah เป็นเทพีแห่งพระจันทร์นับถือโดยชุมชนทางใต้ของคาบสมุทรอาราเบียโบราณ (วัฒนธรรมซาบา; Saba หรือ Sabean Culture) การที่มีวิหารพระเพ็งมาตั้ง ณ โนแวร์ลึกจากทะเลแดงมาเป็นร้อยๆกิโลเมตรถือว่าเป็นเรื่องอัศจรรย์มาก แสดงว่ามีการถ่ายเทวัฒนธรรมมาตั้งแต่ก่อนอาณาจักรอักสัมเพราะอาณาจักรซาบาเกิดก่อน (Pre-Axumite Period; อาณาจักรอักสัมเป็นอาณาจักรแรกที่มีบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรถึงการเกิดและดำรงอยู่ในแผ่นดินเอธิโอเปีย) อีกเรื่องที่น่าสนใจคือนักประวัติศาสตร์ศิลป์เชื่อว่าประติมากรรมผู้หญิงนั่งห้อยขาที่เจอในวิหารพระเพ็งนั้นมีลักษณะที่แตกต่างในรายละเอียดจากที่พบในทางใต้ของคาบสมุทรอาราเบียแถวเยเมน (Yemen) แปลว่าชาวเอธิโอเปียนสมัยนั้นได้พัฒนาต่อยอดศิลปะดั้งเดิมให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
วิหารพระเพ็ง มีแค่นี้จริงๆ
ก็อปเกรดเอ คาดว่าของจริงอยู่ในพิพิธภัณฑ์
บริเวณรอบๆวิหารพระเพ็ง
2.
เสร็จจากทัศนาวิหารพระเพ็งตะวันก็เคลื่อนมาตรงกระหม่อมพอดี ต่อรองกับทัวร์ว่าขอกลับไปฟื้นฟูสภาพผิวแล้วบ่ายคล้อยค่อยไปโบสถ์จะได้ไหม ที่ผ่านมา 4 วันก็เกินโควตาสมบุกสมบันไปโขอยู่ คุณผู้จัดการ (ผจก.) ที่เราจำชื่อไม่เคยได้บอกว่างั้นไปตอนบ่ายสามแล้วกัน
ตัดภาพกลับมาที่บ่ายสามโมง แดดยังแรงอยู่เลย เอาวะ เอาให้มันจบๆ ก่อนไปก็ถามไถ่ผจก.ว่าจากวูโครไปฮอว์เซ็น (Hawzen) ต้องไปขึ้นรถลงเรือที่ท่าไหน? นางคงจบการขายมาเลยเสนอว่าเดี๋ยวจัดการทัวร์ให้โดยให้ไฮไล (ชื่อคนขับรถ) ขับพาไปฮอว์เซ็น, พาเที่ยวชมโบสถ์สลักหินที่นั่น, และขับรถไปส่งที่อักสัม โดยมีระได (ชื่อเด็กรถ) นั่งไปด้วย เราก็พักที่โรงแรมของเราส่วนไฮไลกับระไดก็กลับมาพักที่วูโคร ฟังดูน่าสนใจ ทีนี้ก็ต้องมาดูราคาว่าแพงไหม ผจก.เสนอมาที่ 410 ดอลลาร์ ถูกกว่าที่คิดไว้เลยตอบตกลง เราขอจ่ายเป็นเงินเอธิโอเปีย ผจก.ก็ชักแม่น้ำทั้งห้า (คงคา, ยมุนา, อจิระวดี, มหิ, และสรภู) บอกว่าอยากได้เป็นดอลลาร์มากกว่า คิดเอาเองว่านางคงเก็บดอลลาร์ไว้รอเงินเอธิโอเปียตกแล้วไปช้อนขึ้น เราเลยเสนออัตราแลกเปลี่ยนที่ 1 ดอลลาร์เท่ากับ 30 หน่วย นางเลยตอบตกลง
.
หมดเวลาไปกับการเจราจา 1 ชั่วโมงเต็ม สี่โมงเย็นล้อเคลื่อน โบสถ์ Abraha we Atsbeha เป็นโบสถ์ที่เก่าแก่ที่สุดในเอธิโอเปียคือสร้างตั้งแต่ตอนที่คริสต์ศาสนาลงหลักปักฐานในแผ่นดินนี้เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 4 โดยกษัตริย์อันมีนามเดียวกับชื่อโบสถ์แต่เป็นชื่อที่เปลี่ยนหลังจากทำพิธีศีลจุ่มแล้วนะ ส่วนชื่อในสูติบัตรเราไม่รู้
โบสถ์อยู่ห่างจากดาวน์ทาวน์ 15 กิโลเมตร ทางไปเป็นทางลูกรังสลับกับทางที่กำลังตัดใหม่ บางช่วงต้องรอรถเกลี่ยดินให้เรียบก่อนที่จะผ่านไปได้
ตัวโบสถ์อยู่บนเนินและเกิดจากการสลักหินตรงชะง่อนผา มีแบคกราวนด์เป็นภูเขาเปลือยที่แสงตะวันยามอัสดงส่องไล้เป็นที่น่าอภิรมย์ยิ่งนัก ส่วนมุขกระสันเป็นของต่อเติมใหม่ ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วาดขึ้นใหม่เช่นกัน ภาพเก่าในโถงหินถูกลอกทำลายโดยมหารานีกูดิท (Queen Gudit) ผจก.บอกว่ากูดิทเป็นยิว อันนี้ต้องกลับไปค้นก่อน
รวมรูป
นักบวชผู้คุมโบสถ์เห็นเราตื่นตาตื่นใจกับความงามเลยเข้ามาลอบถามว่าจะใส่ชุดแบบจัดเต็มให้ดูเอาไหม แน่นอนว่าเราอยากเห็นมากถึงจะดูเป็นการแสดงก็ตาม ภายในโถงหินมีห้องที่เรียกว่า Holy of The Holies (Sanctum Sanctorum) มีม่านสีแดงกั้น คนที่จะเข้าไปได้มีแค่นักบวชและโยมอุปัฏฐาก (deacon) เท่านั้น คุณนักบวชเข้าไปแต่งองค์ทรงเครื่องแล้วแหวกม่านออกมา โอ้โห! ชุดอลังการมาก เห็นแล้วมีความสุข หลังจากออกมาให้ยลโฉมก็เข้าไปเปลี่ยนกลับเป็นชุดเดิมแล้วมาสาธิตวิธีการสวดภาวนาประกอบจังหวะ คือมีตีกลอง, กระทบไม้, และสะบัดเครื่องดนตรีคล้ายอังกะลุง ได้เห็นแล้วตายตาหลับ มาเอธิโอเปียครั้งนี้ไม่เสียเที่ยวจริงๆ
รวมรูป
จบ Part 2
To be continued
.
ป.ล.
1. ปัญหาหนึ่งของการชมโบสถ์ที่ทิเกรย์คือไม่มีข้อมูลทางโบราณคดีที่เชื่อถือได้เช่นโบสถ์นี้สร้างเมื่อไร? ใช้สถาปัตยกรรมแบบไหน? ส่วนใหญ่จะเป็นมุขปาถะแนวอภินิหารเช่นเซนต์องค์นั้นองค์นี้มาสร้าง คล้ายกับตำนานการเกิดพระธาตุในภาคอีสานของไทย
2. ใครมาเที่ยวโบสถ์ในทิเกรย์แนะนำให้เตรียมแบงค์ย่อยไว้เยอะๆเพราะทุกคนที่เผลอเข้ามาในวงโคจรไม่ว่าจะเข้ามาช่วยแบกของหรือส่งแรงใจจะขอทิปเป็นสินน้ำใจเสมอ
#EthiopiaDiary Part 2.2 โบสถ์สลักหินในวูโคร (Wukro)
12 พฤศจิกายน 2018
1.
ทัวร์ภริยาท่านผู้ว่าเริ่มตอนเก้าโมงตรง วันนี้ตั้งใจไปดูหนึ่งโบสถ์, หนึ่งชุมชนมุสลิม, และหนึ่งซากวิหาร คนขับรถเซอร์ไพรส์ด้วยการพามาที่พิพิธภัณฑ์ประจำเมืองเป็นอันดับแรก เริ่ดมาก ไม่นึกว่าที่นี่จะมี ภายในบรรจุของที่ขุดค้นขึ้นมาจาก The Temple of Almaqah หรือวิหารพระเพ็ง (Almaqah เป็นเทพีแห่งพระจันทร์ นางเป็นเทพพื้นถิ่นทางใต้ของคาบสมุทรอาราเบีย อยู่ในกลุ่มวัฒนธรรมซาบาของอาณาจักรชื่อเดียวกันที่แผลงเป็นชีบะแล้วเอธิโอเปียนเชื่อว่าเป็นราชีนีที่ไปจิ้มก้องพระเจ้าโซโลมอนอันบันทึกไว้ในพันธะสัญญาเก่า) โบราณวัตถุที่น่าสนใจคือแท่นสำหรับบูชายัญ, ประติมากรรมสตรีนั่งห้อยขา, และแท่งหินสลักอักขระซาเบียน เขียนว่าสร้างอุทิศให้กับ Almaqah นอกจากนี้ยังมีรูปถ่ายสมัยโบราณของคณะนักโบราณคดีชาวเยอรมันที่มาขุดสำรวจเมืองอักสัม เป็นพิพิธภัณฑ์ขนาดเล็กมาก มีห้องจัดแสดงเพียงห้องเดียว แต่จัดวางดูอินเตอร์ค่าที่ฝรั่งดั้งขอมาช่วยออกทุนสร้างและจัดแสดง
แท่นบูชายัญ ภัณฑารักษ์บอกว่ากรรมวิธีในการบูชาคือเอาหัววัวพาดตรงแท่นแล้วตัดคอ เลือดจะไหลผ่านมายังหัววัวที่คล้ายก็อกน้ำไปตามทางที่เหมือนพัทกอล์ฟ
อักขระซาเบียน
ประติมากรรมสตรีห้อยขา
เครื่องประดับและกระจกสำริด
รูปถ่ายฝรั่งดั้งขอตอนมาช่วยขุดค้นอักสัม
.
พสกนิกรชาวทิเกรย์นับถือศาสนาคริสต์นิกาย Ethiopian Tawahedo Orthodox ฉะนั้นในภูมิภาคนี้จึงมีโบสถ์คริสต์มากมาย แต่มีชุมชนมุสลิมอยู่หนึ่งแห่งที่ไม่ไกลจากวูโคร ชุมชนนี้มีชื่อว่าเนกาช (Negash) ผู้เฒ่าผู้แก่เชื่อว่ามุสลิมกลุ่มแรก (ร่วมสมัยกับศาสดามูฮัมหมัดและน่าจะได้รับเอหิภิกขุอุปสัมปทา) จำนวนหลักสิบรวมทั้งรูคิยา (Rukiya) บุตรีของศาสดามูฮัมหมัดหนีจากเมกกะ (Mecca) ข้ามทะเลแดงมายังเนกาชแล้วสร้างบ้านแปงเมืองบริเวณนี้และอยู่สืบเนื่องกันมาเป็นพันกว่าปี นี่คือปริบทที่ควรรู้ก่อนไปเพราะถ้าไปแบบไม่ใส่ปริบทจะไม่มีอะไรน่าสนใจเลย
บริเวณมัสยิดและสุสาน
เชื่อว่านี่คือ tomb ของมุสลิมที่หนีตายจากเมกกะ อิหม่ามบอกว่ามี 12 คน ส่วนรูคิยาไม่ได้มา นางไปเมกกะพร้อมศาสดามูฮัมหมัด แต่ที่ศึกษามาได้ข่าวว่านางมาที่นี่
กำลังจะถ่ายรูปคุณปู่ถืออัลกุรอานแบบ candid คุณปู่เห็นปุ๊บยื่นมาให้เลย
.
จุดที่ 2 ที่ไปเยี่ยมชมคือซากปรักหักพังของวิหารพระเพ็งหรือ The Temple of Almaqah ซึ่งอยู่ห่างจากวูโครไปทางใต้ประมาณ 8 กิโลเมตร การไปวิหารแห่งนี้ต้องเติมปริบทให้เต็มแมกซ์เพราะมันไม่มีอะไรเลยนอกจากกำแพงเตี้ยๆที่เป็นซากของวิหารและอุปกรณ์ประกอบฉากที่คาดว่าเป็นของทำขึ้นใหม่เพราะของจริงเอาไปเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์
อย่างที่บอก Almaqah เป็นเทพีแห่งพระจันทร์นับถือโดยชุมชนทางใต้ของคาบสมุทรอาราเบียโบราณ (วัฒนธรรมซาบา; Saba หรือ Sabean Culture) การที่มีวิหารพระเพ็งมาตั้ง ณ โนแวร์ลึกจากทะเลแดงมาเป็นร้อยๆกิโลเมตรถือว่าเป็นเรื่องอัศจรรย์มาก แสดงว่ามีการถ่ายเทวัฒนธรรมมาตั้งแต่ก่อนอาณาจักรอักสัมเพราะอาณาจักรซาบาเกิดก่อน (Pre-Axumite Period; อาณาจักรอักสัมเป็นอาณาจักรแรกที่มีบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรถึงการเกิดและดำรงอยู่ในแผ่นดินเอธิโอเปีย) อีกเรื่องที่น่าสนใจคือนักประวัติศาสตร์ศิลป์เชื่อว่าประติมากรรมผู้หญิงนั่งห้อยขาที่เจอในวิหารพระเพ็งนั้นมีลักษณะที่แตกต่างในรายละเอียดจากที่พบในทางใต้ของคาบสมุทรอาราเบียแถวเยเมน (Yemen) แปลว่าชาวเอธิโอเปียนสมัยนั้นได้พัฒนาต่อยอดศิลปะดั้งเดิมให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
วิหารพระเพ็ง มีแค่นี้จริงๆ
ก็อปเกรดเอ คาดว่าของจริงอยู่ในพิพิธภัณฑ์
บริเวณรอบๆวิหารพระเพ็ง
2.
เสร็จจากทัศนาวิหารพระเพ็งตะวันก็เคลื่อนมาตรงกระหม่อมพอดี ต่อรองกับทัวร์ว่าขอกลับไปฟื้นฟูสภาพผิวแล้วบ่ายคล้อยค่อยไปโบสถ์จะได้ไหม ที่ผ่านมา 4 วันก็เกินโควตาสมบุกสมบันไปโขอยู่ คุณผู้จัดการ (ผจก.) ที่เราจำชื่อไม่เคยได้บอกว่างั้นไปตอนบ่ายสามแล้วกัน
ตัดภาพกลับมาที่บ่ายสามโมง แดดยังแรงอยู่เลย เอาวะ เอาให้มันจบๆ ก่อนไปก็ถามไถ่ผจก.ว่าจากวูโครไปฮอว์เซ็น (Hawzen) ต้องไปขึ้นรถลงเรือที่ท่าไหน? นางคงจบการขายมาเลยเสนอว่าเดี๋ยวจัดการทัวร์ให้โดยให้ไฮไล (ชื่อคนขับรถ) ขับพาไปฮอว์เซ็น, พาเที่ยวชมโบสถ์สลักหินที่นั่น, และขับรถไปส่งที่อักสัม โดยมีระได (ชื่อเด็กรถ) นั่งไปด้วย เราก็พักที่โรงแรมของเราส่วนไฮไลกับระไดก็กลับมาพักที่วูโคร ฟังดูน่าสนใจ ทีนี้ก็ต้องมาดูราคาว่าแพงไหม ผจก.เสนอมาที่ 410 ดอลลาร์ ถูกกว่าที่คิดไว้เลยตอบตกลง เราขอจ่ายเป็นเงินเอธิโอเปีย ผจก.ก็ชักแม่น้ำทั้งห้า (คงคา, ยมุนา, อจิระวดี, มหิ, และสรภู) บอกว่าอยากได้เป็นดอลลาร์มากกว่า คิดเอาเองว่านางคงเก็บดอลลาร์ไว้รอเงินเอธิโอเปียตกแล้วไปช้อนขึ้น เราเลยเสนออัตราแลกเปลี่ยนที่ 1 ดอลลาร์เท่ากับ 30 หน่วย นางเลยตอบตกลง
.
หมดเวลาไปกับการเจราจา 1 ชั่วโมงเต็ม สี่โมงเย็นล้อเคลื่อน โบสถ์ Abraha we Atsbeha เป็นโบสถ์ที่เก่าแก่ที่สุดในเอธิโอเปียคือสร้างตั้งแต่ตอนที่คริสต์ศาสนาลงหลักปักฐานในแผ่นดินนี้เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 4 โดยกษัตริย์อันมีนามเดียวกับชื่อโบสถ์แต่เป็นชื่อที่เปลี่ยนหลังจากทำพิธีศีลจุ่มแล้วนะ ส่วนชื่อในสูติบัตรเราไม่รู้
โบสถ์อยู่ห่างจากดาวน์ทาวน์ 15 กิโลเมตร ทางไปเป็นทางลูกรังสลับกับทางที่กำลังตัดใหม่ บางช่วงต้องรอรถเกลี่ยดินให้เรียบก่อนที่จะผ่านไปได้
ตัวโบสถ์อยู่บนเนินและเกิดจากการสลักหินตรงชะง่อนผา มีแบคกราวนด์เป็นภูเขาเปลือยที่แสงตะวันยามอัสดงส่องไล้เป็นที่น่าอภิรมย์ยิ่งนัก ส่วนมุขกระสันเป็นของต่อเติมใหม่ ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วาดขึ้นใหม่เช่นกัน ภาพเก่าในโถงหินถูกลอกทำลายโดยมหารานีกูดิท (Queen Gudit) ผจก.บอกว่ากูดิทเป็นยิว อันนี้ต้องกลับไปค้นก่อน
รวมรูป
นักบวชผู้คุมโบสถ์เห็นเราตื่นตาตื่นใจกับความงามเลยเข้ามาลอบถามว่าจะใส่ชุดแบบจัดเต็มให้ดูเอาไหม แน่นอนว่าเราอยากเห็นมากถึงจะดูเป็นการแสดงก็ตาม ภายในโถงหินมีห้องที่เรียกว่า Holy of The Holies (Sanctum Sanctorum) มีม่านสีแดงกั้น คนที่จะเข้าไปได้มีแค่นักบวชและโยมอุปัฏฐาก (deacon) เท่านั้น คุณนักบวชเข้าไปแต่งองค์ทรงเครื่องแล้วแหวกม่านออกมา โอ้โห! ชุดอลังการมาก เห็นแล้วมีความสุข หลังจากออกมาให้ยลโฉมก็เข้าไปเปลี่ยนกลับเป็นชุดเดิมแล้วมาสาธิตวิธีการสวดภาวนาประกอบจังหวะ คือมีตีกลอง, กระทบไม้, และสะบัดเครื่องดนตรีคล้ายอังกะลุง ได้เห็นแล้วตายตาหลับ มาเอธิโอเปียครั้งนี้ไม่เสียเที่ยวจริงๆ
รวมรูป
จบ Part 2
To be continued
.
ป.ล.
1. ปัญหาหนึ่งของการชมโบสถ์ที่ทิเกรย์คือไม่มีข้อมูลทางโบราณคดีที่เชื่อถือได้เช่นโบสถ์นี้สร้างเมื่อไร? ใช้สถาปัตยกรรมแบบไหน? ส่วนใหญ่จะเป็นมุขปาถะแนวอภินิหารเช่นเซนต์องค์นั้นองค์นี้มาสร้าง คล้ายกับตำนานการเกิดพระธาตุในภาคอีสานของไทย
2. ใครมาเที่ยวโบสถ์ในทิเกรย์แนะนำให้เตรียมแบงค์ย่อยไว้เยอะๆเพราะทุกคนที่เผลอเข้ามาในวงโคจรไม่ว่าจะเข้ามาช่วยแบกของหรือส่งแรงใจจะขอทิปเป็นสินน้ำใจเสมอ